ความสำคัญของปรัชญากับการศึกษา


ปรัชญากับพ.ร.บ.การศึกษา

ปรัชญาการศึกษากับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  2542                

(๑) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล  ตามหลักปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม
                  (๒) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์    และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา  ตามหลักปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม
                   (๓) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น   และทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง  ตามหลักปรัชญาการศึกษาพิพัฒนนิยม
                   (๔) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา  ามหลักปรัชญาการศึกษาสัจนิยม และ สารัตถนิยม
                    (๕) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน    และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และมีความรอบรู้   รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้    ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ  ตามหลักปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม
                     (๖) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่    มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ  ตามหลักปรัชญาการศึกษาพิพัฒนนิยมและปฏิรูปนิยม

คำสำคัญ (Tags): #ปรัชญากับพ.ร.บ.
หมายเลขบันทึก: 202597เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2008 05:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 13:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท