รัตนา:การสร้างCAI วิชาภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่3


แนวคิด ทฤษฎีและจิตวิทยาในการสร้างCAI

 การสร้างCAI วิชาภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่3  เรื่อง What are you doing? 

หลักการและเหตุผล

โรงเรียนขนาดเล็กโดยทั่วไปมักมีครูไม่ครบชั้นและครูทุกคนต้องสอนหลายวิชา ครูที่สอนวิชาภาษาอังกฤษจะมีปัญหามากที่สุดเพราะไม่ได้เรียนเอกภาษาอังกฤษมาทำให้ไม่แม่นในเนื้อหา ไวยากรณ์รวมทั้งการออกเสียง นักเรียนช่วงชั้นที่ 1เองก็มีปัญหาด้านการเรียนภาษาอังกฤษกันมากเพราะพื้นฐานไม่มี โดยเฉพาะเรื่อง  การใช้ Present  continuous tense ครูจึงจำเป็นต้องหาตัวช่วยคือสื่อการเรียนรู้ และสื่อที่สามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้ก็คือCAIนั่นเอง เพราะนอกจากจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนครูแล้ว ยังได้ความรู้ด้านเนื้อหา ไวยากรณ์ การออกเสียงที่ถูกต้อง นักเรียนสามารถใช้ฝึกฝนทักษะ  ซ่อมเสริมตนเองและยังสามารถ เรียนรู้ได้บ่อยครั้งเท่าที่ต้องการ

แนวคิด ทฤษฎีและจิตวิทยาในการสร้างCAI

1.ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (skinner,Pavlov,Watson )

   - เชื่อว่าการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของมนุษย์จะเกิดขึ้นควบคู่กันในช่วงเวลาที่เหมาะสม
   - การเรียนรู้ของมนุษย์เป็นพฤติกรรมแบบแสดงอาการกระทำ (Operant Conditioning) ซึ่งมีการเสริมแรง ( Reinforcement) เป็นตัวการการที่ผู้เรียนจะบรรลุวัตถุประสงค์ได้นั้นจะต้องมีการเรียนตามขั้นตอนเป็นวัตถุประสงค์ๆ ไป
   
ได้นำแนวคิดดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ดังนี้
1.บอกวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
2.แบ่งเนื้อหาเป็นหน่วยย่อย
3.ใช้ภาพและเสียงที่น่าสนใจ
4.นำเสนอเนื้อหาที่แปลกใหม่
5.ให้ข้อมูลย้อนกลับ
6.แทรกคำถามเพื่อกระตุ้น
 
2. ทฤษฎีปัญญานิยม (Cognitivism)
เกิดขึ้นจากแนวความคิดของชอมสกี้ (Chomsky)
เชื่อว่าจิตใจมนุษย์มีความรู้สึก นึกคิด ที่แตกต่างกัน 
มีการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล รู้จักการจัดกลุ่มและตีความ

การนำมาใช้ 
1.เร้าความสนใจก่อนเรียนโดยการออกแบบหน้าแรกให้น่าสนใจ
2.มีเนื้อหาและกิจกรรมให้เลือกเรียนได้
3.ใช้ภาพและเสียงให้สอดคล้องกับเนื้อหาอย่างต่อเนื่อง
 
3. ทฤษฎีโครงสร้างความรู้
การถ่ายโอนความรู้ใหม่เข้ากับความรู้เดิม ช่วยให้เกิดการเชื่อมโยงความรู้นั้นเข้าด้วยกัน
การนำมาใช้ 
1.ออกแบบเน้อหาให้เชื่อมโยงกับความรู้เดิม
2.นำความรู้ที่เรียนไปแล้วมาใช้ในการทำแบบฝึกหัดและแบบทดสอบ 
จิตวิทยาที่นำมาใช้ 
ทฤษฎีการสร้างแรงจูงใจของมาโลน (Malone)
- ความท้าทาย (Challenge)
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ควรจะมีกิจกรรมซึ่ง
ท้าทายผู้เรียนกิจกรรมซึ่งท้าทายผู้เรียนนี้จะต้องมีเป้าหมาย (Goal) ที่ชัดเจนและเหมาะสมกับสมกับผู้เรียน (ไม่ยาก หรือง่ายเกินไป) นอกจากนี้ยังควรที่จะให้โอกาสผู้เรียนในการเลือกระดับความยากง่ายของกิจกรรมตามความต้องการและความสามารถ
- จินตนาการ (Fantasy)
จินตนาการคือ การที่ผู้เรียนวาดภาพของเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง สร้างภาพว่าตัวเองอยู่ในเหตุการณ์หนึ่ง แม้ว่าปกติแล้วการสร้างจินตนาการนี้มักจะไปด้วยกันกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทเกม หากมีผู้พัฒนาก็สามารถใช้การสร้างจินตนาการในการออกแบบเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนสร้างภาพด้วยตัวเองในสถานการณ์ต่างๆซึ่งผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้ข้อมูลความรู้ที่กำลังทำการศึกษาอยู่ได้
  
- ความอยากรู้อยากเห็น (Curiosity) 
  
ความยากรู้ยากเห็นทางความรู้สึก (Sensory Curiosity) ความยากรู้ยากเห็นที่เริ่มจากการกระตุ้นความรู้สึกที่ผ่านทางโสต (การเห็น) โดยสิ่งเร้าที่แปลกใหม่และดึงดูดความสนใจการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยการใช้สื่อรูปแบบต่างๆในการนำเสนอที่แปลกใหม่และดึงดูดความสนใจอยู่ตลอดเวลาบนหน้าจอ
ทฤษฎีแบบจำลองอาร์คส (ASCS Model)
- ความเร้าความสนใจ (Arouse)
ความเร้าความสนใจจะต้องจำกัดในเฉพาะช่วงแรกของบทเรียนเท่านั้น หากเป็นหน้าที่ของผู้ออกแบบที่จะต้องพยายามทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจตลอดทั้งบทเรียนวิธีหนึ่งที่เรียกความสนใจจากผู้เรียนได้ดีก็คือการทำให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็นนั้นเอง
- ความมั่นใจ (Confidence)
การที่ให้ผู้เรียนทราบถึงสิ่งที่ตนเองคาดหวังในการเรียน และโอกาสในการทำให้สำเร็จตามความคาดหวัง พร้อมทั้งคำแนะนำที่มีประโยชน์ เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้เรียนนอกจากนั้นยังควรให้ผู้เรียนได้ควบคุม
การเรียนของตนด้วยซึ่งในข้อนี้จะคล้ายกับทฤษฎีของ
มาโลนในเรื่องของการท้าทายและการควบคุม
-ความพึงพอใจของผู้เรียน (Satisfaction)
การทำให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจในการเรียนมากขึ้นนั้นทำโดยการหากิจกรรมซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ประยุกต์ใช้สิ่งที่ตนเรียนมาในสถานการณ์จริงและจัดหาผลป้อนกลับในทางบวกหลังจากเรียนทั้งนี้จะต้องอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรมด้วย
จากแนวคิด ทฤษฎีและจิตวิทยาดังกล่าวทำให้กลุ่มได้นำไปใช้ออกแบบCAIวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่3  เรื่อง What are you doing? ดังนี้
1.เร้าความสนใจด้วยหน้าแรกที่มีภาพการ์ตูนเคลื่อนไหว ข้อความไม่มากอักษรตัวโตอ่านง่าย และมีเสียงเชิญชวนให้เข้าไปในบทเรียน
2.ให้นักเรียนได้มีปฏิสัมพันธ์โดยการพิมพ์ชื่อเข้าเรียนหรือพิมพ์คำตอบสั้นๆในทุกหน้า และมีเสียงชมเชยเมื่อตอบถูกเป็นการให้แรงเสริม
3.บอกวัตถุประสงค์ชัดเจนไม่เกิน 3 ข้อ(ใช้ตั้งคำถามแทนวัตถุประสงค์)
4.มีบทเรียนให้นักเรียนเลือกเรียนได้( 3 บท)แบบฝึกหัดและแบบทดสอบก็ควรมีให้เลือกได้
5.ใช้คำศัพท์ของชั้นป.1-2ที่นักเรียนเคยเรียนมาแล้วในการนำเสนอเนื้อหาโดยใช้ภาพประกอบหรือเสียงที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
6.ทุกบทเรียนเปิดโอกาสให้นักเรียนเข้าไปทบทวนความรู้ได้ตลอดเวลา
7.เนื้อหาแต่ละหน้าไม่มากเกินไปและมีกราฟิกประกอบเพื่อไม่ให้น่าเบื่อ เช่นมีการเน้นสีเนื้อหาส่วนที่สำคัญขีดเส้นใต้หรือเป็นภาพเคลื่อนไหว
8.มีผลย้อนกลับทันทีในหน้าเดียวกัน
หลักสูตรและ มาตรฐาน
  สาระที่  1 : ภาษาเพื่อการสื่อสาร
มาตรฐาน  ต 1.3 : เข้าใจกระบวนการพูด การเขียน 
และสื่อสารข้อมูล  ความคิดเห็นและความคิดรวบยอดในเรื่องต่างๆได้อย่างสร้างสรรค์  มีประสิทธิภาพและสุนทรียภาพ 
  
จุดประสงค์การเรียนรู้
1.รู้คำศัพท์ คือ  play , read ,sit,eat ,Sleep, run, walk,kick,sing,swim
2. รู้จักโครงสร้างประโยค Present  continuous
3. รู้จักคำกริยาที่เติม ing(verb+ing)
  
เนื้อหาการเรียนรู้
1.คำศัพท์ คือ  play , read,sit,eat,Sleep, run, walk, kick,sing,swim
2. โครงสร้างประโยค Subject+v.to be +v.ing
3. คำกริยาที่เติม  ing(v.ing)  เช่น playing, reading, Sitting,eating  ฯลฯ
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 20492เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2006 15:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 17:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
คนเรียนจากที่อื่น
ทำไมคนไทยต้องเรียน grammar ให้ถูกต้อง ผมว่าน่าจะเรียนรู้วิธีการอ่านให้ถูกจะดีกว่า
ขอบคุณสำหรับข้อคิดเห็น จะนำไปปรับปรุงCAIนี้โดยจะนำเรื่องการฟังและอ่านเพิ่มเติมเข้าไปเพือให้เด็กๆได้ฝึกฝน

น่าจะมีตัวอย่างที่ทำงานเสร็จมาให้ดูบ้าง เพื่อเป็นประโยชน์แก่ครูที่เขียนไม่เป็น

จะได้ขอใช้ตัวอย่างนั้นในการสอน

ถ้าหากว่าสงสัย เรื่องที่เกี่ยวกับ CAI ละก็ ลองสอบถามไปที่ ดร.ไพทูรย์ สีฟ้า น่าจะได้คำตอบดี ๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท