การละเมิดสิทธิมนุษยชนกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าในประเทศไทย


งานสิทธิมนุษยชน

การละเมิดสิทธิมนุษยชนกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าในประเทศไทย

กลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าในประเทศไทยมี 10 เผ่าหลักประกอบไปด้วย เผ่ากะเหรี่ยง ม้ง เมี่ยน ลีซู ลาหู่ อาข่า ลัวะ ถิ่น ขมุ และมลาบรี โดยแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่ม ชาวเขาดั้งเดิม เป็นกลุ่มที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยมานานแล้วและกลุ่ม ชาวเขาที่เพิ่งอพยพ เข้ามาในประเทศไทยไม่นาน ส่วนการดำเนินนโยบายกับชนกลุ่มต่างๆนั้นแตกต่างกันไปภายใต้เงื่อนไขที่รัฐได้สร้างขึ้น ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ

ลักษณะการการละเมิดสิทธิกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่า

การละเมิดสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่านั้นปรากฏให้เห็นในรูปแบบต่างๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อมเช่น การคุกคามมละเมิดสิทธิโดยผ่านกระบวนการทางกฎหมาย การคุกคามมละเมิดสิทธิโดยผ่านการปฏิบัติการ สิทธิในการดำรงชีวิต การตัดสินใจกำหนดอนาคตตนเอง การละเมิดสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านการพัฒนา กล่าวคือสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนะธรรม อาทิ การดูถูกเหยียดหยาม หรือการอคติทางชาติพันธุ์ การกีดกันในรูปแบบต่างๆ การนำเอาวัฒนธรรมภูมิปัญญาชาวเขาไปทำเพื่อการค้าเพื่อการท่องเที่ยว การแยกชิงทรัพยากรป่า การถูกมองว่าเป็นภัยสังคมต่อความมั่นคงของชาติ เป็นต้นเหตุของการแพร่าระบาดของยาเสพติด เป็นผู้ตัดไม้ทำลายป่า เป็นต้น

เกี่ยวกับการแย่งทรัพยากรนั้น เป็นการแย่งชิงที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกินและอำนาจในการจัดการป่าไม้ เป็นการละเมิดสิทธิโดยผ่านกระบวนการทางกฎหมาย เช่น การประกาศเป็นเขตป่าสงวน อุทยานแห่งชาติ เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าทับที่ทำกิน ที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน เมื่อมีการประกาศกฎหมายเหล่านี้ กลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าส่วนใหญ่ได้กลายเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในป่าอย่างผิดกฎหมายไปทั้ง ๆ ที่เคยอยู่อาศัยและตั้งถิ่นฐานทำมาหากินมาก่อนที่รัฐจะประกาศกฎหมาย ผลที่ตามมา คือ การถูกอพยพ หรือถูกจำกัดพัฒนาและถูกข่มขู่จากทางเจ้าหน้าที่รัฐ

ปรากฏการณ์เหล่านี้มักจะเกิดขึ้นขึ้นเสมอกับชาวเขาในประเทศไทย และมีแนวโน้มว่าจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ผลของการอพยพทำให้กลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าไร้ที่อยู่อาศัยไร้ที่ดินทำกิน ถูกจำกัดสิทธิถูกคุกคาม การเข้ามาอยู่ในพื้นที่ราบ ทำให้ชาวเขาสูญเสียวิถีชีวิตดั้งเดิม ทั้งประเพณีและวัฒนธรรมความเป็นเผ่าพันธุ์และระบบสังคมดั้งเดิมถูกทำลาย ทำให้ศักยภาพของชุมชนอ่อนแอลงจนไม่สามารถดูแลพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาต่าง ๆ แก่ชาวเขามากมาย อาทิ การอพยพแรงงาน การติดยาเสพติด ติดโรคเอดส์ เด็กเล็ก เยาวชน และผู้หญิงไร้ที่อยู่อาศัย ขาดอาหาร ขาดคนดูแลเนื่องจากผู้นำครอบครัวทุกทางการจับกุมติดคุก เยาวชนชนเผ่าจำนวนมากถูกระบบใหญ่กลืนกินหลงลืมวิถีชีวิตดั้งเดิมจนไม่สามารถสืบทอดเจตนารมย์บรรพบุรุษได้ ในอนาคตวัฒนธรรมและเอกลักษณ์เหล่านี้อาจจะสูญสิ้นไปเนื่องจากกระแสการครอบงำจากอิทธิพลภายนอกที่เข้มแข็งกว่า

การอคติทางชาติพันธุ์ เป็นปัญหาใหญ่มากสำหรับชนกลุ่มน้อยและสังคมไทยทั่วไป เป็นการละเมิดสิทธิทางสังคมและวัฒนธรรม เห็นได้จากที่ชาวเขาส่วนใหญ่มักจะถูกดูถูก ถูกกล่าวหาอยู่เสมอว่า สกปรก ป่าเถื่อน ไร้การศึกษา ตัดไม้ทำลายป่าต้นน้ำลำธาร ค้ายาเสพติด และเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศชาติ รัฐจึงได้ใช้นโยบายปราบปรามและควบคุมชนเผ่าอย่างเข้มข้นอยู่เสมอ ปัจจุบันยังคงใช้เหตุผลความมั่นคงของชาติ ชนเผ่าค้ายาเสพติด และตัดไม้ทำลายป่าเป็นฐานคิดในการกำหนดนโยบายการพัฒนาชาวเขา ดังจะเห็นได้จากการจัดทำแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาชาวเขาแผนแม่บทฉบับที่ หนึ่ง เริ่มใช้ตั้งแต่ ปี พ.. 2535-2539 และแผนแม่บทฉบับที่สอง เริ่ม ปี พ.. 2540-2544 แผนแม่บททั้งสองฉบับ เน้นการควบคุมและปราบปรามกลุ่มชนเผ่า ซึ่งทำให้กลุ่มชนเผ่าถูกกีดกัน ถูกเอารัดเอาเปรียบ ปัจจุบันชนเผ่าส่วนใหญ่ประมาณ 560,000 คนยังไม่ได้รับสัญชาติไทย ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในการเข้าถึงทรัยพากรรัฐและการได้รับการเคารพและปฏิบัติอย่างเสมอภาคเฉกเช่นพลเมืองไทยทั่วไป เช่น การคัดเลือกเป็นทหาร การทำงาน ฯลฯ

กลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าถูกจัดเป็นพลเมืองชั้นสอง ไม่มีสิทธิเท่าเทียมคนไทยทั่วไป ถูกกล่าวหา ถูกกดขี่ข่มเหงตลอดเวลา ซึ่งรัฐก็ไม่เคยตระหนักว่าสิ่งที่ทำกับชนเผ่าทั้งหมดเป็นเรื่องของการละเมิดสิทธิมนุษยชน ถึงแม้ว่าในปัจจุบันรัฐได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่แล้วตั้งแต่ ปี พ.. 2550 และในหมวดที่หก ส่วนที่ 8 ได้มีการระบุเกี่ยวกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการดูแลเกี่ยวกับการบะเมิดสิทธิมนุษยชนในไทย ซึ่งได้มีการพิจารณาและผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีไปแล้ว ถึงแม้จะมีนโยบายและแผนปฎิบัติการแม่บทสิทธิมนุษยชนแห่งชาติก็ตามแต่ก็ไม่มีทีท่าว่าจะหยุดละเมิดสิทธิชนเผ่าแต่อย่างใด และยังไม่มีหลักประกันว่ากลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าจะไม่ถูกละเมิดสิทธิอีกต่อไป

หลักกฎหมายที่ถูกละเมิด

ถ้าจะกล่าวโดยความจริงแล้วการละเมิดสิทธิมนุษยชนกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าถูกละเมิดในหลักกฎหมายหลายข้อซึ่งจะกล่าวพอสรุปได้ว่ามีหลักกฎหมายใดบ้างทั้งในรัฐธรรมนูญของไทยเอง และพันธกรณีระหว่างประเทศเช่น กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  รัฐธรรมนูญ ปี 50 ได้แก่

-        สิทธิในการดำรงชีวิต การตัดสินใจกำหนดอนาคตตนเอง

-        สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ

-        สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา

-        สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ

-        สิทธิในทรัพย์สิน

-        สิทธิในการใช้สัญชาติไทย

-        ฯลฯ

การดำเนินการแก้ไขปัญหา

1.             การทำงานร่วมกันกับเครือข่ายองค์กรชาวบ้าน

2.             การส่งเสริมการเรียนรู้ การสร้างความตระหนักในประเด็นด้านกสิทธิมนุษยชน

3.             การแก้ไขปัญหา ประเด็นสถานะภาพบุคคล การรับรองสัญชาติว่าเป็นประชาชนไทย 

4.             การประสานความร่วมมือในการทำงานด้านสิทธิมนุษยชน

 

          ข้าพเจ้านั้นคิดว่าการที่มีมาตรการดังกล่าวในการคุ้มครองแล้วแม้มีผลดีหลายๆด้าน แต่ปัญหาดังกล่าวถึงแม้จะเงียบไปก็ตาม  แต่ถ้าติดตามอย่างใกล้ชิดแล้วจะเห็นว่ายังมีกลุ่มดังกล่าวหลายกลุ่มที่ยังไม่ได้ถูกแก้ปัญหาอย่างจริงจัง เนื่องจากผลทางการเมืองที่กำลังรุนแรงอยู่ตามเหตุการณ์ปัจจุบัน  การแก้ใขจึงยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ซึ่งบางคนเห็นเป็นเรื่องของคนกลุ่มน้อย ๆ ส่วนหนึ่งในประเทศ แต่เขาก็คือมนุษย์ จึงควรมีสิทธิมนุษยชนที่เท่าเทียมกับคนทั่วไปที่อยู่ในประเทศไทย ความคิดเห็นของท่านนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาได้ หากแสดงออกมาอย่างชัดเจนนะครับ.....

 

                      พวกเขาไม่ใช่มนุษย์เช่นท่านหรือไง?      

หมายเลขบันทึก: 204020เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2008 13:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท