การสร้างสุขภาพในชุมชนแบบสหสาขา


การพูดคุย-แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันในครั้งนี้ ทำให้เห็นวิธีพากันวิจัยพร้อมกับร่วมมือพัฒนาสิ่งที่ตนเองทำอยู่ได้มากทีเดียว ทั้งการจัดการเรียนการสอน การจัดการความรู้และการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับสังคม การทำวิจัยแบบสหสาขาเพื่อจัดการความเปลี่ยนแปลงเรื่องที่ยุ่งยาก การทำสื่อและการสื่อสารการวิจัย ที่สำคัญคือ เป็นเวทีให้คนทำงานแนวเดียวกันได้เจอเพื่อน

        การสร้างเสริมสุขภาพโดยใช้ชุมชนเป็นตัวตั้ง มีตัวแปรและเงื่อนไขจากชุมชนหลายอย่าง  อีกทั้งความจำเป็นที่จะต้องผนวกอยู่ในโครงการทางสุขภาพด้วย ก็ประกอบด้วยหลายด้าน         จะทำแต่เรื่องสุขภาพแบบใช้ความต้องการของนักพัฒนาสุขภาพอย่างเดียวเป็นเกณฑ์                ก็จะไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงของสังคม การทำงานและการพัฒนาทักษะ ตลอดจนความรู้เพื่อการทำงานด้วยกันอย่างใหม่ของสังคม จะเป็นอย่างไร  เห็นจะหาได้จากไหนก็คงไม่กระจ่าง       เท่ากับการหาจากสังคมไทยเอง  โดยเฉพาะจากคนทำงานและมีภูมิปัญญาจากการปฏิบัติ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่พอเหมาะพอควรสำหรับผู้ที่สนใจการปฏิบัติทั้งเพื่อการพัฒนาสังคมและการพัฒนา   ตนเอง  ดังนั้น ก็เลยทดลองจัดประชุมสัมมนานักวิจัยสหสาขา (Interdisciplinary Conference)    เชิญชวนนักวิจัย อาจารย์ และนักพัฒนา  ที่กำลังทำวิจัยและพัฒนาด้านการสร้างเสริมสุขภาพ    ในชุมชน ของมหาวิทยาลัยมหิดล มานั่งพูดคุยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน เป็นการคุยเพื่อสร้างความรู้และจัดการความรู้ ให้สะท้อนไปสู่โครงการวิจัยที่กำลังทำกันอยู่  พร้อมกับเอาผลการปฏิบัติมาเรียนรู้ ประเมินผลที่เกิดขึ้นต่อสังคม  มหาวิทยาลัย  หาบทเรียนเพื่อนำไปปรับปรุงตัวเอง  ตลอดจนพัฒนางานต่างๆที่รับผิดชอบ  เช่น  การพัฒนาการวิจัย  การพัฒนาการเรียนการสอน  การพัฒนาคนและสร้างคนรุ่นใหม่ให้มีความรอบด้านทั้งปัญญาและการปฏิบัติ  การพัฒนากลวิธีในการดำเนินโครงการสร้างสุขภาพในชุมชน  ประเด็นอนาคต  เหล่านี้เป็นตน 

          คนเข้าร่วมไม่เยอะ  เพียง 20 กว่าคน ซึ่งก็เป็นไปตามที่คาดไว้แต่เดิม  เพราะแต่ละคน     ก็งานเยอะ  อีกทั้งการประชุมและความเคลื่อนไหว ทั้งเรื่องวิชาการ และความเคลื่อนไหวของสังคมโดยรอบ  ก็มีขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันมากมาย  แต่ก็นับว่าเป็นข้อดีไปอีกด้านหนึ่ง เพราะทำให้สามารถปรับกระบวนการเวทีและจัดเวลาให้แต่ละท่านได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และพูดคุยกันได้อย่างทั่วถึงและเพียงพอ ประมวลบทเรียน ได้ประเด็นเพื่อใช้เป็นกรอบสังเคราะห์ผลการประชุม   ทำเป็นบันทึกความรู้ การวิจัยเพื่อสร้างเสริมสุขภาพชุมชนแบบสหสาขา มีคุณค่ามากทีเดียว

  • ขอบเขตและนิยามเกี่ยวกับชุมชนในภาคปฏิบัติ  หลากหลายมากขึ้นเป็นลำดับ  
  • วิธีเข้าถึงชุมชนที่เป็นพื้นฐานการทำงานอย่างเข้มข้นและยืนนานคือ ความจริงใจและความเป็นเพื่อน ความวางใจและปฏิบัติต่อกันเสมือนญาติ  เรื่องอื่นๆจะตามมา
  • โครงการวิจัยในแนวทางนี้ ต้องถือว่าการเตรียมชุมชนและการพัฒนาความไว้วางใจกัน      เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย ซึ่งอาจใช้เวลานานมาก  แต่เป็นต้นทุนทางสังคม  ซึ่งจะ   ส่งผลต่อกระบวนการวิจัยและการลดต้นทุนดำเนินการอย่างอื่นตามมาในภายหลังมากมาย
  • การสะท้อนการเรียนรู้ ต้องเชื่อมโยงกับการพัฒนาบทบาทของมหาวิทยาลัยและการพัฒนาสังคม จึงจะมีคุณค่า
  • ต้องพัฒนาบนแนวคิดทั้ง Mass Impacts และ Best Impacts ซึ่งจะเป็นการวิจัยและพัฒนาสุขภาพที่สนองตอบต่อความจำเป็นของคนส่วนใหญ่  สุขภาพของปัจเจกและคนส่วนน้อย    ที่มีโอกาสดีอยู่แล้ว จึงจะมีคุณภาพมากขึ้น  และสังคมโดยรวมก็จะดียิ่งๆขึ้น
  • มีความมั่งคั่งทางประสบการณ์ของคนทำงานแนวทางนี้มากพอสมควร จึงน่าจะถึงยุคสมัยของการยกระดับนักกิจกรรมและนักปฏิบัติให้เป็นนักทำงานด้วยปัญญามากขึ้นโดยการสร้างความตื่นตัวในการสังเคราะห์เชิงทฤษฎี
  • การสร้างพลังและสร้างศักยภาพ มีหลายระดับ หลายแนว และหลายกลวิธี
  • ระดับการบูรณาการเชิงเนื้อหา  ประกอบด้วยหลายสาระความจำเป็น  ที่มักเป็นประเด็นร่วม   ที่สะท้อนขึ้นมาจากประสบการณ์ที่แตกต่างวกัน ประกอบด้วย  สิ่งแวดล้อม  การทำมาหากิน  การพัฒนาสังคม  เศรษฐกิจ  รายได้  การพัฒนาสุขภาพ  HIV และเด็กกำพร้า-เด็กที่ได้รับผลกระทบจาก HIV การพัฒนาสื่อและการจัดการการสื่อสารเพื่อสุขภาพในชุมชน

        เวทีการพูดคุย-แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันในครั้งนี้  ทำให้เห็นวิธีพากันวิจัยพร้อมกับร่วมมือพัฒนาสิ่งที่ตนเองทำอยู่ได้มากทีเดียว  ทั้งการจัดการเรียนการสอน  การจัดการความรู้และการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับสังคม  การทำวิจัยแบบสหสาขาเพื่อจัดการความเปลี่ยนแปลงเรื่องที่ยุ่งยาก  การทำสื่อและการสื่อสารการวิจัย  ที่สำคัญคือ เป็นเวทีให้คนทำงานแนวเดียวกันได้เจอเพื่อน

      

หมายเลขบันทึก: 20003เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2006 18:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2013 22:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เนื้อหาเวทีการพูดคุย น่าสนใจ อยากทราบรายละเอียดของเนื้องานมากกว่านี้จังครับ

http://gotoknow.org/mhsresearch

 

วิรัตน์ คำศรีจันทร์
      ขอบคุณครับที่ท่านให้ความสนใจ  เนื้อหาในรายละเอียดกำลังถอดเทปเทปและเรียบเรียง จะทำเป็นสื่อและสิ่งตีพิมพ์เผยแพร่ครับ  
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท