ปุ๋ยและการใช้ปุ๋ย เรื่อง ธาตุอาหารที่สำคัญของพืช /แบบฝึกหัด(มีเฉลย) เรื่องพืชตามฤดูกาล การปักชำ และปุ๋ย


ธาตุอาหารทีสำคัญที่พืชต้องการในปริมาณมากและพืชมักจะขาด มี 3 ธาตุ

ธาตุอาหารที่สำคัญของพืช    

 

                   ธาตุอาหารที่สำคัญหรือธาตุอาหารหลักของพืชประกอบด้วย  3  ธาตุ  ดังนี้ 

1.       ไนโตรเจน  (N =  Nitrogen)

       1.1     มีหน้าที่บำรุง  ลำต้น  ใบ  และส่วนที่เป็นสีเขียว

1.2    ในพืชทั่วไป ไนโตรเจน (N) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของกรดอะมิโน (Amino acids) กรดนิวคลีอิก (Nucleic acids) นิวคลีโอไทล์ (Nucleotile) และคลอโรฟิลล์

1.3    ช่วยในการเจริญเติบโตของพืช เพิ่มขนาดใบ เพิ่มจำนวนเมล็ดต่อรวง เพิ่มจำนวนเมล็ดดีต่อรวง และเพิ่มปริมาณโปรตีนในเมล็ด

2.       ฟอสฟอรัส  ( P = Phosphorus )

2.1    มีหน้าที่บำรุงดอก  ผล  เมล็ด  ยอดอ่อนและต้นอ่อน

2.2    ธาตุฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบของ phospholipids ซึ่งเป็นแหล่งที่ให้พลังงานแก่พืช และเป็นองค์ประกอบของ nucleoproteins ซึ่งจะมีความสำคัญเกี่ยวกับการแบ่งเซลล์ นอกจากนี้ยังเป็นองค์ประกอบของ phytin ซึ่งเปรียบเสมือนหนึ่งเป็นที่สะสมฟอสเฟตในเมล็ดพืช สำหรับให้พืชนำไปใช้ในการสร้างสารที่ให้พลังงานในขณะที่พืชเริ่มงอกยังไม่มีรากที่จะดูดเอาฟอสเฟตในดินขึ้นมาใช้ได้ ถ้าพืชได้รับธาตุฟอสฟอรัสไม่เพียงพอแล้ว โดยทั่วไปแล้วการเจริญเติบโตของพืชจะถูกจำกัดลง ต้นพืชแคระแกร็นแก่ช้ากว่าปกติ การเจริญเติบโตและการแพร่กระจายของรากมีน้อย ดอกและผลไม่สมบูรณ์  ใบและลำต้นจะมีสีม่วง

3.       โพแทสเซียม ( K  = Potassium) 

3.1    มีหน้าที่บำรุงรากและหัว

3.2    โพแทสเซียม  เป็นธาตุที่ต่อขบวนการสร้างแป้งและน้ำตาล  และการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาลภายในพืช  และมีอิทธิพลต่ออัตราการหายใจและการคายน้ำของพืช  เมื่อเข้าอยู่ในพืชจะอยู่ในรูปของไอออน (ionic form)  จึงสูญหายไปจากพืชโดยการชะล้างได้ง่าย  

3.3    ช่วยทำให้ผนังเซลล์ของพืชหนาขึ้นและลำต้นแข็งแรงขึ้น ถ้าขาดก็จะทำให้พืชล้มได้และยังช่วยเพิ่มน้ำตาลในพืชพวกอ้อยด้วย พวกพืชหัว(root  crops) ต้องการโพแทสเซียมในปริมาณสูง ถ้าขาดจะแสดงอาการออกมาเช่น ขอบใบไหม้ สำหรับข้าวโพด ถ้าขาดโพแทสเซียมจะแสดงอาการขาดออกมาโดยที่ปลายใบและขอบใบจะมีสีเหลือง เป็นต้น

***************

 

แบบฝึกหัด
  การปลูกพืชตามฤดูกาล  การปักชำ และปุ๋ย
1.     การปลูกพืชตามฤดูกาลมีผลดีอย่างไร
         ก. พืชเจริญเติบได้ดี
         ข. ดูแลบำรุงรักษาง่าย
         ค. หลีกเลี่ยงแมลงและโรค
         ง. ผลผลิตจำหน่ายได้ราคาดี
2.  การเปลี่ยนดินในกระถางมีผลดีอย่างไร
        ก. ทำให้พืชเจริญงอกงามดีขึ้น
       ข. ทำให้การดูแลรักษาพืชง่ายขึ้น
       ค. ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต
       ง. ทำให้พืชต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพดิน
3.       พืชผักชนิดใด  ไม่ควรปลูกในฤดูฝน
        ก. คะน้า                  ข. แตงกวา
        ค. มะเขือยาว          ง. มะเขือเทศ
 4.       พืชผักชนิดใดปลูกเจริญงอกงามได้ดีในฤดูร้อน
       ก. ฟักทอง                 ข. กระเทียม
       ค. กะหล่ำปลี             ง.  ถั่วฝักยาว
5.    วิธีเก็บผักที่ถูกต้อง  ควรปฏิบัติอย่างไร
       ก. เก็บผักที่แก่เต็มที่
      ข. เก็บผักในตอนกลางวัน
      ค. เก็บผักโดยใช้มีดคมๆ ตัด
      ง. เก็บผักโดยการวางซ้อนกันมากๆ
6.    ส่วนใดของพืชที่ไม่ใช้ในการขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ
       ก. กิ่ง                    ค.  ราก
       ข. ใบ                    ง.   ดอก
7.    พืชชนิดใดที่ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง
      ก. สน                    ข. โพธิ์
      ค. ลำไย                 ง. กุหลาบ
8.    การปักชำกิ่งอวบน้ำ  ควรปฏิบัติอย่างไร
       ก. ปักให้ลึก 10 เชนติเมตร
      ข. ปักให้ตั้งฉากกับวัสดุปักชำ
      ค. ปักทำมุม 45 องศา กับวัสดุชำ
      ง. ปักให้เอียงเล็กน้อยลึกประมาณ 8 ซ.ม.
9.    การปักชำในที่มีอากาศเย็นจะมีผลอย่างไร
       ก. กิ่งจะไม่ออกราก
       ข. กิ่งจะออกรากได้ง่าย
       ค. กิ่งชำเจริญเติบโตเร็ว
      ง. การเติบโตของรากจะชะงัก
10.    การปักชำ  ควรปักชำในสภาพอากาศเช่นไรจึงจะทำให้การออกรากได้ผลดี
      ก. อากาศเย็น
      ข. อากาศร้อน
      ค. อากาศที่มีความชื้นสูง
      ง. อากาศที่มีความชื้นต่ำ
11.    ปุ๋ยหมักมีประโยชน์อย่างไร
      ก. ช่วยป้องกันศัตรูพืช
      ข. ช่วยป้องกันการงอกของวัชพืช
      ค. เพิ่มความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
     ง. เปลี่ยนสภาพดินเหนียวให้เป็นดินร่วน
12.    ปุ๋ยพืชสดจัดเป็นปุ๋ยประเภทใด
      ก. ปุ๋ยเคมี
      ข. ปุ๋ยอินทรีย์
      ค. ปุ๋ยอนินทรีย์
      ง. ปุ๋ยวิทยาศาสตร์
13.    ธาตุอาหารหลักของพืช  คือข้อใด
       ก.  N     P     K
      ข.  Ca    Mg    S
      ค. C      H     O
      ง.  Fe    Zn     Cu   Mo    Mn    B    Cl
14.    วิธีที่จะทำให้กองปุ๋ยหมักสลายตัวได้เร็วขึ้นคือ
      ก. การใช้วัสดุคลุม
      ข. ใช้หลังคากันแดด
       ค. การกลับกองปุ๋ยหมัก
       ง. การใส่มูลสัตว์ต่างๆ
15.    ขั้นตอนของการกองปุ๋ยหมัก  ปฏิบัติอย่างไร
       ก. ใส่ปูนขาว  ใส่เศษพืช  โรยดินร่วน
       ข. ใส่ปุ๋ยเคมี  ใส่เศษพืช  โรยดินร่วน
       ค. ใส่เศษพืช  ใส่ปุ๋ยคอก โรยดินร่วนละเอียด
      ง. ใส่ปุ๋ยคอก  ใส่เศษพืช  โรยดินร่วนละเอียด
  
  เฉลย  1 = ก   2 = ก    3 = ง   4 = ก  5 = ค  6 = ง  7 = ง  8  = ข  9 = ง  10 = ค 11 = ง 12 = ข   
          13 = ก  14 = ค  15 = ค
หมายเลขบันทึก: 204327เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2008 13:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:14 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท