แจ่มรัศมีจันทร์ : เสนีย์ เสาวพงศ์



ภาพปกหนังสือ ที่มา http://www.matichonbook.com/index.php?mnuid=5&selmnu=510707160149


คอลัมน์ เชิญมาวิจารณ์ : ออลแม็กกาซีน ปีที่ 3 ฉบับที่ 5 เดือนกันยายน 2551 หน้า 50-51 โดย รศ.รื่นฤทัย สัจจพันธุ์

เสนีย์ เสาวพงศ์ เป็นนามปากกาของศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์ ผู้เพิ่งฉลองอายุครบ 90 ปี ไปเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2551 นี้เอง ท่านผู้นี้เป็นนักเขียนอาวุโสที่สร้างสรรค์ผลงานวรรณกรรมทั้งเรื่องสั้นและนวนิยายไว้ตั้งแต่ยุคบุกเบิกวรรณกรรมร่วมสมัยของไทย ผลงานและวรรณกรรมอันเพียบพร้อมด้วยคุณค่าทางสังคมและวรรณศิลป์ เช่น นวนิยายเรื่อง ความรักของวัลยา,  ปีศาจ, คนดีศรีอยุธยา เรื่องสั้นอย่าง ขอแรงหน่อยเถอะ,  ทานตะวันดอกหนึ่ง, ตีนหนาหน้าบาง ทำให้ท่านท่านเอกอัครราชทูตศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์ ได้รับยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปี 2533 อันนับเป็นเกียรติสูงสุดในชีวิตนักเขียน และได้รับรางวัลเกียรติยศอื่นๆ ต่อมาอีกมากมาย เช่น นักเขียนรางวัล “ศรีบูรพา” คนแรก นักเขียนรางวัล “อมตะ”  คนแรก

  เรื่องบุรุษไปรษณีย์ เป็นเรื่องสั้นที่แสดงความเปลี่ยนแปลงสังคมและจิตใจมนุษย์ โดยเล่าผ่านความนึกคิดและประสบการณ์ของบุรุษไปรษณีย์ชื่อ ลุงพร้อม ผู้ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างซื่อสัตย์มาเป็นเวลา 25 ปี ผู้เขียนเปรียบเทียบบุรุษไปรษณีย์ว่าเหมือนคนแจวเรือจ้าง เมื่อส่งคนถึงฝั่งแล้วคนแจวเรือก็ไม่มีความสำคัญอีกต่อไป เขาจึงถีบหัวเรือส่งบุรุษไปรษณีย์อย่างลุงพร้อมก็ทำหน้าที่ส่งหนังสือ ส่งของ ส่งข่าวคราว ความรู้สึกนึกคิด และความรักความระลึกถึงจากคนหนึ่งถึงอีกคนหนึ่ง แต่ลุงพร้อมไม่เคยได้รับสิ่งปรารถนาที่ลุงพร้อมเป็นสื่อนำส่งไปให้แก่คนอื่น

 ลุงพร้อมทำหน้าที่ส่งไปรษณียภัณฑ์ในเขตชานเมืองแห่งหนึ่งที่แต่เดิมเป็นเพียง “ทุ่งนาที่เวิ้งว้าง มืด วังเวง และเปล่าเปลี่ยวแต่ 25 ปีต่อมาพื้นที่แห่งนี้เจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว มีถนนลาดยางตัดใหม่สายยาว มีถนนซอยแตกกิ่งก้านออกไปซ้ายและขวา บ้านสวยๆ ผุดขึ้นมาอย่างคับคั่งสองฝั่งถนนและในวอกซอยต่างๆ ในขณะที่เจ้าของที่ดินเดิมนั้นพับกระดาษสีเขียวสีแดงสองสามแผ่นแทนที่ดินผืนกว้างและสมบูรณ์ที่เคยได้อาศัยทำมาหากินเลี้ยงชีพมาแต่สมัยปู่สมัยทวด ใส่กระเป๋าเสื้อผ้าดิบสีน้ำตาลแก่ถอยหนีออกไปสู่อนาคตที่ปราศจากเงินและปราศจากที่ดิน ที่ดินทำกินของชาวนาตกอยู่ในความครอบครองของคนรวยและเปลี่ยนมือไปอีกเรื่อยๆ ตามอำนาจของเงิน ดังที่ผู้เขียนกล่าวว่า “ครั้งหนึ่งที่ดินเป็นของชาวไร่ชาวนาต่อมาเปลี่ยนไปเป็นของขุนนางและอำมาตย์ แล้วพวกขุนนางเก่า ก็ถูกขับไล่ออกไปโดยพวกพ่อค้านายธนาคาร”  ดังนั้น ลุงพร้อมได้เห็นการเปลี่ยนมือของที่ดินของบ้านใหญ่ๆ ตึกสวยๆ จากคนรวยคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งซึ่งรวยกว่า ลุงพร้อมเคยส่งจดหมายให้บ้านหลังใหญ่ซึ่งเป็นบ้านของเจ้าคุณคนหนึ่งแต่พอหลังสงคราม จดหมายส่งมาบ้านหลังนั้นจ่าหน้าซองถึง “นายธรรมดาคนหนึ่ง”  ไปเสียแล้ว และ “บ้านนั้นคึกคัก มีรถเก๋งคันใหญ่วิ่งเข้าวิ่งออกวันละหลายๆ เที่ยว

ประโยคต่างๆ เหล่านี้นำเสนอให้เห็นความเปลี่ยนแปลงสังคมไทยด้วย ธนานุภาพ หรือ อำนาจของเงินตราประโยคเรียบง่ายนี้แฝงถึงความคิดเชิงวิพากษ์ถึงความล่มสลายของชนชั้นศักดินา คนชั้นสูงหรือผู้รากมากดีมีชาติตระกูลยากจนลงจนไม่อาจรักษาสมบัติพัสถานของตนไว้ได้ ต้องขายเปลี่ยนมือไปสู่คนที่มีเงิน นอกจากนี้ ยังนำเสนอการรุกรานของนายทุนที่กวาดซื้อที่ดินจากชาวนาไปในราคาถูกๆ เพื่อนำไปพัฒนาให้เป็นเมือง ดูเผินๆ เหมือนสร้างความเจริญ แต่แท้ที่จริงเป็นการทำลายพื้นที่เกษตรกรรม ทำลายอาชีพชาวนาและดับอนาคตของชีวิตที่ดำรงอยู่ด้วยการทำมาหากินเลี้ยงชีพพึ่งพาตนเองมาโดยตลอด พื้นที่เพาะปลูกกลายเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่สร้างมลพิษและทำลายสิ่งแวดล้อม เงินถ่างช่องว่าง ระหว่างคนรวยและคนจนให้กว้างขึ้นจนทำให้คนสองประเภทมีความแตกต่างกันมากราวกับคนประเภทหลังไม่ใช่คน ดังที่ให้ชาวบ้านที่อยู่ห้องแถวบ่นดังๆว่า  “เออเรานิ น้ำกินก็ไม่มี อาบก็ต้องอาบน้ำคลองโสโครก ส่วนเขาซิ ราดส้วมยังใช้น้ำประปาเลยโว้ย

 ความแตกต่างระหว่างคนรวยและคนจนยังได้รับการนำเสนอด้วยการเปรียบเทียบระหว่าง “บ้านสวยๆ” กับ “กระต๊อบโย้เย้ริมคลองน้ำสกปกผู้คนที่อาศัยอยู่ในกระต๊อบผุพังนี้ยากไร้และขาดแคลนทุกสิ่งอย่าง ไม่ว่าจะเป็นโภคทรัพย์และปัญญาทรัพย์ พวกเขาไม่มีเงิน ไม่มีความรู้ และไม่มีอนาคต ดังที่ลุงพร้อม กล่าวว่าไม่เคยมีไปรษณียภัณฑ์มาส่งให้คนเหล่านี้ทั้งปีทั้งชาติ เพราะพวกเขายากจน และไม่เคยมีจดหมายส่งถึงเพราะพวกเขาอ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้  สภาพสังคมในเรื่องสั้นเรื่องนี้ยังมีให้เห็นอยู่ในปัจุบัน ช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนในสังคมไทย (และสังคมโลก) จึงไม่เคยขยับเข้ามาจนปิดสนิท มีแต่จะถ่างกว้างออก ราวกับโลกสองมิติที่ซับซ้อนอยู่บนลกใบเดียวกัน


ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เล่าผ่านมุมมองของลุงพร้อมอย่างหนึ่งคือการรุกรานทางวัฒนธรรมฝรั่ง เสนีย์ เสาวพงศ์ แฝงนัยประเด็นนี้ไว้ตอนที่ลุงพร้อมเล่าว่า “ในระยะหลังๆ ผู้อาศัยอยู่ในบ้านสวยๆ มักมีชื่อปรากฏบนซองเป็นภาษาต่างประเทศ เพราะจดหมายเล่านี้ส่งมาจากญาติพี่น้องลูกหลานที่ไปศึกษาเล่าเรียนในซีกโลกตะวันตก” ลุงพร้อมจึงลำบากมากขึ้นในการเรียนรู้ชื่อเสียงเรียงนามของผู้รับจดหมาย จนกระทั่งต้องล้มเลิกความพยามที่จะอ่านชื่อที่จ่าหน้าซองเหล่านั้น  เนื่องจากจดหมายมีปริมาณมากเหลือเกิน ลุงพร้อมจึงส่งจดหมายตามบ้านเลขที่ที่จ่าหน้าซองเท่านั้น ความสัมพันธ์ระหว่างลุงพร้อมกับผู้รับจดหมายจึงลดลงโดยปริยาย ต่างจากแต่เดิมที่แกจักรู้จักประวัติของคนในบ้านทุกบ้านที่แกนำจดหมายไปส่งและมีปฏิสันถารได้อย่างสนิทสนม


การเปลี่ยนใจของสาวน้อยที่ทิ้งคู่รักผู้ห่างไกลไปแต่งงานกับผู้ชายคนใหม่ที่ถึงจะ “เป็นเจ๊กเป็นจีน” แต่ร่ำรวย สะท้อนภาพสังคมไทยที่ผู้ดีมีตระกูลพยามพยุงฐานะการเงินและสถานภาพทางสังคมของตนไว้ ด้วยการแต่งงานกับพ่อค้านายทุนซึ่งเป็นกลุ่มชนชั้นกลางที่เติบโตอย่างรวดเร็วหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ปรากฏการณ์ทางสังคมเช่นนี้ ถูกนำเสนอในวรรณกรรมสมัยเดียวกับเรื่องอื่นๆ  ด้วย ในเรื่องสั้นเรื่องนี้ ถูกนำเสนอในวรรณกรรมยุคสมัยเดียวกันกับเรื่องอื่นๆ ด้วย ในเรื่องสั้นเรื่องนี้ แนวคิดเรื่องอำนาจเงินเปลี่ยนแปลงจิตใจของคนได้ ไม่เพียงแต่นำเสนอด้วยเรื่องสาวน้อยแห่งบ้านหลังใหญ่เท่านั้นแต่ยังตอกย้ำ ด้วยปะสบการณ์ของลุงพร้อมเอง ที่ภรรยาหนีไปอยู่กับชายที่ “ในกระเป๋ามีเสียงกังวานของสตางค์ดีบุก ดังกว่ากระเป๋าลุง” และทำให้ลุงพร้อมสรุปด้วยคำคมว่า  ”นกย่อมต้องการรวงรัง จระเข้ย่อมต้องการวัง และผู้หญิงย่อมต้องการผัวที่มี(สตางค์) ทรัพย์สิน

เสนีย์  เสาวพงศ์  เป็นนักเขียนที่ยึดมั่นในการทำหน้าที่สังเกตปรากฏการณ์ทางสังคมและส่งผ่านวรรณกรรมของเขามาสู่ผู้อ่านให้ตระหนักถึงพลานุภาพของ  “อำนาจทุน” ที่อาจจะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในทางเสื่อมทรามทั้งสังคมและจิตใจมนุษย์ แม้ว่าเสนีย์ เสาวพงศ์ จะวางมือจากหนังสือไปนานหลายปีเพราะวัยที่สูงขึ้น แต่ผลงานที่สร้างสรรค์มายาวนานตั้งแต่ พ.ศ.2483  ถึง พ.ศ.2543 จากเรื่องสั้นเรื่อง นักโทษเนรเทศ จนถึงเรื่อง ขอให้การพายเรือของเจ้าเที่ยวนี้เป็นเที่ยวสุดท้าย รวมแล้วประมาณ 50 เรื่องและนวนิยายอีก 11 เรื่องล้วนแล้วแต่แสดงถึงสายตาอันแหลมคมและความคิดอันสุขุมที่พินิจโลก สังคม และชีวิตตามที่เป็นจริง ผู้เขียนคัดกรองเลือกสรรภาพชีวิตในสังคมไทยมานำเสนอให้ผู้อ่านรับรู้และร่วมรู้สึกรวมทั้งไม่รีรอที่จะปลูกสำนึกแห่งมนุษยธรรมในใจผู้อ่านเพื่อช่วยกันสร้างสรรค์ สร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งความเสมอภาคอย่างแท้จริง จึงกล่าวได้เต็มปากว่า  เสนีย์ เสาวพงศ์ หรือ ศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์ เป็นเสาหลักหลัดแห่งวงการวรรณกรรมไทย เป็นนักคิดนักเขียนที่ปอปรด้วยอุดมคติและอุดมกาณณ์อันน่ายกย่องและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่คนรุ่นหลัง




ทางเดินบริเวณ น้ำตกแก่งโสภา จ.พิษณุโลก

หมายเลขบันทึก: 204999เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2008 12:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

สวัสดีค่ะ

* ใครเป็นเจ้าของที่ดินทำการเกษตร

* เป็นเศรษฐีตลอดชาติ

* เขามีกินและบริจาคได้ทุกวัน

* ขอบคุณที่ชวนคิดค่ะ

ขอบคุณครับคุณพี่อาจารย์พรรณา :)

แวะมาอ่านแล้วค่ะ

ไม่เครียดเลย อ่านแล้วดีมากค่ะ ...

นำภาพต้นเบี้ยมาฝากคุณกวินค่ะ

 

ภาพนี้เห็นดอกเล็ก ๆ สีเหลืองด้วย ไม่ค่อยได้เห็นบ่อยนักค่ะ ..

ขอบคุณครับคนไม่มีรากภาพสีเขียวดูแล้วสบายตา

หนังสือของคุณเสนีย์เล่มนี้ เราว่าจะซื้อไว้เหมือนกันล่ะ

ไม่ได้อ่านงานเรื่องสั้น ก็นานโข ...มีงานดีๆ ให้ได้อ่านอย่างนี้แล้ว ไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง

ดีๆ คุณนัทธ์ ถ้าคุณอ่านจบเล่าให้ผมฟังบ้าง...ผมขี้เกียจอ่าน...

แวะมาบอกว่า ชอบกล่องสนทนา จังค่ะ ....

ขอบคุณครับคุณพรหล้า พอดีเข้าไปปรับแก้ แบล็กกราวน์นิดหน่อยน่ะครับให้มันดูสบายตาๆ ถ้าสนใจขอโค้ดได้ที่ครูโย่งนะครับ

 

มาชม คุณกวิน

ที่นำสาระดีมาให้อ่านกันนะนี่

ขอบพระคุณอาจารย์ ดร.อุทัย umi  ที่แวะมาเยี่ยมชมครับ

  • ขอบคุณสำหรับเรื่องสั้นที่นำมาให้อ่าน..เห็นภาพชัดเจนแม้ลุงพร้อมมีตัวตนอยู่จริงลุงเป็นคนดีที่หนึ่งเลยค่ะ...
  • นกย่อมต้องการรวงรัง จระเข้ย่อมต้องการวัง และผู้หญิงย่อมต้องการผัวที่มี(สตางค์) ทรัพย์สิน”เอหรือจะจริงเหมือนลุงพร้อมว่า...(ลังเล๐๐๐)ก็คงมีบ้างล่ะนะที่ไม่ได้เป็นเหมือนลุงพร้อมว่า..สาธุขอให้เจอะเจอแต่คนดีๆ,,,,

พี่นุสนี่เข้าใจจับประเด็นดีนะครับ ขอบคุณครับพี่นุสที่มาติดตามอ่าน

+ อ่านด้วยความเพลิดเพลินค่ะ.....

+ เล่าผ่านได้สามชั้นเลยนะน้องกวิน...

+ เป็นการนำเสนอที่ไม่ธรรมดา.....ชอบมากค่ะ...

+ อืม...พี่ว่าพี่คิด และเห็นเหมือนกับท่านเสนีย์ และลุงพร้อมค่ะ....

+ มันคือความจริงในสังคมที่ยังเป็นอยู่....แล้วเราจะทำยังไง...ให้คนเท่าทันละ...

+ พี่สงสัยว่า...การศึกษาช่วยได้ไหม....

การศึกษาช่วยได้ครับ ขอบคุณครับ พี่ ที่มาเสนอทางออก การศึกษา+คุณธรรม ช่วยให้คน ดีขึ้นได้ ครับ :)

ยอดเยี่ยมมากค่ะคุณกวิน.. ^__^

ใบไม้ยังจำได้ถึงอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองเวลาที่ได้อ่านงานของ เสนีย์ เสาวพงษ์ ช่างเป็นงานเขียนที่เปี่ยมไปด้วยพลัง.. ให้มุมมอง และกระแทกเข้าไปถึงความรู้สึกข้างในลึก ๆ

งานวรรณกรรมที่ลุ่มลึกเยี่ยงนี้ มีคุณค่าอย่างยิ่ง และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนมองเห็นปัญหาสังคม มีสติที่จะรับรู้และพยายามหาทางออกที่ดีกว่า..

ขอบคุณครับคุณใบไม้ที่แวะมาเยี่ยม ถ้าพูดถึง งานเขียนของ เสนีย์ เสาวพงษ์ ก็ต้องนึกถึงนิยาย ปีศาจ ไม่ก็ ความรักของวัลยา นะครับ ซึ่ง รศ.ดร.ตรีศิลป์ บุญขจร ท่านเขียน แสดงทรรศนะไว้ว่า “ปีศาจ” เป็นนวนิยายเพื่อชีวิตที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ทั้งด้านเนื้อหาและกลวิธีการเขียน ปีศาจมิเพียงแต่น่าประทับใจ ปีศาจยังสร้างพัฒนาการให้นวนิยายไทยอย่างเด่นชัด ทั้งในด้านเนื้อหาและกลวิธี (จากหนังสือ “๘๔ เสนีย์ เสาวพงศ์ ไฟยังเย็นในหัวใจ”)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท