คัดลายมือ : ตัวหนังสือสร้างสรรค์ ( ๓ )


ลักษณะและการเขียนอักษรไทย

ลักษณะและการเขียนอักษรไทย

๑.   สัดส่วนของตัวอักษร  แบ่งออกเป็น ๔ ส่วน  ดังนี้

 

 

 

บน

 

 

 

 

 

ล่าง

 

                ๒.  หัวกลมมีขนาด   ส่วน

                ๓.  หัวของ    เป็นหัวขมวดหักหน้าบน  และ      เป็นหัวหยัก หัวโค้งหน้าบน

                ๔.  เส้นที่ลากจากหัวตรงในแนวดิ่ง  ยกเว้น            เป็นเส้นเฉียง

                ๕.  เส้นบนหักมุมเป็นจั่ว  หรือเป็นเส้นโค้งมีขนาด   ส่วน

                ๖.   เส้นล่างตรงแนวเดียวกับเส้นบรรทัด  หรือเป็นเส้นโค้งเล็กน้อย

                ๗.  หาง     เป็นเส้นตรงยาวไม่เกิน   ส่วน

                ๘.  หางอักษรตัวอื่นเป็นเส้นทแยงยาวไม่เกิน   ส่วน

                ๙.   ส่วนล่างของ     เลยตัวอักษรลงมา   ส่วน  และกว้างเท่าตัวอักษร

                ๑๐.  เชิง   อยู่ในส่วนที่   ล่าง  และกว้างเท่าตัวหลัง

                ๑๑.  ไส้   อยู่ในส่วนที่ 

                ๑๒.  ขนาดของตัวอักษรโดยทั่วไป  มีความกว้างครึ่งหนึ่งของตัวหน้า

                ๑๓.  สระ  ไ-  ใ-  โ-  สูงเลยตัวอักษรขึ้นไปไม่เกิน   ส่วน

                ๑๔.  สระ   -ุ    - ู   อยู่ใต้ตัวอักษรไม่เกิน   ส่วน

                ๑๕.  สระและเครื่องหมายบนทุกตัวอยู่ส่วน   และ   บน

๑๖.  ส่วนขวาสุดของสระ  วรรณยุกต์  และเครื่องหมายต่างๆ  อยู่ตรงกับเส้นขวาสุดของพยัญชนะตัวที่เกาะ  ยกเว้นถ้าอยู่กับพยัญชนะที่มีหาง  ได้แก่     ให้เขียนสระ  วรรณยุกต์และเครื่องหมายเยื้องมาข้างหน้าไม่ทับหางพยัญชนะ

                ๑๗.  สระ  - ิ  ลากขีดลงแตะปลายสระ    - ิ    - ี

                ๑๘.  สระ  - ื  เขียนเหมือนสระ  - ี  เพิ่ม   ขีด  ด้านใน   - ี   - ื

                ๑๙.   สระ  - ื  มีวรรณยุกต์  ให้ใส่วรรณยุกต์ไว้ตรงกลาง  - ื่

การเขียนหนังสือ

                การเขียนหนังสือ  แบ่งเป็น   ประเภท  ดังนี้

๑.   การเขียนบรรจง

๒.  การเขียนหวัดแกมบรรจง  ( ใช้เขียนในชีวิตประจำวัน )

การเขียนบรรจง

                การเขียนบรรจงเป็นการเขียนเพื่อเน้นความชัดเจนในการสื่อสาร  และความสวยงามของตัวอักษร  การเขียนจะมุ่งเน้นการประณีตงดงาม  ถูกต้องตามรูปแบบและอักขระวิธี  การเว้นวรรคตอน  ช่องไฟ  รวมถึงความสะอาดสวยงาม  การเขียนประเภทนี้  จะมีวัตถุประสงค์เฉพาะ  เช่น  การประกวดคัดลายมือ  การเขียนเกียรติบัตรต่างๆ  การเขียนหนังสือสำคัญๆ  เป็นต้น

                หลักการเขียนบรรจง

                ๑.   จับดินสอ  ปากกา  วางกระดาษ  วางมือและท่าทางการเขียนให้ถูกต้อง

                ๒.  เขียนตัวอักษรทั้งสระ  พยัญชนะ  วรรณยุกต์  และเครื่องหมายต่างๆ  รวมทั้งตัวเลขถูกต้องตามรูปแบบ

                ๓.  เขียนตัวอักษรจากหัวไปหางเสมอ

                ๔.  การเขียนหัวตัวอักษร  มี   แบบ  คือ  แบบหัวกลม  กับรูปดอกบัวตูม (แบบอาลักษณ์)  เมื่อเขียนแบบหนึ่งแบบใดแล้ว  ก็ให้เขียนเป็นแบบเดียวกันไปตลอด

                ๕.  สัดส่วนตัวอักษร  ส่วนสูงของตัวอักษรแบ่งได้   ส่วน  ความกว้างของตัวอักษรตามปกติ  จะไม่เกินครึ่งหนึ่งของส่วนสูง  ตัวอักษรใดที่มีหัวอยู่แนวบนของบรรทัด  หัวจะอยู่ที่ส่วนที่   ตัวอักษรที่มีหัวอยู่แนวล่างของบรรทัด  หัวจะอยู่ที่ส่วนที่   ส่วนตัวอักษรที่มีหัวอยู่ตรงกลางตัวอักษร  หัวจะอยู่ในส่วนที่ 

                ๖.  การเขียนไส้ตัวอักษร  ไส้ตัวอักษรจะเขียนอยู่เสมอเส้นกึ่งกลางของส่วนสูง  เว้นแต่ไส้ของตัว   และ   เท่านั้นที่เขียนเสมอหัวอักษร

                ๗.  การเขียนสระกำกับ  สระที่เขียนไว้บนตัวอักษร  เช่น  สระอิ  สระอี  เขียนให้มีความกว้างเท่ากับความกว้างของตัวอักษร

                การเขียนฝนทอง  ฟันหนู  นั้นเขียนขีดลงไม่ใช่ขีดขึ้น  และจะเขียนอยู่ตรงกับเส้นหลังตัวอักษร

                การเขียนวรรณยุกต์  เขียนไว้ตรงเส้นหลังตัวอักษร  สระที่เขียนข้างล่าง  คือ  สระอุ  สระอู  ก็เช่นเดียวกัน  ถ้าตัวอักษรนั้นมีหางยาว  จึงให้เลื่อนวรรณยุกต์หรือสระนั้นๆ  ไปข้างหน้าพองามโดยไม่เกินครึ่งหนึ่งของความกว้างตัวอักษร  เช่น

                ๘.  การเขียนหางตัวอักษร  ตัวอักษรที่มีหางยาว  เช่น    หางของตัวอักษรจะยาวไม่เกินครึ่งหนึ่งของความสูงตัวอักษร  ถ้ายาวเกินครึ่งหนึ่งจะกลายเป็นการเขียน  เล่นหาง

                ๙.  การเขียนวน  เช่น  การเขียนเลขศูนย์  หรือ  สระอำ  ต้องเขียนวนจากซ้ายไปขวา

                ๑๐.  การเขียนเครื่องหมายต่างๆ  และตัวเลข  เขียนขนาดครึ่งหนึ่งของตัวอักษร

อ่านต่อใน  คัดลายมือ : ตัวหนังสือสร้างสรรค์ ( ๔ )

เลือกอ่านหน้า   หน้า ๑   หน้า ๒   หน้า ๓   หน้า ๔

หมายเลขบันทึก: 200412เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2008 13:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

คนที่เท่าไรแล้วเอ่ย :)(:

คนที่2แล้ว :)(:

ขอบคุณคุณครูมากค่ะ ได้ข้อมูลไปทำรายงานเยอะเลยค่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท