the_first_domino(7)-การก่อสร้างthaischolar's KM


…นักเรียนเก้าส่วน หน่วยราชการหนึ่งส่วน

(ร่างบทความสำหรับเผยแพร่ในเว็บไซท์ของนรทุนรัฐบาล)

บทความต่อไปนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับนักเรียนทุนรัฐบาล แต่เป็นความคิดเห็นของนักเรียนทุนคนหนึ่งต่อการยกสถานะทางวิชาการของประเทศเป็นสังคมแห่งองค์ความรู้ ผมนำเสนอบทความนี้ต่อนักเรียนทุนเป็นกลุ่มแรกเพราะผมเห็นว่าสังคมนักเรียนทุนนี้เป็นสังคมวิชาการที่เข้มแข็งที่สุดสังคมหนึ่งของประเทศ เป็นกลุ่มคนที่มีความสนใจ ความรู้ ประสบการณ์ และพันธมิตรที่หลากหลาย ท้ายสุดแล้วผมเชื่อว่าพวกเราต่างมีอุดมการณ์ลึกๆร่วมกันที่จะทำอะไรที่ยิ่งใหญ่เพื่อประเทศของพวกเรา

---------------------------------------------------------------------------------

เจ้ามือสร้างตลาดนัดจะประกอบด้วยนักเรียนทุน และหน่วยราชการลงขันลงเเรงกัน
…นักเรียนเก้าส่วน หน่วยราชการหนึ่งส่วน
พวกเรารู้ดีว่าเราควรจะพึ่งหน่วยราชการให้น้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ พวกเราถือว่าหน่วยราชการเป็น”ปัจจัยภายนอก”ที่ควบคุมไม่ได้ ..ไหนจะกฎระเบียบยุบยับ …ไหนจะการเมืองข้างในที่พวกเราไม่รู้ ที่สำคัญที่สุดนี่คือความรับผิดชอบของพวกเรานักเรียนทุนด้วยกันเอง
แต่ผมก็ยังเชื่อว่าเราต้องการกำลังจากหน่วยราชการ “หนึ่งส่วน”อยู่ดี
…อย่างน้อยที่สุด เราต้องการหน่วยราชการมาเพิ่ม “น้ำหนัก” หรือ “ความขลัง”…ถ้าท่านผู้อ่านนึกไม่ออกว่าผมกำลังพูดถึงอะไร ลองอ่านสองตัวอย่างข้างล่างนี้ดูนะครับ


หนึ่ง :
…blahblahblah(อย่างที่ผมพล่ามมาตอนแรกๆ) คณะผู้ก่อตั้งเล็งเห็นว่า project XXXX ดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อพวกเรานักเรียนทุนรัฐบาล และต่อประเทศชาติของพวกเราดังนั้นของให้เพื่อนๆนักเรียนทุนรัฐบาลผู้สนใจเข้าร่วมติดต่อคณะผู้ก่อตั้ง…และประชุมพร้อมกัน…
ลงชื่อ นายXXXXX

 สอง:
 … blahblahblah(อย่างที่ผมพล่ามมาตอนแรกๆ) สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนไทยในสหรัฐอเมริกา และ สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคมเล็งเห็นความสำคัญของโครงการดังกล่าว ขอให้นักเรียนทุนรัฐบาลผู้สนใจร่วมก่อตั้งprojectXXXXติดต่อทางสสนรหรือนายxxxxโดยตรง


 ความสำคัญของหน่วยราชการคือ ความสามารถในการประชาสัมพันธ์ การออกมาrecognize หรือประกาศยอมรับโดยหน่วยราชการทำให้โครงการดูใหญ่ เป็นโครงการระดับชาติ โครงการที่น่าจะเป็นไปได้ แทนที่จะเป็นแค่”ไอเดียที่ฟังดูน่าสนใจ” ของนายXXXXกับเพื่อนกลุ่มเล็กๆหนึ่ง…ทั้งๆที่กลุ่มผู้ก่อตั้ง ออกแบบ วางไอเดียจะเป็นกลุ่มนักเรียนกลุ่มเดียวกันนี่เอง
 …ปัจจัยหนึ่งของความสำเร็จ คือ ภาพลักษณ์ของความสำเร็จ..ผมเชื่ออย่างนั้น
 เมื่อสี่สัปดาห์ก่อน(3มีนาคม’48) ผมมีโอกาสสนทนากับท่านอัครทูตวิสูตร ประสิทธิ์ศิริวงศ์ (อัครราชทูตฝ่ายการศึกษา ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน) เกี่ยวกับหัวข้อที่ว่า
“ทำยังไงถึงจะช่วยให้นักเรียนทุนแต่ละคน รู้ได้ว่า นักเรียนทุนคนอื่นๆ…ในอเมริกาหรือที่ไหนก็ตามบนโลก เรียนอะไรกันอยู่ ทำวิจัยอะไรกันอยู่ ชำนาญด้านไหน?…ทำยังไงจึงจะช่วยให้พวกเราเห็นทีมงาน เพื่อนร่วมงานในอนาคต?”
  ไอเดียหนึ่งที่ออกมาจากใครสักคนในวงสนทนาคือ น่าจะเริ่มจากให้oeadc(office of educational affair—royal Thai embassy—D.C.) เป็นตัวกลางรวบรวมข้อมูลเหล่านี้ จากเดิมที่เรามีแค่ข้อมูลว่า”ใคร ทุนอะไร สาขาอะไร” …ทีนี้เพิ่มขึ้นมาเอาให้แต่ละคนที่ทำรีเสิจอยู่ส่งtitle กับabstractเข้ามารวมกันที่เว็บของoeadc เพื่อจะจัดทำเป็นแหล่งข้อมูลกลางให้ผู้สนใจสืบค้น
…สามสัปดาห์หลังจากนั้นประกาศ “ขอความร่วมมือส่งหัวข้อและสรุปย่อวิทยานิพนธ์” ปรากฎอยู่บน www.oeadc.org …ถึงแม้ว่าความพยายามจะสร้างห้องสมุด abstract ออนไลน์จะยังห่างไกลจาก “ตลาดความรู้ในอุดมคติ” ที่เราอภิปรายมาในบทความนี้อยู่มาก แต่ว่านี่เป็นก้าวแรกที่กลุ่มนักเรียนทุน และหน่วยราชการเห็นตรงกันว่า “การจัดการความรู้” จะนำไปสู่ผลประโยชน์ร่วมกัน
…เราจะขยายผลจากก้าวแรกนี้อย่างไร?
…จาก ”ประกาศขอความร่วมมือส่งหัวข้อและสรุปย่อวิทยานิพนธ์”…สู่ตลาดความรู้เต็มรูปแบบ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 20355เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2006 19:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท