การหาเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งในน้ำยางสด


การหาค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งในน้ำยาง

             ดังที่ทราบแล้วว่าในน้ำยาง 100 ส่วนนั้น จะประกอบด้วยส่วนที่เป็นเนื้อยาง 25-45 ส่วน (เฉลี่ยประมาณ) และส่วนที่เป็นน้ำ 55 75 ส่วน (เฉลี่ยประมาณ 65 ส่วน) ฉะนั้นจะทราบได้อย่างไรว่า น้ำยางของเกษตรกรแต่ละคนที่กรีดได้ในแต่ละวัน จะมีเนื้อยางเท่าใด

             คำตอบก็คือ ต้องหาปริมาณเนื้อยางแท้ในน้ำยาง

             การหาปริมาณเนื้อยางแห้งในน้ำยาง จะหาเป็นค่าของเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งในน้ำยาง โดยคิดเทียบจากน้ำยาง 100 ส่วนว่า จะมีเนื้อยางแห้งอยู่กี่ส่วน ซึ่งวิธีการหาสามารถกระทำได้หลายวิธี แต่ที่นิยมปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบัน มี 2 วิธี คือ

             1)  วิธีใช้เครื่องมือวัดความถ่วงจำเพาะ

             2)  วิธีชั่งน้ำหนักของยางตัวอย่าง หรือ วิธีมาตรฐานในห้องปฏิบัติการ

วิธีใช้เครื่องมือวัดความถ่วงจำเพาะ

                เครื่องมือวัดความถ่วงจำเพาะของน้ำยาง เรียกว่า เมโทรแลค หรือ ลาเทคโซมิเตอร์  เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดหาปริมาณเนื้อยางแห้งในน้ำยางโดยอาศัยค่าความถ่วงจำเพาะของน้ำยาง มีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ ส่วนก้านและส่วนกระเปาะ ที่ก้านจะมีขีดกำหนดค่าเนื้อยางแห้งไว้ โดยจะมี 2 ระบบ คือ ระบบอังกฤษ ซึ่งจะบอกค่าเป็นปอนด์ / แกลลอน และระบบเมตริกซึ่งจะบอกค่าเป็นกรัมต่อลิตร โดยค่าปริมาณเนื้อยางแห้งต่ำจะอยู่ด้านล่างค่าสูงจะอยู่ด้านบน ซึ่งหมายความว่า เมโทรแลคจะจมลงไปในน้ำยางที่มีเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งต่ำ ทั้งนี้เพราะยางที่มีเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งสูงจะมีค่าความถ่วงจำเพาะต่ำกว่าน้ำยางที่มีเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งต่ำ

 

การใช้เมโทรแลควัดหาปริมาณเนื้อยางแห้งยางแห้งในน้ำยางนั้น ส่วนใหญ่โรงงานแปรรูปยางจะใช้วัดหาค่าปริมาณเนื้อยางแห้งในน้ำยางที่ทางการโรงงานรวบรวมได้ เพื่อผลประโยชน์ในการคิดคำนวนน้ำและน้ำกรดที่จะผสมใส่ลงไปในน้ำยาง เพื่อให้ยางจับตัวกันอย่างสมบูรณ์ และมีคุณสมบัติเหมาะสมตามที่โรงงานต้องการ ค่าปริมาณเนื้อยางแห้งที่วัดได้จึงไม่ถูกต้องนักเมื่อเทียบกับวิธีชั่งน้ำหนักยางตัวอย่างหรือวิธีมาตรฐานในห้องปฏิบัติการอย่างไรก็ตามการหาปริมาณเนื้อยางแห้งในน้ำยางโดยใช้เมโทรแลคนี้ทำได้ง่ายสะดวก รู้ผลทันที จึงมีคนนำมาประยุกต์ใช้ในการซื้อขายน้ำยาง ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายสามารถหาค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งได้ และรับจ่ายเงินได้ทันทีที่มีการซื้อขาย

ขั้นตอนการหาค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งในน้ำยางโดยใช้เมโทรแลค

             ก่อนใช้เมโทรแลคในการวัดหาค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง ต้องเตรียมอุปกรณ์ที่จะใช้วัดให้พร้อม ซึ่งได้แก่ เมโทรแลค กระบอกตวงสำหรับใส่น้ำยางเพื่อใช้วัดโดยเมโทรแลค ถาดหรือตะแกรงสำหรับรองกระบอกตวงเพื่อรับน้ำยางที่ล้นกระบอกตวงเมื่อใส่เมโทรแลค และน้ำสะอาด จากนั้นนำเมโทรแลค แช่ลงในกระบอกบรรจุน้ำสะอาดที่เตรียมไว้ เพื่อควบคุมอุณหภูมิให้คงที่และลดแรงตึงผิว แล้วจึงใช้วัดค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งตามขั้นตอน ดังนี้

             1.  ตักตัวอย่างน้ำยางที่ต้องการวัด 1 ส่วน (ประมาณ 250 300 ซี.ซี.) ผสมกับน้ำสะอาด 2 ส่วน กวนให้เข้ากันดี แล้วเทใส่ในกระบอกตวงให้เต็มจนล้น

             2.  เป่าฟองอากาศที่ลอยอยู่บนผิวน้ำยางในกระบอกตวงออกให้หมดแล้วค่อย ๆ หย่อนเมโทรแลคลงไปในกระบอกตวง ปล่อยให้ลอยเป็นอิสระ

             3.  อ่านค่าที่ก้านของเมโทรแลค บริเวณที่ผิวน้ำยางตัดกับก้าน เมโทรแลค หลังจากที่เมโทรลอยตัวนิ่งแล้ว

             4.  นำค่าที่อ่านได้ไปคูณด้วย 3 ก็จะได้เปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งในน้ำยางตัวอย่างที่ใช้วัดออกมา

ตัวอย่าง

             นายเก่ง นำน้ำยางที่กรีดได้จากสวนยางของตน มาวัดหาค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง โดยใช้เมโทรแลค ตามวิธีที่กล่าวแล้วข้างต้น ปรากฏว่าเมโทรแลคที่ใช้ระบบอังกฤษ อ่านค่าได้ 1 ½  และเมโทรแลคที่ใช้ระบบเมตริกอ่านค่าได้ 125 น้ำยางของนายเก่งมีเปอร์เซ็นต์เนื้อยางเท่าใด

วิธีคิด

เมโทรแลคระบบอังกฤษ

ค่าที่อ่านได้ ระหว่าง 1 กับ 1 ½  หรือ         =  1.25

ปริมาณเนื้อยางแห้ง                                            =  1.25 * 3          

                                                                                =   3.75

หมายความว่า

                ในน้ำยาง 1 แกลลอน มีเนื้อยางแห้ง 3.75 ปอนด์ หรือ 37.5 %

เมโทรแลคระบบเมตริก

ค่าที่อ่านได้                                    =  125

ปริมาณเนื้อยางแห้ง                                            =  125 * 3           

                                                                                =   375

หมายความว่า

                ในน้ำยาง 1 ลิตร มีเนื้อยางแห้ง 375 กรัม หรือ 37.5 %

                นั่นคือ น้ำยางของนายเก่ง มีเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง 37.5% หรือ น้ำยางของนายเก่ง 100 กิโลกรัม ถ้าทำให้แห้งจะมีเนื้อยางอยู่ 37.5 กิโลกรัม

 

ข้อควรระวังในการใช้เมโทรแลค

                เนื่องจากากรใช้เมโทรแลควัดหาค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งในน้ำยางนั้นจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับทุกขั้นตอนของการดำเนินงาน เพราะหากเกิดผิดพลาดขึ้น ในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง อาจทำให้ค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งที่วัดได้ผิดพลาดมากกว่าที่ควรจะเป็น ข้อควรระวังในการใช้เมโทรแลค มีดังนี้

 

                1.  น้ำยางที่ใช้วัดต้องเป็นน้ำยางที่สด สะอาด ไม่มีสิ่งเจือปนใด ๆ ในน้ำยาง (ห้ามใส่สิ่งเจือปนใด ๆ ลงไปในน้ำยางเด็ดขาด)

                2.  ตักตัวอย่างน้ำยาง ให้ได้ตัวอย่างน้ำยางที่แท้จริง อย่าตักน้ำยางเฉพาะด้านบนหรือด้านล่างของถังหรือภาชนะใส่น้ำยาง ควรกวนน้ำยางให้เข้ากันดีก่อนตักตัวอย่างน้ำยางไปวัดหาค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง

                3.  ผสมน้ำสะอาดลงในตัวอย่างน้ำยางในอัตราส่วน 2 : 1 (น้ำสะอาด 2 ส่วน น้ำยาง 1 ส่วน) อย่างเคร่งครัด กวนให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วเทใสกระบอกตวงให้เต็มจนล้น และไม่มีฟองอากาศ

                4.  น้ำสะอาดที่ใช้ผสมควรมีอุณหภูมิใกล้เคียงกับน้ำยาง ไม่ร้อนเกินไปหรือเย็นเกินไป

                5.  ก่อนใช้เมโทรแลค ควรล้างเมโทรแลคให้สะอาด และแช่เมโทรแลคไว้ในน้ำสะอาด เพื่อควบคุมอุณหภูมิให้คงที่และลดแรงตึงผิว

                6.  อ่านค่าเมื่อเมโทรแลคหยุดนิ่ง และอ่านตรงบริเวรที่ผิวน้ำยางตัดกับก้านเมโทรแลค

                7.  คูณเลขและจดเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งให้ถูกต้อง อย่าให้ผิด

 

วิธีชั่งน้ำหนักของยางตัวอย่าง หรือ วิธีมาตรฐานในห้องปฏิบัติการ

                วิธีนี้เป็นวิธีวัดหาค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งในน้ำยางได้อย่างถูกต้องแม่นยำ โดยใช้หลักความจริงในการดำเนินงาน คือ นำน้ำยางไปทำให้แห้งให้เหลือแต่เฉพาะเนื้อยาง แล้วนำไปชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบระหว่างน้ำยางก่อนที่จะนำไปทำให้แห้ง กับเนื้อยางที่แห้งแล้วว่าเป็นเท่าไร คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ออกมาก็จะได้ค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งในน้ำยาง เช่น

                น้ำยาง 100 กรัม นำไปทำเป็นยางแผ่นแล้วอบให้แห้ง จะได้ยางแผ่นหนัก 35 กรัม นั่นคือ น้ำยางนั้นมีค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง 35 %

 

อุปกรณ์ที่จำเป็น

                1.  ตู้อบตัวอย่างยาง

                2.  เครื่องชั่งละเอียด ทศนิยมอย่างน้อย 1 ตำแหน่ง ชั่งน้ำหนักได้สูงสุดไม่เกิน 200 กรัม

                3.  จักรรีดยาง ขนาดเล็ก

                4.  ถ้วยพลาสติกใส่ตัวอย่างน้ำยาง

5.       ถ้วยอลูมิเนียม ใส่ตัวอย่างยางเข้าตู้อบ

6.       น้ำกรดอะซิติก ความเข้มข้น 2 %

7.       น้ำกลั่นหรือน้ำสะอาด

ขั้นตอนการหาเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งโดยการชั่งน้ำหนักของยางตัวอย่างหรือวิธีมาตรฐานในห้องปฏิบัติการ

                การหาเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง โดยการชั่งน้ำหนักของยางตัวอย่างหรือวิธีมาตรฐานในห้องปฏิบัติการ มีขั้นตอนดำเนินงาน 10 ขั้นตอนดังนี้

                1.  สุ่มตักตัวอย่างน้ำยางที่ต้องการหาเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง

                2.  ชั่งตัวอย่างน้ำยางในถ้วยพลาสติก ถ้วยละ 10 กรัม (ชั่งถ้วยพลาสติกก่อน ถ้าถ้วยพลาสติกหนัก 8.5 กรัม ก็ให้ใส่นำยางลงไป ชั่งเป็น 18.5 กรัม)

                3.  เติมน้ำกลั่นหรือน้ำสะอาดผสมลงในตัวอย่างน้ำยาง ประมาณ 20 ซี.ซี.

                4.  เติมน้ำกรดอะซีติก ความเข้มข้น 2% ลงไปอีกประมาณ 15 - 20 ซี.ซี. คนให้เข้ากัน

                5.  ตั้งทิ้งไว้ให้ยางจับตัวประมาณ 30 นาที

                6.  นำยางที่จับตัวสมบูรณ์แล้ว ไปรีดให้เป็นแผ่นบาง ๆ ความหนาไม่เกิน 2 มม.

                7.  ล้างแผ่นยางที่รีดจนบางได้ที่แล้วให้สะอาด

                8.  นำแผ่นยางที่ล้างสะอาดแล้ว ไปอบให้แห้งในตู้อบที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส ระยะเวลาอบ 16 ชั่วโมง

                9.  นำแผ่นยางที่อบแห้งแล้วออกจากตู้อบ ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น แล้วนำไปชั่งน้ำหนัก พร้อมบันทึกน้ำยางแห้งไว้

                10.  คำนวณหาเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งจากสูตร

                                เปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง = (น้ำหนักยางแห้ง×100)/น้ำหนักน้ำยางสด

คำสำคัญ (Tags): #น้ำยาง
หมายเลขบันทึก: 204550เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2008 11:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (137)

ปริมาตรของยางที่มีความเข้มข้น 25 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 1 ลิตร มีน้ำหนักทั้งหมดเท่าไรครับ อยากรู้ด่วน

คุณเส็งครับ

หากจะเอาแบบคร่าวๆก็ใช้การคำนวณตามนี้ครับ

น้ำยางสดมีความหนาแน่นเท่ากับ 0.998 kg/L ครับ

ก้คูณเลยครับ 25x0.998 ก็จะได้น้ำหนักแบบคร่าวๆครับ

แต่หากจะเอาแบบชัวร์ๆก็ต้องใช้การชั่งเอาครับ

ความหนาแน่นของน้ำยางสด มีหน่วยเป็น g/L ครับ ไม่น่าจะไช่ kg/L นะ

ไม่ผิดครับ หน่วยเป็น kg/L หรือ g/mL ครับ

แต่ก็ขอบพระคุณที่ทวงติง บางครั้งผมก็เคย

พิมพ์ผิดเช่นกันครับ

หากจะเอาแบบคร่าวๆก็ใช้การคำนวณตามนี้ครับ

น้ำยางสดมีความหนาแน่นเท่ากับ 0.998 kg/L ครับ

ก้คูณเลยครับ 25x0.998 ก็จะได้น้ำหนักแบบคร่าวๆครับ

แต่ผมว่าค่า ถพ. ของน้ำยางน่าจะน้อยกว่านั้นนะครับ

น่าจะอยู่ที่ประมาณ 0.975-0.980 นะครับ

คุณอนุวัตร์ เป็นผุ้เชี่ยวชาญเรื่องยางแน่ ๆ เลย

เลยเขียนบันทึกเกี่ยวกับยางทั้งนั้น

ขอบคุณครับ คุณ กอก้าน>>>ก้านกอ*:)*(แก๊งค์ก้านคอพับ)

ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญ มากมายหรอกครับ

ก็แค่มีประสบการ์ณเกี่ยวกับเรื่องยางนะครับ

มีข้อมูลก็นำมาแจกจ่ายกัน อาจจะมีผิดบ้าง ถูกบ้าง

ส่วนที่ผิด ก็น้อมรับ คำติครับ ส่วนที่ถูกก็จะมีประโยชน์

ต่อผู้อ่านครับ

ตอบคุณ "น้องบอย" ครับ

ตัวเลขที่ผมบอก คือผมได้จากที่ทดลองครับ โดยผมนำน้ำยางสด

ที่ลูกค้าสวนยางมาขายที่โรงงาน ผมนำน้ำยางสด 1 mL

มาชั่งน้ำหนักด้วยเครื่องชั่งที่มีความละเอียด 4 ตำแหน่ง

คืออ่านได้ 0.0001 g แล้วนำมาคิดเป็นค่าความหนาแน่นของน้ำยาง

คือทดลองแบบง่ายนะครับ ก็ได้ตัวเลข 0.998 g/mL ออกมา

ส่วนตัวเลขที่ น้องบอย มีคือ 0.975-0.980 นั้น

คงมาจากเอกสารทางวิชาการครับ ซึ่งเป็นค่าความหนาแน่นของน้ำยางสด

ที่ยังไม่ได้เติมสารเคมี เช่น แอมโมเนียน้ำ,ยาขาวหรือน้ำลงไป

ผมคิดว่าอย่างนั้นนะครับ ก็เลยไม่ตรงกันครับ ผมก็เคยสงสัยเช่นกันครับ

ว่าทำไมไม่ตรงกัน แต่ก็สันนิษฐานว่าคงตามที่ผมกล่าวไปแล่วครับ

ยังไงก็ขอบคุณนะครับ ที่ทวงติงมาครับ

ขอบคุณสำหรับรายละเอียดครับข้อมูลแน่นจังเลย

ศรีตรังคงพัฒนาไปอีกไกลถ้าให้คุณเอกเป็นนักวิจัย

อยากถามคุณเอกว่ามีความเป็นไปได้ไหมถ้าเราจะใช้ก๊าซ

Ozone ในการทำให้ Mg++ ในน้ำยางสดลดลง

แทนการใช้ DAP เนื่องจากคุณสมบัติของโอโซนสามารถ

ทำให้ธาตุพวกเหล็กต่างๆ ตกตะกอนได้ และอาจช่วยรักษา

สภาพน้ำยางได้เนื่องจาก เขาใช้ Ozone ในการค่าเชื้อต่างๆได้

อาจจะเป็นตัวช่วย ควบคุมค่า VFA.no. ได้ด้วย

คนมันอยากรู้นะครับ คือว่าไม่ได้เรียนมาทางด้านยาง

แต่เรียน จบ ไฟฟ้า

ขอขอบคุณ น้องบอย สำหรับความคิดเห็น

ใช้ Ozone ก็เป็นไปได้ครับ

แต่สารรักษาสภาพคุณภาพน้ำยาง ต้องมีขายในท้องตลาด

รวมทั้งราคาถูกด้วยนะครับ ถึงจะมีโรงงานใดโรงงานเลือกใช้

มีนักวิจัย ได้วิจัยคิดค้น สารรักษาสภาพน้ำยางออกมามากมาย

แต่พอหาชื้อในท้องตลาดทั่วไป(ผู้ผลิตหรือจำหน่าย)น้นหาชื้อยาก

และราคาแพง แม้จะมีประสิทธิดีกว่าสารเคมีที่ใช้อยู่ก็ตาม

หากหาชื้อยากและราคาสูง ก็ไม่มีโรงงานไหนใช้

งานวิจัยชิ้นนั้นก็ไร้ค่าในสายตาของผู้ผลิตน้ำยาง

กลายเป็นว่าวิจัยออกมาแต่ไม่มีใครใช้ ปัจจุบันมีแบบนี้เยอะครับ

สวัสดีครับคุณเอก

ผมอยากทราบว่าคุณเอกพอจะแนะนำตัวแทนหรือโรงงานที่รับซื้อน้ำยางสดที่สุราษฎร์บ้างไม่ครับ พอดีผมมีสวนยางนิดหน่อยที่อำเภอกิ่งวิภา สุราษฎร์

แต่ไม่อยากทำยางแผ่น หรือทำขี้ยางขาย เพราะติดปัญหาเรื่องน้ำ และการลักขโมยยางแผ่นที่ตากไว้ สวนข้างๆยกเค้าไปหมดหลายครั้งแล้วครับ

ให้คนกรีดยางนอนเฝ้า เขาก็บนกลัวโดนปล้นตอนกลางคืน ผมมาคิดดูกับเพื่อนๆถ้าขายน้ำยางสดก็น่าจะดีและสะดวก เพื่อนๆแนะนำให้ผมรับซื้อไปเลย

ตอนแรกจะซื้อน้ำยางสดขนไปทำแผ่น แต่ไปศึกษาดูแล้วโอกาศขาดทุนสูงมาก จึงอยากจะขายนำยางสดแทน แต่ยังหาตัวแทนหรือโรงงานที่รับซื้อน้ำยางสด

จึงอยากจะขอคำแนะนำด้วยครับ

ขอบคุณมากครับ

ทวีศักดิ์

ผมขอแนะนำลองติดต่อ 2 บริษัทนี้ครับ ซึ่งแตะละบริษัทก็จะมีจุดรับซื้อย่อยอีก

ซึ่งอาจจะใกล้กับสวนยางของคุณทวีศักดิ์ ลองติดต่อก้บฝ่ายสรรหาวัตถุดิบ

ของโรงงานนะครับ

1. บริษัท ศรีตรัง แอโกรอินดัสทรี จำกัด(มหาชน) สาขาสุราษฎร์ธานี

68/2 ม.4 ถ.สุราษฎร์-พุนพิน ต.วัดประดู่ อ.เมือง 84000 เบอร์แฟกส์ (077)200524 เบอร์โทร(077)200521-3

2. บริษัท ศรีตรัง แอโกรอินดัสทรี จำกัด(มหาชน) สาขากาญจนดิษฐ์

๑๐๑/๑-๔ ม.๗ ต.พลายวาส อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี โทร.๐๗๗-๒๐๐๕๒๒.

มีแต่โรงงานที่ต้องการน้ำยางสด ถ้าเราสามารถหาน้ำยาง

ได้ปริมาณมากๆ เราจะมีอำนาจในการต่อรองราคาได้ระดับหนึ่ง

และอีกอย่างโรงงานก็มีเกณฑ์ในการรับซื้อในเรื่องของ DRC

และ VFA.no. ซึ่งยังไงก็ต้องเข้าไปคุยรายละเอียดกับทางฝ่าย

สรรหาของบริษัทนั้นๆ ยังไงก็ลองบวก-ลบ ระยะทาง

กับราคา ของแต่ละโรงงานดูแล้วกัน

จะบอกให้ว่าโรงงานบางโรงมีเครื่องปั่นจำนวนมากยังหาน้ำยางมาป้อนให้

ปั่นไม่ทันเลย ฮิฮิ

ขอบคุณมากครับคุณเอก น้องบอย

อยากได้คำแนะนำ

1. การหา DRC ง่ายๆสำหรับจุดรับซื้อนำยางสดครับ และอุปกรณ์ที่จำเป็นในการรับซื้อครับ

2.ปริมาณแอมโมเนียที่ใช้เพื่อรักษาสภาพน้ำยาง

3.น้ำยางสดจากสวนใส่แอมโมเนีย เก็บรักษาได้กีวัน ส่งโรงงานนำยางข้นแล้วไม่เน่าเสีย

4.คำแนะนำดีๆและประสบการณ์คนที่ทำแล้วสำเร็จและล้มเหลว จะได้ไม่เจ็บตัวครับ

ขอบคุณมากๆๆครับสำหรับคำแนะนำดีๆ

ขอแนะนำเฉพาะที่แนะนำได้แล้วกัน

1.เรื่องการหาค่า DRC นั้นเรื่องการใช้แมโทรแลคนั้นคุณเอกได้อธิบายไว้แล้วตามไปดูได้เลย ส่วนอีกวิธีที่เห็นพวกพ่อค้าแถวบ้านทำเห็นใช้ไมโครเวพ อะครับ

คือน่าจะเป็นวิธีการคร่าวๆ คล้ายๆการทำ TSC ของห้อง Lab แต่ก็ไม่ได้สังเกตุว่าเขาชั่งน้ำยางสดกี่กรัม และเมื่อชั่งแห้งแล้ว เขาจะคูณจะหารอย่างไร จึงออกมาเป็นค่า DRC ให้กับชาวสวน แต่อย่างไรเขาก็ต้องทำให้เขา ชนะเปอร์เซนต์ชาวสวนอยู่แล้ว

2.เรื่องปริมาณแอมโมเนียที่ใช้ในการรักษาสภาพน้ำยางนั้นส่วนมากทางโรงงานจะให้กับลูกค้าน้ำยางสด ในปริมาณน้ำยางสด 1 ตัน / แอมโมเนียน้ำ 30 กก.+ ยาขาว 1 กก. ซึ่งจะใส่มาในแกลลอนเดียวกันเราก็ใส่ตามสัดส่วนที่เขาให้มานั่นและครับ การเติมควรจะแบ่งเติมนะครับ คือ 1 รองพื้น 2 เมื่อได้ปริมาณ 1/2 ของถัง 3 ก็เต็มถังแล้วคนให้เข้ากันให้ดี ออลืมบอกไปก่อนเติมเขย่าให้ยาขาวกับแอมโมเนียเข้ากันให้ดีเสียก่อน เพราะเมื่อทิ้งไว้นานๆ ยาขาวจะตกตะกอน

3 เรื่องการเก็บรักษาน้ำยางสดนั้นเน้นความสะอาดเป็นหลักครับควรกรองน้ำยางสดก่อนถ่ายลงถังด้วย หลังจากถ่ายน้ำยางออกจากถังทุกครั้งควรต้องล้างให้สะอาดและแห้ง และแนะนำให้ส่งทุกวัน แต่หากมีเหตุจำเป็นเช่นได้ปริมาณน้อยไม่เพียงพอที่จะส่งก็จำเป็นต้องมีการดองน้ำยาง 1 คืน ซึ่งจะมีความเสี่ยงอยู่บ้างที่ยางจะ มีค่า VFA.no สูงเกินกว่าเกณฑ์ที่ทางโรงงานกำหนด ซึ่งส่วนมากพ่อค้าจะเพิ่มปริมาณแอมโมเนียที่เติมให้สูงขึ้น และส่วนมากจะไม่ค่อยเกินที่ทางโรงงานกำหนด(ประมาณ O.070) แต่ถ้าดองน้ำยาง 2 คืนมีแนวโน้มที่จะเกินได้สูง ซึ่งถ้าค่า VFA.no เกินทางโรงงานจะตัดราคา ตามสัดส่วน และหากไม่รับซื้อก็ได้

4 แนะนำยากนะครับข้อนี้ก็มีทั้งคนที่สำเร็จ และล้มเหลว เพราะมีหลายปัจจัยนะครับในธรกิจเกี่ยวยางพาราไทย แต่แนวโน้มแล้วธรุกิจน้ำยางสดนั้นน่าจะดีกว่ายางแผ่น เรื่องหลักของน้ำยางคือ ค่า DRC ส่วนเรื่องราคานั้นเราเป็นพ่อค้าควรจะมี Connection สัก 2 ที่เพื่อจะได้มีทางเลือกบ้าง

การทำธุรกิจสำคัญคือความซื่อสัตย์ ทั้งต่อตัวเอง ลูกค้าน้ำยาง โรงงานหรือศูนย์รับซื้อ ค่อยๆทำไป แล้วประสบการณ์จะสอนท่านเอง

ปาดเจ้าของบล็อคแล้วโทษที ยังไงก็รอ"คุณเอก"เพิ่มเติม

เห็นด้วยกับ คุณ "น้องบอย" ครับ

ผมยินดีและดีใจอย่างยิ่งที่มีผู้มาแสดงความคิดเห็น

แนะนำ ความรู้และประสบการณ์ ยินดีต้อนรับคุณ น้องบอย เสมอครับ

ตามสบายเลยครับ บล็อคผม ก็เป็นบล็อคของทุกท่านเช่นกันครับ

ผมยังมีประสบการณ์เกี่ยวกับ การซื้อ-ขาย น้ำนางสด น้อยครับ

น้องบอย คงจะมีประสบการณ์มากกว่าผม ส่วนใหญ๋ข้อมูลที่ผมมี

จะเป็นในเรื่องของการตรวจสอบคุณภาพ,การรักษาคุณภาพของน้ำยางมากกว่า

หากในด้านเทคนิค การดูแลการซื้อ-ขาย ก็ต้องขอคำแนะนำจาก น้องบอย ด้วยละกัน ผมขอเพิ่มเติมข้อมูลของน้องบอย นิดนะครับ

ในข้อ 1 ที่นน้องบอย กล่าวถึงคือ การทดสอบหาค่า TSC แบบเร็วครับ

เป็นวิธีลัดในการหาค่า DRC ของน้ำยางสดแบบหยาบๆครับ ความถูกต้อง

อาจจะอยู่ในช่วง 90-95% ครับ แต่หากทำไปสักระยะแล้วนำข้อมูลที่ทำมา

วิเคราะห์หาค่าความคลาดเคลื่อน ก็จะทำให้ได้ค่า DRC ที่ถูกต้องขึ้นครับ

คือในน้ำยางจะ ประกอบด้วย ของแข็ง ซึ่งรวมเนื่อยางและสิ่งที่ไม่ใช่เนื้อยาง

เช่น ขี้แป้งที่ชาวสวนเรียกกันหรือตกตะกอนสิ่งสกปรก เป็นต้น และของเหลวหรือน้ำ หากเราหาปริมาณของแข็งในน้ำยาง คือ TSC ที่ว่านั้นแหละครับ

แล้วเรามีค่า ของแข็งที่ไม่ใช่เนื้อยางโดยทั่วไปจะเรียกว่าค่า NRC

แล้วนำ TSC-NRC ค่าที่ได้คือ ปริมาณเนื้อยาง(DRC)ครับ

ส่วนเรื่องการแพ้หรือชนะค่า DRC นั้นมีกันทุกคนครับ ไม่มีใครชนะตลอด หรือ

แพ้ตลอด โรงงานก็เช่นกันครับ อย่ากลัวเลยครับ

เหมือนที่ น้องบอยแนะนำนั่นแหละครับ "แล้วประสบการณ์จะสอนท่านเอง"

"คุณเอก" ครับมีโปรแกรมมาแนะนำ

เป็นโปรแกรม Latex สำหรับศูนย์ซื้อน้ำยาง

มีทั้งตัวที่ Download และ license ตาม Address ข้างล่าง

เผื่อเป็นประโยชน์กับท่านที่สนใจ

http://www.qsofttech.com/content/view/101/27/

ช่วงนี้ผมว่างมากนะครับ วิจัยฝุ่นอยู่นั่งหน้าจอวันละหลายชั่วโมง ไม่รู้ทำอะไร

ช่วงนี้เป็นชาวสวนอะครับ ตัดแต่งหญ้าสวนยาง- ใส่ปุ๋ย ที่บ้าน ขี้คร้านทำงานให้คนอื่นรวย

ไม่อยากให้คนที่บ้าน ต้อง ทำงานหนัก ช่วยงานที่บ้านดีกว่า ไม่มีเงินเดือน

เพราะทำงานมีเงินเดือน ก็ไม่เหลือเก็บ เพราะที่ผ่านมา ทั้งกิน ทั้งเที่ยว

ที่จริงผมก็ไม่ได้ มีประสบการณ์อะไรมากมายหรอกครับ ก็แค่เคยทำงานในโรงงาน

ผลิตน้ำยางข้นปีกว่า และได้พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคนหลายคน

จนถึงลูกค้าน้ำยาง ที่จริงผมก็อยากเปิดศูนย์ซื้อน้ำยางนะ แต่ว่า...........

อยากทราบว่าคุณบอยทำงานอยู่ที่เดียวกับคุณเอก รึปล่าว ที่ RBL หนะ เก่งทั้งคู่เลย

อยากสอบถามหน่อยคะ ว่าเราสามารถหาปริมาณ T/Z ในน้ำยางสดได้รึปล่าว เครียดมากเลย หาคำตอบไม่ได้

ยังไงก็ขอบคุณล่วงหน้านะคะ

สามารถทดสอบหาปริมาณ T/Z ได้ทั้งในน้ำยางสดและน้ำยางข้นแล้วครับ

เป็นงานวิจัยที่อาจารย์ ดร.วิไลรัตน์ ชีวะเศรษฐธรรม

ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้วิจัยออกมา

สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://gotoknow.org/blog/aceru1/230194

ได้เลยครับ หากต้องการวิธีการก็ลองติดต่อสอบถามกับอาจารย์ดูนะครับ

ผมไม่ได้ทำงานที่เดียวกับคุณเอกหรอกครับ แต่คนที่ทำงานเกี่ยวกับโรงงานน้ำยางข้น ก็ต้องต้องมีความรู้พวกนี้อยู่แล้ว แล้วแต่ใครจะลึกซึ้งกว่ากันในรายของแต่ละความรับผิดชอบแต่ละหน้าที่และตำแหน่ง และยังมีคนอีกหลายคนที่รู้มากกว่าผม และคุณเอก แต่เขาอาจไม่ได้ใช้บล็อคนี้ เราก็แค่คนที่พอมีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมยางและใฝ่หาความรู้ไม่ให้มันหยุดนิ่ง

เรื่อง T/Z นั้นจริงๆโรงงานจะมีอัตราส่วนการใช้ ตั้งแต่จ่ายให้ลูกค้าน้ำยางสด เติมในบ่อพักน้ำยาง ก่อนที่จะจ่ายให้กับเครื่องปั่น และเมื่อจ่ายปั่นออกมาแล้วเป็นน้ำยางข้นก็จะมีการเติมเพื่อให้เหมาะสมกับน้ำยางข้นแต่ละชนิด ตั้ง low Ammonia , meduim Ammonia Hi Ammonia ขั้นตอนของโรงงานที่ผ่าน Iso ต้องสามารถสอบกลับผลิตพันธ์ได้ จึงต้องรู้ว่าเราเติมสารเคมีต่างๆ ปริมาณเท่าไรก่อนจะเป็น finish Product

ส่วนเรื่องอัตราการเติม T/Z ในน้ำยางสดนั้น ขออธิบายคร่าวๆแล้วกัน

เริ่มตั้งแต่การเตรียมสารเคมี TMTD/ZnO จะมีความเข้มข้น 25% จ่ายให้กับลูกค้าน้ำยางสด 1 กก. ต่อน้ำยางสด 1000 กก แสดงว่า ในน้ำยางสดจะมี T/Z=0.250 กก. ต่อน้ำยางสด 1000 กก. ซึ่งเทียบเป็นเปอร์เซนต์ = 0.025%

และอาจจะมีการเติมในบ่อพักน้ำยางก่อนที่จะจ่ายปั่นอีก

ปล. ตัวเลขต่างๆ นั้นเป็นแค่คร่าวๆ จากที่เคยทำงาน ส่วนเรื่องที่จะหาค่า T/Z จากตัวอย่างน้ำยางนั้นให้คุณเอกแนะนำดี กว่า่

รบกวนคุณเอกช่วยตรวจสอบความถูกต้องด้วย

Thank&best regard.

สวัสดีครับคุณเอก น้องบอย

ขอบคุณมากครับสำหรับแชร์ข้อมูลที่มีประโยนช์และประสบการณ์ที่ดีมากๆๆ สำหรับคนทั่วไปและมือใหม่อย่างผม คงจะได้แลกเปลี่ยนกันอย่างต่าเนื่องนะครับ

ผมว่าถ้าพวกเราช่วยกันคนละไม้คนละมือ เมืองไทยของเราและบ้านเมืองของเราคงจะพัฒนาไปได้อีกไกลนะครับ อย่าไปหวังนักการเมืองขี้โกงบางคน

นักธุรกิจเห็นแก่ตัวบางกลุ่ม เราประชาชนต้องรวมตัวกันเองทำตามแนวพ่อหลวงท่านเศรษฐกิจพอเพียง น่าจะดีที่สุด

ขอโทษที่บนความอึดอัดใจออกมานะครับ

อยากจะทราบว่า

1. น้ำยางโดยทั่วไป มีเนื้อยางประมาณกี่ % ค่าต่ำสุด-สูงสุดด้วยนะครับ

2.ยางในช่วงเริ่มกรีดจะมี%เนื้อยางสูงหรือต่ำต่างกันหรือไม่ อย่างไร

3.ทราบได้อย่างไรบ้างถ้ามีแป้งหรือทิสซูผสมในน้ำยาง ถ้าเช็คค่า%เนื้อยางโดยไมโครเวฟ ผมไม่คิดว่ามีคนจะทำนะ

แต่เพื่อนแนะนำให้เรียนรู้เพื่อป้องกันไว้ก่อนครับ

ขอบคุณมากครับสำหรับทุกคำแนะนำ

ส่วนมากแล้วน้ำยางจะมีค่า DRC อยู่ในช่วง 30-40% หรือ 45% ก็มีเจอบ่อยเหมือนกันสำหรับสวนยางที่มีความสมบูรณ์ เจ้าของดูแลอย่างดีดินดีใส่ปุ๋ยถึงแต่ส่วนมากแล้วพ่อค้าจะตัดลงมาให้เหลือแค่ไม่เกิน 40%

ซึ่งค่า DRC ขึ้นอยู่หลายปัจจัย

1.เริ่มตั้งแต่อายุของยาง ยางอายุไม่ถึง 10 ปีจะให้ค่า DRC ที่ต่ำกว่า เพราะโมเลกุลของเนื้อยางยังเล็ก

2.สายพันธ์ของยาง อันนั้นผมไม่ลึกซึ้ง เช่น 251 600 24 อะไรพวกนี้ลองหาข้อมูลเพิ่มแล้วกันจากweb กองทุนสวนยาง เขาจะอธิบายไว้เยอะ ทั้งเรื่องของสภาพพื้นที่ ที่แต่ละพันธ์ ข้อเด่นข้อด้อยของแต่ละสายพันธ์

ความสมบูรณ์ของแร่ธาตุที่ได้รับ รวมถึง ปริมาณความชุ่มชื่นของผิวดิน อันนี้สำคัญมากกว่าส่วนอื่นๆๆ

3.ระบบการกรีด คือ ความยาวของหน้าที่กรีด และการเว้นวันกรีด

ฤดูกาล เช่น ฤดูหนาว ช่วง ธันวาคม ถึง มกราคม จะเป็นช่วงที่ต้นยางให้ปริมาณน้ำยางเยอะที่สุด

แต่ค่า DRC ก็จะลดลงมากเช่นกัน

ช่วงต้นฤดูการกรีดหลังจากยางได้พักพื้นจากการกรีดและการบำรุงโดยการใส่ปุ๋ยต้นยางจะให้น้ำยางที่มีค่า DRC ดี

3.ทราบได้อย่างไรบ้างถ้ามีแป้งหรือทิสซูผสมในน้ำยาง ถ้าเช็คค่า%เนื้อยางโดยไมโครเวฟ

ยกให้เจ้าของบล็อค เพราะ พี่ท่านแกอยูในห้อง Lab ทุกวัน ฮิฮิ..

ยินดีครับถ้าความรู้และประสบการณ์อันน้อยนิดของผมจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจ แต่ยังไงก็ต้องยกให้เจ้าของบล็อคแล้วกัน ที่ทำให้เราได้อาศัยบ้านหลังนี้เป็นที่แชร์ ประสบการณ์

โทษทีข้อมูลเกี่ยวกับพันธ์ยาง ไม่ใช่ของกองทุนสวนยางครับ

แต่เป็นของ www.rubberthai.com ฮิิฮิ...

ตอ้งขอโทษท่านสอบถามมา แต่ผมตอบช้าไป ตอ้งขอบคุณ น้องบอย

ที่นำประสบการณ์และความรู้อันล้ำค่ามาให้พวกเรารู้และเข้าใจมากขึ้น

ยินดีเสมอครับ ที่ทุกท่านใช้พื้นที่ในบล็อค แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด

ประสบการณ์ เพราะบางเรื่องผมก็ยังไม่มีประสบการณ์ตรงเหมือน

กับ น้องบอย จึงตอบให้หายข้องใจไม่ได้

ขอเพิ่มเติมเรื่อง T/Z ต่อจาก น้องบอย อีกนิดนะครับ

ในส่วนของตัวเลข %T/Z น้นก็ตามที่น้องบอยกล่าวไว้แล้วครับ

แต่ตัวเลขที่แสดงนั้นเป็น อัตราส่วนการเตรียม T/Z ของโรงงาน

จะบอกว่าในน้ำยางสด หรือในน้ำยางข้น มีปริมาณ T/Z เท่าไรนั้น

ก็ต้องทดสอบหาปริมาณ T/Z ครับ ถึงจะบอกได้ชัดขึ้นว่าเป็นปริมาณเท่าไร

หากอยากจะรู้แบบคร่าวๆ ก็ตามที่ น้องบอย ชี้ให้เห็นละครับ

ถูกต้องแล้ว

ตอบคุณ คนกันเอง ครับ

ผมขอยกเครดิตให้กับคำตอบจาก น้องบอย นะครับ

เป็นคำตอบที่ถูกต้องแล้วครับ คุณ คนกันเอง สามารถนำไปใช้ได้เลยครับ

ผมขอตอบในส่วนของข้อ 3 แล้วกันนะครับ

หากต้องการทราบว่ามี แป้ง หรือ ทิชชู ผสมมาในน้ำยางด้วยหรือไม่นั้น

มีหลายวิธีครับ

1.ใช้วิธีหาค่าปริมาณของแข็งที่ไม่ใช่เนื่อยาง ในน้ำยาง โดยการทดสอบค่า

ปริมาณของแข็งในน้ำยาง ควบคุมไปกับการทดสอบหาปริมาณเนื้อยางแห้ง

ในน้ำยางครับ เมื่อเอาค่าปริมาณของแข็งในน้ำยาง(TSC) ลบกับ

ค่าปริมาณเนือยางแห้งในน้ำยาง(DRC) ก็จะได้ค่าปริมาณของแข็งที่ไม่ใช้เนื้อยาง(NRC) ซึ่งจะเป็นตัวบอกเราว่ามีการผสมอะไรมาในน้ำยางเพราะโดยทั่วไปแล้วค่า NRC ของน้ำยางสดไม่ควรจะเกิน 2.0-2.5%

2.ทดสอบหาว่ามีแป้งผสมมาด้วยหรือไม่โดยใช้สารละลายไอโอดีน หยดลงไปในน้ำยางดูครับ หากมีการเปลี่ยนสีจากสีน้ำตาลซึ่งเป็นสีของสารละลายไอโอดีน ไปเป็นสีน้ำเงินเข้ม ก็แสดงว่ามีแป้ง อยู่ในน้ำยางสดครับ

การทดสอบเนื้อยางด้วยไมโครเวฟน้น ไม่สามารถบอกได้ถึงปัญหาดังกล่าวครับ

จริงแล้วเรื่องเกี่ยวยาง หากจะให้เข้าใจกัน ต้องคุยกันยาว

ถ้าไม่เป็นการรบกวนนะครับ ท่านที่สงสัย กรุณาฝากเบอร์โทรติดต่อ

มาที่ E-mail ของผม ก็จะดีมากเลย ผมจะได้โทรไปอธิบายให้เข้ามากขึ้น

เพราะบางครั้งการพูดมันจะทำให้เข้าใจง่ายกว่าการเขียน

น้องบอย รบกวนฝากเบอร์ติดต่อมาให้ด้วยนะครับ จะได้คุยกันหน่อย

e-mail ของผมคือ [email protected] ครับ

ส่วนในบล็อคก็จะนำคำตอบมาให้ต่อไปครับ

ขอบคุณทุกท่านอีกครั้งครับ ที่ทำให้บล็อคผมมีประโยชน์แก้ผู้อ่านครับ

ขอบคุณจากใจจริงครับ

สวัสดีค่ะ อ่านเวปนี้แล้วได้ความรู้เยอะมากค่ะ เนื่องจากว่าตนเองเป็นมือใหม่เรื่องยาง แต่พอดีอยู่ที่จีน มีลูกค้าโรงงานจีนต้องการซื้อยางเพื่อไปใช้ในโรงงานเค้า ไม่ทราบว่าจะพอให้รายละเอียดแหล่งซื้อส่งของยางได้หรือเปล่าค่ะ ยังไงฝากอีเมล์มาได้ค่ะ ที่ [email protected]

อยากสอบถามเรื่องยางเพิ่มเติมค่ะ ทางกรมศุลจีนต้องการเอกสาร Quarantine Certificate จากบริษัทตรวจสอบคุณภาพสินค้าที่ตกลงกันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย มันคืออะไรหรอค่ะ ปกติบริษัทขายส่งต้องมีเอกสารนี้อยู่แล้วหรือเปล่าค่ะ

ยางที่ส่งออกต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นยางแผ่นรมควันหรือยางประเภทไหนค่ะ อายุการเก็บเก็บได้นานเท่าไหร่ค่ะ

ขอบคุณอย่างสูงค่ะ

บริษัที่ส่งออกยางเขามี Cer ทั้งนั้นและครับ

อยู่ที่คุณต้องการยางประเภทไหน ยางแผ่นรมควัน

ยางแท่ง เกรดไหน STR5 STR10 STR20

หรือยางสกิมละครับ ลองติดต่อฝ่ายการตลาด

บริษัทต่างๆดู หรือ ดูที่ AFET ลองดูที่ ศรีตรังมีสาขาที่จีนด้วย

หรือวงศ์บัณฑิต

ขอเพิ่มเติม น้องบอย นะครับ

ใบ Quarantine Certificate คือใบรับรองคุณภาพสิ้นค้าที่จะส่งมอบ

ให้ลูกค้าครับ ส่วนบริษัทขายส่งส่วนใหญ่จะไม่มีใบนี้ครับ เพราะผู้ผลิตจะเป็นผู้

ที่จะออกใบนี้ให้ ยกเว้นบริษัทนั้นมี Lab ตรวจสอบคุณภาพเป็นของตัวเอง

หรือจะส่งไปให้ Lab ที่รับตรวจสอบให้ตรวจสอบให้และออกใบรับรองก็ได้ครับ

ส่วนยางที่จะส่งออกไปต่างประเทศนั้น แล้วแต่ผู้ซื้อต้องการครับ ผู้ขายจัดให้ได้

ทุกอย่างที่ลูกค้าต้องการครับ เพราะเมื่อมีผู้ซื้อก็ย่อมมีผู้ขายครับ

ในส่วนของอายุการเก็บ ก็แล้วแต่ความต้องการครับจะเก็บน้อยหรือนาน

และขึ้นอยู่กับคุณภาพ และชนิดยางที่ต้องการครับ

แหล่งซื้อขาย ก็ต้องติดต่อฝ่ายขายของแต่ละบริษัทครับ เช่น

กลุ่มบริษัทศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด(มหาชน) ก็ลองเข้าไปที่

www.sritranggroup.com ครับ

ขอบคุณนัองบอยที่ตอบให้นะครับ

สวัสดีครับคุณเอก น้องบอย

พอดียุ่งๆกับการเข้าป่ายาง เลยไม่ได้ติดตามข่าวเสียหลายวัน

ตอนนี้กำลังเตรียมการเอานำยางในสวนเองไปขายแต่ต้องรวบรวมของพรรคพวกด้วยเพราะของเราคนเดียวไม่คุ้มค่าน้ำมัน

ขับรถขึ้นลงเขา ประมาณ 75 กม.จึงจะถึงจุดรับซื้อที่คุณเอกและน้องบอยแนะนำ ไม่รู้ว่าน้ำยางจะเป็นก้อนหมดหรือไม่

ถ้าติดขัดอะไรจะถามใหม่ครับ

ขอบคุณครับ

ปกติแล้วน้ำยางจะคงสภาพเป็นน้ำยางหลังจากกรีดแล้วประมาณ 6 ชั่วโมง

แต่ถ้าพี่ท่านเติมแอมโมเนียก็ไม่แข็งแน่นอนครับ

แล้วพี่ท่านไม่มีแอมโมเนียหรือครับ ออแล้วรวบรวมได้วันละกี่ร้อยกิโลละครับ

ไปส่งที่ไหนละครับ โรงงานหรือลานรับซื้อละครับ แต่ถ้่าจะให้แนะนำยังไงโรงงาน

ก็มีความน่าเชื่อถือมากกว่า ส่งที่ไหนบอกได้ไหม เราเคยอยู่ บ้านดอนนะ

ยังไงช่วงนี้ราคาน้ำยางก็สูงกว่ายางแผ่น ขอให้ประสบความสำเร็จแล้วกัน

ยินดีให้คำปรึกษาครับ ถ้าเราพอมีข้อมูล มาเล่าให้ฟังบ่อยๆนะครับ

ขอบคุณน้องบอยและคุณเอกมากครับ

ผมติดต่อโรงงานที่คุณเอกแนะนำครับ บริษัท ศรีตรัง แอโกรอินดัสทรี จำกัด(มหาชน) สาขาสุราษฎร์ธานี ติดต่อโรงงานเรียบร้อยแล้วครับ เพียงที่เดียวเท่านั้น ตอนนี้กำลังหาแทงค์ใส่รถบรรทุกอยู่ครับ ยางในสวนที่ตัดได้ก็ทำแผ่นไปก่อนครับ

ยิ่งตอนนี้ฝนตกทุกวัน ยางตัดแทบไม่ได้เลย ไว้มีรถพร้อม พรรคพวกพร้อมที่จะขาย ส่วนใจพร้อมนานแล้วครับ คงจะลงมือลุยแลสักตั้งครับ

น้องบอยคงเคยอยู่บ้านดอนนะ มีไหร่แนะหรืออยากได้ความช่วยเหลือไหร่ได้ ยินดีนะครับ ทั้งน้องบอยและคุณเอก ถ้าทำได้สำเสร็จมีโอกาสอยากเลี้ยงข้าวสักมื้อจังหู

******คนบ้านเดียวกันแค่มองตากันก็เข้าใจอยู่ รู้ว่าเหนื่อแค่ไหนว่าหนักแค่ไหน อดทนต่อสู้ ยังมีคำปลอบโยน ยังมีคำปลอบใจ มีคำว่าสบ่ายดีม้ายให้กันเสมอ นะคนปักษ์ใต้บ้านเรา*******

กำลังคิดที่จะซื้อน้ำยางสดอยู่ยังไมรู้เรื่องเลยมีท่านใดบ้างที่พอจะแนะนำได้บ้าง และมี่ที่จะให้ดู่งานได้บ้างและแนะนำโรงงานงานใดบ้างที่จะขายได้บ้างช่วยตอบให้ด้วยจะเป็นบุญคุณมาก

ขอแสดงความยินดีที่คุณ คนกันเอง ได้เปิดกิจการชื้อ ขายน้ำยางสดด้วยนะครับ

ขอให้กิจการเจริญรุ่งเรื่องและประสบความสำเร็จนะครับ

ส่วนคุณ เต็มทรัพย์ ลองเข้าไปสอบถามที่ศูนย์วิจัยยางหรือกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางของจังหวัดที่คุณอยู่นะครับ หรือจังหวัดใกล้เคียงก็ได้

คิดว่าที่นั่นจะมีคำตอบที่คุณเต็มทรัพย์ ต้องการทราบครับ ส่วนโรงงานไหนนั่น

คุณเต็มทรัพย์อยู่จังหวัดไหนละครับ จะได้แนะนำได้ถูก

ไป site งาน ที่ วิภาวดี มา ชื่อบ้านเกาะวา สุดยอดเลยครับ ทาง ดินแดง 6 กิโล 2 ข้างทาง สวนยางทั้งนั้น แต่เราเอาเจ้า city ไป สงสารรถจังเลย

ออเดี่ยวนี้ STA KD ไม่วื้อรถเล็ก

ไม่ใช่อย่างงั้นหรอก น้องบอย เป็นเทคนิคการตลาดเขางะ

ตามมาอ่านได้ความรู้จริงๆ อยู่กลุ่มบริษัทเดียวกัน แต่คนละ product กัน

พี่พอจะมีข้อมูลเกี่ยวกับ มาตรฐานยางผ่านและมาตรฐานยางแห้ง มั๊ยค่ะ

ต้องการข้อมูลที่จะนำมาทำรายงานค่ะ

ขอบคุณมากน่ะค่ะ

น้องจากมอ. ช่วยส่ง e-mail มาให้ด้วยครับแล้วจได้ะส่งไปให้ครับ

อยากทราบว่า แอมโมเนียที่ทางโรงงานขายให้กับผู้รับซื้อน้ำยาง มีสารเคมีอย่างอื่นผสมด้วยหรือเปล่าค่ะ เช่น สารกันบูด พอดีอยากได้น้ำยางจากสวนมาทำวิจัยคะ แต่ต้องให้เขาเติมแอมโมเนียมา ชาวสวนบอกว่าเป็นแอมโมเนียจากโรงงาน เลยไม่แน่ใจว่าส่วนใหญ่ทางโรงงานผสมอย่างอื่นมาด้วยหรือเปล่า

รบกวนหน่อยนะคะ

เด็กบางมดค่ะ

ขอโทษคุณเอกและน้องบอย ที่อาจจะตอบตัดหน้านะครับ

ปกติน้ำยางสดจะแข็งตัวได้ง่าย โรงงานจึงต้องให้เติมแอมโมเนียกันน้ำยางแข็งตัว และต้องเติมยาขาว ซึ่งประกอบด้วยสารเคมี Zno และTMTD ป้องกันน้ำยางบูดเสีย แต่เขาใส่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

คุณเอกและน้องบอยช่วยเสริมรายละเอียดเพิ่มก็ดีนะครับ

ขอบคุณค่ะ

แต่ไอ้เล็กน้อยเนี่ยมันซักกี่เปอร์เซ็นต์คะ เพราะถ้าเล็กน้อยที่ว่าก็ส่งผลต่อการบูดเน่าของยางได้แล้ว และในกระบวนการผลิตยางข้นหลังจาก Centrifuge แล้วเราต้องเติม TMTD/ZnO อีกมั้ยค่ะ คิดเป็นกี่เปอเซนต์ถ้าเทียบกับตอนแรก ขออนุญาติรบกวนถามอีกนิดนะคะ แล้วถ้าเรา Centrifuge แล้วคาดว่า TMTD/ZnO จะแยกชั้นออกมาด้วยมั้ยค่ะ

ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบค่ะ

(^^)

ขอบคุณ "คุณทวีศักดิ์" ครับ

ที่คุณทวีศักดิ์ ตอบไปนั้นถูกต้องแล้วครับ โรงงานที่รับซื้อน้ำยางสด

จะจ่ายสารละลายแอมโมเนีย หรือ แอมโมเนียน้ำ หรือ แอมน้ำ

แล้วแต่ละที่จะเรียก กับสาร T/Z dispersion หรือ ยาขาว

ให้กับพ่อค้าที่นำน้ำยางสดมาขายให้โรงงาน พ่อค้าก็จะนำไปสำหรับ

การรักษาสภาพน้ำยางสดที่บ่อรับซื้อของตนเอง หรืออาจจะแจกจ่าย

ให้ชาวสวนที่นำน้ำยางสดมาขายให้บ่อรับชื้ออีกทอดหนึ่ง

ส่วนปริมาณที่โรงงานจ่ายสารเคมีให้ไป แล้วแต่ละโรงงานครับ

ซึงเรื่องนี้ ถือเป็นความลับของโรงงาน ผมต้องขออภัยที่ไม่สามารถบอกได้

ในส่วนปริมาณที่เติมลงในน้ำยางสดแล้วสามารถรักษาสภาพได้ดี คือ ต้องเติมแอมโมเนีย 0.2-0.3% ยาขาว 0.025% ทั่วไปจะเติมปริมาณนี้

สำหรับที่ต้องการเก็บน้ำยางสดไว้ 12-48 ชั่วโมง หากต้องการเก็บนานกว่านี้

ก็ต้องเพิ่มไปอีก

ในกระบวนการผลิตยางข้นหลังจาก Centrifuge โดยทั่วไปจะไม่เติม

TMTD/ZnO หรือสาร T/Z dispersion อีกแล้วครับ

หลังการCentrifuge แล้วคาดว่า TMTD/ZnO จะแยกชั้นออกมาด้วยมั้ยนั้น

ถ้าจะหมายถึง แยกออกจากน้ำยางข้น ไม่ครับ จะเป็นส่วนประกอบของ

น้ำยางไปครับ

ขอบคุณมากๆค่ะ

ว้า สงสัยงานจะเข้าซะแร้ว

เพราะว่าผิดวัตถุประสงค์ไปเลยอะคะ ต้องการแค่แอมโมเนียไม่ต้องการสารเคมีตัวอื่น เศร้าเลยค่ะ เจอตอเลย

แต่ยังไงก็ขอบคุณมากๆนะคะ

ผมว่าอย่าเพิ่งท้อนะครับ ทุกปัญหามีทางไขเสมอ ลองบอกเล่ารายลเอียดโครงการที่ศึกษาคร่าวๆดูนะครับ ผมมั่นใจว่าจะมีคนค่อยให้คำแนะนำช่วยเหลือตลอดครับ ยิ่งถ้าการศึกษาเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องชาวสวนยาง ต้องยิ่งสนับสนุนมากเลยนะครับ

เป็นกำลังให้ทุกคนทำความดีเพื่อในหลวงละประเทศชาตินะครับ

เดี๋ยวครับ คุณปื้น KMUTT แอมโมเนียน้ำและยาขาว ที่ทางโรงงานจะแจกให้พ่อค้าหรือชาวสวนนั้นจะแยกกันนะครับ ไม่ได้ผสมกัน

แต่ตอนที่พ่อค้าหรือชาวสวนนำไปเติมในน้ำยางสด ก็จะเป็น

การเติมสารเคมีทั้ง 2 ชนิดครับ

ทำไม คุณปื้น KMUTT ไม่ชื้อเฉพาะน้ำยางสดจากชาวสวน

แล้วนำมาเติมสารละลายแอมโมเนียเองละครับ ผมก็เคยทำ

แบบนี้ตอนที่ทำการทดลองใน Lab น่าจะตรงตามความต้องการ

ของคุณปื้น KMUTT นะครับ

ขอบคุณ คุณทวีศักดิ์ มากเลยครับ ที่ช่วยสร้างสีสันให้กับบล็อกนี้ครับ

ขอบคุณคุณทวีศักดิ์ และคุณเอกมากเลยค่ะ สำหรับกำลังใจและคำแนะนำ

พอดี Lab อยู่กรุงเทพ เอาน้ำยางมาจากสุราษฎร์(บ้านเกิดค่ะ) เลยให้ทางบ้านเติมแอมโมเนียที่ทางโรงงานแจกให้ชาวสวนคะ เลยไม่แน่ใจว่ามันเจือปนสารอื่นมาด้วยไหม เคยไปดูงานโรงงานน้ำยาง พี่เค้าบอกว่าแอมโมเนียที่ทางโรงงานให้ลูกค้าน่าจะผสมพวก TMTD หรือสารกันบูดบางตัวแล้ว เลยไม่แน่ใจค่ะ เพราะถ้าเป็นอย่างที่คุณเอกว่า ก็ไม่น่าจะไม่มีผล ถามชาวสวนเค้าก็ไม่ทราบเพราะทางโรงงานให้มาแบบนั้น

ส่วนรายละเอียดบางอย่างยังบอกไม่ได้นะคะ เดี๋ยวน้องจะไม่จบ รอจบก่อนรับรองจะเอามาบอกอย่างละเอียด แต่เมื่อไหร่จะจบล่ะเนี่ย

ขอบคุณพี่อีกครั้งคร๊าบ

น้องใหม่ครับ...ขอความรู้หน่อยนะครับ อยากทำธุรกิจรับซื้อน้ำยางสด

1.การทำธุรกิจรับซื้อน้ำยางสดเพื่อขายให้โรงงานต้องมีปริมาณ(น้ำยางสด)ต่อวันกี่ กก.ถึงจะคุ้มทุน

2.อยู่ อ.ไชยา จะขายให้ โรงงานอะไรครับ

3.เงินลงทุนเบื้องต้นประมาณเท่าไหร่(อุปกรณ์+เงินหมุนเวียน)

4.อื่นๆ ที่ผมควรรู้ไว้ก่อนตัดสินใจว่าจะรับชื้อน้ำยางแล้วขายต่อหรือรับซื้อซื้อมาทำยางแผ่นขาย

ขอพี่ๆ อนุเคราะห์ด้วยครับ (ทาง Email หรือ Blog )

น้ำยางสด รักษาสภาพด้วยแอมโมเนียอย่างเดียวก็ได้นะครับไม่ต้องใช้ T/Z แต่ความเข้มข้น อาจจะอยู่ที่ประมาณ 0.40-0.45 % หากต้องเก็บไว้หลายชั่วโมง การใช้ T/Z ก็เพื่อลดปริมาณการใช้แอมโมเนีย

ในแอมโมเนียมียาขาวปนอยู่ไหม ง่าย เขย่าดูก็รู้ถ้ามีสีขาวก็แสดงว่าใส่ T/Z

หลังจาก centrifuge แล้ว ยังมีการเติม T/Z ถ้าเป็น น้ำยางข้นชนิด LOW NH3 และ Meduim NH3 เพื่อให้ได้ค่าตามกำหนดของโรงงาน แต่จะเติมในถังเก็บ ขนาดใหญ่เพื่อปรับสภาพ

ปล.หวัดดีเจ้าบ้านด้วยจากผู้มาเยือน ไม่อยากมาบ่อย เดี๋ยวหัวกะได จะไม่แห้ง

มาพอดีเลย กะว่าจะไปเรียนเชิญมาตอบคำถามของคุณ TAK

ให้หน่อย ผมไม่ค่อยมีข้อมูลและชำนาญด้านการซื้อ-ขายน้ำยางสด

ช่วยตอบด้วยนะครับ คุณบอย

ขอบคุณล่วงหน้าครับ

ควรจะรวบรวมได้อย่างน้อย 1000 kg ต่อวัน เพราะสามารถที่จะดองน้ำยางไว้ได้

1 คืน รวม 2 วันน่าจะได้ 2 ตัน ก็พอที่จะส่ง

จะได้ค่าดำเนินการ ประมาณ 3 บาท ต่อ น้ำหนักยางแห้ง

วันละ 1000 กก x กก DRC 33% x 3 บาท ได้ประมาณ 1000 บาท

สรุปแล้วท่านน่าจะมีรายได้ กก ละ 1 บาท

เงินลงทุนประมาณ 2 เท่า ของปริมาณที่ท่านรวบรวมได้

เนื่องจากเมื่อไปส่งแล้วต้องรอประมาณ เที่ยงของอีกวันจึงจะมีการคิดเงินแล้วโอนให้กับท่าน

ซื้อมาทำยางแผ่นก็ดีแต่ต้องดูแนวโน้มของราคาน้ำยางสดและยางแห้งว่าเมื่อซื้อมาทำยางแห้งแล้วจะคุ้มทุนหรือเปล่า

ขอบคุณครับ...คุณน้องบอยและคุณเอก

น้ำยางสด 2000 ลิตร น่าจะต้องซื้อจากสวนยางจำนวน

2000/8 = 250 ไร่ ใช่ไหมครับ(ไร่ละ 8 ลิตร)

ต้องการทราบว่า โรงงานที่รับซื้อน้ำยางมีการใส่สารป้องกันแบคทีเรียและเชื้อราลงไปหรือไม่ หรือใส่เฉพาะ T/Z ก็พอแล้ว

รบกวนด้วยนะคะ

เด็กบางพลี

หากผมจะหาว่าจังหวัดไหน มีจุดรับซื้อน้ำยางกี่จุด ที่ไหนบ้าง

ผมต้องหาจากที่ไหนครับ

มีหน่วยงานที่รวบรวมข้อมูลเหล่านี้หรือเปล่า

พอจะทราบไหมครับ

- ที่อ่านหลายความเห้น จะเปิดรับซื้อน้ำยางสด

การเปิดรับซื้อน้ำยางสด ต้องจดทะเบียนกับหน่วยงานใดก่อนไหมครับ ..

- ตั้งใจว่าจะเสนอให้ บริษัทแตกไลท์ส่งออกน้ำยาง ครับ กำลังรวบรวมข้อมูลให้มากที่สุด เพื่อเข้าซื้ออีกที

การผสมแป้งมันในน้ำยางสดมีผลต่อ%ยางไหมครับ

ตอบคุณ nikki เด็กบางพลี

โรงงานที่ผลิตน้ำยางข้น จะไม่เติมสารเคมีดังกล่าวครับ เติมแต่ T/Z

ส่วนในโรงงานที่ซื้อน้ำยางสดเพื่อมาทำเป็นยางแผ่นดิบ,

ยางแผ่นรมควัน บางโรงงานจะเติมสารละลายโซเดียมซัลไฟต์

ซึ่งเป็นสารที่ป้องกันเชื้อราได้ เพื่อไม่ให้สีของแผ่นยางที่ทำมีสีสวย

และไม่ขึ้นรา

ตอบคุณ บุญ ครับ เรื่องศูนย์รับซื้อน้ำยาง ลองสอบถามที่

สหกรณ์กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางซิครับ น่าจะมีข้อมูลอยู่ครับ

ส่วนเรื่องการจดทะเบียนเปิดรับซื้อน้ำยางสด ผมไม่มีข้อมูลเรื่องครับ

ต้องขอโทษด้วยครับ แต่จะพยายามหาข้อมูลมาให้ครับ

ตอบ สวนยางลุงอ้วน การเติมแป้งลงไปในน้ำยางสด

จะให้ทำให้ %DRC มีค่าลดลงในกรณีที่ทดสอบหา%DRC

ด้วยเครื่องเมโทรเลค แต่ถ้าในโรงงานน้ำยางข้นที่ทดสอบหาค่า DRC

ด้วยวิธีการทำแผ่นยางแห้ง ค่า %DRC จะมีค่าน้อยครับ

ผมหาเครื่องทดสอบเปอร์เซ็นต์ยางสดที่มีชื่อว่า เมโทรเลค ไม่ทราบว่าจะหาซื้อได้ที่ไหนครับผม ผมอยู่ที่ระยองครับผม

คุณสุวัฒน์ ลองสอบถามไปที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์

การทำสวนยางจังหวัดระยอง ดูนะครับน่าจะได้คำตอบนะครับ 

รบกวนสอบถามหน่อยครับ ผมสนใจจะทำอาชีพรับซื้อน้ำยางสด บ้านผมอยู่ที่บางสะพาน(ประจวบฯ) อยู่ใกล้ อ.ปะทิว จ.ชุมพร คุณเอก พอจะแนะนำโรงงานรับซื้อน้ำยาง เบอร์โทรติดต่อ ได้ไหมครับ ผมจะได้ลองติดต่อดู

คุณ "ยศ" ครับ

ผมขอแนะนำบริษัทที่อยู่ในเครือเดียวกันกับ

บริษัทที่ผมทำงานอยู่ละกันครับ

บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) สาขาชุมพร

41/1 ม.13 ต.ดอนยาง อ.ปะทิว จ.ชุมพร

เบอร์โทรติดต่อ 0-7757-8410-2

จะรับซื้อน้ำยางสดเพื่อนำไปผลิตเป็นน้ำยางข้นครับ

ขอบพระคุณ คุณเอกมากเลยครับ แล้วผมจะลองติดต่อดู จะได้เป็นเถ้าแก่กับเขาบ้าง

ขอให้คุณ "ยศ" ได้เป็นเถ้าแก่เร็วๆด้วยนะครับ

ขอรายงานตัวครับผม ผมเป็นสมาชิกใหม่อยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อน้ำยาง เลยมาเจอบล็อกคุณเอกเข้า ได้ประโยชณ์มากๆเลย

คือผมกำลังเริ่มจับธุรกิจยางพารา แต่ไม่รู้จะจบตรงยางแผ่นหรือน้ำยางดี เลยกำลังหาข้อมูลอยู่ ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยละกันนะครับ

มีเรื่องปรึกษามากมายค่อย ๆ ถามไปทีละคำถามละกัน ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ

ลืมบอกไปผมอยู่ทางภาคเหนือครับ ยางกำลังออกและจะออกอีกมากเลยครับ

ผมมีข้อสงสัยเรื่องกรดที่ทำให้น้ำยางแข้งตัว

เราใช้กรดอะไรก็ได้หรือเปล่า ?

แล้วกรดชีวภาพที่มีขายกันคือกรดอะไร?

ระหว่างกรดฟอร์มิกค์กับกรดชีวภาพต่างกันอย่างไร?

ทำให้คุณภาพยางแผ่นเสียมั้ย?

แต่เท่าที่เกษตรกรใช้ เกษตรกรชอบ กรดชีวภาพมากกว่าเพราะไม่กัดมือ และสีของยางแผ่นสวยกว่า

ไม่ทราบว่าคุณเอกคิดเห็นอย่างไรครับ

ตอบ "คุณ ยัยแป้งจ๋า"

ปกติตามธรรมชาติ น้ำยางจะจับตัวเป็นก้อนยาง

ซึ่งสามารถนำไปทำเป็นแผ่นยางต่อไปได้นั้น

เกิดจากการเสียสภาพของตัวน้ำยาง และ

จุดที่น้ำยางเริ่มเสียสภาพนั้นคือ ค่าความเป็นกรด-ด่าง

ของน้ำยาง หรือ ค่า pH จะอยู่ที่ 4-5

ทั่วไปจึงใช้สารเคมีที่มีสภาพเป็นกรด หรือ มีค่า pH ต่ำ

เป็นตัวช่วยให้น้ำยางเสียสภาพและจับตัวกัน

ดั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นกรดชนิดไหน ก็สามารถใช้จับตัว

น้ำยางได้ครับ แต่คุณภาพแผ่นยางที่ได้ อาจจะไม่เท่ากันครับ

ช่วงหลังนี้มีการส่งเสริมให้ชาวบ้านใช้กรดชีวภาพ หรือ กรดที่

มาจากสารธรรมชาติ เช่น สารจำพวกส้ม เป็นต้น ก็เพื่อ

ให้ชาวบ้านได้พึ่งพาตนเอง ไม่ต้องซื้อสารเคมีที่แพง

หากใช้แล้ว ได้คุณภาพของยางแผ่น ออกมาไม่แตกต่างกับ

การใช้กรดฟอร์มิคละก็ เป็นสิ่งที่ดีมากเลยนะครับ

ส่วนความแตกต่างระหว่างกรดฟอร์มิค กับกรดชีวภาพ

คงอยู่ที่ความแรง หรือค่าความเป็นกรด-ด่าง ของกรด ครับ

ขอบคุณครับคุณเอก

คำถามต่อไปเลยนะครับ “เมโทรแลค” หรือ “ลาเทคโซมิเตอร์” กับเครื่องหา ถพ. ทั่วไปคือตัวเดียวกันมั้ยครับ ? แล้วความคลาดเคลื่อนของเปอร์เซนต์น้ำยางมีซักเท่าไหร่ครับ ? หาซื้อทั่วตามร้านเคมี หรือว่าต้องเฉพาะที่

- การหา%DRC โดยการใช้ ไมโครเวฟ กับวิธีมาตราฐาน แตกต่างกันมากมั้ย?

ตอบ "คุณ ยัยแป้งจ๋า"

เครื่อง "เมโทรแลค" ก็ใช้หลักการของการหาความถ่วงจำเพาะ

ในการทำงานและหาค่า %DRC น้ำยาง

แต่ถ้าจะถามเป็นตัวเดียวกันกับ "เครื่องหาความถ่วงจำเพาะ" หรือไม่

ไม่แน่ใจครับ อาจจะไม่ใช่ ต้องขอดูของจริงจึงจะบอกได้

ความคลาดเคลื่อนในการหาค่า %DRC นั้นมีอยู่กันเสมอ ไม่ว่า

จะใช้เครื่องตัวไหนในการหา แต่ขึ้นอยู่กับว่า รับได้กับตัวเลข

ที่คลาดเคลื่อนไปมากกว่าครับ และตัวเลขของคลาดเคลื่อนไมสามารถ

ระบุได้ 100% เพราะมีปัจจัยที่ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนอยู่มากมาย

คงต้องหาซื้อได้จากร้านค้าที่ขายอุปกรณ์จำพวกนี้แหละครับ

ส่วนวิธีใช้ไมโครเวฟ กับวิธีมาตรฐาน จะให้ค่าแตกต่างกันมั้ยนั้น

เท่าที่เคยสอบถามกับผู้ใช้อยู่ ไม่ต่างกันครับ

ผมรวบรวมสมาชิกได้ประมาณ35-40คนเพื่อจัดตั้งกลุ่มผลิตยางแผ่นรมควันส่งขายให้โรงงานอัดก้อนมีปัญหาเชื้อราลงแผ่นมากบางทีแปรง2รอบแล้วยังไม่ออกแก้ปัญหายังไม่ได้เลย ปีหน้าคงเจอปัญหาเดิมอีกและสมาชิกเพิ่มมากขึ้นน้ำยางสดประมาณ5-6ตัน/วัน รบกวนช่วยหาวิธีแก้ปัญหาเชื้อราก่อนเข้าโรงรมควันให้หน่อยได้ไหมครับ ปัญหาอีกอย่างที่ยังไม่เกิดน่าจะเป็นเรื่องของอนาคตยางรมควันอาจจะสู้ยางแท่งไม่ได้ คุณเอกมีความเห็นยังไงครับบอกหน่อย ผมจะได้เตรียมการถูกว่าจะขยายโรงรมเพิ่มเติมดีหรือเปล่า

อยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับการการหา%DRCดวยไมโครเวฟค่ะ

อยากถามเรื่องวิธีการหา TSC ว่า มีวิธีการทดสอบอย่างไรบ้าง อยากรู้วืธีการในห้อง lab และวิธีการตรวจสอบแบบง่าย ๆ ค่ะ

อยากทราบวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของยางแท่ง STR20

กรรมวิธีการผลิตยางแท่ง STR20

และถ้าหากเราใช้น้ำยางสด 200 ml ควรจะใส่กรดฟอร์มิกเท่าไหร่เพื่อให้น้ำยางแข็งตัวคะ (ถ้าปริมาณเนื้อยางอยุ่ที่ 25-30 %)

แล้วการใส่ปริมาณของกรดขึ้นอยู่กับเนื้อยางรึป่าวคะ ถ้ามีวิธีคำนวณมาให้จะยิ่งดีมากๆๆเลยค่ะ

ด่วนมากกก*****

ขอบคุณมากค่ะ

เรียนคุณเอก

ผมได้อ่านข้อความใน http://gotoknow.org ให้ความรู้ดีมากๆครับ ผมทำสวนยางอยู่ระยองโดยที่ผ่านมาส่งเป็นน้ำยางผสมแอมโมเนีย ตอนนี้เริ่มทำยางแผ่นโดยสร้างโรงเรือนและซื้อเครื่องรีดพร้อมติดตั้งแล้ว ตอนนี้อยู่ในระหว่างการเริ่มทดสอบการทำยางแผ่น หากคุณเอกมีข้อมูลเกี่ยวกับยางสด, การวิเคราะห์และกาทำยางแผ่นที่คิดว่ามีประโยชน์ช่วยส่งมาที่ email นี้ด้วยครับ

อยากทราบการหา%DRC โดยการใช้ ไมโครเวฟ

คุณสุวัฒน์ได้ติดต่อสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดระยองเรื่องเครื่องมือเมโทรแลคแล้วหรือยังครับ ผมอยู่ระยองเหมือนกัน ถ้ามีข้อมูลรบกวนช่วยโพสให้ด้วยนะครับ

ลืมใส่ email ในกระทู้ครับ ช่วยส่งมาที่ [email protected]

ทุกท่าน เรื่องการทดสอบค่า DRC น้ำยางสดด้วยไมโครเวฟ

เอาเป็นว่าผมขอตอบเป็นการเขียนเป็นบันทึกแล้วกันนะครับ

จะรีบเขียนตอบทุกท่านครับ

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมและตั้งคำถามไว้ครับ

คุณเอกครับ ผมมีเครื่องเหวี่ยง alfa lavan ขนาด 5 hp 24 ชั้น เอามาทำน้ำยางข้นได้ไหม ?

somkiat

086-305 1943

เรียน คุณ somkiat ครับ

ต้องขออภัยคุณ somkiat ด้วยครับ ผมไม่มีข้อมูลในเรื่องของ

เครื่องหมุนเหวี่ยง หรือ เครื่องปั่นน้ำยาง จริงๆครับ

ทราบแค่ว่าความเร็วของเครื่องที่ใช้ปั่นน้ำยางคือ 7000-8000 รอบต่อนาที ครับ

ผมขอสอบถามอยากผู้รู้ แล้วค่อยมาตอบคุณ somkiat อีกครั้งครับ

ขอบคุณครับที่เข้ามาตั้งคำถามไว้ครับ

เพิ่มเติมจากพี่เอก (ขอเรียกพี่ละกันนะคะ เพราะจิ๋วจบ วทท. เอกยาง มอ. มาได้ไม่กี่ปีเอง อิอิ ^ ^

และขอบคุณพี่เอกสำหรับข้อมูลเกี่ยวกับยางมากๆนะคะ )

>>>>> ตอบ "คุณ ยัยแป้งจ๋า"

จากที่ถามมาว่า “เมโทรแลค” หรือ “ลาเทคโซมิเตอร์” กับเครื่องหา ถพ. ทั่วไปคือตัวเดียวกันมั้ย ??

ขอตอบว่า ไม่ใช่ตัวเดียวกันค่ะ โดย เมโทรแลคและเครื่องหา ถพ.นั้นจะต่างกันที่สเกลของเครื่องค่ะ ลักษณะของเครื่องเหมือนกัน

หลักการของการหาค่าของทั้งสองตัวนี้เหมือนกันค่ะ

เพิ่มเติมค่ะ

จาก แรงพยุงของของเหลว = น้ำหนักของของเหลวที่ถูกแทนที่

จากหลักการนี้ ได้นำมาสร้างเครื่องวัด ถพ.หรือที่เรียกว่า Hydrometer

สรุปหลักการในการวัดดังนี้

1. ถ้าแท่งแก้วจมน้อย แสดงว่าของเหลวมีแรงพยุงมาก เป็นของเหลวชนิดหนักมีมวลมาก หรือมีความหนาแน่นมาก

2. ถ้าจมมาก แสดงว่าของเหลวมีแรงพยุงน้อย เป็นของเหลวเบา และมีความหนาแน่นต่ำ โดยค่า ถพ. แปรโดยตรงกับความหนาแน่น

ดังนั้น ถ้าแท่งแก้วจมมาก ของเหลวชนิดนั้นก็มี ถพ.ต่ำนั่นเองค่ะ

โดยสเกลจะแบ่งจากน้อยที่ปลายบนไปหามากที่ปลายล่าง ส่วน Metrolac ต่างจาก Hydrometer ตรงที่ Metrolac อ่าน

ค่ามากที่ปลายไปหาค่าน้อยที่โคนของสเกล ซึ่งก็หมายความว่า Metrolac จมมาก % D.R.C.สูง แต่ถ้าจมน้อยน้ำยางมี % D.R.C.ต่ำ

ซึ่ง % D.R.C. เป็นสัดส่วนกลับกับค่า ถ.พ.โดยค่า ถ.พ.ต่ำ % D.R.C. สูง ค่ะ ^___________^

อ้างจาก

หนังสือเทคโนโลยีน้ำยาง

ขอขอบคุณ คุณจิ๋วลิ๋ว มากครับสำหรับข้อมูลที่เพิ่มเติมมาให้ครับ

เป็นข้อมูลที่ดีมากเลยครับ มีเอกสารอ้างอิงให้ด้วย ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับคุณเอก ผมอยากจะทำธุระกิจยางพาราครับ อยากได้คำปรึกษาครับ ผมยังใหม่อยู่ครับ อยากทราบเรื่องการรับซื้อน้ำยาง ขี้ยาง และยางแผ่นครับ

ตอนนี้สนใจการรับซื้อน้ำยางครับ อยากทราบการหาเปอร์เซ็นต์น้ำยางครับว่ามีอุปกรณ์อะไรบ้าง วิธีการคำนวณ

ตอนนี้กำลังศึกษาเรื่องน้ำอยู่ว่าจะคุมค่าหรือเปว่า

ขอบพระคุณครับ

อยากได้เบอร์โทรครับ

สวัสดี พี่เอก ครับ

ผมสนใจอยากทำธุระกิจรับซื้อน้ำยางสดแต่ไม่มีความรู้ เลยอยากจะสอบถาม รายละเอียด และข้อมูล ในการทำ และข้อมูลรายละเอียดในการลงทุน ต้องลงุนมากแค่ใหน ผมอยู่กระบี่ อยูอ่าวลึก มีโรงงานรับซื้อใกล้บ้านกี่โรงงาน ครับ ยังไงขอคำแนะนำด้วยนะครับ วิธีการตรวจสอบ ขอคำแนะนำแบบบ้านๆ นะครับ ผมจะได้เข้าใจง่าย ขอบคุณล่วงหน้าครับ

ถ้าอยากจะขอเบอร์โทรศัพท์ติดต่อโดยตรงเลยจะได้ใหมครับ

พอเรารู้ % DRC แล้ว เราจะนำไปคำนวณหาปริมาณกรดที่เหมาะสมในการเติมลงไปได้อย่างครับ

ในกรณีที่ใช้เป็น Acetic และ Formic acid ครับ ?

ตอบ คุณfrodo ครับ

การเติมกรด หากเติมเพื่อให้น้ำยางจับตัวนั้น

เราไม่จำเป็นต้องทราบค่า %DRC ที่แน่นอนมากก็ได้ครับ

เอาแค่ประมาณว่า มากหรือน้อยก็เพียง คือมันไม่เกี่ยวข้องกันมากนัก

หากค่า %DRC ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก เช่น แตกต่างกันไม่เกิน 10%

ส่วนมากจะเกี่ยวข้องกันในแง่ของปริมาณน้ำยางที่จะจับตัว

ว่ามีประมาณเท่าไรมากกว่าครับ แล้วทดลองเอาว่าใช้กรดเท่าไรยางจับตัวดี

จะเป็นวิธีการที่ง่ายกว่าการจะต้องหาค่า %DRC ที่แน่นอน แล้วกลับมาหาปริมาณกรดที่จะเติม

ตอบคุณ ราชัย และคุณ อ๊อฟ

รบกวนบอกเบอร์โทรติดต่อไว้แล้วกันนะครับ

ผมจะติดต่อกลับไป จะสะดวกกว่าครับ

สวัสดี ครับพี่เอก ผมอยากสอบถามเรื่องวิธีการอบน้ำยาง ด้วยเครื่องไมโคเวฟ ว่ามีวิธีการอย่างไรบ้าง ต้องใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง

ค่าอุปกรณ์ ใช้ต้นทุนสุงหรือไม่อย่างไร ถังใส่น้ำยางสดใส่หลังรถกะบะ ขนาดใหนที่นิยมใช้ ราคากี่บาท ครับ

เบอร์โทร 086-685-9586 ขอคุณพี่เอกล่วงหน้า ส่งเมล์ก็ได้ครับ

ครับพี่ ผมอยากทราบข้อมูลเหมือนคุณราชันครับ เบอร์โทร 0854558941 ครับ ขอบพระคุณครับ

คุณราชัย แล้วผมจะติดต่อกลับไปตอบคำถามให้ครับ

คุณอ๊อฟด้วยครับ จะติดต่อกลับไปครับ

ตอนนี้กำลังรอที่เอกติดต่อมาครับ ขอรบกวนพี่ช่วยส่งวิธีการหาเปอร์น้ำยาง วิธีการรับซื้อน้ำยาง ทางอีเมลก็ได้ครับเพื่อความสะดวกครับ

ถ้าใช้กรดสกัดซีรั่มโดยใช้ถ้วยอลูมิเนียม จะมีตัวรบกวนอื่นๆหรือป่าวค่ะถ้ามีจะเป็นสารตัวไหนบ้างค่ะ

ไม่เข้าใจคำถามของคุณ latex ครับ ขอรายละเอียดเพิ่มเติมดัวยครับ

ส่วนที่คุณอ๊อฟ ต้องการผมได้เขียนเป็นบัณทึกไปบ้างแล้วครับ

แล้วจะรีบติดต่อไปนะครับ

ยังไงก็ขอรบกวนพี่เอกช่วยเร่งนิดหนึ่งครับ

ต้องขอโทษคุณอ๊อฟด้วย ผมไม่สบายสองสามวันแล้ว ยังไม่หายดีเลยครั

เป็นหวัดนะครับ เจ็บคอ ก็เลยไม่สะดวกจะติดต่อไปครับ แล้วจะรีบให้ครับ

สวัสดีครับคุณเอก

ยินดีได้รู้จักครับ ผมคนนครศรีฯ แต่มาทำงานอยู่ อุบลราชธานีครับ ตอนนี้ยากได้เมโทรแล็ค สัก 2 อัน ทั้ง ระบบปอนด์ และระบบเมตริก เนื่องจากทางนี้หาซื้ไม่ได้ ไม่ทราบว่าพอจะทราบที่ขายไหมครับ ซึ่งผมเข้าใจว่าทางหาดใหญ่น่าจะมีแต่ตอนนี้ไม่มีพรรคพวกอยู่แถวนั้น หรือว่า ท่านอื่นพอจะทราบก็ขอรบกวนด้วยครับ

ขอบคุณล่างหน้าครับ

ประสิทธิ์ (แดง)

สวัสดีครับคุณเอก

ยินดีได้รู้จักครับ ผมคนนครศรีฯ แต่มาทำงานอยู่ อุบลราชธานีครับ ตอนนี้ยากได้เมโทรแล็ค สัก 2 อัน ทั้ง ระบบปอนด์ และระบบเมตริก เนื่องจากทางนี้หาซื้ไม่ได้ ไม่ทราบว่าพอจะทราบที่ขายไหมครับ ซึ่งผมเข้าใจว่าทางหาดใหญ่น่าจะมีแต่ตอนนี้ไม่มีพรรคพวกอยู่แถวนั้น หรือว่า ท่านอื่นพอจะทราบก็ขอรบกวนด้วยครับ

ขอบคุณล่างหน้าครับ

ประสิทธิ์ (แดง)

เรียน คุณ ประสิทธิ์ (แดง)

ผมทราบว่าตอนนี้น้อยมากจะมีผู้ใช้ตัวเมโทรแล็ค ในการหาค่าเนื้อยางแห้ง(%DRC)

เนื่องจากมีความยุ่งยากในการใช้งาน และมีโอกาสผิดพลาดได้ง่ายมาก เพราะผู้ใช้

ต้องมีความชำนาญในการใช้มากๆ ก็เลยทำให้หาร้านที่ขายอุปกรณ์ดังกล่าวยากมากๆ

หากคุณ ประสิทธิ์ (แดง) ต้องการจะหาอุปกรณ์ที่ทดสอบค่าดังกล่าว ผมแนะนำให้

ใช้ไมโครเวฟ ดีกว่าครับ ง่ายและสะดวกกว่ามากๆ และได้ค่าที่ใกล้เคียงกับ

วิธีทดสอบตามมาตรฐานไม่แพ้การใช้ตัวเมโทรแล็คครับ แถมรวดเร็วกว่าเยอะครับ

ขอบคุณครับ ที่เข้าสอบถามครับ ยินดีที่จะแลกเปลี่ยนความรู้ด้วยกันครับ

เอก อนุรัตน์ ศิริรัตน์

เรียน คุณเอก อนุรัตน์ ศิริรัตน์

1.ขอบคุณมากสำหรับคำแนะนำครับ

2.ผมออกเก็บข้อมูลแปลงยางเกษตรกรน่ะครับ อยู่ติชายแดน สปป.ลาว ไฟฟ้าหม้ายมีครับ ไม่ค่อยสะดวกในการใช้ไมโครเวฟครับ

3.เผื่อว่าผมแก้ปัญหาเรื่องไฟฟ้าได้ รบกวนคุณ เอก อนุรัตน์ ศิริรัตน์ ช่วยอธิบายขั้นตอนในการใช้ไมโครเวฟอบหาค่าเนื้อยางแห้ง(%DRC) เนื่องจากผมยังไม่เคยใช้วิธีนี้ แค่รู้ขั้นตอนคร่าวๆ ไหนๆ ก็เจอผู้เชี่ยวชาญแล้วขอคำชี้แนะด้วยครับ

ขอบคุณครับ

แดง ประสิทธิ์ กาญจนา

เรียน คุณเอก อนุรัตน์ ศิริรัตน์

1.ขอบคุณมากสำหรับคำแนะนำครับ

2.ผมออกเก็บข้อมูลแปลงยางเกษตรกรน่ะครับ อยู่ติชายแดน สปป.ลาว ไฟฟ้าหม้ายมีครับ ไม่ค่อยสะดวกในการใช้ไมโครเวฟครับ

3.เผื่อว่าผมแก้ปัญหาเรื่องไฟฟ้าได้ รบกวนคุณ เอก อนุรัตน์ ศิริรัตน์ ช่วยอธิบายขั้นตอนในการใช้ไมโครเวฟอบหาค่าเนื้อยางแห้ง(%DRC) เนื่องจากผมยังไม่เคยใช้วิธีนี้ แค่รู้ขั้นตอนคร่าวๆ ไหนๆ ก็เจอผู้เชี่ยวชาญแล้วขอคำชี้แนะด้วยครับ

ขอบคุณครับ

แดง ประสิทธิ์ กาญจนา

สวัสดีครับคุณเอกคือผมเป็นสมาชิกใหม่มีเรื่องรบกวนถามว่าเรามีวิธีดูหรือทดสอบน้ำยางว่าลูกค้าที่เอาน้ำยางมาส่งผสมแป้งหรือเปล่าเพราะผมเจอเมื่อวานมันจะตกตะกอนเวลาดึงมันขาดง่ายมากแล้วเวลาลอกมันไม่ออกมาเป็นแผ่นมันจะเป็นขุยรบกวนตอบด้วยครับ

ตอบคุณ ตี๋ สกล ครับ

หากจะดูตั้งแต่ขั้นตอนที่ลูกค้าเริ่มมาส่งน้ำยางสดเลยนั้น อาจจะยากไป

ผมเคยคิดเล่นๆไว้ แต่ยังไม่ได้ทดลองทำจริง คือ ปกติการตรวจแป้ง

จะใช้การใช้ไอโอดินหยด แล้วดูการเปลี่ยนสี หากมีการเปลี่ยนสีเป็น

สีน้ำเงิน แสดงว่ามีแป้งอยู่ ผมไม่แน่ใจว่าจะใช้ได้ผลหรือเปล่านะครับ

เพราะยังไม่เคยทำจริง คุณตี๋ ลองทดลองดูก็ได้ครับ

การดูว่ามีแป้งผสมกับน้ำยางสด อีกวิธีหนึ่งก็คือ การทดสอบค่าปริมาณ

ของแข็งในน้ำยางสด(TSC) แล้วนำค่าไปลบกับค่า DRC หากมีค่าที่สูงกว่าปกติ

ก็สันนิษฐานได้ว่ามีสารที่ไม่ใช่ยางเจือปนมาครับ

หากมีวิธีอื่นๆอีก จะมาแจ้งอีกครั้ง

ขอบคุณครับที่สอบถามมาครับ

ตอบ คุณ แดง ประสิทธิ์ กาญจนา

ขั้นตอนในการใช้ไมโครเวฟอบหาค่าเนื้อยางแห้ง(%DRC) เท่าทีทราบมานะครับ

ชั่งน้ำยางสด 0.85 ถีง 1 กรัม จดบันทึกน้ำหนักที่ชั่งได้เอาไว้

นำตัวอย่างไปอบด้วยไมโครเวฟเป็นเวลาสามนาที นำออกมาตั้งให้เย็น

แล้วนำไปชั่งน้ำหนักอีกครั้ง นำน้ำหนักครั้งหลัง ไปคำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์

โดยหารกับน้ำหนักครั้งแรก

คร่าวๆนะครับ เพราะผมก็ยังไม่ได้ทำด้วยตัวเองสักที รอโอกาสจากผู้ใหญ่อยู่

ส่วนเรื่องเมโทรแล็ค คุณแดง ลองสอบถามมาที่ศูนย์วิจัยสงขลา ดูนะครับ

ผมเคยสอบถามมาครั้งหนึ่ง ได้คำแนะนำชื่อร้านมา อยู่แถวๆสวนสาธารณะหาดใหญ่

ผมจำชื่อร้านไม่ได้แล้ว

ต้องขออภัยที่ตอบช้าไปนะครับ ขอบคุณที่สอบถามมาครับ

พี่ค่ะ หนูมีเรื่องรบกวนด่วน

คือตอนนี้ต้องเอาน้ำยางมาทำงานวิจัย

พอดีพ่อเพื่อนส่งน้ำยางมาให้

แต่ใส่แอมโมเนียมาแค่อยู่ได้ 2-3 วัน

แล้วหนูต้องเติมแอมโมเนียไปอีกเท่าไรค่ะ

จากแอมโมเนียเข้มข้น ต้องเจือจางเท่าใด

แล้วเติมลงในน้ำยางเท่าใด

เพื่อให้มันเหมือนที่เค้าขายแบบแอมโนเนียสูงอ่ึะคะ

ให้เก็บได้ประมาณ 3 เดือน

รบกวนด้วยนะคะ

ไม่ง้านมันจะเซตตัวแล้ว ของจะพัง อาจารย์จะว่า T^T

ตอบคุณ jom

หากเป็นน้ำยางข้น หากต้องการจะเก็บน้ำยางข้นไว้ถึง 3 เดือน

ขอแนะนำให้เติมแอมโมเนียลงไปในน้ำยางข้น จนได้ค่าความเป็นด่าง

หรือที่ทั่วไปนิยมเรียกกันว่า %แอมโมเนียในน้ำยางข้น อยู่ที่ 0.65-0.70%

จะใช้แอมโมเนียเข้มข้น ในการเติมก็ได้ครับ ไม่ต้องไปเจือจางให้ยุ่งยาก

ขอแค่ให้ %แอมโมเนียในน้ำยางข้น อยู่ที่ 0.65-0.70% อยู่ได้แล้วครับ

เรียน คุณเอก อนุรัตน์ ศิริรัตน์

1. ขอบคุณ คุณเอก อนุรัตน์ ศิริรัตน์ เมโทรแลค ผมหาซื้อได้แล้ว จากร้าน ป.นิติวัฒน์ อิมปอร์ต เอ็กซ์ปอร์ด อยู่หาดใหญ่ครับ ให้หลานที่ทำงานอยู่ เครือศรีตรังหาให้ แต่ก็หาอยู่นานเหมือนกันเพราะว่าเขาทำทางด้านโปรแกรมเมอร์ มันไม่รู้จักเมโทรแลค

2. ส่วนการหา DRC ด้วยไมโครเวฟ ผมจะทดลองทำดูครับ

ประสิทธิ์

สวัสดี ครับคุณ เอก

ไม่ทราบว่าคุณเอกเป็น คนชัยบุรี (ยวนปลา) หรือเปล่าครับ เพราะยายผมนามสกุลศิริรัตน์ ที่โรงเรียนบ้านยวนปลา เป็นของตาผมเองครับ

ผมอยากรับซื้อน้ำยาง มาทำแผ่นเพื่อขาย แต่ไม่มีประสบการณ์ด้านนี้เลย เพราะที่ระนองไม่มีใครรับซื้อน้ำยาง เลย

ยังไงก็รบกวน แนะนำวิธีการให้หน่อยนะครับ (ผมมีสวนยางอยู่ เขาพนม กระบี่ แต่มาอยู่ระนองนานแล้วครับ)

ยินดีแลกเปลี่ยนความรู้ด้วยกันครับ คุณไพรัตน์ มากแก้ว

ฝากเบอร์โทรติดต่อไว้ให้ผม ติดต่อกลับได้เลยครับ

คุยกันโดยตรงดีกว่าครับ สงสัยตรงไหนจะได้เข้าใจตรงกัน

บ้างครั้งการเขียนถาม-ตอบ มันไม่ตรงจุดที่สงสัยเลยก็มี

0873873658 เบอร์โทรศัพท์ผมครับ มีคำถามๆอีกข้อ คือว่า ที่สวนผม ลูกจ้างกรีดยาง ขายน้ำ ลูกจ้างบอกว่า เอาน้ำผสมเข้าไป เปอร์เซ็นต์ ยางแห้ง มากกว่าที่ไม่ผสมจริงหรือเปล่า เอาน้ำเปล่านี่แหละครับ

ตอบคุณ ไพรัตน์ ครับ

ตามหลักการเป็นไปไม่ได้ครับ เพราะว่าการเติมน้ำเปล่าลงไปในน้ำยางสด

เป็นการไปเจือจางให้เปอร์เซ็นต์ของเนื้อยางแห้งต่อน้ำหนักทั้งหมดของน้ำยางสด

ลดลงครับ ขอยกตัวอย่างให้เห็นชัด แบบง่าย เรามีแป้งอยู่ 1 กิโลกรัม

นำไปละลายในน้ำ 99 กิโลกรัม(น้ำหนักรวมทั้งหมดเป็น 100 กิโลกรัม)

คิดเป็นเปอร์เซ็นต์แป้งที่มีอยู่ในน้ำ คือ 1% แต่ถ้าเราเทน้ำเพิ่มไปอีก 10 กิโลกรัม

เท่ากับเรามีน้ำแป้งทั้งหมด 110 กิโลกรัม แต่เนื้อแป้งที่มีอยู่ในน้ำยังอยู่ 1 กิโลกรัม

เท่าเดิม ซึ่งถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์แป้งที่มีอยู่ในน้ำ(หลังจากเติมน้ำเพิ่ม) คือ 0.9%

แต่การเติมน้ำเปล่าลงไปในน้ำยางสดแล้วทำให้ได้เนื้อยางแห้งเพิ่มขึ้น ตามที่

ลูกจ้างของคุณไพรัตน์ บอกนั้น ผมคิดว่าน่าจะมาจากตัวเลขที่ได้จากการทดสอบ

หาเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งในน้ำยางสด มีความผิดพลาดครับ ทำให้มีการเข้าใจผิด

คิดว่ามันเพิ่มขึ้น

ขอบคุณครับสำหรับคำถาม ยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนความรู้กันครับ

แล้วถ้าน้ำที่ใช้ผสมลงไปเป็นน้ำคลองละครับ อาจจะมีเศษทรายเล็กๆปนอยู่ เล็กมาก ๆ หรือสิ่งอื่นที่อยู่ในน้ำคลอง

น้ำหนักยางแห้งจะเพิ่มขึ้นมั้ยครับ

ตอบคุณไพรัตน์ครับ

ถ้าการทดสอบเพื่อหาเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งในน้ำยางสด เป็นวิธีทดสอบที่เป็น

การทำน้ำยางสดเป็นแผ่นยางแห้ง ซึ่งเป็นวิธีที่โรงงานน้ำยางข้นนิยมใช้กัน

ขั้นตอนการทดสอบ จะมีการจับตัวเฉพาะเนื้อยางเท่านั้น อย่างอื่นจะไม่จับตัว

ดังนั้น ไม่ว่าจะเติมอะไรลงไป ก็ไม่ได้ทำให้เปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งเพิ่มขึ้นได้เลย

ความเห็นของผม การทำใดๆก็ตาม เพื่อจะให้ได้เปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งเพิ่มขึ้น

เป็นการกระทำ ที่เหนื่อยเปล่า เพราะทางผู้ชื้อ ก็มีกลยุทธ์ในการรับมือ

การกระทำในรูปแบบนี้อยู่แล้ว จึงเป็นการยากที่จะได้ผล

แถมผลร้ายคือ การเสียความน่าเชื่อถือ ระหว่างผู้ชื้อกับผู้ขาย

การให้ราคาชื้อก็ไม่ดี ผู้ชื้อก็ตัดเปอร์เซ็นต์เนื้อยางเพื่อหักลบ

ในส่วนที่ไม่ใช้เนื้อยาง ทำให้เปอร์เซ็นต์เนื้อยางขาดอีก

ผลเสียมากกว่าผลดี ทำแบบถูกต้องจะดีกว่าครับ

ขอบคุณครับที่สอบถามมา

คุณเอกคะ ต้องการจะรับซื้อน้ำยางสดแต่ไม่มีข้อมูลอะไรเลยรบกวนขอข้อมูลในการตั้งจุดรับซื้อน้ำยางสดที่คุณเอกหน่อยนะคะจะไปซื้อที่สุราษฎร์แถว อ.คีรีรัฐนิคม คะ ถ้าคุณเอกว่างรบกวนส่งข้อมูลไปที่ E-mail ก็ได้นะคะหรือโทร 086-7425554 คะจะเป็นพระคุณอย่างยิ่งเลยคะ ทำงานเงินเดือนน้อยไม่พอใช้เลยคะอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเองบ้าง

ตามข้อมูล การอบน้ำยางสดให้แห้งด่้วยคลื่นไมโครเวฟเพื่อหาค่า % DRC นั้น อาจได้น.น.ที่ผิดพลาดได้เนื่องจากการไหม้ภายในของแท่งยางแห้งที่กลายเป็น Carbon สีดำๆ ถ้าไม่ผ่าดูจะมองไม่เห็น

ถ้าจะอบแห้งด้วยไมโครเวฟควรใช้กำลังคลื่นไม่เกินปานกลาง และใช้เวลานานจะดีกว่า

แต่ถ้าให้ดีและเร็วที่สุดควรทำเป็นแผ่นบางและอบในตู้อบอินฟาเรด ความหนาไม่เกิน 5 มม.จะได้เนื้อยางใสสวยงามครับ

สนใจคุยกันได้ทาง E:Mail [email protected]

วัชระ เกาะแก้ว

ตอบคุณ ชลี แล้วผมจะติดต่อกลับไปนะครับ

ตอบคุณ วัชระ เกาะแก้ว ขอบคุณมากครับ สำหรับความรู้ที่ได้เพิ่มเติมให้

เป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากเลยครับ ตามวิธีมาตรฐานในการหา %DRC ในน้ำยางสด

จะใช้วิธีการทดสอบโดยการทำเป็นแผ่นแห้ง แล้วอบในตู้อบอุณหภูมิสูง หรือ

ตู้อบอินฟาเรด ตามที่คุณวัชระ ได้ชี้แนะไว้นั่นแหละครับ

แต่ติดที่ว่าราคาของตู้อบนั้นมีราคาแพงมาก พร้อมทั้งอาจจะไม่เหมาะกับ

กลุ่มผู้ใช้บางกลุ่ม เลยมีการประยุกต์วิธีการอบด้วยไมโครเวฟ ขึ้นมาใช้

แต่ก็นิยมใช้เฉพาะบางกลุ่มเท่านั้น สาวนใหญ่จะเป็นผู้ค้าคนกลาง

เนื่องจากมีวิธีการทำที่ง่าย และราคาอุปกรณ์ก็ไม่แพงมาก

ส่วนผลที่ได้นั้น ก็อาจจะใกล้เคียงกับค่าที่ได้จากวิธีมาตรฐานมากๆ

จึงนิยมใช้ไมโครเวฟกัน แต่ส่วนตัวผมยังไม่มีโอกาสได้ลองใช้เลยครับ

เรียน คุณเอกครับ

สวัสดีครับคุณเอก ต้อนนี้ผมกำลังเขียนโครงการ การผลิตยาง STR20 อยู่ครับ ผมจึงอยากสอบถามอัตราส่วนผสมของ ยาง STR20 ครับ ถ้าผมจะผลิตในปริมาณ 100 kg. ผมต้องใช้ยางสกิมในปริมาณท่าใหรดีครับ และยางแผ่นดิบในปริมาณเท่าใหรครับ ถึงจะได้คุณภาพที่ดีที่สุดครับ

และราคายาง STR20 ในท้องตลาดทั่วไปอยู่ที่ประมาณ กิโลกรัมละกี่บาทครับ ผมไม่แน่ใจว่าราคายาง STR20 ราคาประมาณ 107.50 บาท และยางแผ่นดิบ ราคาประมาณ 102.50 บาท ใช่หรือเปล่าครับ

ส่งเมลมาที่ [email protected]

ขอบคุณพี่เอกล่วงหน้าครับ

ตอบ คุณมนัส

ต้องขออภัย ที่ตอบช้ามากครับ ผมไม่ค่อยได้เข้ามาบ่อยเมื่อก่อน

ส่วนเรื่องที่คุณมนัสได้สอบถามมานั้น ผมไม่มีข้อมูลเรื่องนี้จริงๆครับ

และเรื่องที่ถามมา เป็นสูตรผสม ซึ่งถือเป็นความลับมากๆนะครับ

ส่วนใหญ่ผู่ที่มี จะไม่ค่อยบอกกันครับ คุณมนัสต้องทดลองหาสูตร

เหล่านี้ด้วยตัวเองครับ และจะได้เป็นสูตรลับของคุณมนัสไปเลย

ต้องขออภัยด้วยนะครับ ขอบคุณครับที่เข้ามาสอบถามครับ

สวัสดีค่ะ คุณเอก

พอได้อ่านข้อมูลในเวบนี้แล้วได้ความรู้เยอะมากๆ ค่ะ ชอบมาก และตอนนี้ก็มีเรื่องจะเรียนถามคุณเอก

เกี่ยวกับเครื่องมื่อการวัดปอร์เซนต์เศษยาง หรือพวกยางก้อนถ้วยต่างๆ ว่ามันเป็นอย่างไร

เขาใช้หลักการอะไรในการวัดสำหรับโรงงานใหญ่ๆที่รับซื้อค่ะ ขอบคุณมากคะ

ตอง [email protected]

สุรสิทธิ์ เพ็ชรช้าง

แจ้งเตือนครับ จากห้วข้อที่ 117 ของ วัชระ เกาะแก้ว ถ้ามีการคุยกันแล้วและจะมีการทำธุรกรรมใดๆ (โดย วัชระ จะแจ้งว่าเป็นผู้ทำตู้อบแบบไมโครเวฟ ) ขอให้มีการตรวจสอบและทำสัญญาให้ละเอียด หรือไม่ควรมีการจ่ายเงินล่วงหน้าแต่ใดๆ นะครับ เพราะผมได้จ้างทำเครืองตั้งแต่เดือนมีนาคม กำหนดส่งงานภายใน 2 เดือน แล้วไม่มีการส่งงานหรือความคืบหน้าใดๆ และไม่มีการคืนเงินด้วย (หลักแสนครับ) ตอนนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินคดีอยู่เลยครับ ถ้าต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก็ยินดีครับ [email protected]

อยากรู้ที่ขายส่งจักรรีดยางขนาดเล็ก เพื่อเป็นตัวแทนจำหน่าย

สวัสดีครับพี่เอก น้องเป็นคนหนึ่งที่อยากทราบเรื่องราวเกี่ยวกับยาง น้องขอปรึกษาพี่ได้หรือป่าวเรื่อง ยางก้อนถ้วย หรือทางบ้านผมเรียกว่า ขี้ยาง ผมอยากจะทราบมากๆ ว่าชาวเกษตรกรเอาขี้ยางมาขาย เอามาทีละมากๆ แล้วก็มี พ่อค้า มารับซื้อ ผมอยากทราบว่า เศษยาง หรือว่า ขี้ยาง นั้น เอาไปแปรรูป หรือว่าเอาไปทำยางแผ่น โดยวิธีไหนครับ แล้วถ้าเอาไปทำยางแผ่นทำยังไงครับ

ขอขอบพระคุณ พี่เอก

ต้องการรับซื้อนำยางต้องเตรียมอะไรบ้างค่ะ  เนื่องจากไม่มีประสบการณ์ด้านนี้  และเราจะทราบได้อย่างไรว่านำยางที่รับซื้อมาไม่มีส่วนผสมอื่นเจือปน

เรียน สมาชิก

ผมอยากหาทีมบริหารศูนย์รับชื้อน้ำยาง ที่ จ. หนองคาย ตั้งแต่ผู้จัดการศูนย์ เจ้าหน้าที่สรรหาวัตถุดิบ เจ้าหน้าที่ประเมิน DRC และอีกหลายตำแหน่ง เป็นของบริษัทยักษ์ใหญ่ของไทย เงินเดือนดี สวัสดิการเยี่ยม

ใครรู้จักช่วยแนะนำด้วยครับ

ติดต่อ พงศา E-Mail : [email protected]

 

สวัสดีค่ะคุณอนุรัตน์ หรือ เอก ครับ

ฝนมีกำลังหาข้อมูลเรื่องยางพารานะค่ะ เกี่ยวกับการ

1 จำนวนต่อไร่ปลูกได้จำนวนกี่ต้น

2 และประมาณกี่ปี่ถึงจะกรีดได้นะค่ะ

3 และต่อไร่เมื่ออายุยางพารากี่ปี จะได้น้ำยางสดประมาณกี่ กิโลต่อไร่ในแต่ละวัน ในแต่ละอายุของยางพารา

ประมาณกี่วันต่อเดือนการกรีด และประมาณกี่วันต่อปี และอายุการกรีดยางพารา

4 การคิดเปอร์เซนต์ยางพาราเวลาขาย คำนวณอย่างไรค่ะ

5 และอยากทราบการทำนำน้ำยางสดมาทำน้ำยางข้น 60% ระยะเวลาการเก็บรักษา ชาวสวนสามารถทำได้เองไหมค่ะ

6 และราคาน้ำยางข้น 60%ต่อถัง 200 ลิตร ประมาณเท่าไรค่ะ

ขอบคุณมากกกค่ะ

ฝน [email protected]

คุณฝน ครับ

ขอตอบบางข้อนะครับ เนื่องจากบางข้อผมไม่มีข้อมูลครับ หรือข้อมูลอาจจะไม่ตรงกับความเป็นจริงที่ใช้ปัจจุบัน กลัวว่าจะทำให้คุณฝนเข้าใจผิดพลาดได้

ข้อ 4 การคิดเปอร์เซ็นต์ยางพาราเวลาขาย คำนวณอย่างไร

ถ้าเป็นการขายน้ำยาง ค่าจะได้จากการทดสอบหาค่า%เนื้อยางแห้งครับ

ส่วนก็จะใช้วิธีการทดสอบการจับตัวเนื้อยางในน้ำยาง แล้วทำให้เป็นแผ่นยางแห้ง

แล้วนำมาคิดเป็น% เนื้อยางแห้งครับ แต่ปัจจุบันเริ่มมีการใช้เตาอบไมโครเวฟ

มาใช้ในการทดสอบโดยไม่ต้องจับตัวเนื้อยางด้วยกรด ใช้วิธีการอบน้ำยางให้แห้งแทน

หากเป็นการขายยางแผ่น ยางก้อน(ขี้ยาง) จะเป็นตี% หรือการประเมิน%เนื้อยางครับ

ข้อ 5 ชาวสวนสามารถทำได้เองครับ แต่ไม่นิยมทำกันครับ เพราะมีค่าใช้จ่ายในการทำ

ข้ออื่นๆ ผมไม่มีข้อมูลและมีข้อมูลไม่เพียงพอครับ คุณฝน ลองค้นคว้าข้อมูลจาก

ศูนย์วิจัยยาง หรือสกย. ดีกว่า นะครับ จะมีข้อมูลที่ทันสมัยกว่าครับ

ขอบคุณครับที่แลกเปลี่ยนความรู้กันครับ

แวะมาช่วยตอบ และชี้ช่องทางหาข้อมูลครับ .

ข้อ 1
1 ไร่ ขนาดประมาณ 40x40 เมตร ครับ โดยปกติ แต่ละต้น จะปลูก ห่างกัน 3-4 เมตร ดังนั้น แต่ละไร่ ก็จะได้ประมาณ 200-300 ต้น ครับ ... แต่ก็ไม่แน่นอนเสมอไป ขึ้นกับความสามารถของผู้ปลูกด้วย .

.

ข้อ 2
โดยปกติแล้ว ต้นยางสามารถเปิดกรีดได้เมื่ออายุประมาณ 6-7 ปีขึ้นไปครับ, แต่นักวิชาการเกษตร ก็มีวิธีเร่งให้สามารถกรีดได้ตั้งแต่ 5 ปี, แต่ก็ดูเหมือนว่าอาจจะไม่ได้ผลสำหรับพื้นที่ปลูกบางพื้นที่ . (ที่ผมปลูกเอง ตอนนี้ จะ 3 ปีแล้ว ยังไม่เห็นแววว่าจะกรีดได้ในอีก 3-4 ปีข้างหน้าเลย)

.

ข้อ 3
คิดคร่าวๆ ได้ว่า แต่ละวัน จะสามารถกรีดยางได้ประมาณ 250 กรัม ต่อต้น (โดยปกติจะได้ประมาณ 250 cc หรือน้อยกว่า) คิดที่ DRC ประมาณ 30% ก็จะเป็นยางแห้งประมาณ 75 กรัม, ถ้า 1 ไร่ มี 200 ต้น, ก็จะได้ประมาณ 15 กิโลกรัมครับ, แต่เท่าที่ถามๆชาวสวน เห็นว่าจะได้น้อยกว่านั้น,
การกรีด จะต้องหยุดกรีด 3 สาเหตุ, คือยางผลัดใบ, พักหน้ายาง, และฝนตก ดังนั้น คิดคร่าวๆ ก็ 3 เดือน, แต่ก็ยังมีอีกหลายสาเหตุที่ต้องหยุดกรีด ไม่ว่าคนกรีดต้องไปใช้แรงงานที่อื่น ไปทำนา ทำสวนทำไร่ ฯลฯ เฉลี่ยง่ายๆ ก็ได้กรีดกันจริงๆ ปีละ 8 เดือนครับ .

.

ข้อ 4
คิดเป็น % เนื้อยางแห้ง ตามที่คุณเอกว่าครับ, แต่เชียร์ให้ใช้กรดจับยาง ก่อนจะเอาไปอบในเตาไมโครเวฟนะ, มันให้ค่าที่แม่นยำกว่า, ทำง่ายๆครับ ชั่งน้ำยางมา 10.000 กรัม (ใช้เครื่องชั่งละเอียด), แล้วก็ใส่กรดน้ำส้ม จับยาง แล้วก็รีดแผ่นให้แบน, อบให้แห้งในเตาไมโครเวฟ (ไฟแรง 800W ประมาณ 20-30 นาที ให้เฝ้าด้วย เดี๋ยวไหม้ไฟลุก) เอายางที่แห้งแล้วมาชั่งน้ำหนักคับ, สมมติชั่งได้ 3.000 กรัม ก็ตีความว่า เปอร์เซ็นต์น้ำยาง เท่ากับ 30.00% ครับ

.

ข้อ 5
ทำน้ำยางข้น ชาวสวนทำเองได้ครับ, เครื่องเซ็นตริฟิวจ์ มือ 2 ราคาประมาณ 2 แสนบาท ต่อเครื่อง ถูกหรือแพงกว่านั้น ไม่มั่นใจ ซื้อที่ไหนก็ไม่รู้,
แต่ที่ ภาควิชาเทคโนโลยียาง มอ.ปัตตานี, อ.เจริญ ได้เอาวิธี ครีมมิ่ง ซึ่งเป็นวิธีทางเคมี (วิธีโบราณที่ไม่มีใครนิยมทำ) มาทำใหม่อีกรอบ เป็นวิธีที่ถูกกว่า เพราะไม่ต้องลงทุนเครื่องจักร, แต่จะไม่สามารถควบคุมคุณภาพได้ดีนัก และน้ำยางจะผสมกับสารเคมีบางอย่างเข้าไปแล้ว อาจจะไม่เป้นที่ต้องการของโรงงานครับ

.

ข้อ 6
น้ำยาง 60 % ใส่ถัง 200 ลิตร จะหนักประมาณ 180 กก.ครับ คิดเป็นยางแห้ง = 108 กก, วันนี้ (5 กค 54) ราคายางต่ำสุดที่ 126 บาท, น้ำยางข้น ถังนึง ก็ไม่น่าจะต่ำกว่า 13,600 บาท ครับ

 

..............

 

ข้อมูลผมอาจจะไม่ถูกต้อง นะครับ, ของคุณเอกน่าจะเชื่อถือได้มากกว่า ผมถามๆจากพ่อค้าคนกลางที่เอาน้ำยางมาขายผมน่ะครับ

การหาเปอร์เซนต์น้ำยางโดยใช้เมโทแลค นำค่าที่อ่านได้ไปคูณด้วย 3 ก็จะได้เปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งในน้ำยางตัวอย่างที่ใช้วัดออกมา เหตุใดต้องคูณด้วยสามครับ งงมาก

อยากสอบถามเกี่ยวกับการ หาซื้อน้ำยางโปรตีนต่ำนะคะ พอดีมีความจำเป็นในการนำมาใช้ทำโปรเจคนะคะ จะหาซื้อได้จากที่ไหนบ้างคะ

สวัสดีค่ะคุณเอก ดิฉันมีเรืี่องรบกวน อยากจะถามเกี่ยวกับการหาค่าเปอร์เซ็นต์ของยางจากไมโครเวฟค่ะ ว่าคิดกันอย่างไร


ถึง  คุณเอกค่ะ

ต้องการรับซื้อน้ำยางเพื่อมาทำเเผ่นขาย ต้องหาเครื่องมือวัดเปอร์เซ็นต์น้ำยางตัวไหน และมีอุปกรณ์อะไรที่ต้องเตรียมต้องได้น้ำยางกี่กิโล ถึงจะคุ้มทุน  ระบบกวนติดต่อได้ไหมค่ะ หรือไม่ก็โทรกลับเบอร์ 0821489081

ที่บ้านขายน้ำยางสด รู้สึกเหมือนโดนกด % ยาง หลายๆคนที่ขายก็บ่นเหมือนกัน

อยากขายตรงให้กับโรงงานเลย โดยไม่ผ่านตัวแทนรับซื้อ อยากทราบข้อมูลว่า

จพต้องรวบรวมยางอย่างน้อยกี่กิโล เพื่อขายโรงงานโดยตรงและมีข้อมูลโรงงานที่อยู่ใน

แถบระยองที่ไหนบ้างที่รับจากชาวสวนโดยตรง

อีกหนึ่งคำถามคือ ถ้าเก็บน้ำยางใส่ถัง 200 ลิตรเก็บไว้โดยใส่แอมที่ทำให้ยางไม่แข็งตัว เพื่อ

รอราคายางขึ้นลงกับ ขายน้ำยางสด แบบไหนได้ เปอร์เซ็นต์ดีกว่ากันคะ

ขอบคุณล่วงหน้าสำหรบข้อมูลค่ะ

ตอบกลับที่ [email protected]

ขอสอบถามหน่อยนะค๋ะ คือพอดีเเถวๆบ้านในน้ำยางสดมีการเติมน้ำลงไปเเต่ทำไม%ยังสูงอยู่ หรือว่าเค้าใส่สารอะไรค๋ะ

โทษคับคือ ผมทำงานยุห้อง Lab ยางข้น ด้ายไม่นานทีคับสงสัยนะอยากทราบ ว่า สาเหตุที่ทำให้ ค่าของ % TSC  เกิดความแปรปรวนหรือเพี้ยนนะคับนั้นมีปัจจัยเกิดจากอะไรได้บ้างคับ ด่วน ส่งคำตอบมาที่เมล์ผม นะคับ  [email protected] ขอบคุรมากคับ

ขอถามครับอยากทราบเปอร์เซ็นต์ยางที่ผ่านมาเคยวัดได้ต่ำสุดกี่เปอร์เซ็นต์ครับใครทราบบ้างรบกวนหน่อยนะครับ พอดีผมตัดยางส่งน้ำยางให้เขาเอาไปขาย เขาบอกแต่ว่าเปอร์ไม่มีเลย

ขอถามครับอยากทราบเปอร์เซ็นต์ยางที่ผ่านมาเคยวัดได้ต่ำสุดกี่เปอร์เซ็นต์ครับใครทราบบ้างรบกวนหน่อยนะครับ พอดีผมตัดยางส่งน้ำยางให้เขาเอาไปขาย เขาบอกแต่ว่าเปอร์ไม่มีเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท