ครูอ่อย
นาง ประไพศรี ครูอ่อย ปานเพ็ชร

หลักการเล่านิทานใหเด็กปฐมวัยฟัง


การพัฒนาเด็กปฐมวัยด้วยนิทาน
ลักษณะความสนใจนิทานของเด็กปฐมวัย
ความเหมาะสมของนิทานสำหรับเด็กปฐมวัยจำเป็นต้องคำนึงถึงความสนใจการรับรู้ และความสามารพตามวัยของเด็กเป็นสำคัญ จึงยังเกิดประโยชน์ที่แท้จริงต่อการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะเริ่มรับรู้นินทานจากภาพที่มองเห็น และเสียงที่ได้ยิน โดยรู้ความหมายไปทีละเล็กละน้อย จนสามารถเชื่อโยงภาพและคำบอกเล่าที่ได้ยินตลอดจนจำเนื้อหาเรื่องราวต่างๆ ที่นำไปสู่การอ่านตัวหนังสือได้อย่างมีความหมายต่อไป
ความสนใจนิทานของเด็กอายุ 0 - 1 ปี เด็กวัยนี้จะสนใจฟังเสียงที่อยู่รอบตัว รู้จักหันหาเสียงที่ได้ยิน ชอบมองสิ่งเคลื่อนไหวไปมา มีการเลียงเสียงที่ได้ยิน นิทานที่เหมาะสมกับเด็กวัยนี้ควรเป็นหนังสือภาพที่เป็นภาพเขียนง่ายๆ มีสีสันสดใส ขนาดใหญ่และชัดเจนเป็นภาพเดี่ยวๆ ที่ดูมีชีวิตชีวา รูปเล่มอาจทำด้วยผ้าหรือพลาสติกหนาหนุ่ม ให้เด็กหยิบเล่นได้
ความสนใจนิทานของเด็กอายุ 1 - 2 ปี เด็กวัยนี้เริ่มหยิบจับสิ่งของไว้ในมือได้มั่นคง รู้จักพูดเป็นคำๆ สนใจฟังคนพูดและเรื่องเล่าต่างๆ แต่มีความสนใจสั้นมาก ชอบคำอะไรซ้ำๆ นิทานที่เหมาะกับเด็กวัยนี้ควรเป็นหนังสือภาพหรือเรื่องสั้น นิทานที่มีภาพประกอบที่ชัดเจนมีขนาดใหญ่ มีเนื้อเรื่องที่เกี่ยวกับตัวเด็กเอง เกี่ยวกับครอบครัว พ่อแม่ พี่น้อง หรือสัตว์เลี้ยงรูปเล่มทำด้วยกระดาษหนาขนาดพอมือเด็กจับได้
ความสนใจนิทานของเด็กอายุ 2 - 4 ปี เด็กวัยนี้ชอบฟังเรื่องราวใกล้ตัว เด็กสนใจเรื่องที่เป็นเรื่งอในชีวิตจริงชอบฟังคำคล้องจอง / กลอนกล่อมเด็ก นิทานที่เหมาะกับเด็กวัยนี้ควรเป็นนิทานที่เป็นบทร้อยกรองสำหรับเด็ก มีภาพประกอบที่มีรายละเอียดไม่มากนัก มีสีสันสดใสน่าสนใจ รูปเล่มอาจมีขนาดใหญ่ขึ้นพอมือเด็กจับ ทำด้วยกระดาษหนา
ความสนใจนิทานของเด็กอายุ 4 - 6 ปี เด็กวัยนี้ชอบอยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบตัวเกี่ยวกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้มาจากไหน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ เริ่มเข้าใจความแตกต่างระหว่างความจริงกับเรื่องสมมติ นิทานที่เหมาะสมกับเด็กวัยนี้ควรเป็นนิทานที่เป็นเรื่องสั้น เข้าใจง่าย ส่งเสริมจินตนาการ และอิงความจริงอยู่บ้าง เนื้อเรื่องสนุกสนานน่าติดตาม มีตัวละครเอกเพียงตัวเดียว และตัวละครร่วมอีก 2 - 3 ตัว มีภาพประกอบที่มีสีสันสดใสสวยงาม มีตักอักษรบรรยายเนื้อเรื่องไม่มากจนเกินไป และมีขนาดใหญ่สมควรใช้ภาษาที่ง่ายๆ
 
หลักการเลือกนิทานที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
นิทานมีหลายประเภทและหลายลักษณะแตกต่างกัน ทั้งที่เป็นนิทานที่แต่งเป็นโครง / กลอง มีทั้งเรื่องสั้นเรื่องยาว ทั้งที่เป็นตำนานที่เล่าสืบต่อกันมา เป็นเทพนิยายต่างๆ หรือเรื่องที่แต่งขึ้นมาใหม่ นิทานบางเรื่งอสอดแทรกเนื้อหาในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม บางเรื่องส่งเสริมจินตนาการ บางเรื่องเป็นเรื่องจริงเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวเด็ก การเลือกนิทานสำหรับเด็กปฐมวัยเป็นเรื่องสำคัญที่ควรคำนึงถึงหลักเกณฑ์บางประการ ดังนี้

การเหมาะสมกับวัย เด็กในแต่ละวัยจะมีความสนใจฟังเรื่องราวต่างๆ แตกต่างกันไปตามความสามารถในการรับรู้และประสบการณ์ที่ได้รับ นิทานที่เหมาะสมกับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ควรเป็นหนังสือภาพ สมุดภาพ หนังสือภาพผสมคำ นิทานที่มีบทร้อยกรอง ในขณะที่นิทานที่เหมาะกับเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป ควรเป็นนิทานที่มีเรื่องราวที่เกี่ยวกับธรรมชาติ นิทานเรื่องเล่าให้ข้อคิด นิทานที่ส่งเสริมจินตนาการของเด็ก

ประโยชน์ที่เด็กได้รับ การเลือกหนังสือต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่เด็กจะได้รับในการส่งเสริมพัฒนาการและเรียนรู้ของเด็กด้วย เช่น สอนให้รู้จักคำเรียกชื่อสิ่งต่างๆ เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออก พัฒนาความคิดจินตนาการ ให้ความรู้สึกที่ดีต่อเด็กมีความตลกขบขันให้ความสนุกสนาน ช่วยแก้ปัญหาให้กับตัวเด็กเมื่อเปรียบเทียบตนเองกับตัวละคร เป็นต้น การอ่านเรื่องราว หรือเนื้อหาของนิทานทั้งเล่มก่อนตัดสินใจเลือก จึงเป็นสิ่งสำคัญ

เนื้อหาและลักษณะรูปเล่ม นิทานหรือนังสือที่ดีสำหรับเด็กปฐมวัยควรเป็นเรื่องสั้นๆ ง่ายๆ และไม่ซับซ้อน มีจุดเด่นของเรื่องจุดเดียว เด็กดูภาพหรือฟังเรื่องราวเข้าใจได้และสนุกสนาน มีเนื้อเรื่องที่ชัดเจนชวนติตตาม เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับตัวเด็ก และใกล้ชิดตัวเด็กหรือธรรมชาติแวดล้อม ไม่มีการบรรยาย เนื้อเรื่องควรมีลักษณะเป็นบทสนทนาโต้ตอบระหว่างตัวละคร ใช้ภาษาที่ถูกต้อง ง่ายต่อความเข้าใจของเด็กตัวอักษรมีขนาดใหญ่ใช้สีเข้มอ่านได้ชัดเจน มีภาพประกอบที่สอดคล้องกับเนื้อเรื่องเป็นภาพที่มีสีสั้นสวยงามมีชีวิตชีวา ส่วนใหญ่จะเป็นภาพเขียนหรือวาดมากกว่าภาพถ่าย มีรูปเล่มที่แข็งแรงทนทาน ขนาดพอเหมาะกับมือเด็ก ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมเสมอไป และมีจำนวนหน้าประมาณ 10 - 20 หน้า
วิธีการเล่านิทานและเรื่องราวสำหรับเด็ก
เมื่อเลือกนิทานหรือเรื่องราวที่เหมาะสมกับวัยของเด็กได้แล้ว วิธีการเล่านิทานหรือเรื่องราวเพื่อให้เด็กเกิดความสนใจติดตามฟังเนื้อเรื่องจนจบ จำเป็นต้องทำให้เหมาะสมกับเรื่องที่จะเล่าด้วย ในการเล่าเรื่องนิทานที่นิยมใช้มี 2 วิธีดังนี้
การเล่าเรื่องโดยไม่มีอุปกรณ์ เป็นการเล่านิทานด้วยการบอกเล่าด้วยน้ำเสียงและลีลาของผู้เล่า ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
• การขึ้นต้นเรื่องที่จะเล่า ควรดึงดูดความสนใจเด็ก โดยค่อยๆ เริ่มเล่าด้วยเสียงชัดเจน ลีลาการเล่าช้าๆ และเริ่มเร็วขึ้นจนเป็นการเล่าด้วยจังหวะปกติ
• เสียงที่ใช้ควรจัด และประโยคที่เล่าควรแบ่งเป็นประโยคสั้นๆ ได้ใจความ การเล่าดำเนินไปอย่างราบรื่น ไม่ควรเน้นจังหวะการเล่าให้นานจะทำให้เด็กเบื่อ อีกทั้งไม่ควรมีคำถาม หรือคำพูดอื่นๆ ที่เป็นการขัดจังหวะทำให้เด็กหมดสนุก
• การใช้น้ำเสียง สีหน้า ท่าทาง แสดงให้สอดคล้องกับลักษณะของตัวละคร ไม่ควรพูดเนือยๆ เรื่อยๆ เพราะทำให้ขาดความตื่นเต้น
• นั่งเก้าอี้ให้เหมาะสมกับสายตาเด็ก
• ใช้เวลาในการเล่าไม่ควรเกิน 15 นาที
• ให้โอกาสเด็กได้คิดและวิจารณ์เรื่องที่เล่า
การเล่าเรื่องโดยมีอุปกรณ์ช่วย อุปกรณ์ที่ใช้ช่วยในการเล่าเรื่องนิทานหลายประเภท ได้แก่
• สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กซึ่งสามารถนำมาเล่าเรื่องราวประสบการณ์ให้แก่เด็กได้ อุปกรณ์ที่เป็นสิ่งแวดล้อม ได้แก่ สัตว์ พืช บุคคลสำคัญ สถานที่สำคัญ ข่าวและเหตุการณ์ ตลอดจนสิ่งที่อยู่ตามธรรมชาติ
• วัสดุเหลือใช้ เช่น ภาพจากหนังสือนิตยสาร กิ่งไม้ ใบไม้ กล่องกระดาษ สิ่งเหล่านี้อาจนำมาใช้ประกอบการเล่าเรื่องนี้ได้
• ภาพ เช่น ภาพแผ่นเดียว หรือเป็นแผ่นภาพพลิกหลายๆ แผ่น ขนาดใหญ่พอควร และมีเนื้อเรื่องเขียนไว้ด้านหลัง
• หุ่นจำลอง ทำเป็นละครหุ่นมือ หุ่นเชิด หุ่นชัก
• สไลด์ประกอบการเล่าเรื่อง
• หน้ากากทำเป็นรูปตัวละคร
• เทปนิทานเป็นรูปตัวละคร
• นิ้วมือประกอบการเล่าเรื่อง
อุปกรณ์ที่นิยมใช้กันมากและสามารถดึงดูดความสนใจเด็กได้ดี คือ ภาพ หนังสือ และหุ่นเชิด
หมายเลขบันทึก: 202198เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2008 14:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 16:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เด็ก ๆ ฟังนิทานมาก ๆ ได้ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ซาบซึ้ง จนสามารถ Applay เกิดคุณธรรม

จะให้ดีขั้น เช่ยวชาญ ต้องสร้างเป็น ละคร

ผึกจาก บทบาทสมมุติ ง่ายๆ ก่อน

เป็นกำลังใจนะครับ น้อง อ๋อย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท