แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาสังศึกษา สาระประวัติศาสตร์ ม.1


แผนการจัดการเรียนรู้

แผนการจัดการเรียนรู้

กลุ่มสาระสังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม                                                               ช่วงขั้นที่  3

รายวิชา  สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  1                                                            รหัสวิชา  31101

หน่วยการเรียนรู้ที่  11        ดินแดนในอดีต                                                                    จำนวน   4   ชั่วโมง

เรื่อง       เวลากับประวัติศาสตร์                                                                                        ชั่วโมงที่   1

 

 

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

                1.รู้และเข้าใจและสามารถเทียบศักราชแบบต่าง ๆ พร้อมทั้งวิเคราะห์ความสำคัญของการแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ไทย

สาระการเรียนรู้

                1.การนับเวลาในระบบสุริยคติ

                2.การนับเวลาในระบบจันทรคติ

กิจกรรมการเรียนรู้

                1.นำเข้าสู่บทเรียนโดยการยกเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์   เช่นการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่  1และการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่  2  ตลอดจนเหตุการณ์สำคัญ    ทางประวัติศาสตร์ให้นักเรียนได้ทราบเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์  และให้ความหมายคำว่า   ประวัติศาสตร์

                2.แจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวังสาระประวัติศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาปีที่  1  ช่วงชั้นที่  3

                3.ทำแบบทดสอบก่อนเรียนเรื่องเวลากับประวัติศาสตร์

                4.นักเรียนศึกษาหนังสือเรียนสาระประวัติศาสตร์  บทที่  1  เรื่องการนับเวลาในระบบสุริยคติและระบบจันทรคติ  และสุ่มนักเรียนสรุปเนื้อหาโดยสังเขป

                5.ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อหาโดยสังเขป

                6.มอบหมายให้นักเรียนค้นคว้าสาเหตุสำคัญที่เป็นเหตุให้ตั้งศักราชแบบต่าง ๆ   วิธีการนับศักราชแต่ละศักราชเมื่อเทียบเป็นพุทธศักราช  และการเทียบศักราชหนึ่งไปเป็นศักราชหนึ่ง  และข้อแตกต่างระหว่าง  ทศวรรษ  ศตวรรษ  สหัสวรรษ

สื่อ/แหล่งเรียนรู้

                1.หนังสือเรียนประวัติศาสตร์

                2.แบบทดสอบก่อนเรียน

การวัดผล/ประเมินผล

                1.ความกระตือรือร้นในการเรียน/การตอบคำถาม/สรุปเนื้อหา

                2.การทำแบบทดสอบก่อนเรียน

ผลการสอน

                .................................................................................................................................................

แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน

รู้เข้าใจและสามารถเทียบศักราชแบบต่าง ๆ   การนับเวลาและช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์

 

คำสั่ง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

 

1.สิ่งที่เป็นตัวกำหนดในการนับศักราชคือข้อใด

. การเกิดของพระศาสดา                 . การตายของพระศาสดา

                . กิจกรรมสำคัญของพระศาสดา                     . ถูกทุกข้อ

2.การเสียกรุงครั้งที่ 2 เมื่อ พ.. 2310  นับเป็นเหตุการณ์ที่เกิดมาแล้วนับ

. ทศวรรษ                                                            . ศตวรรษ

                . สหัสวรรษ                                                        . โกฏิวรรษ

3.ข้อใดถูกต้อง

. พงศวดารไทยสมัยอยุธยาจารึกเหตุการณ์ด้วย  พุทธศักราช

                . การนับศักราชแบบรัตนโกสินทร์ศกเริ่มใช้ในสมัยรัชกาลที่  5

                . .. 1 = .. 2411  (ปีที่รัชกาลที่ 5 ทรงขึ้นครองราชย์)

                . พุทธศักราชเริ่มใช้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตย

4.ไทยเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 ..  2112 ตรงกับ ค.. ใด

. .. 1569                                                          . .. 921

                . .. 1491                                                          . . 948

5.ข้อใดต่อไปนี้ไม่จัดว่าเป็นหลักฐานทางโบราณคดี

. โบราณสถาน                                                   . โครงกระดูก

                . ถ้วยชาม                                                            . นิทานพื้นบ้าน

6.เราใช้หลักฐานทางโบราณคดีเพื่อศึกษาเรื่องราวสมัยใด

                . สมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์

                . สมัยกลาง

                . สมัยใหม่

                . สมัยปัจจุบัน

7.มนุษย์ยุคใดที่ยังอยู่อาศัยตามถ้ำและใช้เครื่องมือหิน

แบบหยาบ

. ยุคหินเก่า                                                          . ยุคหินกลาง

                . ยุคหินใหม่                                                       . ยุคหินใหม่

 

8.ความเป็นอยู่ของมนุษย์ในลักษณะใดที่มีความเจริญมากที่สุด

. มีการแลกเปลี่ยนผลผลิตระหว่างกัน           . มีการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์

                . มีการตั้งถิ่นฐานตามริมแม่น้ำหรือทะเล      . รู้จักเขียนภาพตามผนังถ้ำ

9.หลักฐานทางโบราณคดีจำนวนมากที่ขุดพบที่บ้านเชียงจังหวัดอุดรธานีแสดงถึงความเจริญของยุคใด

. ยุคเหล็ก                                                            . ยุคสำริด

                . ยุคหินใหม่                                                       . ยุคหินกลาง

10. การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สากลใช้สิ่งใดเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง

. หลักฐานทางโบราณคดี                 . กิจกรรมของมนุษย์

                . บันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษร                       . ถูกทุกข้อ

11.ข้อใดไม่ถูกต้อง

. ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ หมายถึง ประวัติ-ศาสตร์ยุคกรีก-โรมัน

. ประวัติศาสตร์สมัยกลางเป็นยุคสมัยที่อารยธรรมหยุดชะงัก

. ประวัติศาสตร์สมัยใหม่เป็นยุคสมัยที่มีความเจริญก้าวหน้า  รวดเร็วยิ่งกว่าสมัยใด ๆ

. ประวัติศาสตร์ร่วมสมัยจะเป็นเหตุการณ์ที่สืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน

12.หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดที่แสดงถึงความเป็นอยู่ของมนุษย์ยุคหินเก่าในเมืองไทยพบที่ใด

. บ้านแม่ทะ  บ้านดอลมูล  จังหวัดลำปาง

                . ถ้ำไทรโยค  จังหวัดกาญจนบุรี

                . บ้านเชียง  อำเภอหนองหาน  จังหวัดอุดรธานี

                . โคกพนมดี  อำเภอพนัสนิคม  จังหวัดชลบุรี

13.หลักเกณฑ์ในการแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ไทยคือข้อใด

. ลักษณะการปกครอง                                      . การตั้งราชธานี

                . กิจกรรมของพระมหากษัตริย์                       . จำนวนพระมหากษัตริย์ที่ปกครอง

14.สมัยใดที่มีระยะเวลายาวนานจนต้องแบ่งย่อยเป็นสมัยราชวงศ์ต่าง ๆ

. สุโขทัย                                                              . อยุธยา

                . ธนบุรี                                                                . รัตนโกสินทร์

15.หากจะแบ่งยุคสมัยในประวัติศาสตร์ไทยให้สอดคล้องกับการแบ่งแบบสากล (สมัยโบราณ  สมัยกลาง สมัยใหม่ และร่วมสมัย) สมัยใดที่มีระยะเวลายาวนานที่สุด

                . สมัยโบราณ                                                      . สมัยใหม่

                . ร่วมสมัย                                                            . ทุกสมัยมีระยะเวลาเท่ากัน

 

 

หมายเลขบันทึก: 201163เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2008 16:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ขอแสดงความคิดเห็นหน่อยนะคะ แจ้งผลการเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ เฉพาะชั่วโมงนี้หรือหน่วยนี้ ผลการเรียนรู้ที่แจ้งบอกกว้าง ๆ ว่าเป็นผลการเรียนรู้สาระประวัติศาสตร์ชั้นม.๑ ดูกว้างเกินไป น่าจะเจาะผลการเรียนรู้เรื่องที่จะสอนหรือหน่วยที่จะสอนไม่ดีกว่าหรือคะ แสดงความคิดเห็นเล่น ๆ อย่าโกรธนะคะ

ดีมากครับอาจารย์

ขอบคุณมาก ๆ ๆ ที่เอื้อ ดีมากเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท