ตำราเรื่อง "อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ : บทบาทและหน้าที่"


         สกอ. มีหนังสือส่งมาเมื่อวันที่ 22 มี.ค.49   เชิญไปร่วมประชุมเสวนาแสดงความคิดเห็นต่อร่างต้นฉบับตำราเรื่องนี้ในวันที่ 27 มี.ค.49   ซึ่งการเชิญประชุมกระชั้นอย่างนี้ผมหมดสิทธิ์   เพราะเวลานัดของผมเต็มล่วงหน้า 1 - 2 เดือน   หน่วยราชการส่วนใหญ่มักนัดกระชั้นเสมอ   จึงฟลุ๊กจริง ๆ ที่ผมจะเข้าร่วมได้คราวนี้ไม่ฟลุ๊ก   ผมจึงไม่มีโอกาสไปร่วม

         แต่ไหน ๆ สกอ. ก็ส่งต้นฉบับมาให้แล้ว   ก็ช่วยออกความเห็นเสียหน่อย   ผมมี 2 ความเห็นเท่านั้นครับ

1. สไตล์การเขียนแบบนี้เป็นแบบเริ่มด้วยทฤษฎีที่มีการอ้างอิง   คือสไตล์วิชาการ   จะเป็นหนังสือที่อ่านยากหรือไม่ดึงดูดใจให้อ่าน
2. เนื้อหา   ผมอยากเห็นเนื้อหาจากประสบการณ์ตรงของผู้เขียนจากหลากหลายสาขาวิชาในบริบทไทย   ที่เขียนนี้เขียนกลาง ๆ ในเชิงหลักการ   ผมคิดว่ามีประโยชน์น้อย

         แต่หนังสือตามต้นฉบับที่ส่งมาให้ผมก็มีประโยชน์นะครับ   มีความรู้หลายอย่างที่ผมไม่รู้มาก่อน   เกือบลืมบอกไปว่าตำรานี้เขียนโดย รศ. ดร. ชนิตา  รักษ์พลเมือง   และ ศ. ดร. สมหวัง  พิธิยานุวัฒน์

วิจารณ์  พานิช
 23 มี.ค.49

หมายเลขบันทึก: 20431เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2006 10:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 10:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เห็นด้วยกับท่านอาจารย์ วิจารย์ ครับ

หนังสืออ่านตามหลักวิชาการ/ทฤษฏี  นั้นมีเยอะแล้วครับ  และถึงแม้บางเรื่องอาจจะมีน้อยแต่ก็ไม่ค่อยน่าอ่าน  เพราะไม่น่าติดตาม  อ่านแล้วไม่สนุก  ไม่เห็นภาพ  ไม่เหมือนการเขียนจากประสบการณ์จริงครับ

ผมเชื่อว่าอาจารย์ผู้เขียนทั้งสองท่าน  เป็นคนเก่ง  และมีประสบการณ์เรื่องนี้มานานและมากมาย  ถ้าเขียนจากประสบการณ์และความรู้สึก/การจดบันทึกในชีวิตประจำวัน  ก็จะอ่านกันไม่หวาดไม่ไหว แต่ก็น่าอ่านและอ่านได้มากกว่าตำราวิชาการนะครับ

แต่ถ้าหนังสือเล่มนี้ออกวางตลาดก็คงจะต้องหามาเก็บไว้สักเล่ม  ดูจากชื่อหนังสือแล้วน่าสนใจครับ  เผื่อได้นำมาใช้ในชีวิตประจำวันครับ 

การส่ง Full paper ไปนำเสนอผลงานเป็นความผิดมากหรือเปล่าครับ เพราะว่าทำไม่ทัน และไม่ได้ให้อาจารย์ที่ปรึกษาดูก่อนที่จะส่งไป ทางอาจารย์ที่ปรึกษาไม่ชอบใจเอามากมาก ไม่ทราบว่าจะเข้าไปขอโทษอาจารย์อย่างไร

การส่ง paper ไปนำเสนอ ไม่ว่าโดยการตีพิมพ์, โปสเตอร์ หรือโดยการเสนอด้วยวาจา  ต้องมีความรับผิดชอบต่อความแม่นยำและครบถ้วน     นี่คือจรรยาบรรณในการวิจัย หรือจรรยาบรรณวิชาการ

การลงชื่อคนอื่นร่วมใน paper โดยไม่ให้เขาได้รับรู้ก่อน ถือว่าผิด     เพราะเราอาจเขียนโดยมีข้อความหรือความเห็นที่เขาคิดว่าผิด ก็ได้     เขาต้องร่วมเสียชื่อโดยไม่รู้ตัว

ยังมีประเด็นอื่นอีกเยอะครับ ที่นักวิชาการต้องระมัดระวัง

วิจารณ์ พานิช

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท