งานที่เป็น "พันธนาการ" vs. งานที่เป็น "เนื้อแท้" ของชีวิต


ผมเห็นภาพเหมือนกับว่าเรายืนอยู่ตรง "ทางสองแพร่ง" เราคือผู้ที่จะต้องเลือกเดิน ระหว่างเส้นทางที่มีป้ายเขียนไว้ว่า "งานที่เป็นพันธนาการ" กับเส้นทางที่เขียนว่า "งานที่เป็นชีวิต"

        สำหรับบางคน "งาน" อาจเป็นเพียง "ทางผ่าน" เพื่อนำไปสู่การได้มาซึ่ง "เงิน" ที่ถือว่าเป็น "ปัจจัย" ที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิต ในกรณีนี้งานอาจกลายเป็นสิ่งที่ "จำเป็น" เป็น "ภาระจำยอม" ที่ต้องทำไปทั้งๆ ที่ไม่ "มีใจ" ให้กับสิ่งที่กำลังทำอยู่นั้น หากเป็นเช่นนี้ การทำงานดังกล่าวก็คงไม่แตกต่างอะไรจาก "พันธนาการ" ที่ผูกมัดเราไว้อย่างแน่นหนา ...ทำให้เราไม่มี "อิสรภาพ" อย่างแท้จริง

        เมื่อวานนี้ผมโชคดีที่ได้มีโอกาสพูดคุยกับ ดร.สวัสดิ์ พุ้มพวง ...หลังจากที่ได้คุยกันนานประมาณหนึ่งชั่วโมง ผมรู้สึกประทับใจในหลักการใช้ชีวิต การเรียนรู้ และการตัดสินใจในเรื่องงานของท่านเป็นอันมาก คำพูดๆ หนึ่งที่ยังตรึงอยู่ในใจของผมก็คือ "ผมทิ้งเงิน เพื่อไปหาชีวิต" ...ความคิด หรือคำพูดในลักษณะนี้ คงจะมีให้เห็นอยู่บ่อยๆ แต่ผมว่ามี "ส่วนน้อย" นะครับที่กล้าพอที่จะ "ทำจริง"

        วันนี้เป็นวันที่ผมได้ประจักษ์ชัดว่า "ทัศนคติที่ถูกต้อง" เกี่ยวกับการทำงานนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญจริงๆ ผมเห็นภาพเหมือนกับว่าเรายืนอยู่ตรง "ทางสองแพร่ง" เราคือผู้ที่จะต้องเลือกเดิน ระหว่างเส้นทางที่มีป้ายเขียนไว้ว่า "งานที่เป็นพันธนาการ" กับเส้นทางที่เขียนว่า "งานที่เป็นชีวิต"

        การที่เราก้าวย่างไปอย่าง "ถูกทาง" นั้น สามารถสร้างความแตกต่างที่ยิ่งใหญ่ให้กับชีวิตของเราได้ ...จากการที่ผมได้ติดตามอ่านบันทึกใน GotoKnow ...ทำให้ผมได้มีโอกาสเฝ้าดูการเดินทางของหลายๆ ท่านบนเส้นทางสายนี้ ผมรู้สึกยินดีและเป็นหนี้บุญคุณท่านทั้งหลายที่ได้ก้าวไปแล้วล่วงหน้า ผมยอมรับว่า ท่านคือผู้ที่มี "จิตอิสระ" อย่างแท้จริง ท่านคือผู้ที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ที่อยู่ข้างหลังทุกคนรวมทั้งตัวผมเอง...ขอบคุณมากครับ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 20106เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2006 08:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 12:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • ขอขอบคุณท่านอาจารย์ประพนธ์ครับ สำหรับบันทึกดีๆ ที่ทำให้ต้องคิด
  • อ่านบันทึกนี้แล้ว มีความเห็นว่า คนที่เรียกตัวเองว่า "นักวิชาการ" ส่วนใหญ่แล้ว ทำงาน ในลักษณะที่เป็น "พันธนาการ" มากกว่าทำงานแบบอิสระ ที่เป็น "เนื้อแท้" ของชีวิต.. ครับ

ผมเป็นอีกคนที่เริ่มเข้ามาสัมผัสกับบันทึกที่ดี ๆ จาก blog ใน gotoknow.org หลังจากการประชุมที่นำเสนอโดย อ. จันทวรรณ ที่ มหาสารคาม และ ติดตามบันทึกข้อเขียนของท่านอาจารย์ประพนธ์ ใน Beyond KM ทำให้ได้ความคิดดี ๆ เป็นประจำ  จะคอยติดตามอาจารย์ต่อ ๆ ไปครับ แม้ว่าจะยังไม่มีอะไร จะ ลปรร ตามสูตร KM ก็ขอเชียร์ให้อาจารย์เป็น Super Star เร็ว ๆ นะครับ

แต่ละคนมีความจำเป็นในชีวิตต่างกันค่ะ   บางคนโชคดี  ที่มีโอกาสทำในสิ่งที่ชอบ    แต่บางคนไม่เป็นเช่นนั้น     ถ้าจำเป็นต้องทำ  สิ่งที่ดีที่สุดก็น่าจะเป็นการ  ทำใจยอมรับ   หาแนวทางที่ทำให้เรา "ทำงานอย่างมีความสุข"   บางที "พันธนาการ" นั้นๆ  ก็ไม่ได้เลวร้ายเสมอไปหรอกค่ะ

....ทำให้ผมนึกถึงคำพูดที่ว่า "ถ้าไม่มีโอกาสได้ทำงานที่ชอบ ก็ต้องพยายามทำใจให้ชอบงานที่ทำ" ...คือให้เห็น "คุณค่า" ของงานที่ทำอยู่ ...ทำให้ผมนึกไปถึงหนังสือเล่มหนึ่งของท่านอาจารย์พุทธทาสที่ชื่อว่า "ความสุขที่แท้มีอยู่แต่ในงาน" ผมจะลองกลับไปอ่านดูอีกเที่ยวแล้วจะเอาข้อความดีๆ มาแชร์กันครับ ...ขอบคุณครับสำหรับ Comment และ "กำลังใจ" ...ผมจะพยายามแชร์สิ่งที่ได้จากการทำงานและสิ่งที่เกิดขึ้นในใจให้มากที่สุดครับ

ขอแจมด้วยคนครับ แต่เนื่องจากกลัวว่าจะยาว ก็เลยไปตั้งเป็นบันทึกใหม่ ประโยคที่อาจารย์สรุปผมชอบจังเลยครับ สั้น กระชับ ได้ใจความ และครอบคลุมเนื้อหา
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท