Functional competency ในเชิงปฏิบัติของหน่วยมนุษยพันธุศาสตร์ (ภาคเปิดตัว)


Functional competency

        เค้าว่ากันว่า คนที่เข้ามาทำงานในหน่วยพันธุศาสตร์ก็เหมือนเข้ามาตั้งต้นเรียนรู้ใหม่จาก '0' จริงๆแล้วก็ขอบอกว่าเป็นความจริงเนื่องจาก ความชำนาญและเนื้อหาของงานที่ทำยังไม่มีการสอนหรือ training ในสถาบันใดๆในประเทศไทย ทุกอย่างต้องเรียนรู้ใหม่หมด ที่สำคัญต้องอาศัยประสบการณ์ทั้งนั้น... ทางหน่วยฯก็เลยคิดๆกันว่า เอ...ที่ผ่านๆมานี่ หน่วยเราก็มีเด็กๆ (เค้าเรียกตัวเองว่าพวก..Young blood) เข้ามากันอยู่หลายคน อีกทั้งตอนนี้ทั้งทางภาคฯเอง หรือคณะเองก็กำลังทำ functional competency อยู่ ดังนั้น ตอนนี้น่าจะเป็นโอกาสอันดีที่จะ set up  functional competency ในเชิงปฏิบัติของนักวิทยาศาสตร์ในหน่วยฯขึ้นมา


ผลดี (ที่คิดว่าเราน่าจะได้รับ)
          -ผู้ที่ปฏิบัติงานในหน่วยฯจะได้มีมาตรฐานและเป้าหมายในการพัฒนาตัวเอง ว่า...เออ..เราก็ทำงานมานานเท่า...นี้แล้วนะ เราน่าจะมีความรู้ความสามารถแค่ไหน  ก็ถ้าไม่ถึง จะได้พัฒนาตนเองบ้าง
          -เวลาประเมินก็ง่าย เพราะเรามีเกณฑ์การประเมินที่แน่นอนแล้ว (จะได้ไม่เกิดการประท้วงหรือก่อม็อบเหมือนประท้วงรัฐบาล)
ผลเสีย – ยังคิดไม่ออกนิ....
ดังนั้น จึงเกิดเป็น functional competency ในเชิงปฏิบัติของหน่วยมนุษยพันธุศาสตร์ขึ้นมา ...ตอนนี้ยังเป็น First draft เท่านั้น แต่ก็คงพอเป็นแนวทางให้ young blood ในหน่วยฯได้บ้าง (แค่นี้ก็คงรู้แล้วว่า คนเขียนไม่ค่อย young ซักเท่าไหร่นิ...)

ประสบการณ์ 0-1 ปี

-         สามารถรับแยกสิ่งส่งตรวจได้ถูกต้อง

-         สามารถลงทะเบียนได้

-         ลงผลทางคอมฯได้

-         ลงผลในสมุดทะเบียนและส่งผลไปยังรพ.ต่างๆนอกเหนือจาก มอ.ได้ถูกต้อง

-         Set culture + Harvest และเตรียม  slide จากเลือด ไขกระดูก หรือ น้ำคร่ำและชิ้นเนื้อได้ (อย่างใดอย่างหนึ่ง)

-         วิเคราะห์โครโมโซม และจัดทำ Karyotype จากตัวอย่างตรวจที่เป็น เลือด (ยกเว้นการตรวจมะเร็งเม็ดเลือด) และน้ำคร่ำได้ โดย

o       จัด group ได้ถูก

o       จัดเรียงตามหมายเลขได้ถูกต้อง = 70%

o       บอกความผิดปกติในด้านจำนวนได้

o       Banding – GTG, NOR, CBG, QFQ ได้เองโดยไม่ต้องมีพี่เลี้ยง

-         รู้ขั้นตอนการล้างเครื่องแก้ว และจัดเตรียมฆ่าเชื้อเครื่องแก้วให้เหมาะสมกับการใช้งานได้

-         รู้หลักปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย (lab safety- biohazard, chemical hazard, occupational hazard) และสามารถปฏิบัติได้

ประสบการณ์1-2 ปี

-         set culture และ Harvest และเตรียม slide จาก เลือด ไขกระดูก น้ำคร่ำ ชิ้นเนื้อ ได้ทุกชนิด

-         วิเคราะห์โครโมโซม จัดทำ karyotype ได้ถูกต้อง ไม่น้อยกว่า 95 %

-         บอกความผิดปกติของโครโมโซมชนิด structural abnormalities ที่เป็น deletion, translocation, isochromosome, inversion, ring chromosome, duplication ได้

-         เตรียม media ได้ทุกชนิด ทราบความเข้มข้นของสารเคมีต่างๆที่ใช้ใน lab ได้

-         ตอบคำถามเกี่ยวกับ lab ทุกชนิดเช่นวิธีการส่ง การเก็บตัวอย่าง การรายงานผล ฯลฯ ได้ ให้ข้อมูลกับบุคคลภายนอกที่ถามมาได้

-         บอกและวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการ set culture เช่น contamination เพราะอะไร ทำไม่เซลล์ไม่โต การ harvestเช่น ทำไมไม่มี mitosis, mitosis ไม่ spread, การ banding ได้ (บอกสาเหตุได้)

ประสบการณ์ 2-5 ปี

-         บอกความผิดปกติของโครโมโซม ชนิด structural abnormalities ได้โดย ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่ง (band) ที่ผิดปกติได้ และ วิเคราะห์โครโมโซมที่มีความยาว 550-850 ได้ถูกต้อง และสามารถวิเคราะห์โครโมโซมในโรค hematologic Cancer  (BM, LK) ได้

-         เป็นพี่เลี้ยงสามารถแนะนำวิธีการ Set culture, harvest, banding ได้ สามารถถ่ายทอดความรู้และ supervise ผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง

-         Detect ปัญหาและแนะวิธีแก้ปัญหาในการทำ lab เช่น set culture, harvest, banding ได้

-         ใน case ที่ผิดปกติ สามารถทำการศึกษาหรือย้อมพิเศษเพิ่มเติม (proper further investigations) ได้ และแปลผล ให้ความเห็น แนะวิธีศึกษาเพิ่มเติม และสรุปผลให้แพทย์ได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน

-         Verify ออกผลได้อย่างถูกต้อง

ประสบการณ์ 5 ปีขึ้นไป

-         Report ผลโครโมโซมได้ จากตัวอย่างทุกชนิดได้ โดยไม่ต้องมี supervisor และ confirm ความถูกต้องของ karyotype ได้ รวมถึง confirm ผลของผู้ที่มีประสบการณ์น้อยกว่าได้

-         ทำงานได้โดยไม่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของ supervisor สามารถทำงานแทน supervisor/หัวหน้างาน ได้อย่างถูกต้อง

-         ให้คำแนะนำ วิธีพัฒนาและปรับปรุงหน่วยงานได้

-         วางแผนและริเริ่มโครงการพัฒนางานใน lab ได้

...เฮ่อ...ฟังดูแล้วเหมือนมากมายก่ายกอง แต่จริงๆแล้ว ไม่ยากอย่างที่คิด ผ (ขอให้กำลังใจ)... คราวนี้เราก็จะได้มีมาตรฐานกะเขาซักที ก็กะๆกันว่า ในการประเมินปีหน้า จะเอาเกณฑ์นี้มาร่วมประเมินด้วย (ไม่ประเมินจากการสอบความรู้อย่างเดียว)...



 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 20510เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2006 16:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 15:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ยอดเยี่ยม และตรงใจมากเลยค่ะ แล็บอื่นๆ น่าจะใช้เป็นแบบอย่าง ว่าแต่คนเขียน เป็น young blood หรือ old blood ค่ะ เขียนได้ขนาดนี้ (ตามมาหลายบันทึกแล้ว) น่าจะแยกวงได้แล้ว

คนเขียนเป็น medium blood ค่ะ

ขณะนี้ก็ทำงานมาเกือบครบปีแล้ว ก็ทำได้หมดแล้ว แต่ไม่ร้อย100% ทุกอย่างครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท