แนวคิดบางประการเกี่ยวกับวิถีจีน-ไทยในสังคมสยาม


การทราบถึงความเป็นมาของวัฒนธรรมไทยที่มีการผสมผสานกับวัฒนธรรมจีน ทำให้มีการนำวัฒนธรรมที่ดีของทั้งสองชาติมาปรับใช้ให้เข้ากับสภาพของสังคมไทยในปัจจุบัน และนอกจากนี้ยังช่วยให้เกิดความสัมพันธ์อันดีต่อชาวจีนที่อยู่ในประเทศไทย และชาวจีนที่อยู่ในประเทศจีนด้วย อันจะส่งผลให้เกิดความร่วมมืออันดีต่อกันทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในอนาคตต่อไป

วิถีจีน-ไทย ในสังคมสยาม

           ชาวจีนในประเทศไทยได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารเป็นเวลาช้านาน  อย่างน้อยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา  จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย   ขณะเดียวกันส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมจีนในไทยก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย  และส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทยก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมจีนในไทยเช่นเดียวกัน  นี่ย่อมแสดงอย่างแจ้งชัดว่า  ได้มีการผสมผสานซึ่งกันและกันระหว่างวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมจีนอย่างสนิทแนบแน่น...

...เพราะเหตุใดเล่า  ที่วัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมจีนสามารถผสมผสานซึ่งกันและกันอย่างสนิทแนบแน่นเช่นนั้น

ข้อสงสัยนี้  หนังสือ  วิถีจีน-ไทยในสยามได้เฉลยไว้แล้วอย่างสมเหตุสมผล  ละเอียดลออและแจ่มแจ้งชัดเจน...

(จากคำนำเกียรติยศ : ประพฤทธิ์  ศุกลรัตนเมธี)

 

ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพิเศษ เรื่อง วิถีจีน-ไทยในสังคมสยาม ของ ผศ.แสงอรุณ  กนกพงศ์ชัย   นักวิชาการทางด้านสังคมศาสตร์  เป็นผู้มีประสบการณ์ทางด้านการเขียนบทความและตำราที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมไทยและจีน ไม่ว่าจะในเรื่อง  หุ่นจีนไหหลำในเมืองไทย  ความกตัญญูของชาวจีนที่สะท้อนผ่านพิธีกงเต็กในสังคมไทย  วัฒนธรรมจีนในสังคมไทย  และสำหรับหนังสือวิถีจีน-ไทยในสังคมสยามเล่มนี้ ผู้แต่งได้แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวไทยและชาวจีนที่มีความสัมพันธ์กันตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีความผสมผสานกลมกลืนกันทางวัฒนธรรมไทย-จีนที่เกิดขึ้นบนแผ่นดินไทย  ทำให้เข้าใจถึงความแตกต่างของคนทั้งสองชาติ พร้อมกับยอมรับในความแตกต่างนั้นอย่างเคารพ  เพื่อให้เกิดความสามัคคีกันระหว่างคนในชาติไม่ว่าจะเป็นคนไทยเชื้อชาติใดก็ตาม หนังสือเล่มนี้  ผู้แต่งได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากทั้งข้อมูลที่เป็นเอกสาร  ภาพถ่าย และศึกษาค้นคว้าจากการลงพื้นที่ทางภาคสนาม ไปยังสถานที่ต่างๆ ที่มีความสำคัญเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยและจีน  จึงทำให้ผู้อ่านได้รับความรู้จากหลักฐานอ้างอิงที่หลากหลาย  เกิดความคิดที่กว้างไกล  โดยผู้แต่งได้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 10 บท ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 4 ส่วน ดังนี้

            ส่วนแรก คือบทที่1-3 ผู้แต่งได้กล่าวถึงประวัติศาสตร์ของประเทศจีน ที่นอกจากจะมีพื้นที่ประเทศกว้างใหญ่ไพศาลแล้วยังมีความเจริญรุ่งเรืองในด้านวิทยาการต่างๆ ที่เห็นได้จากประเทศจีนได้มีการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ขึ้นก่อนชาติทางตะวันตก เช่น การพิมพ์ การสร้างกระดาษ  เข็มทิศ  การสร้างดินปืน  และนอกจากประเทศจีนจะมีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านวิทยาศาสตร์แล้วยังให้ความสำคัญกับเรื่องมนุษย์ จิตวิญญาณ และธรรมชาติ  ดังจะเห็นได้จากมีนักปรัชญาเกิดขึ้นในประเทศจีนจำนวนมาก เช่น ขงจื่อที่เน้นการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นต้น  จากนั้นเป็นการกล่าวถึงความสัมพันธ์ของไทยและจีนโดยเริ่มจากที่ประเทศไทยส่งเครื่องราชบรรณาการไปยังจีนตั้งแต่ในสมัยอยุธยา ซึ่งตอนนั้นอยุธยาเป็นเมืองท่าค้าขายสำคัญที่เชื่อมโยงกับหลายประเทศทั้งทางตะวันออกและตะวันตก  ทำให้พ่อค้าชาวจีนเข้ามาตั้งร้านขายสินค้าอยู่ในประเทศไทยตามหัวเมืองต่างๆ จำนวนมาก  แต่เมื่อกรุงศรีอยุธยาได้เสียเอกราชให้แก่พม่า  ทำให้ทั้งคนไทยและคนต่างชาติที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยได้รับความเดือดร้อน  และในเวลานั้นพระเจ้าเมืองตาก ซึ่งเป็นคนไทยเชื้อสายจีนได้รวบรวมพลเมืองซึ่งมีชาวจีนเป็นหลักสำคัญในการต่อสู้เพื่อกอบกู้เอกราชของไทย  เมื่อได้รับชัยชนะก็ได้มาตั้งราชธานีใหม่ที่กรุงธนบุรี  ทำให้คนจีนที่อยู่ในประเทศไทยได้รับการยกย่องและยอมรับจากคนในสังคมต่อเนื่องมาจนถึงในสมัยรัตนโกสินทร์  จึงมีผลให้คนจีนเข้ามาทำมาหากินในประเทศไทย  ประกอบกับในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประเทศจีนมีปัญหาจากการล่าอาณานิคมของตะวันตกและความอ่อนแอของการปกครองภายในประเทศ  ชาวจีนจึงอพยพเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้นเป็นลำดับ

            ส่วนที่สอง คือบทที่4-6  ผู้แต่งได้กล่าวถึงวิถีชีวิตไทยจีนที่มีความผสมผสานกัน  จนเกิดศิลปกรรมใหม่ๆ ขึ้น ที่ผสมผสานระหว่างคนสองชาติ  เช่น การสร้างโบสถ์วิหารของไทย ซึ่งแต่เดิมมักจะตกแต่งด้วยช่อฟ้า  ใบระกา  และหางหงส์  ซึ่งเป็นเครื่องไม้ทำให้มีอายุการใช้งานได้ไม่นาน  จึงมีการเปลี่ยนมาเป็นการตกแต่งด้วยปูนและกระเบื้องเคลือบแบบจีน  เพื่อให้เกิดความแข็งแรงทนทานมากขึ้น หรือการใช้เทคนิควิธีการเขียนพู่กันแบบจีน  ซึ่งช่างไทยนำมาใช้เขียนภาพต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้ให้ภาพดูอ่อนกวานและนุ่มนวลขึ้น รวมถึงการแปลวรรณกรรมของจีนที่มีชื่อเสียง เช่นสามก๊ก เพื่อนำมาใช้เป็นตำราสู้รบ  ส่วนในด้านวัฒนธรรมคนไทยก็ได้รับอิทธิพลจากชาวจีนมาเป็นจำนวนมาก จนวัฒธรรมบางอย่างหากไม่มีการศึกษา คนไทยบางคนอาจคิดว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในชาติ  เนื่องจากมีความผสามผสานกันอย่างสอดคล้อง  เช่น วัฒนธรรมในด้านอาหารที่คนไทยแต่เดิมมักบริโภคผักสดเพื่อแกล้มกับน้ำพริกเท่านั้น แต่เมื่อคนจีนนำวัฒนธรรมด้านการบริโภคผักสุก จึงทำให้เกิดอาหารประเภทผัดผัก ต้มจืดขึ้น ซึ่งเป็นอาหารที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย

            ส่วนที่สาม คือบทที่7-9  ผู้แต่งได้กล่าวถึงสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากที่คนจีนเข้ามาอยู่ในประเทศไทย  จากการที่คนจีนได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทย ส่วนใหญ่ก็ประสบความสำเร็จในการค้าขายและประกอบกิจการต่างๆ จึงทำให้คนจีนที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยมีบทบาทในการพัฒนาประเทศ โดยการอบรมสั่งสอนคนในครอบครัวให้เป็นคนมีความกตัญญู ซื่อสัตย์ ขยัน อดทนในการทำงาน  เห็นคุณค่าของการศึกษาและการแสวงหาความรู้  ทำให้คนกลุ่มนี้เป็นต้นกำเนิดของชนชั้นกลาง โดยผู้แต่งได้ยกตัวอย่างชาวไทยเชื้อสายจีนที่ได้มีส่วนร่วมต่อการสร้างสรรค์สังคมไทยนับจากอดีตมาสู่ปัจจุบัน  เช่น  เหียกวงเอี่ยม ผู้ที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย ใช้ความขยัน อดทนในการก่อร่างสร้างตัวจนได้เป็นผู้ปกครองคนจีนทั้งหมดในประเทศไทย  และเป็นผู้ที่มีมีความกตัญญูต่อผืนแผ่นดินไทยด้วยการเป็นผู้หนึ่งที่รวมพลังชาวจีนในประเทศไทยต่อต้านการเข้ามาตั้งกองทัพของญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง  ทำให้ประเทศไทยไม่ต้องตกอยู่ในฐานะประเทศที่พ่ายแพ้สงคราม  นอกจากประโยชน์ที่ได้รับจากการที่มีคนจีนอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยแล้ว  ผู้แต่งยังกล่าวถึงผลกระทบในเชิงลบที่เกิดขึ้นจากการที่คนจีนเข้ามาในประเทศไทย  โดยได้นำความเสื่อมโทรมทางด้านศีลธรรมเข้ามาปะปนด้วย เช่น การตั้งโรงบ่อนที่มีการพนันหลายชนิด เช่น กำถั่ว โพ ไพ่ หรือแม้กระทั่งการก่อตั้งโรงโสเภณี  โรงยาฝิ่น  โรงเหล้า  ซึ่งสิ่งเหล่านี้คนไทยเองก็ให้ความนิยมตามวิถีจีนจนทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลงไปด้วย

ส่วนที่สี่ คือบทที่10 ผู้แต่งได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ไทย-จีนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศ  จากความสัมพันธ์ไทย-จีนที่มีมาช้านานดังปรากฏให้เห็นในด้าน ศิลปะ  ประเพณี  ความเชื่อ  วิถีชีวิต และการอบรมเลี้ยงดู  ในลักษณะที่กลมกลืนและแน่นแฟ้นจึงทำให้ความสัมพันธ์ของคนทั้งสองชาติเป็นไปด้วยดี  และที่สำคัญสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างต่อเนื่อง  ในปัจจุบันประเทศจีนมีการเปิดประเทศมากขึ้น  และไทยเป็นประเทศแรกที่ทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีหรือเอฟทีเอกับประเทศจีน  ดังนั้นจึงควรที่จะใช้ความสัมพันธ์ในอดีตเพื่อเชื่อมโยงมาถึงปัจจุบัน  และในปัจจุบันประเทศจีนมีการมีการเปิดการเรียนการสอนภาษาไทยมากกว่าที่ไทยมีการเรียนการสอนภาษาจีน  ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกันได้ดังนั้นหากประเทศไทยมีการศึกษาทางด้านวัฒนธรรมจีนมากขึ้นก็จะช่วยเพิ่มความเข้าใจอันดีต่อกันและนำไปสู่การพัฒนาต่อไปอีกด้วย  ทำให้ในส่วนท้ายซึ่งเป็นภาคผนวกของหนังสือเล่มนี้ผู้แต่งได้รวบรวมรายชื่อวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมไทยจีนเพื่อให้ผู้ที่ต้องการศึกษาในแง่มุมใดมุมหนึ่งอย่างละเอียดต่อไปได้ค้นคว้าเพิ่มเติมอีกด้วย

จากเนื้อหาที่กล่าวมาทั้งหมดในหนังสือเล่มนี้นี้ทำให้เกิดแนวคิดเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้คนไทยและจีนเกิดความผสมผสานกลมกลืนกันได้ สิ่งที่มีความสำคัญที่สุดคือสถาบันพระมหากษัตริย์ทรงให้การสนับสนุน  โดยมีการส่งเสริมให้คนจีนเข้ามาทำมาหากินในประเทศไทยโดยที่ไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงานและสามารถทำมาหากินได้ทั่วราชอาณาจักรไทย  และเมื่อมีคนจีนอพยพเข้ามาในประเทศไทยเพิ่มขึ้นทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนจีนกันขึ้น  พระมหากษัตริย์ไทยก็ทรงแต่งตั้งให้ชาวจีนปกครองกันเองโดยคัดเลือกชาวจีนที่มาอยู่เมืองไทยเป็นเวลานานซึ่งมีความรู้ในขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมประเพณีไทยเป็นอย่างดีให้เป็นหัวหน้าในการปกครองชาวจีนที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย  จึงช่วยทำให้บ้านเมืองมีความสงบร่มเย็นมากขึ้น  นอกจากนี้สถาบันพระมหากษัตริย์ยังทรงให้คนจีนที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยมีการเปลี่ยนจาก แซ่ มาเป็นนามสกุลที่สอดคล้องกับคำหรือความหมายเดิมของแซ่นั้น ทำให้คนจีนที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยเกิดความรักในแผ่นดินไทย และยังเป็นการแสดงถึงเชื้อสายเดิมที่สืบทอดมาจากประเทศจีนด้วย  และในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จเยือนประเทศจีนบ่อยครั้ง และทรงเป็นเจ้าฟ้าพระองค์แรกในโลกที่เสด็จครบทุกมลฑลในประเทศจีน  โดยทุกครั้งที่เสด็จฯ จะทรงศึกษาทำความเข้าใจในสิ่งที่ทรงพบเห็นอย่างลึกซึ้งเท่าที่โอกาสอำนวยและทรงมีงานพระนิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับประเทศจีนออกมาตีพิมพ์เผยแพร่อยู่เสมอ  ด้วยเหตุนี้กระทรวงศึกษาธิการของจีนจึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลมิตรภาพด้านภาษาและวัฒนธรรมแด่พระองค์ท่าน  ดังนั้นสถาบันพระมหากษัตริย์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ความสัมพันธไทยจีนมีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น 

นอกจากนี้การมีพื้นฐานความเชื่อทางพระพุทธศาสนาเหมือนกันของชาวไทยและชาวจีนก็มีส่วนช่วยสร้างความกลมเกลียวระหว่างทั้งสองชาติได้ แม้ว่าชาวจีนจะนับถือลัทธิต่างๆ เช่น ขงจื่อ  เต๋า แต่หลักธรรมคำสอนก็มีความสอดคล้องกับพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติไทย  เห็นได้จากมีการสร้างวัดจีนขึ้นในประเทศไทย  โดยรัชกาลที่5ทรงโปรดตั้งวัดหลวงแห่งแรกของจีนโดยพระราชทานนามอย่างไทยว่า มังกรกมลาวาส ซึ่งตรงกับภาษาจีนว่า เล่งเน่ยยี่  และทรงให้คณะสงฆ์ของจีนได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ตาลปัตรพัดยศเช่นเดียวกับพระสงฆ์ของไทยด้วย   อีกทั้งยังมีชาวไทยเชื้อสายจีนที่สนใจศึกษาพระพุทธศาสนา  ดังเช่น  เสถียร  โพธินันทะ  ผู้ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญที่มีส่วนช่วยในการเผยแพร่ศาสนา  ทำให้เห็นว่าแม้ท่านจะเป็นลูกหลานชาวจีน  แต่น้ำใจในการเอื้อเฟื้อในหลักธรรมของท่านแผ่กระจายไปโดยไม่จำกัดเชื้อชาติและศาสนา 

ในด้านลักษณะนิสัยความมีน้ำใจของคนไทยและคนจีนก็มีความสอดคล้องคล้องกัน    เห็นได้ชัดเจนจากการก่อตั้งมูลนิธิป่อเต็กตึ้ง ซึ่งมีคหบดีจีนชื่อยี่กอฮงเป็นผู้ก่อตั้งขึ้นเพื่อเก็บศพไร้ญาติ โดยมีรัชกาลที่6 พระราชทานทุนช่วยเหลือโดยเห็นว่าการเก็บศพไร้ญาติของคนจีนเป็นมีส่วนช่วยหน่วยราชการทางด้านสาธารณะสุข  เนื่องจากสังคมไทยในสมัยก่อนหากมีศพไร้ญาติก็จะถูกทิ้งไว้ไม่มีใครมาจัดการ หรือถ้าเกิดโรคระบาดมีการตายกันมากๆ ก็จะหามศพไปทิ้งไว้ที่วัดสระเกศ ซึ่งอยู่นอกกำแพงเมือง  แล้วปล่อยให้นกแร้งมาจิกกินเป็นอาหาร  ต่อมาในช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 มีชาวจีนที่อพยพเข้ามาประเทศไทยด้วยเรือกลไฟ และในแต่ละเที่ยวก็จะบรรทุกผู้คนมาเป็นจำนวนมาก  ทำให้เกิดโรคระบาดร้ายแรงขึ้น  ดังนั้นเมื่อมาถึงกรุงเทพฯ จึงมักถูกกักกันไว้ในเรือจนกว่าทุกคนจะหายขาดจากโรค  ขณะนั้นนายอุเทน  เตชะไพบูลย์  ประธานกรรมการมูลนิธิป่อเต็กตึ้งจึงเข้ารับดูแลผู้ป่วยเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน โดยนำอาหาร  น้ำสะอาด และยารักษาโรค  เข้าไปช่วยเหลือต่อเนื่องกัน  จนชาวจีนที่อพยพเข้ามานั้นมีอาการดีขึ้น  นอกจากนี้ภาระกิจที่สำคัญของมูลนิธิป่อเต็กตึ้งคือในขณะที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 มูลนิธิยังได้มีส่วนช่วยทั้งชาวไทยและชาวจีนที่ประสบภัยจากสงคราม  ขาดแคลนอาหาร  น้ำดื่ม  หรือแม้กระทั่งช่วยปฐมพยาบาล  เก็บศพที่เป็นเหยื่อจากสงครามและผู้ตายที่ไร้ญาติตลอดในช่วงสงคราม  ด้วยความมีน้ำใจช่วยเหลือระหว่างกันนี้ ทำให้มูลนิธิป่อเต็กตึ้งกับชาวไทยและจีนมีความผูกพันกัน  และมีส่วนช่วยให้ชาวไทยและจีนมีความความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันและอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข

ดังนั้นหนังสือเล่มนี้จึงเหมาะสำหรับทุกคน  ทำให้ทราบถึงความเป็นมาของวัฒนธรรมไทยที่มีการผสมผสานกับวัฒนธรรมจีน  เพื่อนำวัฒนธรรมที่ดีของทั้งสองชาติมาปรับใช้ให้เข้ากับสภาพของสังคมไทยในปัจจุบัน  และนอกจากนี้ยังช่วยให้เกิดความสัมพันธ์อันดีต่อชาวจีนที่อยู่ในประเทศไทย  และชาวจีนที่อยู่ในประเทศจีนด้วย  อันจะส่งผลให้เกิดความร่วมมืออันดีต่อกันทั้งทางด้านเศรษฐกิจ  สังคม  และวัฒนธรรมในอนาคตต่อไป

 

 

เอกสารอ้างอิง

แสงอรุณ  กนกพงศ์ชัย. วิถีจีน-ไทยในสังคมสยาม. กรุงเทพฯ : มติชน, 2550.

หมายเลขบันทึก: 204513เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2008 01:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ในด้านลักษณะนิสัยความมีน้ำใจของคนไทยและคนจีนก็มีความสอดคล้องคล้องกัน เห็นได้ชัดเจนจากการก่อตั้งมูลนิธิป่อเต็กตึ้ง ซึ่งมีคหบดีจีนชื่อยี่กอฮงเป็นผู้ก่อตั้งขึ้นเพื่อเก็บศพไร้ญาติ โดยมีรัชกาลที่6 พระราชทานทุนช่วยเหลือโดยเห็นว่าการเก็บศพไร้ญาติของคนจีนเป็นมีส่วนช่วยหน่วยราชการทางด้านสาธารณะสุข

เพิ่งทราบข้อมูล ขอบคุณครับ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ ขออนุญาติเอาข้อมูลบางส่วนมาใช้ด้วยนะคะ

คนขาวมากๆในไทยไม่ใช่จีน

คนจีนแท้ๆ ในไทยตัวเตี้ยสั้นจำนวนมาก และไม่ขาวมากมาย ขาวแพ้คนเหนือที่เชื่อว่าเป็นคนไทยจากภูเขาอัลไตตัวจริง

เพื่อนที่โรงเรียนชื่อหมวย แต่ตัวดำเถ่าถ่าน คนเชื้อจีนไม่ได้ขาวจริง เพราะผู้ชายจีนแต่งกับคนดำ ไม่ใช่คนที่มียีนส์ผิวขาว คนแถวบ้านมีเชื้อจีนตัวคล้ำมากๆๆ

แต่เพื่อนที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและเพื่อนที่ทำงานหลายคน ไม่ใช่คนเชื้อสายจีนเลย แต่เป็นคนผิวขาว ขาวมากๆ มีผิวออกอมชมพู แต่เป็นคนกลุ่มน้อยที่เรียนเก่งมากๆ

เรามีเพื่อนเป็นคนเหนือที่จุฬาฯ หนึ่งคน เป็นคนขาวมากระดับน้ำนมเลย ซึ่งเชื่อว่าเป็นคนไทย/ไท/ไตตัวจริงจากภูเขาอัลไต

ยายเราก็มีผิวเหลืองๆ ไม่คล้ำ ไม่ใช่คนเชื้อสายจีนด้วย เพียงแต่เป็นคนกลุ่มน้อย

คนจีนแท้ๆ ในไทยจำนวนมากก็สอบตกเข้ามหาลัยอันดับของไทยไม่ได้ สอบเข้าได้ก็ไม่ได้ที่หนึ่ง ผิดกับคนผิวขาวที่ไม่ใช่เชื้อจีนซึ่งเชื่อว่าเป็นลูกหลานคนไทยจากภูเขาอัลไตหรือพวกมอญ-เขมรขาวแต่เป็นคนกลุ่มน้อย

เพื่อนเราที่โรงเรียนเตรียมอุดมฯ อีกคนผิวขาวมาก มากกว่าคนจีนอีก มีแม่เป็นคนไทยผิวเหลืองๆ และมีพ่อเป็นพม่า เรียนเก่งมากสอบได้เกียรตินิยมของจุฬาด้วย แต่เป็นคนกลุ่มน้อย

กษัตรย์ไทยปัจจุบันก็ไม่มีเชิ้อสายจีนเลย แต่เป็นพวกมอญขาว ตากสินเป็นลูกครึ่งและถูกฆ่าล้างโครตทั้งตระกูล กษัตรย์ไทยก็ไม่ได้สืบเชื้อสายมาจากคนจีน

คนดำทั้งประเทศไม่ใช่คนไทยโดยสายเลือดแต่เป็นคนไทยโดยวัฒนธรรม

วัฒนธรรมบ้านเราเป็นวัฒนธรรมผสมระหว่างวัฒนธรรมไทยจากภูเขาอัลไต มอญและเขมร ส่วนวัฒนธรรมจีนก็เป็นพวกที่มีเชื้อจีนซึ่งถ้าให้นับสายเลือดอีกครั้งจะพบว่าแทบไม่มีใครมีเชื่อสายจีนอีก

วัฒนธรรมไทยจะคล้ายเอเซียตะวันออก เช่น ชุดครองราชย์ของกษัตย์จะเป็นชุดคลุมยาวเมืองหนาวและสวมหมวกทรงสูงคล้ายชุดมองโกล ชุดเทวดาไทยเป็นชุดคลุมยาวกับหมวกทรงสูงอีกเหมือนกัน ชุดหมอฮ่อมก็คล้ายชุดกีเพ้าของพวกแมนจูที่ปกครองคนฮั่นหรือจีน วัฒนธรรมการโกนหัวจุกก็คล้ายพวกแมนจูเพราะคนไทยจากภูเขาอัลไตเคยอาศัยอยู่ในเอเซ๊ยตะวันออกมาถึง 4,000 ปีก่อนลงมาอยู่ในดินแดนตอนล่าง กองทัพไทยมีการแต่งกายคล้ายพวกมองโกล เส้นน้ำเงี้ยวของคนเหนือคล้ายอาหารของคนเอเซียตะวันออก(จีนเกาหลีญี่ปุ่น) วัฒนธรรมสยามจะมุ่งเน้นที่หมวกทรงทรงที่เรียกว่า ชฏา ซึ่งเป็นลักษณะวัตฒนธรรมคล้ายพวกมองโกล คนมองโกลชอบใส่หมวกเป็นวัฒนธรรม

ชุดมอญ-เขมรจะเป็นชุดสไบ รับอากาศร้อน แต่วันครองราชย์กษัรตย์ไทยแต่งชุดคลุมยาวเมืองหนาวกับหมวกทรงสูงของคนไทยจากภูเขาอัลไตซึ่งคล้ายชุดมองโกล

คนจีนไม่เคยปกครองคนผิวดำ ผิดกับคนมอญ-เขมรหรือคนไทยจากภูเขาอัลไตที่มีผิวขาว ซึ่งมีประวัติยึดแดนปกครองคนผิวดำทางตอนล่าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท