มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ การประเมินภายนอก รอบที่ 2


มาตรฐานที่ 1 ด้านคุณภาพบัณฑิต

    บัณฑิตเป็นผู้เรืองปัญญา มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง สามารถทำงานร่วมกับ ผู้อื่นได้ มีทักษะและภูมิปัญญาในงานอาชีพในฐานะนักวิชาชีพชั้นสูง มีทักษะวิจัยในฐานะนักวิชาการชั้นสูง มีจิตสำนึกและภูมิธรรมในฐานะพลเมืองดีของสังคมไทยและสังคมโลก

ตัวบ่งชี้ 1.1 ร้อยละของบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่ได้งานทำและการประกอบอาชีพอิสระ ภายใน 1 ปี

ตัวบ่งชี้ 1.2 ร้อยละของบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่ได้ทำงานตรงสาขาที่สำเร็จการศึกษา

ตัวบ่งชี้ 1.3 เงินเดือนเริ่มต้นของบัณฑิต

ตัวบ่งชี้ 1.4 ระดับความพึงพอใจของนายจ้าง ผู้ประกอบการ และผู้ใช้บัณฑิต

ตัวบ่งชี้ 1.5 จำนวนนักศึกษา หรือศิษย์เก่าที่จบการศึกษาไม่เกิน 3 ปี ที่ได้รับการประกาศเกียรติคุณยกย่อง ในด้านวิชาการ วิชาชีพ คุณธรรม หรือรางวัลทางวิชาการหรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพบัณฑิตในระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ ในรอบ 3 ปี ที่ผ่านมา

ตัวบ่งชี้ 1.6 จำนวนวิทยานิพนธ์และงานวิชาการของนักศึกษาที่ได้รับรางวัลในระดับชาติหรือ ระดับนานาชาติ ภายในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา

ตัวบ่งชี้เฉพาะ 1.7 บทความจากวิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่ตีพิมพ์ เผยแพร่ต่อจำนวนวิทยานิพนธ์ปริญญาโททั้งหมด

ตัวบ่งชี้เฉพาะ 1.8 บทความจากวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกที่ตีพิมพ์ เผยแพร่ต่อจำนวนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกทั้งหมด

มาตรฐานที่ 2 ด้านการวิจัยและงานสร้างสรรค์

    ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์เป็นงานนวัตกรรมที่นำไปสู่การสร้างและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ที่เชี่ยวชาญสูง การสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ซึ่งเป็นการขยายพรมแดนของความรู้ และทรัพย์สิน ทางปัญญาที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริง เป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาคุณภาพ ประสิทธิภาพ และขีดความสามารถของคนไทย รวมทั้งการพัฒนาสู่สังคมเรียนรู้ สังคมความรู้ และสังคมแห่งภูมิปัญญา อันก่อให้เกิดวัฒนธรรมการใช้ความรู้ในการกำหนดทิศทางและการพัฒนา ตลอดจนการเพิ่มศักยภาพ การแข่งขันของประเทศ

ตัวบ่งชี้ 2.1 งานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่ตีพิมพ์ เผยแพร่ และ/หรือนำไปใช้ประโยชน์ทั้งใน ระดับชาติและระดับนานาชาติ ต่อจำนวนอาจารย์ประจำ

ตัวบ่งชี้ 2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัย และงานสร้างสรรค์ของสถาบันต่อจำนวนอาจารย์ประจำ

ตัวบ่งชี้ 2.3 เงินสนับสนุนงานวิจัย และงานสร้างสรรค์ภายนอกสถาบันต่อจำนวนอาจารย์ประจำ

ตัวบ่งชี้ 2.4 ร้อยละของอาจารย์ประจำที่รับทุนทำวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ต่อจำนวนอาจารย์ประจำ

          2.4.1 ร้อยละของอาจารย์ประจำที่ได้รับทุนทำวิจัย หรืองานสร้างสรรค์จากภายในสถาบันต่อจำนวนอาจารย์ประจำ

          2.4.2 ร้อยละของอาจารย์ประจำที่ได้รับทุนทำวิจัย หรืองานสร้างสรรค์จากภายนอกสถาบันต่อจำนวนอาจารย์ประจำ

ตัวบ่งชี้เฉพาะ 2.5 จำนวนบทความวิจัยที่ได้รับการอ้างอิง (citation) ใน refereed journal หรือ ในฐานข้อมูลระดับชาติหรือระดับนานาชาติ (เช่น ISI, ERIC) ต่ออาจารย์ประจำ

ตัวบ่งชี้เฉพาะ 2.6 จำนวนผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการจดทะเบียนทรัพย์สิน ทางปัญญาหรืออนุสิทธิบัตรต่อจำนวนอาจารย์ประจำในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา

มาตรฐานที่ 3 ด้านการบริการวิชาการ

    การให้บริการวิชาการและวิชาชีพที่เป็นประโยชน์ เป็นที่พึ่งและเป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการและวิชาชีพ เสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมสอดคล้อง เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและความเข้มแข็งของสังคม ชุมชน ประเทศชาติ และนานาชาติ ตลอดจนการส่งเสริมบทบาททางวิชาการและวิชาชีพของสถาบันการศึกษาในการพัฒนาสังคมเรียนรู้ และสังคมความรู้ โดยคำนึงถึงความรับผิดชอบ รับชอบต่อสาธารณะ

ตัวบ่งชี้ 3.1 จำนวนกิจกรรม/โครงการบริการวิชาการและวิชาชีพที่ตอบสนองความต้องการ ของสังคม ชุมชน ประเทศชาติ และนานาชาติ ต่อจำนวนอาจารย์ประจำ

          3.1.1 จำนวนกิจกรรม/โครงการบริการวิชาการและวิชาชีพที่ตอบสนองความต้องการ และพัฒนา/และเสริมสร้างความเข้มแข็งของสังคม ชุมชน ประเทศชาติ และนานาชาติต่อจำนวนอาจารย์ประจำ

          3.1.2 จำนวนอาจารย์ที่เป็นที่ปรึกษา เป็นกรรมการวิทยานิพนธ์ภายนอกสถาบัน เป็นกรรมการวิชาการและกรรมการวิชาชีพในระดับชาติหรือต่ออาจารย์ประจำ

ตัวบ่งชี้ 3.2 มีการนำความรู้และประสบการณ์จากการบริการวิชาการและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการเรียน การสอน และการวิจัย

ตัวบ่งชี้ 3.3 ค่าใช้จ่าย และมูลค่าของสถาบันในการบริการวิชาการและวิชาชีพ เพื่อสังคมต่ออาจารย์ประจำ

ตัวบ่งชี้เฉพาะ 3.4 การเป็นแหล่งให้บริการวิชาการและวิชาชีพที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ

ตัวบ่งชี้เฉพาะ 3.5 รายรับของสถาบันของการให้บริการวิชาการและวิชาชีพในนามสถาบันต่ออาจารย์ประจำ

ตัวบ่งชี้เฉพาะ 3.6 ระดับความสำเร็จในการบริการวิชาการและวิชาชีพตามพันธกิจของสถาบัน

                   3.6.1 ระดับความสำเร็จในการให้บริการวิชาการและวิชาชีพตามพันธกิจเฉพาะของสถาบัน

                   3.6.2 ประสิทธิผลของการให้บริการวิชาการและวิชาชีพ

มาตรฐานที่ 4 ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

    การอนุรักษ์ สืบสาน พัฒนา เผยแพร่เอกลักษณ์ศิลปะและวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นอันเป็นมรดกไทย และการบูรณาการในการผลิตบัณฑิต การวิจัย และการบริการวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งการสร้างสรรค์และส่งเสริมภูมิปัญญาไทยให้เป็นรากฐานของการพัฒนาองค์ความรู้ที่สามารถพัฒนาสู่สากล

ตัวบ่งชี้ 4.1 จำนวนกิจกรรมในการอนุรักษ์ พัฒนา และสร้างเสริมเอกลักษณ์ ศิลปะและ วัฒนธรรมต่อจำนวนนักศึกษา

ตัวบ่งชี้ 4.2 ค่าใช้จ่าย และมูลค่าที่ใช้ในการอนุรักษ์ พัฒนา และสร้างเสริมเอกลักษณ์ ศิลปะและวัฒนธรรมต่อจำนวนนักศึกษา

ตัวบ่งชี้เฉพาะ 4.3 มีผลงาน หรือชิ้นงานการพัฒนาองค์ความรู้ และสร้างมาตรฐานศิลปะและ วัฒนธรรม

ตัวบ่งชี้เฉพาะ 4.4 ประสิทธิผลในการอนุรักษ์ พัฒนา และสร้างเสริมเอกลักษณ์ ศิลปะและ วัฒนธรรม

มาตรฐานที่ 5 มาตรฐานด้านการพัฒนาสถาบันและบุคลากร

     การบริหารและการจัดการศึกษาที่ประชาคมในและนอกสถาบัน และผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม ตามหลักการบริหารจัดการที่ดี เน้นการกระจายอำนาจ กำกับด้วยนโยบาย การวางแผน ภาวะผู้นำของผู้บริหาร การพัฒนาบุคลากร ที่เป็นระบบและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง การนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการเรียน การสอน การวิจัย และการบริหาร โดยมุ่งสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ รวมทั้งการสร้างเสถียรภาพ ทางการเงิน การใช้เงินอย่างคุ้มค่า มีอิสระ คล่องตัว โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้

ตัวบ่งชี้ 5.1 การบริหารและการพัฒนาสถาบันสู่องค์การเรียนรู้

          5.1.1 สภาสถาบัน และผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ที่ขับเคลื่อนพันธกิจ และสามารถสะท้อนถึงนโยบาย วัตถุประสงค์ และนำไปสู่เป้าหมายของการบริหารจัดการที่ดี มีการบริหารแบบมีส่วนร่วม เน้นการกระจายอำนาจ โปร่งใส และตรวจสอบได้ รวมทั้งมีความสามารถในการผลักดันสถาบันให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล

          5.1.2 มีการพัฒนาสถาบันสู่องค์การเรียนรู้ โดยอาศัยผลการประเมินจากภายในและ ภายนอก

          5.1.3 มีการกำหนดแผนกลยุทธ์ที่เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ

          5.1.4 การใช้ทรัพยากรภายในและภายนอกสถาบันร่วมกัน

ตัวบ่งชี้ 5.2 ศักยภาพของระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหาร การเรียนการสอน และการวิจัย

ตัวบ่งชี้ 5.3 ศักยภาพด้านการเงินและงบประมาณ

          5.3.1 สินทรัพย์ถาวรต่อจำนวนนักศึกษา (เต็มเวลาเทียบเท่า)

          5.3.2 ค่าใช้จ่ายทั้งหมดต่อจำนวนนักศึกษา (เต็มเวลาเทียบเท่า)

          5.3.3 ร้อยละของเงินเหลือจ่ายสุทธิต่อรายรับทั้งหมด

ตัวบ่งชี้ 5.4 ร้อยละของอาจารย์ประจำที่เข้าร่วมประชุมวิชาการหรือนำเสนอผลงานวิชาการ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ตัวบ่งชี้ 5.5 งบประมาณสำหรับการพัฒนาคณาจารย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศต่ออาจารย์ประจำ

ตัวบ่งชี้ 5.6 ร้อยละของบุคลากรประจำสายสนับสนุนที่ได้รับการพัฒนาความรู้ และทักษะใน วิชาชีพ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

มาตรฐานที่ 6 ด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน

     กระบวนการพัฒนาและบริหารหลักสูตรให้มีความทันสมัย ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและสังคม มีการจัดการเรียนการสอนที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองตามความต้องการ/ความสนใจของผู้เรียน โดยใช้เทคนิคการสอนและอุปกรณ์การสอนที่หลากหลาย มีการประเมินผลการเรียนการสอนตามสภาพจริง และมีการใช้ประโยชน์ผลการประเมินในการพัฒนาผู้เรียน

     การระดมทรัพยากรทั้งด้านบุคลากร งบประมาณ อาคารสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวก รวมทั้งความร่วมมือจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถาบันอุดมศึกษา ในการจัดกิจกรรมเสริม หลักสูตร และกิจกรรมการศึกษา เพื่อให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพสูงสุด

ตัวบ่งชี้ 6.1 ร้อยละของหลักสูตรที่ได้มาตรฐานต่อหลักสูตรทั้งหมด

ตัวบ่งชี้ 6.2 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ

ตัวบ่งชี้ 6.3 ร้อยละของอาจารย์ประจำที่มีวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า

ตัวบ่งชี้ 6.4 ร้อยละของอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งวิชาการ

ตัวบ่งชี้ 6.5 การปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพคณาจารย์ (Professional Ethics)

ตัวบ่งชี้ 6.6 ประสิทธิผลของการเรียนรู้

           6.6.1 กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยเฉพาะการเรียนรู้จากการปฏิบัติและประสบการณ์จริง

           6.6.2 ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อคุณภาพการสอนของอาจารย์และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

ตัวบ่งชี้ 6.7 ร้อยละของนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม/ โครงการพัฒนานักศึกษาต่อจำนวนนักศึกษา

ตัวบ่งชี้ 6.8 ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ใช้ในระบบห้องสมุด คอมพิวเตอร์ และศูนย์สารสนเทศต่อ

นักศึกษา

มาตรฐานที่ 7 ด้านระบบการประกันคุณภาพ

     ระบบการประกันคุณภาพภายในหมายรวมถึงการพัฒนาคุณภาพ การตรวจติดตามคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และสามารถรองรับการประกันคุณภาพภายนอกได้

ตัวบ่งชี้ 7.1 มีระบบและกลไกในการประกันคุณภาพภายในที่ก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

ตัวบ่งชี้ 7.2 ประสิทธิผลของการประกันคุณภาพภายใน

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 20347เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2006 17:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท