การเรียนการสอนแบบพหุปัญญา


รูปแบบการเรียนการสอนแบบพหุปัญญา

การเรียนการสอนแบบพหุปัญญา

นายแพทย์ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขาจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น  กล่าวไว้ว่า

 เด็กบางคนเก่งทุกเรื่อง เด็กบางคนเก่งเฉพาะบางเรื่อง แต่ไม่มีใครที่ไม่เก่งเลยสักเรื่อง

เด็กที่ไม่เก่งคณิตศาสตร์ อาจจะมีความสามารถในการใช้ภาษาดี

เด็กที่ไม่เก่งด้านภาษา อาจจะมีความสามารถในด้านคณิตศาสตร์ดี

เด็กที่ไม่เก่งทั้งคณิตศาสตร์ และภาษา อาจเป็นเลิศทางศิลปะ

เด็กที่ไอคิวปกติ อาจเป็นอัจฉริยะทางกีฬา เด็กที่ไอคิวต่ำกว่าปกติ อาจเป็นอัจฉริยะทางดนตรี

เด็กที่ไอคิวสูง อาจเก่งหลายเรื่อง แต่ขาดทักษะทางสังคมที่ดี

เด็กที่ไม่เก่งทั้งคณิตศาสตร์ ภาษา ดนตรี กีฬา และศิลปะ

ก็สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข มีเพื่อนฝูงมากมาย ได้เช่นกัน

                เด็กแต่ละคนมีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน เปรียบเหมือนสายรุ้งที่หลากสี บุคคลจึงมีหลากหลาย   รสนิยม มีความแตกต่างของบุคลิกภาพ ครู พ่อแม่และผู้ปกครองต้องสำเหนียกตระหนักและมองเห็นคุณค่าของความแตกต่างเพื่อการค้นหาให้พบว่า เด็กมีลักษณะการเรียนรู้หรือความสามารถที่จะเรียนรู้ในทางใด เพื่อจะได้ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาเด็กให้เต็มตามศักยภาพและได้ใช้ความสามารถได้สูงสุด                                                                                                                                                ดร. โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์  (Howard Gardner) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด  ประเทศสหรัฐอเมริกา  ผู้ก่อตั้งทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences) ให้คำจำกัดความของคำว่าปัญญาไว้ดังนี้                                                                                                                                 ปัญญา คือความสามารถที่จะค้นหาและแก้ปัญหาและสร้างผลผลิตที่มีคุณค่าเป็นที่ยอมรับในสังคม

ลักษณะสำคัญของทฤษฎีพหุปัญญา

1.       มนุษย์มีความสามารถทางปัญญาแบ่งออกได้อย่างน้อย 8 ด้าน

2.       จากการศึกษาเรื่องสมองปัญญามีลักษณะเฉพาะด้าน

3.       คนทุกคนมีสติปัญญาทั้ง 8 ด้านที่อาจจะมากน้อยแตกต่างกันไป บางคนอาจจะสูงทุก

ด้าน บางคนอาจจะสูงเพียงด้าน หรือสองด้าน ส่วนด้านอื่น ๆ ปานกลาง

4.       ทุกคนสามารถพัฒนาปัญญาแต่ละด้านให้สูงขึ้นถึงระดับใช้การได้ถ้ามีการฝึกฝนที่ดี

มีการให้กำลังใจที่เหมาะสม ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

5.       ปัญญาด้านต่าง ๆ สามารถทำงานร่วมกันได้ เช่นในการดำรงชีวิตประจำวันเราอาจ

ต้องใช้ปัญญาในด้านภาษาในการพูด อ่าน เขียน ปัญญาด้านคิดคำนวณ ในการคิดเงินทอง ปัญญาด้านมนุษย์ สัมพันธ์ในการพบปะเข้าสังคมทำให้ตนเองมีความสุขด้วยการใช้ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง

6.             ปัญญาแต่ละด้านจะมีความสามารถในหลาย ๆ ทาง ยกตัวอย่างเช่นคนที่อ่านหนังสือ

ไม่ออกก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีปัญญาทางภาษา แต่เขาอาจจะเป็นคนเล่าเรื่องที่เก่งหรือพูดได้น่าฟังความสามารถทางปัญญาของมนุษย์ตามทฤษฎีพหุปัญญา แบ่งออกเป็น  8 ด้าน ได้แก่

1.       ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence)

2.       ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์  (Logical – Mathmatical Intelligence)

3.       ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual – Spatial Intelligence)

4.       ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily – Kinesthetic Intelligence)

5.       ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence)

6.       ปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence)

7.       ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence)

8.       ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (Naturalist Intelligence)

บุคคลมีลักษณะการเรียนรู้ตามทฤษฎีพหุปัญญาในแต่ละด้านแตกต่างกันออกไป ดังนี้

1.       ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence)                                                                                                 คือ ความสามารถในการใช้ภาษารูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ภาษาพื้นเมือง จนถึงภาษา

อื่นๆ ด้วย สามารถรับรู้ เข้าใจภาษา และสามารถสื่อภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ตามที่ต้องการ ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น ก็มักเป็น กวี นักเขียน นักพูด นักหนังสือพิมพ์ ครู ทนายความ หรือนักการเมือง

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถ

-          จัดกิจกรรมให้ได้รับประสบการณ์ตรง เพื่อนำมาเขียนเรื่องราว

-          จัดกิจกรรมให้ได้พูด ได้อ่าน ได้ฟัง ได้เห็น ได้เขียนเรื่องราวที่สนใจ เพื่อส่งเสริม

การเรียนรู้

-          ครูควรรับฟังความคิดเห็น คำถาม และตอบคำถามด้วยความเต็มใจ กระตือรือร้น

-          จัดเตรียมหนังสือ สื่อการเรียนการสอนเพื่อการค้นคว้าที่หลากหลาย เช่น เทปเสียง

วิดีทัศน์ จัดเตรียมกระดาษเพื่อการเขียน อุปกรณ์การเขียนให้พร้อม

-                  ยุทธศาสตร์ในการสอนคือ ให้อ่าน ให้เขียน ให้พูด และให้ฟังเรื่องราวต่าง ๆ ที่

นักเรียนสนใจ อภิปรายแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้อื่นผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพเป็น นักพูด นักเล่านิทาน นักการเมือง กวี นักเขียน บรรณาธิการ นักหนังสือพิมพ์ ครูสอนภาษา เป็นต้น

2.       ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์  (Logical – Mathmatical Intelligence)                                      คือ ความสามารถในการคิดแบบมีเหตุและผล การคิดเชิงนามธรรม การคิด

คาดการณ์ และการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น ก็มักเป็น นักบัญชี นักสถิติ นักคณิตศาสตร์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักเขียนโปรแกรม หรือวิศวกร

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถ

-          ให้มีโอกาสได้ทดลอง หรือทำอะไรด้วยตนเอง

-          ส่งเสริมให้ทำงานสร้างสรรค์ งานศิลปที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์

-          ให้เล่นเกมที่ฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เช่น เกมไพ่ เกมตัวเลข ปริศนาตัวเลข ฯลฯ

-          ให้ช่วยทำงานบ้าน งานประดิษฐ์ ตกแต่ง

-          ฝึกการใช้เหตุผล การแก้ปัญหา การศึกษาด้วยโครงงานในเรื่องที่นักเรียนสนใจ

-          ฝึกฝนทักษะการใช้เครื่องคิดเลข เครื่องคำนวณ เครื่องคอมพิวเตอร์ ฯลฯ

-          ยุทธศาสตร์ในการสอนคือให้ฝึกคิดแบบมีวิจารณญาณ วิพากษ์ วิจารณ์ ฝึกกระบวนการสร้างความคิดรวบยอด การชั่ง ตวง วัด การคิดในใจ การคิดเลขเร็ว ฯลฯ

ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพเป็นนักบัญชี นักคณิตศาสตร์ นักตรรกศาสตร์ โปรแกรมเมอร์ นักวิทยาศาสตร์ ครู-อาจารย์ เป็นต้น

3.       ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual – Spatial Intelligence)คือ ความสามารถในการรับรู้ทางสายตาได้ดี สามารถมองเห็นพื้นที่ รูปทรง ระยะทาง และตำแหน่ง อย่างสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน แล้วถ่ายทอดแสดงออกอย่างกลมกลืน มีความไวต่อการรับรู้ในเรื่องทิศทาง สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น จะมีทั้งสายวิทย์ และสายศิลป์ สายวิทย์ ก็มักเป็น นักประดิษฐ์ วิศวกร ส่วนสายศิลป์ ก็มักเป็นศิลปินในแขนงต่างๆ เช่น จิตรกร วาดรูป ระบายสี เขียนการ์ตูน นักปั้น นักออกแบบ ช่างภาพ หรือสถาปนิก เป็นต้น

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถ

-          ให้ทำงานศิลป งานประดิษฐ์ เพื่อเปิดโอกาสให้คิดได้อย่างอิสระ

-          พาไปชมนิทรรศการศิลป พิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ

-          ฝึกให้ใช้กล้องถ่ายภาพ การวาดภาพ สเก็ตซ์ภาพ

-          จัดเตรียมอุปกรณ์การวาดภาพให้พร้อม จัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำงานด้าน

ศิลป

-          ฝึกให้เล่นเกมปริศนาอักษรไขว้ เกมตัวเลข เกมที่ต้องแก้ปัญหา

-          เรียนได้ดีหากได้ใช้จินตนาการ หรือความคิดที่อิสระ ชอบเรียนด้วยการได้เห็นภาพ

การดู การรับรู้ทางตา

-          ฝึกให้ใช้หรือเขียนแผนที่ความคิด (Mind Mapping) การใช้จินตนาการ

-          ให้เล่นเกมเกี่ยวกับภาพ เกมตัวต่อเลโก้ เกมจับผิดภาพ ฯลฯ

-          ยุทธศาสตร์ในการสอนคือการให้ดู ให้วาด ให้ระบายสี ให้คิดจินตนาการ

ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพเป็นศิลปิน สถาปนิก มัณฑนากร นักประดิษฐ์ ฯลฯ

4.       ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily – Kinesthetic Intelligence)คือ ความสามารถ

ในการควบคุมและแสดงออกซึ่งความคิด ความรู้สึก โดยใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงความสามารถในการใช้มือประดิษฐ์ ความคล่องแคล่ว ความแข็งแรง ความรวดเร็ว ความยืดหยุ่น ความประณีต และความไวทางประสาทสัมผัส สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักกีฬา หรือไม่ก็ศิลปินในแขนง นักแสดง นักฟ้อน นักเต้น นักบัลเล่ย์ หรือนักแสดงกายกรรม

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถ

-          เรียนรู้ได้ด้วยการสัมผัส จับต้อง การเคลื่อนไหวร่างกาย และการปฏิบัติจริง

-          สนับสนุนให้เล่นกีฬา การแสดง เต้นรำ การเคลื่อนไหวร่างกาย

-          จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรง หรือได้ปฏิบัติจริง

-         

หมายเลขบันทึก: 201360เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2008 11:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

การสอนด้านดตตรี

น่าสนใจมาก จะนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

ดีมากๆ เลยครับ ขอบคุณที่มีความรู้ดีมาให้เพิ่มประสบการณ์เป็นอย่างดี จะนำไปประยุกต์ใช้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท