เทคนิคการอ่านแบบ SQ3R


เทคนิคการอ่านแบบ SQ3R (ล่าสมัยไปไหมคะ)

            เทคนิคการอ่านเพื่อศึกษาเล่าเรียน เป็นการอ่านเพื่อศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมและเขียนรายงาน ในขณะที่ศึกษาเล่าเรียนและในขณะเดียวกันนักเรียนนักศึกษาจะต้องอ่านเพื่อเตรียมสอบอีกด้วย  

         ในการอ่านเพื่อศึกษาเล่าเรียนนั้น นักศึกษาส่วนมากมักจะมีวิธีอ่านที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ไม่เข้าใจ  บทเรียน และจำรายละเอียดที่สำคัญไม่ได้ ไม่รู้จักเทคนิคที่ทำให้อ่านได้รวดเร็ว เข้าใจ และจดจำได้ โดยไม่ต้องท่องจำ จึงทำให้ล้มเหลวในการศึกษาเล่าเรียน

            เทคนิคในการอ่านเพื่อศึกษาเล่าเรียนมีหลายวิธี แต่วิธีที่มีผู้นิยมใช้กันมาก และเป็น วิธีการอ่านที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ วิธีอ่าน แบบ  SQ3R : ซึ่งดีสและดีส (Deese  and  Deese 1979 : 42) กล่าวว่า "วิธีอ่านแบบนี้เริ่มโดย ฟรานซิส พี โรบินสัน (Francis  P. Robinson) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการอ่านอยู่ที่มหาวิทยาลัย โอไฮโอ ได้ศึกษาเทคนิคในการอ่านและได้แนะนำวิธีการอ่านให้กับนักศึกษา จนประสบผลสำเร็จ"

วิธีการอ่านแบบ SQ3R นี้ แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนคือ

          S (Survey) คือ  การอ่านแบบสำรวจเป็นการอ่านผ่านๆ อย่างรวดเร็วตั้งแต่ดูชื่อหนังสือ ชื่อ   ผู้แต่ง หน้าปกใน  หน้าคำ  ดูจุดมุ่งหมายของผู้แต่งซึ่งเป็นส่วนหน้าของหนังสือและสำรวจส่วนหลังของหนังสือ ได้แก่ ดัชนี อภิธานศัพท์ บทสรุป  แบบฝึกหัด ภาคผนวก  และบรรณานุกรมเป็นต้นนอกจากนั้นสำรวจเนื้อแต่ละบทอย่างรวดเร็ว

          Q (Question) คือ  การตั้งคำถามถามตนเองไว้ในใจ จากเนื้อเรื่องที่อ่าน เช่น ใคร ทำอะไร  ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร ฯลฯ  เพื่อความเข้าใจเนื้อเรื่องดียิ่งขึ้น

          R1 (Read)  อ่านเพื่อตอบคำถามที่ตนเองอยากรู้  ที่ได้ตั้งคำถามไว้ในใจแล้ว จึงสมควร จะต้องอ่านให้ละเอียดโดยใช้สารบัญและดัชนีช่วยค้นคำหรือเรื่องที่ต้องการด้วย หรือใช้อภิธานศัพท์ด้วย นอกจากนั้นอาจจะทำเครื่องหมาย ระบายสีหรือขีดเส้นใต้ หรือบันทึกไว้ ข้างๆ หน้ากระดาษ (ถ้าเป็นหนังสือ/ตำราของตนเอง) เมื่ออ่านเข้าใจแล้วลองทำแบบฝึกหัดท้ายบท (ถ้ามี)

          R2   (Recite) คือ  การจดจำ เมื่อเข้าใจได้คำตอบจากหนังสือแล้วควรพยายามจดจำเนื้อหา ข้อความที่สำคัญไว้ซึ่งเป็นหัวใจของการเรียนรู้ โดยการทำบันทึกย่อใส่สมุดไว้หรือขีดเส้นใต้ หรือจด (List) หัวข้อทั้งหมดไว้ ท่องจำจากความเข้าใจโดยมีเทคนิคในการจำที่ทำให้จำง่าย อาจเขียนเป็นเพลงเป็นบทกลอนเป็น แผนภูมิ ฯลฯ

          R3   (Review, Reconstruct) ทบทวนจากการอ่านบันทึกย่อที่บันทึกไว้หรือจากเครื่องหมายต่างๆ ที่ทำไว้ในหนังสือ จากข้อความที่เขียนไว้ข้างหน้ากระดาษและจากหัวข้อที่จดไว้ การทบทวนเป็นครั้งคราวและทบทวนก่อนสอบ

( ผู้เขียน  : รศ.ฉวีวรรณ  คูหาภินันทน์ )

 

             แต่ในปัจจุบันนี้ได้มีนักการศึกษาค้นคว้าในการอ่านแบบ SQ4R   และ การอ่านแบบ  SQ5R    และมีการอ่านแบบหลาย ๆ วิธีอีกมาย   

 

                                                                                                                                                                                                                                                   รอยยิ้ม

 

                                                                                                                                                 

คำสำคัญ (Tags): #ป.บัณฑิต รุ่น 32550
หมายเลขบันทึก: 205067เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2008 14:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อยากทราบข้อจำกัดของ SQ3R ว่ามีข้อจำกัดใดบ้างถึงได้มี SQ4R SQ5R ขึ้นมา

ัรีรัรีรัรีรัรัีรัรีรัีรััีรัีรัรัีร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท