ทฤษฎีการเรียนรู้และจิตวิทยาการเรียนรู้วัยผู้ใหญ่ กลุ่มโยคะ


ขั้นตอนการออกแบบมีมากไม่รู้จะเลือกของใคร เพราะโดยรายละเอียดก็เหมือนกัน ไม่ว่าจะ 9 ข้อ 7 ข้อหรือ 5 ข้อ
        ก่อนอื่นขอเล่าถึงความยากลำบากในการหาข้อมูลว่าการหาทฤษฎีการเรียนรู้นั้นไม่ยากเลยค้นแป๊บเดียวก็เจอ แต่ก็เป็นทฤษฎีที่มีอยู่ทั่ว ๆ ไปไม่ได้เจาะลึกในวัยผู้ใหญ่  สมาชิกในกลุ่มก็ช่วยกันแต่ก็ยังเป็นทฤษฎีทั่วไป  จนมาเย็นวันพุธ โชคดีที่เจอคำสำคัญในการค้น  สิ่งที่ได้รู้ในการค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตเพิ่มเติมคือ คำสำคัญที่ใช้  เรารู้อยู่ว่าต้องการอะไรหาให้ตายก็หาไม่เจอถ้าพิมพ์คำสำคัญในช่องสืบค้นไม่ตรง จนแล้วจนรอดเราก็ได้จิตวิทยาการเรียนรู้วัยผู้ใหญ่มาบ้างเท่าที่ความสามารถจะสืบค้นมาได้  ซึ่งมีเนื้อหา คร่าว ๆ ดังนี้
1. การนำความรู้ทางจิตวิทยามาประยุกต์ใช้กับวัยผู้ใหญ่ (มัลคัม โนลส์)
  • การสร้าง   บรรยากาศเพื่อเตรียมความพร้อมของผู้เรียน
  • การจัดโครงสร้างองค์การเพื่อวางแผนการเรียนร่วมกัน
  • การวิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียน
  • การกำหนดวัตถุประสงค์ในการสอน
  • การจัดแผนการเรียนการสอน
  • การดำเนินการสอน
  • การประเมินผู้เรียน

2.  การเรียนรู้ของผู้ใหญ่
     แนวคิดของโนสส์ มีความเชื่อพื้นฐานเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ 
      1.1. ความคิดเกี่ยวกับตนเอง (Self Concept)
      1.2 ประสบการณ์ (Experiences)
      1.3 ความพร้อมในการเรียนรู้ (Readiness to learn)
      1.4 หลักเบื้องต้นแห่งการเรียนรู้ (Orientation to learning)
     แนวคิดของเปาโล แฟร์ (Freire อ้างใน Brigham, 1977 P.7) ได้กล่าวถึงการเรียนการสอนผู้ใหญ่ไว้ดังนี้
      2.1 ผู้เรียนคือผู้กระทำ ไม่ใช่ผู้ถูกกระทำ
      2.2 หลักการเรียนแบบ แบบแนวระนาบ (ผู้สอนเป็นเพียงผู้ช่วยกระตุ้น)
      2.3 เน้นทฤษฎีและปฏิบัติ
      2.4 ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
      2.5 เนื้อหาวิชาและกระบวนการควรจะเกี่ยวข้องกัน สอดคล้องกัน
     แนวคิดของศรีวัสตะวะ (Shrivastave, 1989 p. 13)
      3.1 การเรียนรู้ต้องสัมพันธ์กับชีวิต
      3.2 การศึกษาจะยัดเยียดไม่ได้
      3.3 ผู้เรียนควรมีส่วนร่วม
      3.4 ประชาชนเรียนรู้ได้ดีที่สุดจากการกระทำ
      3.5 ผู้ใหญ่เรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อไม่อยู่ภายใต้แรงกดดัน
      3.6 ความสำเร็จจะเป็นแรงเสริมการเรียนรู้


3. การเรียนรู้ของผู้ใหญ่ Adult learning Cycle (Kolb.D)
ประกอบด้วย 4 ทักษะ 
    1. ประสบการณ์
    2. วางแผน
    3. ปฏิบัติ
    4. ประเมินผล
    นอกจากนี้การเรียนรู้ของผู้ใหญ่   จะเกิดได้จาก
         1. ความปรารถนาที่จะเรียนรู้ (The Desire to Learn)
         2. ความต้องการที่จะเรียนรู้ (The Need to Learn)
         3. เรียนรู้โดยการปฏิบัติการ (Learning by Doing)
         4. ความเกี่ยวข้องระหว่างการเรียนรู้และประสบการณ์ (Relation Learning to Experience)
         5. การใช้วิธีการผสมที่หลากหลาย (A Variety Methods)
        6. การแนะแนวทาง / คำปรึกษา / คำแนะนำ (Guidance Not Grades)

4. กฎการเรียนรู้ 14 ประการสำหรับวัยผู้ใหญ่ 

  1. หลักการเป็นผู้ใหญ่ ความสามารถในการเรียนรู้ยังคงใช้การได้อยู่เสมอ แต่ความอยากที่จะเรียน อาจลดน้อยลง
  2. การเรียนรู้ต้องมีการกระทำ
  3. การเรียนรู้ขึ้นอยู่กับความชำนาญในอดีต
  4. ความรู้สึกที่ว่า คนนั้นคนนี้ มีความชำนาญจะเป็นผลกระทบกระเทือน ต่อการเรียนรู้
  5. การโต้ตอบอย่างมีอารมณ์รุนแรง เป็นผลกระทบต่อการเรียนรู้
  6. คนเริ่มรู้บางอย่าง จากความชำนาญที่เราได้แสดงออกมา
  7. ความสนใจเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
  8. การประสบความสำเร็จตั้งแต่ต้น เพิ่มโอกาสในการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
  9. การแข่งขันฉันท์เพื่อน เป็นการกระตุ้นการเรียนรู้
  10. ปัญหาที่ท้าทาย เป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ ( ระดมความคิด )
  11. จุดมุ่งหมายของความรู้คือการใช้ความรู้ และประโยชน์ ซึ่งได้มาจากการมีความรู้ เร้าใจให้อยากเรียน
  12. การต้องการความรู้ขั้นมาตรฐาน ทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  13. การประเมินอย่างต่อเนื่อง เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้การเรียนมีประสบการณ์
  14. การสรรเสริญและชมเชย ทำให้เกิดการกระตุ้นในการเรียนรู้

5. หลักการเรียนรู้วัยผู้ใหญ่
    ระบบการศึกษาผู้ใหญ่ควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ (รศ. ดร. สุคนธ์  ภูริเวทย์, 2542, มหาวิทยาลัยรามคำแหง)
    1. ผู้ใหญ่ที่มีระดับความจูงใจและมีความพร้อมที่จะเรียนสูง  มักจะมีจุดมุ่งหมายในการเรียนอย่างชัดเจนว่าจะเรียนเพื่ออะไร  ดังนั้นนักศึกษาผู้ใหญ่จึงพอใจกับแผนการสอนที่มีโครงสร้างเป็นระบบ
    2. การจัดประสบการณ์อย่างกว้าง ๆ ประสบการณ์กว้าง ๆ นี้จะได้มาจากประสบการณ์ของผู้เรียนเองและจากการประกอบอาชีของเขาเหล่านั้น ผู้สอนจะต้องนำเอาประสบการณ์เหล่านี้มาเป็นแหล่งข้อมูลหลักช่วยในการสอนและนำเข้าสู่เนื้อหาสาระหรือหัวข้อในการศึกษา
    3. นักศึกษาผู้ใหญ่หรือผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่จะมีความยืดหยุ่นน้อยกว่าผู้ที่มีอายุน้อย หรือยืดหยุ่นไม่ดีเท่ากับนักเรียนปกติ  เนื่องจากความเคยชินหรือติดเป็นนิสัยและวิธีการทำงานที่พวกเขาทำเป็นอยู่ประจำ ทำให้เขาไม่ค่อยจะยอมรับสิ่งใหม่หรือการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น หากจะให้พวกเขายอมรับสิ่งใหม่ ๆ หรือการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ นี้จะต้องทำให้พวกเขาได้เห็นความแตกต่างหรือข้อได้เปรียบที่ได้รับก่อน
   4. นักศึกษาผู้ใหญ่ต้องการเรียนแบบผู้ใหญ่  ต้องการการตอบสนองหรือต้องการที่จะให้ปฏิบัติต่อพวกเขาเยี่ยงผู้ใหญ่  พวกเขาต้องการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจไม่ว่าจะกระทำการใด ๆ ก็ตาม  พวกเขาต้องการที่จะกระทำหรือลงมือปฏิบัติไปพร้อม ๆ กันกับผู้สอน  ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ การเลือกกิจกรรมการเรียนการสอนต่าง ๆ ตลอดจนการประเมินผล
   5. นักศึกษาผู้ใหญ่ส่วนมากมีความเป็นตัวของตัวเองและมีความเชื่อมั่นสูงในขณะที่บางคนขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง  และต้องการความมั่นใจในเรื่องความสามารถที่จะเรียนรู้  ต้องการให้ได้รับความช่วยเหลือจากผู้สอน  และให้ช่วยชี้แนะ คอยให้กำลังใจและให้ความสนับสนุนในยามจำเป็น
   6.ในเรื่องของเวลา  สำหรับนักศึกษาผู้ใหญ่แล้ว เวลาเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับพวกเขา เพราะว่าพวกเขาอาจจะมีภาระที่จะต้องรับผิดชอบอื่น ๆ อี พวกเขาต้องการความมั่นใจว่า จุดประสงค์การเรียนรู้หรือจุดประสงค์ในการสอน  ตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆ จะต้องมีคุณค่ากับเขาจริง ๆ
       ทั้ง 5 ประเด็นใหญ่นี้ บางประเด็นได้นำมาเฉพาะหัวข้อเนื่องจากมีรายละเอียดมาก ไม่รู้ว่าพอหรือเปล่า สำหรับประเด็นสุดท้ายจะมีรายละเอียดสำหรับท่านที่เป็นผู้ใหญ่ได้ลองอ่านแล้วดูซิว่าเราเป็นแบบนี้หรือเปล่า  สำหรับทฤษฎีที่ค้นคว้ามาได้นี้จะนำไปใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่เหมาะสมสำหรับผู้ใหญ่ ซึ่งการออกแบบคอมพิวเตอร์ข่วยสอนก็มีอีกหลายทฤษฎี ซึ่งยอมรับว่ายังไม่ได้ศึกษา ดังนั้นจึงจะนำเสนอการออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้สำหรับผู้ใหญ่มาใช้ในการวิเคราะห์ผู้เรียนเพื่อผลิตสื่อในโอกาสต่อไป เพราะตอนนี้ยังไม่รู้จะใช้ของใครดี (กาเย่ อลาสซี หรือจะเป็น ISD)

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 20560เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2006 00:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 15:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เก่งมากไอ้น้องรัก ที่สามารถงมเข็มในมหาเน็ตจนเจอ  นั่นนะซี เจอมันแล้วจะวาดหน้าตาของบทเรียนออกมายังไงอีกนี่ซิ  ที่สำคัญเจอ คำว่า "ผมจะดูความคิดสร้างสรรค์อีกต่างหาก" ของอ.หนึ่งเข้าก็ ฮื่ม......แต่ก็สู้ ๆ นะจ๊ะ

  • มีประโยชน์มากครับ เยี่ยมมากที่ค้นจนเจอของดี
นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
  • ขอขอบคุณอาจารย์ณัฐพร_NTP
  • บันทึกได้โดดเด่น มีประโยชน์มากครับ...
  • สรุปแล้ว... ผู้ใหญ่นี่ให้เขาเรียนรู้ผ่านการกระทำ (interactive learning through action) ใช่ไหมครับ...
  • ขอบพระคุณคุณหมอวัลลภมากครับที่ให้กำลังใจนิสิตในการเขียนบันทึกดีๆ
วรนุช อิงคโรจน์ฤทธิ์

มีประโยชน์มากเลยค่ะ ได้รู้หลักทฤษฏีต่างๆ ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท