บอกกล่าวความจริง


         ผมไปถึงศิริราชก่อนเวลา  จึงไปขออ่านวารสารที่หอสมุดศิริราช    ไม่ได้เข้าหอสมุดมานาน   ได้มีโอกาสเข้าค้นหาวารสาร    รู้สึกเหมือนกลับบ้าน    รู้สึกว่ามีวารสารใหม่ๆ ที่ผมไม่เคยเห็น เยอะมาก   หยิบ Science & Medicine, Vol 10, No. 2, April 2005 มาพลิกๆ ดู    พบบทความเชิงบทบรรณาธิการ ชื่อ The Optimist เขียนโดย Howard M. Spiro ([email protected]), Program for Humanities in Medicine, Yale University School of Medicine จึงได้โอกาสนำมาบันทึก

         บทความนี้เป็นการสะท้อนความหลังสู่ปัจจุบันของหมอแก่อายุกว่า ๘๐ ปีของสหรัฐอเมริกา    ว่าสมัย ๕๐ – ๖๐ ปีก่อนหมอคือพ่อพระแม่พระของคนไข้    หมอว่าอะไรคนไข้เชื่อหมด  เป็นช่วงเวลาที่เชื่อกันว่าหมอรู้หมดว่าจะทำอะไรแก่คนไข้ได้บ้าง     ท่านบอกว่าไม่ว่าในอดีตหรือปัจจุบัน    หมอตัดสินใจให้การดูแลต่างกันสำหรับคนไข้ที่มีอายุต่างกัน     แต่เดี๋ยวนี้หมอตัดสินใจให้การดูแลต่างกันเพราะคนไข้กระเป๋าหนักต่างกัน   

         สมัยก่อนหมอทำงานภายใต้หลัก authority ของหมอ    สมัยนี้ทำงานภายใต้หลัก autonomy ของคนไข้    หมอต้องแบ่งปัน authority กับคนไข้    หมอต้องบอกกล่าวความจริงทั้งหมดแก่คนไข้
   
         ความท้าทายคือ ความจริงของคนไข้ไม่ใช่เรื่องที่มองได้มุมเดียว หรือเป็นเรื่องชั้นเดียว     ในความเป็นจริง ความจริงเกี่ยวกับคนไข้มีความซับซ้อนมาก และมองได้หลายมุม ตีความได้หลายระดับ    การบอกความจริงทั้งหมด ทำได้หรือไม่    และบอกแล้วส่วนไหนเป็นคุณ ส่วนไหนเป็นโทษ แก่คนไข้     และมุมมองของแพทย์ กับมุมมองของทนายความหรือนักกฎหมายก็แตกต่างกัน   

         ความจริงที่เป็นอมตะก็คือหน้าที่ของหมอ คือ “To cure sometimes, to comfort always.” 

วิจารณ์ พานิช
๒๒ มีค. ๔๙
หอสมุดศิริราช

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 20397เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2006 08:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท