เรียนรู้หลักธรรม จากการอบรม นสส. กรมอนามัย (2)


พุทธศาสนาสอนให้รู้ทันทุกข์ และให้อยู่เป็นสุข หรือ ทุกข์สำหรับเห็น แต่สุขสำหรับเป็น

 

ตอนที่ 2 ของการอบรม นสส. เราได้เรียนรู้เรื่อง หลักธรรม ก็คือ

หัวใจพระพุทธศาสนา หรือ แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา ซึ่งก็คือ อริยสัจ 4 นั่นก็คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรค และมรรค เป็นสิ่งที่พุทธศาสนาได้นำเสนอไว้ ก็เพื่อชี้ให้เห็นถึงลักษณะของธรรมที่นำเสนอเป็นระบบปฏิบัติการ ให้มนุษย์บริหารประโยชน์ จากความจริงของธรรมชาติ ... และเราก็พึงที่จะรู้จักหน้าที่ต่ออริยสัจ 4 นั่นก็คือ

  1. หน้าที่ต่อทุกข์ คือ ปริญญา แปลว่า กำหนดรู้ รู้เท่าทัน จับตัวมันให้ได้
  2. หน้าที่ต่อสมุทัย คือ ปหานะ แปลว่า ละ หรือกำจัด
  3. หน้าที่ต่อนิโรธ เรียกว่า สัจฉิกิริยา แปลว่า ทำให้แจ้ง คือ บรรลุถึงนั่นเอง
  4. หน้าที่ต่อมรรค เรียกว่า ภาวนา แปลว่า บำเพ็ญ ก็คือปฏิบัติ ลงมือทำ ทำให้เกิด ทำให้มีขึ้น

หรืออาจบอกว่า อริยสัจเป็นหลักที่เชื่อมระหว่างความจริงของธรรมชาติ กับปฏิบัติการของมนุษย์ ... คิดกันไหมคะ ว่า จะใช่ หรือไม่ใช่หนอ ... และถ้าพูดไปว่า พุทธศาสนาสอนให้รู้ทันทุกข์ และให้อยู่เป็นสุข หรือ ทุกข์สำหรับเห็น แต่สุขสำหรับเป็น [คัดมาจาก แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)]

เราได้เรียนรู้กันถึงแก่นของ อริยมรรคมีองค์ 8 หรือเรียกกันว่า “หนทางอันประเสริฐ” ภาษาอังกฤษก็เรียกว่า “Way of Happiness” ประกอบด้วย สัมมาทิฏฐิ – ความเห็นชอบ, สัมมาสังกัปโป – ความดำริชอบ, สัมมาวาจา – การพูดจาชอบ, สัมมากัมมันโต – การทำการงานชอบ, สัมมาอาชีโว – การเลี้ยงชีวิตชอบ, สัมมาวายาโม – ความพากเพียรชอบ, สัมมาสะติ – ความระลึกชอบ และ สัมมาสมาธิ – ความตั้งใจมั่นชอบ และพิจารณาในแต่ละหัวข้อ ซึ่งก็เป็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับ หลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) นั่นเอง

และก็ยังมีอีกหลายหัวข้อมากมายละค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 20557เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2006 23:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท