การจัดการความรู้ในโครงการ Food Safty ของจังหวัด ปี 49


การจัดการความรู้ในโครงการ Food Safty ของจังหวัด ในปี 49 ควรจะดำเนินการอย่างไร เพื่อที่จะสามารถเห็นผลเป็นรูปธรรม และสามารถตอบสนองตัวชี้วัดในแผนการจัดการความรู้ของกรมฯ ด้วย

              เมื่อวานนี้ (21 มีนาคม 2549) ทีมงาน KM กรมส่งเสริมการเกษตร (ทีมย่อย) ประกอบด้วย คุณธุวนันท์ คุณอุษา คุณอุดม คุณสำราญ และคุณนันทา  ได้ประชุมเพื่อปรึกษาหารือในการเตรียมการจัดสัมมนาสรุปบทเรียน KM ครึ่งปีแรก ซึ่งได้กำหนดในแผนที่จะดำเนินการจัดในวันที่ 15-16 พฤษภาคม 2549 ที่จังหวัดกำแพงเพชร  ก่อนที่เราจะ Set กระบวนการสัมมนาในวันที่ 15-16 พค. 49  เราได้ ลปรร. กันในเรื่อง  แนวทางการดำเนินงานจัดการความรู้ในโครงการ Food Safty ของจังหวัด ในปี 49 ว่าควรจะดำเนินการอย่างไร เพื่อที่จะสามารถเห็นผลเป็นรูปธรรม และสามารถตอบสนองตัวชี้วัดในแผนการจัดการความรู้ของกรมฯ ด้วย   ซึ่งดิฉันขอนำมาเผยแพร่ เพื่อการ ลปรร. ดังนี้

              ขั้นตอนการดำเนินงาน

               การเตรียมการ

               1. ตั้งทีมงาน KM ของจังหวัด

               2. สร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องแนวคิดหลักการ  KM

                   และการดำเนินงาน KM ในโครงการ Food Safty  

               3. จัดทำแผนปฏิบัติการ KM ใน Food Safty

               การดำเนินงาน

               1. จัดทำ KV

                   1.1  จัดทำเป้าหมาย KM ใน Food Safty

                    1.2  การบ่งชี้ความรู้ที่ต้องใช้การดำเนินงานโครงการ Food Safty

                          - ด้านเทคโนโลยี 

                          - ด้านกระบวนการ     

                    1.3 การสร้างและแสวงหาความรู้  

                           - ทะเบียนผู้รู้ , ทะเบียนแหล่งข้อมูล 

            2. จัดทำ KS

                  4.1 ประเมินตนเอง

                  4.2 กำหนดประเด็น ลปรร.                 

                  4.3  จัดทำแผนการ ลปรร.

                  4.4  ดำเนินการ ลปรร. ตามแผน   

              3. จัดทำ KA

                  5.1 กำหนดผู้รับผิดชอบประมวลกลั่นกรองความรู้

                  5.2  ถอดองค์ความรู้

                  5.3 จัดเก็บ และ เผยแพร่   

                       - เว็บไซด์ , เอกสาร ,CD  ฯลฯ

           การติดตามประเมินผล

           1. การสรุปบทเรียน / AAR  

           2. รายงานผลการดำเนินงาน 2 ครั้ง/ ปี   

 

                   แนวทางการดำเนินงานดังกล่าวมาข้างต้น หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์สำหรับจังหวัดที่จะนำไปปฎิบัติต่อไป เพื่อให้เกิดผลการดำเนินงาน KM ใน Food Safty ได้อย่างเป็นรูปธรรม และมีผลการดำเนินงานที่สามารถนำมา ลปรร.ในการสัมมนาสรุปบทเรียนครึ่งปี ในวันที่ 15-16 พค.นี้ที่จังหวัดกำแพงเพชรค่ะ      

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 20352เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2006 19:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ธุวนันท์ พานิชโยทัย

ปีนี้การจัดการความรู้ของกรมส่งเสริมการเกษตรประยุกต์ใช้โมเดลปลาทูและโมเดลของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติเข้าด้วยกันและยังนำวัฒนธรรมองค์กรที่มีอยู่ภายในกรมฯมาเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนอีกด้วยได้แก่ระบบส่งเสริมการเกษตรที่มีอยู่  และเรายังมีการวิจัยกระบวนงานตามโครงการ food safety ใน 4 จังหวัดเพื่อการศึกษาในเชิงลึกทั้งกระบวนการอีกด้วย  ขอบคุณคุณนันทา ที่ได้สรุปการแลกเปลี่ยนครั้งนี้

ไพโรจน์ ลิ้มจำรูญ
แวะมาเยี่ยมครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท