คนรักคณิตศาสตร์
ศศิธร คนรักคณิตศาสตร์ สีดา(ฝรั่ง)

การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง


การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง

สวัสดีค่ะ ดิฉัน นางสาวจันทา   เหมือนชอบ  จะมานำเสนอเรื่อง......

การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง

การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางเป็นการคำนวณหาค่าเฉลี่ยหรือค่ากึ่งกลางของข้อมูล โดยปกติจะใช้ฐานนิยม (Mode) มัธยฐาน (Median) และ มัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic Mean) แต่มีการแจกแจงความถี่บางอย่างซึ่งมีอยู่น้อยมากที่ใช้มัชฌิมเรขาคณิต (Geometric Mean) และมัชฌิมฮาร์โมนิก (Harmonic Mean) แต่การหาตำแหน่งกึ่งกลางที่เป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางที่สุดก็คือ มัชฌิมเลขคณิต ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยที่ใช้ได้กับข้อมูลที่อยู่มาตรวัดระดับช่วงและอัตราส่วน นอกจากนี้ยังมี Trimmed Means เป็นสถิติปรับแก้ค่ามัชฌิมเลขคณิตกรณีที่มีข้อมูลสุดโต่ง (Extreme Value) ส่วนฐานนิยมและมัธยฐานนั้นบางครั้งใช้กับข้อมูลที่อยู่ในมาตราวัดระดับนามบัญญัติและจัดอันดับ แต่ก็สามารถใช้ได้กับระดับช่วงและอัตราส่วน ส่วนมัชฌิมเรขาคณิตและมัชฌิมฮาร์โมนิค จะใช้เฉพาะข้อมูลที่มีคุณลักษณะพิเศษบางอย่างเท่านั้น

การคำนวณหาค่าเฉลี่ยหรือค่ากึ่งกลางของข้อมูลนั้นจะนำเสนอวิธีการดังนี้

1. มัชฌิมเลขคณิต

2. Trimmed Means

3. มัธยฐาน

4. ฐานนิยม

5. มัชฌิมเรขาคณิต

6. มัชฌิมฮาร์โมนิค

เปรียบเทียบมัชฌิมเลขคณิต, มัธยฐานและฐานนิยม

มัชฌิมเลขคณิตเป็นการหาค่าเฉลี่ยที่ใช้กับตัวแปรระดับช่วงขึ้นไป โดยจะต้องนำข้อมูลทั้งหมดมาใช้ในการคำนวณ ค่ามัธยฐานเป็นสถิติในการจัดอันดับข้อมูล การคำนวณอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่อยู่ในมาตราจัดอันดับ ถ้าค่าที่ได้จากการวัดถูกเรียงจากน้อยไปหามากหรือจากมากไปหาน้อยแล้ว ค่ามัธยฐานคือค่าที่อยู่ตรงกลาง ซึ่งในการคำนวณไม่ต้องใช้ข้อมูลทั้งหมด แต่เป็นการละเลยค่าที่อยู่เหนือและต่ำกว่ามัธยฐาน เช่นข้อมูล 2 ชุดมีค่า 5, 7, 20, 24, 25 และ 10, 15, 20, 52, 63 มีมัธยฐานเหมือนกันคือ 20 แต่ค่าเฉลี่ยตัวอื่นแตกต่างกัน สำหรับฐานนิยมเป็นค่าหรือชั้นที่มีความถี่สูงที่สุดเป็นสถิติระดับนามบัญญัติ การคำนวณไม่ได้ขึ้นอยู่กับค่าต่าง ๆ หรือการจัดอันดับแต่ดูที่ความถี่

การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย มัธยฐานและฐานนิยม สามารถทำได้โดยการคำนวณทั้ง 3 วิธีกับข้อมูลที่มีการแจกแจงถี่ที่เหมือนกัน ถ้านำการแจกแจงความถี่มานำเสนอด้วยกราฟ มัชฌิมเลขคณิตก็คือจุดบนแกนนอนที่อยู่ตรงกึ่งกลางของแกน ถ้าจุดตัดบนการแจกแจงทำให้เกิดความสมดุล จุดนั้นก็คือค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐานคือจุดบนแกนนอน ที่แบ่งพื้นที่ใต้โค้งทั้งหมดออกเป็น 2 ส่วนเท่ากัน พื้นที่ครึ่งหนึ่งจะอยู่ทางซ้ายอีกครึ่งหนึ่งจะอยู่ทางขวา ฐานนิยมคือจุดบนแกนนอนที่อยู่ตรงกับจุดที่สูงที่สุดของกราฟ

ถ้าการแจกแจงความถี่เป็นแบบสมมาตร จุดมัชฌิมเลขคณิต มัธยฐานและฐานนิยมจะอยู่ที่จุดเดียวกัน ถ้าการแจกแจงเป็นแบบเบ้ จุดทั้ง 3 จุดจะไม่ใช่จุดเดียวกัน ดังรูปภาพ 5 แสดงค่ามัชฌิมเลขคณิต มัธยฐานและฐานนิยม สำหรับการแจกแจงความถี่แบบเบ้บวก เราจะพบว่าค่ามัชฌิมเลขคณิตจะมากกว่ามัธยฐานและมากกว่าฐานนิยม ถ้าการแจกแจงเป็นเบ้ลบ ค่าที่ได้จะตรงกันข้าม

รูปภาพ 5 แสดงตำแหน่งของมัชฌิมเลขคณิต มัธยฐานและฐานนิยมในการแจกแจงแบบต่าง ๆ

การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางเป็นการคำนวณหาค่าเฉลี่ยหรือค่ากึ่งกลางของข้อมูล โดยปกติจะใช้ฐานนิยม (Mode) มัธยฐาน (Median) และ มัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic Mean) แต่มีการแจกแจงความถี่บางอย่างซึ่งมีอยู่น้อยมากที่ใช้มัชฌิมเรขาคณิต (Geometric Mean) และมัชฌิมฮาร์โมนิก (Harmonic Mean) แต่การหาตำแหน่งกึ่งกลางที่เป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางที่สุดก็คือ มัชฌิมเลขคณิต ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยที่ใช้ได้กับข้อมูลที่อยู่มาตรวัดระดับช่วงและอัตราส่วน นอกจากนี้ยังมี Trimmed Means เป็นสถิติปรับแก้ค่ามัชฌิมเลขคณิตกรณีที่มีข้อมูลสุดโต่ง (Extreme Value) ส่วนฐานนิยมและมัธยฐานนั้นบางครั้งใช้กับข้อมูลที่อยู่ในมาตราวัดระดับนามบัญญัติและจัดอันดับ แต่ก็สามารถใช้ได้กับระดับช่วงและอัตราส่วน ส่วนมัชฌิมเรขาคณิตและมัชฌิมฮาร์โมนิค จะใช้เฉพาะข้อมูลที่มีคุณลักษณะพิเศษบางอย่างเท่านั้น

การคำนวณหาค่าเฉลี่ยหรือค่ากึ่งกลางของข้อมูลนั้นจะนำเสนอวิธีการดังนี้

1. มัชฌิมเลขคณิต

2. Trimmed Means

3. มัธยฐาน

4. ฐานนิยม

5. มัชฌิมเรขาคณิต

6. มัชฌิมฮาร์โมนิค

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 205111เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2008 16:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

...เราขอcoppy ข้อความนี้หน่อยนะ..ไม่คิดตังใช่ไหม?..

...หมูอ้วน...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท