เดินทางไกล


ดำนา...ต้นเดียว

เมื่อวานนี้ ฉันได้รับมอบหมายงาน ให้พาเกษตรกรโรงเรียนชาวนา ที่ทำนาโดยวิธีการปักดำ ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำนา ระบบ S R I ( สงสัยล่ะสิ ว่าเป้นอย่างไร ) ฉันจะกั๊กไว้ก่อน บอกหมดเดี๋ยวก็รู้ง่ายๆน่ะสิ งานนี้เค้าจัดขึ้น 2 วัน คือ 16-17 มิ.ย.  โดยมูลนิธิพัฒนาอิสาน หรือ NET จ.สุรินทร์  ก็เพื่อนเครือข่ายชาวนาที่คุ้นเคยกันดีนั่นแหล่ะ เราจะออกเดินทางกันเย็นนี้เลย คาดว่าจะไปถึงสุรินทร์ ไม่เกิน 5 ทุ่ม ฉันก็พยายามรวบรวมชาวบ้าน ซึ่งก็หนีไม่พ้น คุณกิจในพื้นที่ของฉันหรอก เพราะเป็นพื้นที่เดียวที่ทำข้าวนาปี ( บ้านหนองแจง ต.ไร่รถ อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี ) และยังใช้วิธีการปักดำอยู่ สงสารชาวบ้านเหมือนกัน เร่ร่อนตะลอนทัวร์กับฉันบ่อยมาก ตัวฉันน่ะไม่เท่าไหร่ ก็คนมันโสด หัวเดียวกระเทียมลีบ จะไปไหน ก็ไม่ต้องกลัวว่าใครจะกังวล ครานี้ชาวบ้านต้องออกไปกับฉันเหมือนเคย ไม่ได้บังคับนะ แต่ยังไงก็ต้องมีคนไป รวมๆแล้ว การเดินทางเย็นนี้ 1 รถตู้ มีชาวบ้าน 7 คน และฉันผู้ทำหน้าที่....คนนำทาง

 อ้อ สิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น คงจะหนีไม่พ้น พันธุ์ข้าว ที่ทางเราก็เตรียมขนไปแลกเปลี่ยนสายพันธุ์จากเพื่อนเกษตรกรภาคอื่นด้วย .....ก็ตอนนี้ชาวบ้านของฉัน เค้ากำลังคึกคักกับการเอาแว่นขยายส่องคัดพันธุ์กันเลยก็รออ่านกันแล้วกัน ว่า พวกเราจะได้อะไรกลับมาอีกบ้างจากการเดินทางไกลหนนี้

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 200เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2005 04:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 23:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

กำลังรออ่านว่าไปเรียนรู้อำไรมาบ้าง

วิจารณ์

I will always stay close u, now and everlasting.

การดำนาต้นเดียว ต้นกล้าวต้องตัดยอดหรือไม่

การคัดเมล็ดพันธ์ที่ดีต้องทำอย่างไร วิธีการดู การจัดการ ต้องแกะเป็นข้าวกล้องด้วยหรือ วิธีการเก็บรักษา การเพาะทำอย่างไร ช่วยแนะนำด้วย สนใจจริงๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ขอบคุณ

หมายเหตุ   ..ปีที่แล้วก็ดำต้นเดี่ยว แต่กล้าอายุ 30 วัน ตัดยอดดำก็ได้ผลดี 

ขอบคุณค่ะ ที่สนใจจะเรียนรู้กับเรา กระบวนการทำนาต้นเดียวนั้น หัวใจของมัน มีอยู่ว่า ต้องการลดต้นทุนการผลิตให้ได้มากที่สุด ไม่มองข้ามแม้กระทั่งต้นทุนที่เกิดจากการใช้พันธุ์ข้าว ซึ่งการลดต้นทุนที่ข้าวขวัญหนุนเสริมชาวบ้านอยู่ในขณะนี้ นอกจากเมล็ดพันธุ์จะใช้ต่อไร่ในปริมาณที่น้อยแล้ว ( 7 กิโลกรัม/ไร่ ) เมล็ดพันธุ์ที่นำมาทำต้นกล้าจะต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ที่มีความสมบูรณ์อย่างที่ใจเราปรารถนา

โดยปกตินะคะ ชาวนาทั่วไป ถ้าจะซื้อข้าวมาทำพันธุ์ จะไม่สนใจในการพิจารณาให้ถ้วนถี่ว่า พันธุ์ที่ได้มานั้นเป็นอย่างไร ส่วนใหญ่จะเชื่อจากคำพ่อค้าโฆษณา ซึ่งโดยปกติแล้ว การพิจารณษข้าวแค่เปลือกภายนอก ( อาจจะดู สวย สมบูรณ์ ) แต่มันก็แค่เปลือกนอกเท่านั้นค่ะ ลองคุณเอาข้าวที่ดูสวยข้างนอกไปสีเป็นข้าวกล้องดู (ลองดูนะคะ) คุณจะพบว่า มีเมล็ดข้าวที่สมบูรณ์เหลืออยู่น้อยมาก คำว่า สมบูรณ์คือ

1.เมล็ดเรียว ยาว

2.ผิวมัน วาว

3.ไม่มีท้องไข่หรือท้องปลาซิว

4.ไม่แตก ไม่ร้าว ไม่ลีบ

5.มีจมูกข้าวน้อย

ซึ่งถ้าเราดูได้ละเอียดถึงขั้นนี้ พิจารณาด้วยสายตาเรานี่แหล่ะค่ะ เลือกที่สวยที่สุด มาให้ได้สัก 10 เม็ด ก็ยังดี (แต่อย่าท้อก่อนนะคะ) รับรองว่า คุณจะได้ข้าวพันธุ์ดีที่มีคุณภาพเก็บไว้ใช้เองค่ะ แต่ขอบอกว่า การคัดพันธุ์ข้าวและนำไปปลูกเพื่อขยายพันธุ์นั้น จะต้องทำประมาณ 8 ครั้งเลยนะคะ พันธุ์ข้าวถึงจะนิ่ง หมายความว่า ระหว่างที่คุณนำข้าวที่คัดจากข้าวกล้อง ไปเพาะเป็นต้นกล้า  ซึ่งแนะนำว่าให้เรียนรู้วิธีการเพาะต้นกล้าจากข้าวกล้องในบทบันทึกของเรา  หลังจากต้นกล้าจากข้าวกล้องมีอายุประมาณ 20 วัน ก็ค่อยย้ายไปปักดำในแปลงนาหลักค่ะ ที่ข้าวขวัญ เราไม่ได้ใช้วิธีตัดยอดหรอกนะคะ ก็ปล่อยดูแลแบบธรรมชาติคะ แต่เน้นเรื่องระยะห่างระหว่างต้นข้าวให้ชัดเจน แต่ละจุดของต้นข้าวประมาณ 25 เซนติเมตร ก็ต้องใช้เชือกขึงให้ขนานกันเลยค่ะ วิธีนี้ คุณสามารถนำข้าวหลายสายพันธุ์มาทดลองได้นะคะ

ถ้าสนใจข้อมูลเชิงลึกมากกว่านั้น

ติดต่อโดยตรงมาที่มูลนิธิข้าวขวัญ  หรือ คุณสุขสรรค์ กันตรี 035-597193

อ่านรายละเอียด

เทคนิคการคัดพันธุ์ข้าว เพิ่มเติม ในบทความ วันที่ 01/02/2006

การเพาะข้าวกล้อง ในบทความ วันที่ 04/02/06

http://gotoknow.org/file/lamhub/rice.jpg

ลักษณะของข้าวกล้องที่ผ่านการคัดอย่าง

สมบูรณ์ค่ะ

1.เมล็ดเรียว ยาว

2.ผิวมัน วาว

3.ไม่มีท้องไข่หรือท้องปลาซิว

4.ไม่แตก ไม่ร้าว ไม่ลีบ

5.มีจมูกข้าวน้อย

ขอบคุณครับที่ช่วยแนะนำ กำลังทำท่าจะเข้าใจแล้ว แต่ยังมีข้อสงสัยอีก เข้าใจว่าการคัดพันธ์ข้าวเพื่อใช้สำหรับทำพันธ์นั้นจำเป็นจะต้องแกะด้วยมือ หรือสีด้วยเครื่องสำหรับทำข้าวกล้อง แล้วทำการคัดเลือกเมล็ดที่มีลักษณะที่สมบูรณ์ที่สุด ก็คงประมาณ 10-100 เมล็ด ใช่หรือไม่ครับ แต่สำหรับการปลูกในฤดูกาลจริงๆ ไม่ต้องแกะเป็นข้าวกล้องก็ได้ถ้าได้พันธ์ข้าวที่นิ่งตามต้องการใช่หรือไม่ครับ เอาแค่ 7 กก./ไร่ ก็หนาวแล้วครับ ถ้าหาก 5ไร่ ข้าวกล้องก็ 35 กก.ใช่เปล่า  หรือมีความจำเป็นในการแกะเป็นข้าวกล้องทั้ง 35 กก.ครับ จะมีวิธีการแบบใดที่ง่ายช่วยแนะนำด้วยครับขอบคุณมากๆๆๆตอบได้ทันใจจริงๆๆ

(ต่อ)... เมื่อได้ศึกษาจากบทความแล้วขอทำความเข้าใจใหม่ว่าการทำนาแบบปราณีตนั้นจะให้ความสำคัญกับการคัดเมล็ดพันธ์ที่จะใช้กล้า ซึ่งการคัดเมล็ดพันธ์นั้นจำเป็นจะต้องคัดจากข้าวกล้องที่ดูเป็นเม็ดที่สมบูรณ์ที่สุด แต่ในกรณีที่ใช้เมล็ดพันธ์ตั้งแต่ 7 กิโลกรัมขึ้นไปเราจะมานั่งแกะด้วยมือคงจะไม่ไหว คงจะต้องใช้เครื่องทุ่นแรงช่วย คงต้องใช้เครื่องสี (โรงสีหมู่บ้านเป็นเครื่องจักขนาดเล็กใช้ได้หรือไม่ถ้าหากจะสีข้าวขาวจะต้องสีซ้ำ 2-3 ครั้ง หรือใช้เครื่องสีด้วยคน หรือมีวิธีการอื่นใดในการปฏิบัติช่วยแนะนำด้วย) การสีข้าวกล้องควรสีเมื่อใดสีแล้วคัดก่อนตกกล้าประมาณ 1 เดือนได้หรือไม่ หรือเวลาใดดี วิธีการเก็บรักษาทำอย่างไร

เปรียบเทียบกับกัมพูชาแล้วเวลาเพาะกล้าเขาจะแช่เมล็ดพันธ์ในน้ำอุ่น 10 นาที คาดว่าเขาคงจะใช้ข้าวเปลือกใช่หรือไม่ ส่วนของขวัญข้าวใช้ข้าวกล้องคงไม่ต้องแช่น้ำอุ่น 10 นาทีเพื่อให้เมล็ดงอกง่ายขึ้นใช่หรือไม่ครับ คงใช้เมล็ดข้าวกล้องแห้งเพาะกล้าโดยไม่ต้องแช่น้ำไว้ 1 คืน แล้วหุ้ม2-3 คืนเหมือนข้าวเปลือกใช่หรือไม่ครับ จากบทความการเพาะต้นกล้าจากข้าวกล้อง ขั้นตอนที่ 2 ว่า 7-10 วันนำไปเพาะในแปลงขยายกล้า ทำไมไม่รอให้ถึง 8-12 วันแล้วนำไปปลูกในนาแปลหลักเลยจะทำให้กล้ไม่ซ้ำมากกรณีการทำนาแบบปราณีตใช้ ในขั้นตอนที่ 3 การเพาะกล้าข้าวกล้องในแปลงนา ต้องใช้เวลา 25 วันจึงจะถอนกล้าไปดำได้ ข้อสรุปตกลงใช้เวลาประมาณกี่วันกันแน่ กรณีข้าวหอมมะลิ 105 ตอบด้วยครับขอบคุณ รอคำตอบอยู่ครับกำลังทำความเข้าใจ คาดว่ากลางเดือนมิถุนายนนี้ก็จะทำการตกกล้าแล้วไม่รู้เตรียมการทันหรือเปล่าคงต้องใช้ข้าวเปลือกก่อนปีนี้ปีหน้าค่อยว่าใหม่ เชื่อในทฤษฏีอยากลองปฏิบัติ หากมีคู่มือการทำนาแบบเชิงลึกขอด้วยครับ [email protected]

ผู้สนใจมากๆๆๆๆๆๆ

รอก่อนนะคะ ตอนนี้เรากำลังรวบรวมข้อมูล เพื่อจะแลกเปลี่ยนกับคุณค่ะ

ขอบคุณครับ ผมกำลังรออยู่ จริงๆผมก็อยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย แต่ว่าผมประสบการณ์น้อยไม่เคยทำนาเลย เพิ่งทำเป็นปีแรก ปีนี้เป็นปีที่สองครับ ไม่ได้เป็นมืออาชีพ ทำอะไรดูขัดเขินไปหมดมีแต่คนหัวเราะ(เยาะ)ครับ ดำกล้าเขาก็ว่าหาเห็ดเผาะ ยิ่งการวางระยะ 25x25 ผมใช้เชือกขึงสงสัยต้องเป็นที่ขบขันแน่นอนชัวร์ เขากลัวฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาลมั้ง อาศัยว่าใจรักดูท้าทายดี ศึกษาวิธีการจากตำราหลายๆเล่ม หลายๆทฤษฎี หาเหตุผล ความน่าจะเป็นเพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจ และลงมือทำ แต่ผลที่ได้ในปีที่แล้วเป็นที่น่าพอใจครับสยบพวกมืออาชีพได้หน่อย ข้าวงามมากออกรวงดีได้น้ำหนักเปรียบเทียบจากนาข้างเคียงได้ ทุกขั้นตอนผมทำบันทึกไว้ครับ ผมไม่ใช้ยาปราบศตรูพืชนะครับ ผมใช้จุลินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมี อ่านสลากดูตามสูตร อย่างละนิดหน่อยผสมตามส่วนหว่านให้ถูกจังหวะถูกช่วงเท่านั้นเองครับ เห็นผลงานแล้วชื่นใจ ปีนี้ผมไถนาใหม่หมดบำรุงดินใหม่กะว่าจะทำข้าวปลอดสารพิษ จะไม่ใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง ครับ บังเอิญผมเพิ่งเจอบทความในบล็อก น่าสนใจจะลองทำดูวันนี้ก็ลองแกะข้าวปลูกดูกำลังคัดมา 100 เมล็ด เพื่อเป็นการทดสอบการงอกดูว่าจะได้สักกีเปอร์เซ็น สมควรเดินหน้าต่อใหมจะมีใครหัวเราะเราหรือเปล่าหนอ เวลาเอาจริงๆจะต้องใช้เครื่องจักรสีข้าวคงต้องให้เขาสีครั้งเดียวโดยไม่ต้องขัดขาว จะมีข้าวเม้ดสมบูรณ์มากพอหรือเปล่าก็ไม่รู้นะกลัวหักมากกว่ายิ่งพันธ์ข้าวปลูกมีจำกัดด้วย นี่คือปัญหา ส่วนชาวนามืออาชีพถ้าไม่เห็นของจริงทฤษฎีปลูกข้าวต้นเดียวนี้นะคงไม่กล้าทำ ถ้าทำแล้วไม่สำเร็จไม่ดีไม่ได้ข้าวเขาจะเอาอะไรกินใช่ใหมครับ(ผมคิดว่าคงเป็นแบบนั้น) สำหรับผมกล้าครับผมชอบทดลองชอบของแปลกใหม่ ฟางเส้นเดียวก็น่าสน คิดแล้วเก็บฟางไว้ให้วัวกินดีกว่าเก็บมูลไว้ทำปุ๋ย ตอนนี้ขออนุญาติเรียนรู้กับขวัญข้าวไปก่อนเพื่อหาประสบการณ์ ยังไม่ขอแลกเปลี่ยนนะครับ คงเข้าใจมีอะไรหลายอย่างที่เราไม่รู้ ขอบคุณครับผมกำลังรอข้อมูลอยู่เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติครับ  ขอการบ้านด่วนด้วยครับใกล้วันที่ผมจะตกกล้าแล้ว ขอบคุณครับ

ก่อนหน้านี้ผมปลูกหญ้าไม่มีวัวเลี้ยงก็มีคนหัวเราะแปลกนะ หญ้างามผมเกี่ยวหญ้าขายกิโลละ 2 บาท ทำบัญชีไว้ได้หลายตังค์ครับคุ้มจริงๆ หลังจากนั้นก็เลยซื้อวัวมาเลี้ยงเอามูลมาทำปุ๋ยคอก แล้วก็มาทำนานี่แหละครับ ทุกอย่างที่ทำผมจะศึกษาก่อนส่วนใหญ่ก็จากตำรา เช่น วิธีการปลูกหญ้า การเลี้ยงวัว การทำนา (ในเรื่องที่เราสนใจ สนใจ สนใจ เท่านั้น) ก็เพราะว่าเราไม่มีประสบการณ์จึงต้องศึกษาให้มากๆๆๆๆๆๆๆ  หลังจากนั้นก็วางแผน พร้อมลงมือปฏิบัติอย่างค่อยเป็นค่อยไป  สังเกตุ จดจำ ดูความเปลี่ยนแปลง ของผลที่เกิดขึ้น เพื่อหาสิ่งที่คิดว่าดี หรือแย่น้อยหน่อย  รอให้ผมมีความรู้มากกว่านี้ก่อนนะครับแล้วผมจะมาแลกเปลี่ยน จบ

เดี๋ยวเราจะจัดส่งเอกสารให้คุณได้ลองศึกษาทางอีเมลล์นะคะ ในนั้นมีข้อมูลค่อนข้างสมบูรณ์ ซึ่งถ้าอ่านแล้ว ยังไม่เข้าใจ ก็สามารถตั้งคำถามผ่านอีเมลล์ได้นะคะ จะพยายามส่งไปให้ แต่ไม่แน่ใจว่าจะได้หรือเปล่า ขอทบทวนอีเมลล์ ของคุณอีกครั้งหนึ่งว่าใช่หรือไม่ [email protected] หรือ Thaimai.com

ช่วยยืนยันมาอีกครั้งหนึ่งนะคะ หรือไม่ก็ คุณมีอีเมลล์ที่มีความจุเยอะๆ เช่น gmail.com ก็จะสะดวกมากค่ะ

แจ้งเมล์ใหม่ น่าจะมีความจุเยอะพอ [email protected]   ขอบคุณมาก

น่าสนใจมากๆ เลยครับ

แต่ขอเป็นบทความบน blog นี้ได้มั้ยครับ

คนอื่นๆ จะได้อ่านและทำความเข้าใจร่วมกันนะครับ

ไม่อยากไปนั่งอ่านคนเดียวแล้วไม่ได้คุยกับใคร

ผมคิดว่าคนสนใจคงจะมีเพิ่มมากขึ้นอีกด้วยนะครับ 

แล้วมีสถานที่ที่เราจะไปดูให้เห็นกับตาได้มั้ยครับ

ว่าการปลูกข้าว ต้นเดียว หน้าตาเป็นอย่างไร

ขอบคุณครับ

เอาเป็นว่าถ้าสนใจติดตามอ่านกันต่อไปเรื่อยๆก็ยิ่งดีค่ะ แต่คงไม่ได้เข้ามาบันทึกข้อมูลในทุกวัน เพราะเราก็มีหน้าที่งานในส่วนพื้นที่กันด้วย ซึ่งจะว่าไปแล้ว เรื่องการดำนาต้นเดียว ถ้าสนใจอยากดู ก็มาที่ข้าวขวัญนี่ล่ะค่ะ เพราะเราทำเป็นแปลงข้าวพันธุ์หลัก ทดลองในไร่โดยตรง ไม่ต้องไปไกลที่ไหนหรอก เห็นคุณเข้าไปหลายบทความแล้ว ก็อยากจะเชิญชวนให้มาสักที จะได้มีอะไรแลกเปลี่ยนกันมากกว่านี้ค่ะ

เสียดายจังครับ

ตอนแรกผมคิดว่าจะเป็น web ที่สามารถหาข้อมูลได้เรื่อยๆ

เพราะถ้ากลับเมืองไทยคงได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมที่มูลนิธิอยู่ครับ

แต่นานๆจะได้กลับเสียที  ชอบหัวข้อที่ว่า เดินทางไกล มากครับ

เพราะถ้าคนเมืองหลวงอย่างผม จะหันไปทำนา ทั้งๆที่ไม่เคย

ทำเลยนั้น มันคงเป็นการเดินทางที่ไกลเอามากๆ ความรู้เรื่อง

นี้ก็ไม่มีเอาเสียเลย ตอนนี้กำลังจะหาซื้อที่สัก 10-20 ไร่อยู่ครับ

เพื่อนฝูงที่รู้ข่าวว่าจะมาทำนาก็เริ่มยิ้มน้อยยิ้มใหญ่กันแล้ว

แค่เริ่มต้นก็มีเพื่อนแล้วนะครับ  เพื่อนพวกนี้

ดูน่ากลัวยังไงๆไม่รู้

ถ้ามีโอกาสก็ฝากให้มูลนิธข้าวขวัญด้วยนะครับ ว่าสิ่งที่

คุณทำกันนั้น ไม่ได้มีประโยชน์เพียงนิดเดียวแน่ๆครับ

ประโยชน์มันมากมายมหาศาลจริงๆ นะครับ  ถ้ามีโอกาส

จะเข้าไปหาความรู้ถึงทีเลยครับ ขอบคุณครับ 

 

จริงๆแล้ว การนำเรื่องราวต่างๆที่ทำมาเล่าสู่กันฟัง คือหน้าที่ที่เราจะปฏิเสธไมได้หรอกค่ะ เพราะนี่คือหนึ่งในกระบวนการจัดการความรู้ คือเมื่อรู้แล้ว ต้องเผยแพร่ต่อสู่บุคคลอื่น แต่ด้วยความที่เนื้องานหลักของเราคือ การขับเคลื่อนกิจกรรมการเกษตรกรรมยั่งยืนกับฐานเกษตรกร ซึ่งไม่ใช่แค่ในสุพรรณบุรีเท่านั้น เฉพาะเจ้าหน้าที่ที่ต้องอยู่ใกล้ชิดเกษตรกร เรามีกันแค่ 10 คน ทั้งองค์กร แต่ละคนก็มีบทบาทหน้าที่ตามศักยภาพของตัว แต่ในระยะหลังเนื้องานอื่นๆที่เราต้องรับผิดชอบ คือ การช่วยจัดการฝึกอบรมเรื่องการจัดการความรู้เพื่อไปใช้ในการพัฒนาศักยภาพขององค์กร ให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ดังนั้น คุณจะเห็นว่า ในหลายบทความเราจะไม่ได้มีเพียงเรื่องเล่าที่เกี่ยวกับเทคนิคการทำนาเท่านั้น มันจะมีรวมไปถึงการแบ่งปันเรื่องเล่าระหว่างที่เรามีกิจกรรมการฝึกอบรมอื่นๆด้วยเช่นกัน ข้าวขวัญไม่ได้มีเวปไซด์เฉพาะเป็นของตนเองหรอกค่ะ เพราะองค์กรเราก็ยังไม่ได้มีบุคลากรที่ทำหน้าที่ทางด้านงานสื่อ ข้อมูล หรือเผยแพร่โดยตรง แต่ด้วยความที่เราได้มีโอกาสทำงานร่วมกับสถาบันการจัดการความรู้เพื่อสังคม และได้รับโอกาสในการแบ่งปันเนื้อที่บนเวปบล๊อคบอกเล่าถึงเรื่องราวที่ทำ ซึ่งแน่นอนว่ามันไม่ละเอียดเหมือนเนื้องานที่เราทำจริงหรอกค่ะ ถ้าคุณไม่ได้มาสัมผัสมันด้วยตัวเอง แต่อย่างไรก็ตาม ขอขอบคุณมาก ที่ผืนแผ่นดินไทย จะมีคนแบบคุณมาช่วยสานต่อในความศรัทธาเส้นสายเดียวกัน ถึงจะเป็นการเดินทางไกล แต่ให้คุณมั่นใจได้เลยค่ะว่า คุณมีเพื่อนร่วมเดิน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท