การพัฒนาทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์


การพัฒนาทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์

ส่วนกรมวิชาการ , 2541. กล่าวว่าทักษะการคิดระดับสูง ประกอบด้วย 4 ประการ ต่อไปนี้ คือ
         
1.      การคิดวิจารณญาณ
         2.  การคิดสร้างสรรค์
         3.      การคิดตัดสินใจ
         4.      การคิดแก้ปัญหา

         พบว่า โดยแนวทางของนักการศึกษา  การคิดระดับสูง  อยู่ในทิศทางใกล้เคียงกัน 

จึงเลือกแนวทางของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการโดยอิงทฤษฎี  หลักการและแนวคิดต่อไปนี้

จึงเลือกแนวทางของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการโดยอิงทฤษฎี  หลักการและแนวคิดต่อไปนี้

         อัลบาโน (Albano. 1987)  ได้ทำการทดลองด้านความคิดสร้างสรรค์ภายในสมมุติฐานว่าความคิดนี้ประกอบด้วยทักษะทางสมอง 4 ประการ คือ

-          ทักษะด้านจินตนาการ (imagery)

-          ทักษะด้านอุปมา (analogy)

-          ทักษะด้านโยงความสัมพันธ์ (association)

-          ทักษะด้านการเปลี่ยนแปลงรูป (transformation)

การคิดวิจารณญาณ องค์ประกอบคือ

-          การระบุประเด็นปัญหา

-          การรวบรวม และเลือกข้อมูลเพื่อการแก้ปัญหา

-          การวิเคราะห์ข้อมูล

-          การสรุปข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ

-          การตัดสินใจ

         จากการศึกษาพบว่า การคิดวิจารณญาณเป็นกระบวนการคิดที่สืบทอด  และนำไปสู่การคิดแก้ปัญหา  และการคิดตัดสินใจ

การคิดตัดสินใจ จากแนวของ ลุมบ้า (Loomba)  http://www.nrru.ac.th/   กล่าวว่า

กระบวนการคิดตัดสินใจประกอบด้วย

1.      กระบวนการเปรียบเทียบผลตอบแทนหรือผลประโยชน์ หรือทางเลือกที่ได้รับ

2.     การตัดสินใจด้วยเหตุผลที่จำเป็นใดๆ

3.      การตัดสินใจอันเนื่องจากความขัดแย้ง

4.      กระบวนการตัดสินใจอันประกอบด้วย

4.1   การกำหนดเป้าหมาย

4.2   กลยุทธที่ดีที่สุดตามสถานการณ์

5.      การตัดสินใจขึ้นอยู่กับรูปแบบและองค์ประกอบของปัญหาการคิดแก้ปัญหา   แอนเดอร์สัน(Anderson) และแวน  ดิก และคินท์ (Van Dijk and kintoch)  อ้างอิงจากทิศนา  แขมมณี ,2544. กล่าวว่าขั้นตอนในการคิดแก้ปัญหานั้นนำการคิดจากพื้นฐานการคิดในระดับประถมศึกษามารวมกัน คือ

1.      การคิดคล่อง คือกล้าคิด และมีความคิดที่หลั่งไหลออกมาอย่างรวดเร็ว

2.      การคิดหลากหลาย คือคิดให้ได้หลายๆ ลักษณะ / ประเภท /ชนิด / รูปแบบ

3.      การคิดละเอียดลออ เพื่อให้ได้ข้อมูลอันจะส่งผลให้ความคิดมีความรอบคอบขึ้น

4.      การคิดให้ชัดเจน คือมีความเข้าใจในสิ่งที่คิดสามารถอธิบายขยายความด้วยคำพูดของตนเอง

จากทฤษฎี หลักการและแนวคิดที่กล่าวโดยรวมแล้วนี้เป็นแนวทางจัดทำ จัดสร้างแบบฝึกทักษะ  กระบวนการคิด ซึ่งมีจุดมุ่งหมายให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น   2  ประการ คือ

          1.  เกิดกระบวนการคิดที่ถึงคำว่า คิดคล่อง  คิดหลากหลาย  คิดถูกทาง  คิดกว้างไกล คิดลึกซึ้ง  และมีเหตุผล  ในเวลาที่ต้องการนำไปใช้

          2.   เกิดทักษะ  คือความคล่องในการนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ 

          ผู้จัดทำต้องการให้เกิดทักษะ  คือความชำนาญด้วยการฝึก  และสามารถนำไปใช้อย่างยั่งยืนและคงทนตลอดไป       จึงกำหนดให้ใช้แบบฝึกทักษะกระบวนการคิดจำนวน   8   ชุดใช้เวลานานถึงหนึ่งปีการศึกษา   ตามที่หลักสูตรกำหนดระยะเวลาการวัด    และประเมินผลการเรียนรู้ในรายวิชา ท33101  ภาษาไทยพื้นฐาน  ของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

หมายเลขบันทึก: 199551เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2008 14:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ทฤษฎีและเอกสาร

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าทฤษฎี แนวคิดจากเอกสาร และอ่านงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบเป็นกระบวนการคิด ที่นำสู่กระบวนการคิดระดับสูงของกรมวิชาการ (2541 : อัดสำเนา ) มี 4 ชนิด คือ

1. การคิดวิจารณญาณ

2. การคิดสร้างสรรค์

3. การคิดตัดสินใจ

4. การคิดแก้ปัญหา

ซึ่งจะนำเสนอตามลำดับดังนี้

ตอนที่ 1 กรอบแนวคิดทฤษฎี การพัฒนาการคิด

ตอนที่ 2 ทฤษฎี และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการคิดระดับสูง

2.1 - ความหมายทฤษฎีและแนวคิดการคิดวิจารณญาณ

- การวัดความสามารถในการคิดวิจารณญาณ

2.2 - ความหมายทฤษฎีและแนวคิดการคิดสร้างสรรค์

- การวัดความสามารถในการคิดสร้างสรรค์

2.4 - ความหมายทฤษฎีและแนวคิดการคิดตัดสินใจ

- การวัดความสามารถในการคิดตัดสินใจ

2.3 - ความหมายทฤษฎีและแนวคิดการคิดแก้ปัญหา

- การวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา

ตอนที่ 3 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแบบฝึก

ตอนที่ 1 กรอบแนวคิด ทฤษฎีการพัฒนาการคิด

1. กรอบนำด้านการคิดของสมอง

ความคิดเป็นกระบวนการทางสมองที่มนุษย์ใช้จัดการกับข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ ด้วยการจำแนกองค์ประกอบ, ความเหมือน-ความแตกต่าง, การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ รวมไปถึงการสรุปอ้างอิงอย่างใช้เหตุผล เป็นกระบวนการภายในสมองที่ไม่สามารถมองเห็นได้ แต่อาจแสดงความคิดเห็นเหล่านั้นออกมาด้วยการกระทำที่แสดง เช่น การพูด การเขียน เป็นต้น

สมองเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายที่มีความซับซ้อนมาก และมีการพัฒนาการมาตั้งแต่ประมาณ 5 สัปดาห์แรก โดยแบ่งเป็นสองซีก คือซ้ายขวาควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อซีกตรงข้ามของร่างกาย นอกจากนั้นสมองทั้งสองซีกยังบรรจุข้อมูลที่แตกต่างกัน คือ

ซีกซ้าย ควบคุมการพูด การใช้ภาษา การเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์การรู้คิดการใช้เหตุผลและตรรกศาสตร์ ควบคุมการทำงานซีกขวาของร่างกาย

ซีกขวา เป็นแหล่งควบคุมมิติสัมพันธ์ต่างๆ ความสุนทรีทางอารมณ์ เช่น ดนตรี เพลง งานศิลปะต่างๆ เป็นแหล่งส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ที่มนุษย์สร้างขึ้น ควบคุมการทำงานของร่างกายด้านซ้าย

ทั้งที่บรรจุการควบคุมการทำงานรับรู้ข้อมูลที่แตกต่างกัน แต่จะไม่แยกการทำงานจากกันเด็ดขาด ต้องทำงานไปพร้อมๆ กัน ภายใต้การบริหารงานและเซลล์ประสาทจะเป็นตัวนำเข้า-ออกระหว่างสมองทั้งสองซีกนั้น ซึ่งสมองของมนุษย์มีลักษณะเด่น คือ

- มีน้ำหนัก 2% ของน้ำหนักของร่างกาย ซึ่งโดยปกติจะประมาณ 3 ปอนด์ หรือ 1.36 กิโลกรัม

- ขนาดของสมองจะโตเต็มที่เมื่ออายุประมาณ 18 ปี

- สมองมีส่วนประกอบของน้ำ 75%

- มีเซลล์ประสาทประมาณ 20% ของออกซิเจนที่ไหลเวียนในร่างกาย

- มีเซลล์ประสาทประมาณ 100ล้านเซลล์และแต่ละเซลล์จะเชื่อมต่อกันโดยรวม

ทั้งสมองจะมีเส้นประสาทประมาณสิบร้อยล้านๆ เส้น

- สมองมีลักษณะนุ่มและต้องครอบด้วยกะโหลกแข็งแรงแต่โอกาสการได้รับอันตรายมีง่ายมาก

สมองทำหน้าที่เป็นกลไกที่เกี่ยวข้องกับความประพฤติ ข้อปฏิบัติของมนุษย์ เช่น วิธีคิด การแสดงออกทางอารมณ์ต่างๆ การดำเนินชีวิต และการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัว สมองทำงานถูกต้องจะส่งผลให้เจ้าของมีความประพฤติถูกต้อง ถ้าเมื่อใดสมองทำงานผิดพลาดมนุษย์ก็จะแสดงพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องออกมาด้วยเช่นกันหน้าที่อื่นๆ ของมนุษย์เช่นการควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย ความดันโลหิต การทำงานของหัวใจ และการเคลื่อนไหวของร่างกาย เป็นต้น การจะรับประสบการณ์ และการเรียนรู้ต่างๆ ที่ถ่ายทอดกระบวนการคิดทางสมองของเขาออกมาเป็นระยะๆ ตามวัยจนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่ แม้กล่าวว่าสมองเจริญ เติบโตเต็มที่เมื่ออายุ 18 ปี แต่กระบวนการคิดภายในสมองจะพัฒนาการต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าสมรรถภาพด้านการจัดโปรแกรมต่างๆ เกี่ยวกับการคิดจะสิ้นสุดลง

2. ปัจจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาการคิด ความเจริญทางสมองประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ ดังนี้

2.1 พันธุกรรม ทารกจะรับถ่ายทอดพันธุกรรมมาตั้งแต่ปฏิสนธิ บางคนได้รับลักษณะเด่น บางคนได้รับลักษณะด้อยมาซึ่งพันธุกรรมจะส่งผลโดยตรงเฉพาะการเติบโตของสมอง และการสร้างเซลล์ประสาท

2.2 สิ่งแวดล้อม จะส่งผลด้านการเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับมาก และจัดระบบการจัดการกับข้อมูลต่างๆ ระหว่างเซลล์ประสาท

ปัจจัยที่ส่งผลให้สมองเกิดพัฒนาการด้านการคิด ประกอบด้วย

1. การทำงานของสมอง (brain Functioning) เป็นปัจจัยต้นที่เริ่มทำงานมาตั้งแต่ 5 สัปดาห์แรก และพัฒนาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามวัยของบเด็ก ดังนั้นเด็กจะมีพัฒนาการทางสมองเต็มศักยภาพหรือไม่ขึ้นอยู่กับพันธุกรรมที่แตกต่างกัน หรือการบังเอิญที่เซลล์ประสาทบางส่วนถูกทำลายตั้งแต่ 5 สัปดาห์จนถึงก่อนคลอด หรือหลังคลอดก็ได้

2. พื้นฐานทางครอบครัว (Family background) เป็นปัจจัยภายนอกที่เด็กได้รับจาก

สิ่งแวดล้อมใกล้ตัวได้แก่

2.1 พื้นฐานด้านโภชนาการที่จะช่วยให้เซลล์สมองมีพัฒนาการสมบูรณ์ และส่งผลต่อพัฒนาการการคิดที่ดี ตั้งแต่ปฏิสนธิ

2.2 พื้นฐานด้านอบรมเลี้ยงดู ตั้งแต่ปฏิสนธิเช่นกันตั้งแต่ภาวะที่เกิดกับอารมณ์มารดาจะส่งผลต่อเด็กในครรภ์ บุคคลในครอบครัวที่เด็กเริ่มมีปฏิสัมพันธ์จะเป็นปัจจัยที่ส่งผลพัฒนาการการคิด ช่วยให้เด็กกล้าคิด กล้าทำ กล้าซักถาม กล้าทดลอง ซึ่งเมื่อถูกขัดขวางอาจส่งผลให้การพัฒนา และความสามารถการคิดไม่เต็มศักยภาพ

3. พื้นฐานความรู้ (background of knowlegde) การพัฒนาการคิดมีหลายระดับพื้นฐานความรู้เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อพัฒนาการคิด ผู้มีความรู้สูงมีความรู้ดีย่อมมีข้อมูลข่าวสารประสบการณ์ และพื้นฐานความรู้ที่หลากหลาย พอที่จะเป็นเครื่องนำทางในการคิด

การแก้ไขปัญหา การสร้างองค์ความรู้ และการตัดสินใจพื้นฐานความรู้ของแต่ละคนขึ้นอยู่กับสภาพทางครอบครัว และตนเองจะใฝ่รู้ใฝ่เรียนจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ รอบตัว

4. ประสบการณ์ชีวิต (experience of life) เป็นพื้นฐานความรู้ของบุคคลอีกประเภทที่ได้จากการปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง สถานการณ์ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และประสบการณ์ ทั้งหมดนี้จะเป็นข้อมูลทางสังคม ซึ่งถ้าได้เชิงบวกมาจะช่วยให้เป็นคนใจกว้างเป็นคนมีคุณธรรม ขยัน อดทน และมั่นใจในตนเอง ด้านสติปัญญาจะมีการผสมผสานกระบวนการคิดทุกชนิดอย่างมีทิศทางด้านมนุษย์สัมพันธ์ จะทำเพื่อผู้อื่นมีความสุข

5. สภาพแวดล้อม (environment) เป็นแรงกระตุ้นแรงเสริม แรงกดดันให้เกิดพัฒนาการคิด เพราะสภาพแวดล้อมบางชนิดก่อให้เกิดจินตนาการ ซึ่งทั้งหมดนี้คือการเรียนรู้ที่จะคิดอย่างมีเหตุผล และตัดสินใจที่เหมาะสมในที่สุดได้

6. ศักยภาพการรับรู้และเรียนรู้ (perception and learning poteltial) เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาการคิด การที่เด็กรับรู้ และเรียนรู้เร็ว จะช่วยให้เกิดพัฒนาการคิดเชิงรุกซึ่งทันสถานการณ์และจะสามารถปรับตัวได้ทันต่อเหตุการณ์ได้เป็นอย่างดี

สิ่งที่เป็นอุปสรรค์และส่งเสริมการคิด

อุปสรรค

พฤติกรรมส่งเสริม

1.การที่สมองถูกกระทบกระเทือน

2.ดารรับมลภาวะแวดล้อมที่ทำให้ร่างกาย

อ่อนแอเช่นการรับสารเป็นโทษจากอาหาร

การออกกำลังกาย , พักผ่อนไม่เพียงพอ

3.การคิดสิ่งร้าย

4.การเครียดขาดสมาธิและไม่กล้าเผชิญปัญหา

มีสิ่งเร้ามากระตุ้น

1.ให้คิดแก้ปัญหา , เอาชนะ

2.ค้นหาคำตอบที่สงสัย

3.เพื่อสนองความต้องการทางอารมณ์ สังคมของบุคคล

การพัฒนาความคิดของมนุษย์ อาจขึ้นอยู่กับวัย เพศ พันธุกรรม วุฒิภาวะ ระดับการศึกษา และสิ่งแวดล้อมนอกจากนี้ยังมีพฤติกรรมที่ส่งเสริมการคิด ดังนี้

- มีการใฝ่รู้ และจินตนาการ

- กล้าเผชิญกับความคิดที่ซับซ้อน

- สนุกต่อการตัดสินใจ

- วางแผนให้ประสบความสำเร็จ

- สามารถมองเห็นโอกาสและทางเลือกได้มากขึ้น

- สร้างสรรค์ความคิดได้ง่าย , คิดกว้างขวาง และลดความกังวล

- มีความรวดเร็วต่อการปรับตัวกับสถานการณ์แวดล้อม

- มีความฉับไวในการรวบรวมข้อมูลและสร้างวิธีปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ได้มาก

ตอนที่ 2 ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการคิด

มนุษย์เป็นสัตว์สังคมต้องอยู่ร่วมกันเป็นสังคมหลายระดับ จึงมักประสบปัญหาและเหตุการณ์ต่างๆ มากมาย การคิดจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตโดยเฉพาะในยุคการแข่งขัน การต่อสู้ในทุกๆ ด้าน เช่นทุกวันนี้เพื่อรู้จักคิดป้องกันก่อนเกิดเหตุ แก้ปัญหาหรือตัดสินใจได้เมื่อเหตุเกิดขึ้นแล้ว ยังต้องมีการปรับปรุง , พัฒนาและทำลายหลายสิ่งรอบตัวเพื่อเหตุผลใดก็ตาม ดังนั้นการจะดำเนินสังคมให้ปกติสุขต้องประกอบด้วยการรู้คิดเป็นระบบของมนุษย์ เริ่มต้นที่เด็ก ซึ่งครูคือผู้มีหน้าที่ช่วยพัฒนาให้เด็กเหล่านั้นมีความสามารถในการคิดเป็นใช้ความคิดในทางที่ถูกต้องเหมาะสมเขาจึงจะดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างราบรื่น ซึ่งทิศนา แขมมณี และคณะ (2549:91) อ้างอิงจากโกวิท วรพิพัฒน์ ว่าการคิดเพื่อการ “คิดเป็น” เป็นการคิดเพื่อแก้ปัญหา เนื่องจากการคิดมีจุดเริ่มต้นที่ตัวปัญหา แล้วพิจารณาย้อนไตร่ตรองถึงข้อมูล 3 ประเภท คือ ข้อมูลด้านตนเอง ชุมชน สังคมสิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางวิชาการ ต่อจากนั้นจึงลงมือกระทำการ หากการกระทำสามารถทำให้ปัญหา และความไม่พอใจของบุคคลหายไป กระบวนการคิดจะยุติลง แต่ถ้าหากบุคคลยังรู้สึกไม่พอใจ ปัญหายังคงอยู่บุคคลก็จะเริ่มกระบวนการใหม่อีกครั้ง http://advisor.anamai.moph.go.th/ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2545) ให้ความหมายว่า การคิด (Thinking) คือการที่คนๆ หนึ่งพยายามใช้พลังทางสมองของตนในการนำเอาข้อมูล ความรู้ประสบการณ์ต่างๆ ที่มีอยู่มาจัดวางอย่างเหมาะสม เพื่อให้ได้มาเพื่อผลลัพธ์ เช่นการตัดสินใจเลือกในสิ่งที่ดีที่สุด เป็นต้น ดร.ชาติ แจ่มนุช (2545 : 20-21 ) กล่าวว่า การคิด คือ

1. เป็นกระบวนการทำงานของสมองโดยใช้ประสบการณ์มาสัมผัสกับสิ่งเร้าและข้อมูลหรือสิ่งแวดล้อมเพื่อแก้ปัญหาแสวงหาคำตอบ ตัดสินใจหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่

2. เป็นพฤติกรรมที่เกิดในสมองเป็นนามธรรมไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า การที่จะรู้ว่ามนุษย์คิดอะไร คิดอย่างไร จึงต้องสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกมา หรือคำพูดที่พูดออกมา

กรอบแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการคิด

ในการคิดวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้คำว่า “กระบวนการคิด” เป็นการวางขอบเขตการคิดอย่างกว้าง ด้วยเหตุที่ผู้เรียนที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลอยู่ในพื้นฐานครอบครัวปานกลางถึงต่ำ และเป็นชุมชนชานเมืองซึ่งทำให้การคิดนอกกรอบของตนมีน้อยมาก ผู้วิจัยมุ่งหวังการสร้างกระบวนการคิดให้ยั่งยืนติดตัวผู้เรียนเมื่อจบการศึกษาออกไปจึงวางกรอบแนวคิดตามที่นักการศึกษาให้แนวคิดไว้ดังนี้

เพียเจท์ (1977) นักจิตวิทยาชาวสวิสเซอร์แลนด์ ผู้นำเสนอทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กว่า การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม กระบวนการตามแนวคิดนี้เชื่อว่าโครงสร้าง (Assimilation) และการปรับโครงสร้าง (Accommodation) มนุษย์จะใช้กระบวนการทั้งสองนี้สร้างระบบการคิดพัฒนาความสามารถการคิดอย่างรอบคอบ มีเหตุผล ทำให้เกิดการพัฒนาทางสมองอย่างต่อเนื่อง เรียกว่าขั้นพัฒนาการ (Stage of Development) เริ่มตั่งแต่อายุ 16 ปี และจะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพียเจท์ยังเชื่อว่ามนุษย์มีแนวโน้มพื้นฐานที่ติดตัวมา 2 ชนิด คือ การจัดและรวบรวม (Organization) เป็นกระบวนการภายในที่ทำงานอย่างมีระบบต่อเนื่องตราบที่ยังมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์ อธิบายว่าลักษณะพัฒนาการทางสติปัญญาของคนที่มีลักษณะเดียวกัน ในช่วงอายุเท่ากัน และแตกต่างในช่วงอายุต่างกัน พัฒนาการนี้เกิดจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม โดยบุคคลจะพยายามปรับตัวให้สมดุลด้วยการใช้กระบวนการดูดซึม และ

ปรับให้เหมาะจนทำให้เกิดการเรียนรู้โดยเริ่มจากสัมผัส ต่อมาจึงเกิดความคิดทางรูปธรรม และนามธรรมและพัฒนาไปเรื่อยๆ จนเกิดความคิดที่เป็นนามธรรม ซึ่งเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามลำดับขั้น โดยเพียเจท์จัดกระบวนการทางสติปัญญา (Cognitive process) ออกเป็น 4 ขั้น ในขั้นที่ 4 คือการพัฒนาการคิดอย่างเป็นนามธรรม (Formal-Operational Stage) จะเป็นการพัฒนาการช่วงสุดท้ายของเด็กที่มีอายุในช่วง 11-15 ปีเขาจะสามารถคิดอย่างมีเหตุผล และคิดในสิ่งซับซ้อนอย่างเป็นนามธรรมได้มากขึ้น เมื่อเด็กพัฒนาได้อย่างเต็มที่แล้ว จะสามารถคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล และแก้ปัญหาได้ดีจนพร้อมที่จะเป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะได้ ซึ่งการพัฒนาแต่ละระยะจะเกิดอย่างต่อเนื่องโดยธรรมชาติเพียงแต่สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและประเพณีต่างๆ รวมทั้งการดำรงชีวิตอาจมีส่วนช่วยให้เด็กพัฒนาแตกต่างกัน และยังให้แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้แบบ Construct civism หรือทฤษฎีการเรียนรู้แบบใหม่ คือ การสอนให้เด็กเรียนรู้เอง คิดเองโดยเด็ก และการจะเกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กันทั้ง 2 ฝ่าย และเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งจะทำให้มีความสัมพันธ์กับผู้สอนดีกว่าแบบเดิม คือ

O คือ Organism ผู้ถูกกระตุ้นหรือผู้เรียน

S คือ Stimulant เป็นแรงกระตุ้น อาจเป็นครูหรือสิ่งแวดล้อม

จากสมการใช้ลูกศรสองทาง กล่าวคือ การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อมีกิจกรรมจากทั้งสองฝ่าย นั้นคือการมีปฏิสัมพันธ์กันเพื่อเกิดการเรียนรู้

สเตอร์นเบอร์ก (1985 : 320) เสนอแนวคิดเกี่ยวกับเชาวน์ปัญญาด้วยทฤษฎีสามมิติ (Triarchie Theory) ประกอบด้วย

1. ทฤษฎีย่อยด้านบริบทสังคม (contextual Sub theory) เชื่อว่าการพัฒนาการคิดต้องมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมของบุคคลที่เขาเคยชิน ให้สิ่งเหล่านี้ค่อยๆ ปรับตัวด้วยกระบวนการ (Adaptation) หรือเลือกสิ่งแวดล้อมเข้ามาช่วย (Selection) ปรับแต่งสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับเขา

2. ทฤษฎีย่อยด้านประสบการณ์ (Experience Sub theory) เป็นการพิจารณาผลของความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เมื่อเผชิญงานหรือบุคคล หรือสถานการณ์ต่างๆ ด้วยการทำความเข้าใจปัญหา (Comprehensive of the task) และดำเนินการแก้ไขตามที่ตนเข้าใจ ( action upon one’ Comprehensive of the task) สิ่งเหล่านั้นเป็นความสามารถคล่องในการคิด

ประมวลผลข้อมูลที่เหมือนเป็นไปโดยอัตโนมัติด้วยกระบวนการ (Ability to automatize processing) ซึ่งจะเกิดได้เมื่อต้องเผชิญเหตุการณ์ย่อยๆ จนเป็นความชำนาญ

3. ทฤษฎีย่อยด้านกระบวนการคิด (Componential Sub theory) เป็นความสามารถเบื้องต้นที่ใช้ระบบการคิดจัดการต่อโครงสร้างสิ่งของ , บุคคล หรือสัญลักษณ์ต่างๆ ที่พบเพื่อปรับเปลี่ยนแนวคิดหนึ่งเป็นอีกแนวคิดหนึ่ง กระบวนการคิดมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ

3.1 องค์ประกอบด้านการคิดขั้นสูง (Metacom Ponents) เป็นกระบวนการคิดที่ประกอบด้วยขั้นตอนย่อยดังนี้

- การระบุปัญหา (Problem identification)

- การจำกัดความปัญหา (Definition of problem)

- การสร้างกลวิธีในการแก้ปัญหา (Constructing a strategy for problem solving)

- การจัดระบบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหา (Organizing information about a problem)

- การจัดสรรทรัพยากร (Allocation of resource)

- การตรวจสอบ การแก้ปัญหา (Monitoring problem solving)

- การประเมินผลการแก้ปัญหา (Evaluation problem solving)

3.2 องค์ประกอบด้านการปฏิบัติ (Performance Component) คือเมื่อผ่านกระบวนการคิดแล้วลงมือปฏิบัติ และอาจเกิดการแก้ปัญหาตามมา

3.3 องค์ประกอบด้านการแสวงหาความรู้ (Knowledge acquisition components) เป็นกระ-บวนการหาความรู้ของข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้วยวิธีการต่างๆเข้ามาเปรียบเทียบกับข้อมูลเดิมเพื่อให้ได้ความรู้ใหม่สะสมไว้ในระบบความจำ

ทิศนา แขมมณี และคณะ (2544 : 15-16) อ้างอิงจาก บรูเนอร์ (Bourne : 1973) นักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกันให้แนวคิดว่าเด็กทุกระดับสามารถพัฒนาความสามารถการเรียนรู้ได้ถ้าจัดการสอนให้เหมาะสมกับความสามารถของเด็ก การเรียนรู้ตามแนวแบ่งเป็น 3 ขั้น คือ

1. เรียนรู้จากการกระทำ (Snactive Representation) จะเกิดขึ้นตั้งแต่ 2 ขวบ ซึ่งตรงกับ

ขั้นที่ 1 (Sensory-motor Stage) ของเพียเจท์

2. เรียนรู้จากจินตนาการ (Iconic Representation) ของเพียเจท์วัยนี้ตรงกับวัย Concrete Representation เป็นวัยที่เริ่มเกิดภาพขึ้นในใจ

3. ตรงกับขั้นที่ 4 เป็นขั้นที่เด็กเข้าใจเรียนรู้สิ่งที่เป็นนามธรรม ถือเป็นขั้นสูงสุดของพัฒนาการทางด้านความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถในการคิดเหตุผล ขั้นนี้ตรงกับ (Formal-operational stage) คือ ช่วงอายุ 15 ปี ของเพียเจท์ คือเด็กสามารถคิดหาเหตุผล และเข้าใจนามธรรมในที่สุด ซึ่งบรูเนอร์ให้แนวคิดการเรียนรู้ว่าเกิดจากการเรียนรู้จากสัญลักษณ์ (Symbolic Representation)

1. แรงจูงใจภายใน (self-motivation) เป็นแรงจูงใจที่สำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้เขาได้ค้นพบ สิ่งต่างๆ

2. โครงสร้างของบทเรียน (Struction) ต้องจัดให้เหมาะสมกับผู้เรียน

3. การจัดลำดับความยากง่าย (sequence) โดยคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน

4. การเสริมด้วยตนเอง (self- reinforcement) เป็นการให้ผลย้อนกลับให้ผู้เรียนรู้ว่าตนเองทำผิดหรือถูกอย่างไร เป็นแรงเสริม

กานิเย (Gagne, 1965) http://www.onec.go.th/ อธิบายว่าผลการเรียนรู้ของมนุษย์มี 5 ประเภท คือ

- ทักษะทางปัญญา (Intellectual skill) ประกอบด้วยทักษะย่อย 4ระดับ คือ การจำแนกแยกแยะ การสร้างความคิดรวบยอด การสร้างกระบวนการ หรือกฎขั้นสูง

- กลวิธีในการเรียนรู้ (Cognitive Strategies) ซึ่งประกอบด้วยกลวิธีใส่ใจ การรับและทำความเข้าใจข้อมูล การดึงความรู้จากความทรงจำ การแก้ปัญหา และกลวิธีการคิด

- ภาษา (Verbal Information)

- ทักษะการเคลื่อนไหว (Motors Skill)

- เจตคติ (Attitudes)

Bloom (http://th.wikipedia.org/wiki/) แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ คือ ความรู้ที่เกิดจากการจำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด ความเข้าใจ (Comprehend) การประยุกต์ (Application) การวิเคราะห์ (Analysis) สามารถแก้ปัญหาและตรวจสอบได้ การสังเคราะห์

(Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม โดยเน้นโครงสร้างใหม่ และการประเมินค่า(Evaluation) สามารถวัดและตัดสินได้ว่าอะไรถูกอะไรผิด ประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่นอนให้แนวคิดเรื่องการกำหนดจุดมุ่งหมายทางการศึกษาเป็น 3 ด้าน คือด้านความรู้ (cognitive domain) ด้านความรู้สึกและเจตคติ (Affective domain) และด้านทักษะ (Psycho-motor domain) โดยในแต่ละด้านจะมีการเรียนรู้ย่อยๆ มากมายที่แสดงแนวคิดด้านการคิดชัดเจนว่า บุคคลเรียนรู้ทางด้านสติปัญญา หรือการคิด ด้านจิตใจและด้านการกระทำในเรื่องเกี่ยวกับการคิด บลูมให้ข้อคิดเห็นว่า “การคิดของบุคคลเป็นขั้นตอนโดยเริ่มจากการเรียนรู้การจำการเข้าใจและพัฒนาต่อไปถึงขั้นวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมิน” ซึ่งนับว่าบลูมเป็นผู้ก้าวเข้าสู่กระบวนการทางสมองชัดเจน

จากแนวคิดของนักการศึกษา นักจิตวิทยาการศึกษาที่กล่าวมานี้เป็นแนวคิดด้านพัฒนาการทางการคิดของเด็กโดยเฉพาะในช่วงอายุ 11-15 ปี เมื่อพบสิ่งแวดล้อม ปัญหา สถานการณ์และสิ่งเร้าต่างๆ ที่มีส่วนกระตุ้นการคิดเด็กจะรับข้อมูลเหล่านั้นเข้าสู่กระบวนการทางสมองแล้วตอบสนองต่อสิ่งเร้า ด้วยการคิดเป็นกระบวนการในที่สุดเด็กจะได้คำตอบว่าควรตอบโต้หรือเลือกอะไร เพราะอะไรที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น ซึ่งเกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2549 : 69) ให้แนวคิดว่า “สิ่งที่เราคิดมีความสำคัญมาก เพราะสะท้อนสาระแห่งความเป็นคนภายในตัวตนของเราออกมา เราคิดเช่นไรสิ่งที่เราแสดงออกมาย่อมเป็นเช่นนั้น ความคิด ณ จุดเริ่มต้นของเราเป็นตัวกำหนดความสำเร็จ หรือล้มเหลวในการแสดงออกของเราได้” ซึ่ง http://www.onec.qo.th/.กล่าวว่าในปีค.ศ.1984 มีการประชุมของนักการศึกษาของต่างประเทศ ที่ The Wingspread Conference Center in Racing, Wisconsin State. เพื่อหาแนวทางร่วมพัฒนาทักษะการคิดของเด็กพบว่าแนวทางที่นักการศึกษาใช้ในการดำเนินการวิจัยและทดลองเพื่อพัฒนาการคิดนั้น สามารถสรุปได้ 3 แนว คือ http://www.onec.go.th/ อ้างอิงจาก (เชิดศักดิ์ โฆวาสินธ์ , 2530)

1. การสอนเพื่อให้คิด (Teaching for thinking) เป็นการสอนเนื้อหาวิชาการ โดยมีการปรับเปลี่ยนเพื่อเพิ่มความสามารถในด้านการคิดของเด็ก

2. การสอนการคิด (Teaching of thinking) เป็นการสอนเน้นกระบวนการทางสมองที่จะนำมาสู่การคิด เป็นการปลูกฝังทักษะการคิดโดยตรงไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในหลักสูตร แต่เป็นตามแนวทางทฤษฎีและความเชื่อพื้นฐานของแต่ละคนที่ทำเป็นโปรแกรมการสอน

3. การสอนเกี่ยวกับการคิด (Teaching about thinking) เป็นเนื้อหาเน้นการใช้ทักษะโดยช่วยให้ผู้เรียนรู้เข้าใจกระบวนการคิดของตน เพื่อให้เกิดทักษะการคิดที่เรียกว่า

metcognition คือ ให้รู้ว่าตนรู้อะไร ต้องการอะไร ควบคุม ตรวจสอบและประเมินการคิดของตนได้

จากแนวคิดที่กล่าวมาเป็นแนวคิดหลักที่ผู้วิจัยใช้คำว่า “กระบวนการคิด” เนื่องจากวัยอายุ 11-15 ปี ของเด็กมีพัฒนาการและความสามารถเพียงพอตามกรอบความคิด ซึ่งให้คำ อธิบายว่ากระบวนการคิด คือการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงให้เกิดขึ้นโดยอาศัยทักษะการคิดพื้นฐานและขั้นกลางเป็นแนวทางเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขาดตอนการคิดพื้นฐาน และขั้นกลาง ก่อนการพัฒนาการคิดขั้นสูงให้แก่เด็กด้วยแบบฝึกทักษะกระบวนการคิด ดังที่ http://www. onec.go.th/ กล่าวอ้างถึงนโยบายปฏิรูปการศึกษาว่า มุ่งเน้นการปฏิรูปการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพกระบวนการคิด ดังนั้นผู้วิจัยจึงจัดการสอนการคิดเป็นกระบวนการด้วยแนวคิดจากนิคม ปิยมโนชา (เอกสารอัดสำเนา) อ้างอิงจากทิศนา แขมมณี และคณะ (2540) ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิดแบ่งการคิดเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

กลุ่มที่ 1 ทักษะการคิดหรือทักษะการคิดพื้นฐานที่มีการคิดไม่ซับซ้อน เป็นทักษะของการคิดขั้นสูงหรือระดับสูงที่มีขั้นตอนซับซ้อน ให้แสดงออกถึงการกระทำหรือพฤติกรรมที่ต้องใช้ความคิดแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ทักษะการคิดพื้นฐาน และทักษะการคิดขั้นสูงดังนี้

1. ทักษะการคิดพื้นฐาน ประกอบด้วย

1.1 ทักษะการสื่อความหมาย หมายถึงทักษะการรับสารที่แสดงถึงความคิดของผู้อื่นเข้ามาเพื่อรับรู้ ตีความและจดจำและเมื่อต้องการที่จะระลึกเพื่อนำมาเรียบเรียง และถ่ายทอดความคิดของตนให้แก่ผู้อื่นโดยแปลความคิดในรูปของภาษาต่างๆ ทั้งที่เป็นข้อความ คำพูด ศิลปะ ดนตรี คณิตศาสตร์ฯลฯ เช่นทักษะการฟัง ทักษะการพูด ทักษะการอภิปราย ทักษะการทำให้กระจ่างเป็นต้น

1.2 ทักษะการคิดที่เป็นแกนหรือทักษะการคิดทั่วไป หมายถึงทักษะการคิดที่จำเป็นต้องใช้อยู่เสมอในการดำรงชีวิตประจำวันเช่นทักษะการสังเกต ทักษะการสำรวจ ทักษะการตั้งคำถาม ทักษะการเก็บรวบรวมข้อมูล ทักษะการระบุ ทักษะการจำแนก ทักษะการเปรียบเทียบเป็นต้น

2. ทักษะการคิดขั้นสูง หรือทักษะการคิดที่ซับซ้อน หมายถึงทักษะการคิดที่มีขั้นตอนหลายขั้นและต้องอาศัยทักษะการสื่อความหมาย และทักษะการคิดที่เป็นแกนหลายๆ ทักษะในแต่ละขั้น เช่นทักษะการสรุปความ ทักษะการให้คำจำกัดความ ทักษะการวิเคราะห์ ทักษะการผสมผสานข้อมูล ทักษะการจัดระบบความคิด ทักษะการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ทักษะการตั้งสมมุติฐานเป็นต้น

กลุ่มที่ 2 ลักษณะการคิดหรือการคิดระดับกลาง มีขั้นตอนในการคิดซับซ้อนมากกว่าการคิดในกลุ่มที่ 1 การคิดในกลุ่มนี้เป็นพื้นฐานของการคิดระดับสูง ซึ่งลักษณะการคิดแต่ละลักษณะต้องอาศัยทักษะความคิดพื้นฐานมากบ้างน้อยบ้าง ในการคิดแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ

1. ลักษณะการคิดทั่วไปที่จำเป็นได้แก่การคิดคล่อง การคิดละเอียด การคิดหลากหลาย การคิดชัดเจน

2. ลักษณะการคิดที่เป็นแกนสำคัญได้แก่การคิดถูกทาง การคิดไกล การคิดกว้าง การคิดอย่างมีเหตุผล การคิดลึกซึ้ง

กลุ่มที่ 3 กระบวนการคิดหรือการคิดระดับสูง มีขั้นตอนการคิดซับซ้อนและต้องอาศัยทักษะการคิด และลักษณะการคิดเป็นพื้นฐานในการคิดกระบวนการคิดมีหลายกระบวนการเช่น กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กระบวนการคิดสร้างสรรค์ กระบวนการคิดตัดสินใจและกระบวนการคิดแก้ปัญหา เป็นต้น

ดร.ชาติ แจ่มนุช (2545 : 20-21) กล่าวว่าการคิด

1. เป็นกระบวนการทำงานของสมองโดยใช้ประสบการณ์มาสัมผัสกับสิ่งเร้าและข้อมูลหรือสิ่งแวดล้อมเพื่อแก้ปัญหา แสวงหาคำตอบ ตัดสินใจหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่

2. พฤติกรรมที่เกิดในสมองเป็นนามธรรมไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า การที่จะรู้ว่ามนุษย์คิดอย่างไร คิดอะไร จึงต้องสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกหรือคำพูดที่พูดออกมา

ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (2545) http://advisor.anamal.moph.go.th/ ให้ความหมายว่าการที่คนพยายามใช้พลังทางสมองของตนในการนำเอาข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ต่างๆ ที่มีอยู่มาจัดวางอย่างเหมาะสมเพื่อให้ได้ความซึ่งผลลัพธ์ เช่นการตัดสินใจเลือกในสิ่งที่ดีที่สุดเป็นต้น

ดร.สุวิทย์ มูลคำ (2547 : 13) อ้างอิงสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติให้แนวการคิดว่าเป็นกลไกของสมองที่เกิดขึ้นตลอดเวลาซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติของมนุษย์ที่ใช้ในการสร้างแนวความคิดรวบยอดด้วยการจำแนกความแตกต่าง การจัดกลุ่มและการกำหนดชื่อเรื่องเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ได้รับ กระบวนการที่ได้รับในการแปลความหมายของข้อมูล รวมทั้งการสรุปอ้างอิงด้วยการจำแนกรายละเอียด การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ได้รับ ซึ่งข้อมูลที่นำมาใช้อาจเป็นความจริงที่สัมผัสได้หรือเป็นเพียงจินตนาการที่ไม่อาจสัมผัสได้ตลอดจนเป็นกระบวนการที่นำกฎเกณฑ์ต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีเหตุผลและเหมาะสม การคิดเป็นผลที่เกิดขึ้นจาการที่สมองถูกรบกวนจากสิ่งแวดล้อม สังคมรอบตัวและประสบการณ์ดั้งเดิมของมนุษย์

โดยที่ http://school.obae.go.th/ กล่าวถึงทักษะการคิดว่าทำให้บุคคลมองการณ์ไกล สามารถควบคุมการกระทำของตนเองให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ การคิดอย่างมีเหตุผล และมีวิจารณญาณ มีผลต่อการเรียนรู้การตัดสินใจและการแสดงออกของพฤติกรรมต่างๆ ส่วนความคิดระดับสูง (higher-order thinking) เป็นความคิดที่เกิดขึ้นด้วยกระบวนการที่ซับซ้อน และมีขั้นตอนการคิดหลายขั้น การฝึกคิดระดับสูงนี้จะเกิดขึ้นต่อเนื่องมาจากการฝึกทักษะและความคิดระดับต้นที่เน้นความรู้ความจำ ซึ่งประกอบด้วยการจัดจำแนก การสร้างมโนมิติ การกำหนดหลักการ การลงข้อสรุป และการสรุปอ้างอิงที่หลากหลาย ความคิดระดับสูงจำแนกการคิดได้ดังนี้

1. การคิดสร้างสรรค์ (creative thinking) เป็นการคิดแปลกใหม่ที่มีหลายแนวทางในการแก้ปัญหาแทนความคิดเก่าและไม่จำกัดอยู่ในวิธีการหนึ่ง มีลักษณะการคิดดังนี้

- ความคิดคล่อง (fluency)

- ความคิดยืดหยุ่น (flexibility)

- ความคิดริเริ่มแปลกใหม่ (originality)

- ความคิดที่มีรายละเอียด (Claboration)

2. การคิดวิเคราะห์ (critical thinking) เป็นการคิดอย่างมีเหตุผลคำนึงถึงเป้าหมาย มีองค์ประกอบ 5 ประการ คือ

- การสรุปอ้างอิง

- การยอมรับข้อมูลสรุป

- การใช้เหตุผลแบบอนุมาน

- การประเมินข้อโต้แย้ง

- การตีความหมาย

3. การคิดตัดสินใจ (decision thinking) เป็นการพิจารณาสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ การคิดตัดสินใจประกอบด้วยขั้นตอน 6 ขั้น คือ

- การกำหนดเป้าหมายของการตัดสินใจ

- การสร้างทางเลือก

- การวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของทางเลือก

- การจัดลำดับความสำคัญของทางเลือก

- การตัดสินทางเลือก

- การเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดไปใช้

4. การคิดแก้ปัญหา (problem thinking) คือ การพิจารณาหาเทคนิคที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ ประกอบด้วยขั้นตอน 5 ขั้น คือ

- มีปัญหา

- ทำความเข้าใจกับปัญหา

- รวบรวมและเลือกวิธีการแก้ปัญหา

- ลงมือแก้ปัญหา

- ประเมินผลการแก้ปัญหา

ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นทิศทางใกล้เคียงกันกับกรมวิชาการ (2541 : อัดสำเนา) ให้คำนิยามว่าทักษะการคิดระดับสูง ประกอบด้วยการคิด 4 ประเภทคือ

1. การคิดวิจารณญาณ

2. การคิดสร้างสรรค์

3. การคิดตัดสินใจ

4. การคิดแก้ปัญหา

ผู้วิจัยเห็นว่าการจัดฝึกทักษะการคิดเพียงด้านใดด้านหนึ่งใน 4 ประเภทดังกล่าวสำหรับผู้เรียนซึ่งอยู่ในวัยที่มีพฤติกรรมการพัฒนาการคิดมีความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลมากขึ้น มีระบบการคิดในสิ่งซับซ้อนอย่างเป็นนามธรรมได้มากพอ อาจไม่ทันเวลาเพราะนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญของชีวิตอีกช่วงที่พวกเขาต้องเลือกก้าวสู่สังคมในอนาคต ต้องรู้จักปรับตัวเพื่อเข้าสู่ทางเลือกของสังคมการศึกษาต่อหรือในสังคมการศึกษาด้านอาชีพด้วย “กระบว

ถ้าสั้น ๆ ใจความกระชับ มีเคล็ดลับ..จะดีมากเลยค่ะ..จะรออ่านอีกนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท