ศิริพันธุ์ อินต๊ะแก้ว


ความหมาย

ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

      คือ วิธีทางการสอนรายบุคคล โดยอาศัยความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะจัดหาประสบการณ์ที่มีความสัมพันธ์กัน มีการแสดงเนื้อหาตามลำดับที่ต่างกัน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากโปรแกรมบทเรียนรูปแบบต่าง ๆ ในแต่ละบทเรียนจะมีตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและเสียงประกอบด้วยในลักษณะของสื่อหลายมิติ (Hypermedia) ทำให้ผู้เรียนสนุกไปการเรียน ไม่รู้สึกเบื่อหน่าย และผู้เรียนจะเป็นผู้ที่ต้องปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ที่ส่งมาทางจอภาพ เช่น การตอบคำถาม

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 19943เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2006 12:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ก้อนหิน

กาลครั้งหนึ่ง ศิษย์ได้ถามอาจารย์ว่า “อาจารย์ขอรับ, อะไรคือคุณค่าของเต๋า? อาจารย์ได้พยายามอธิบาย แต่ศิษย์ไม่เข้าใจ อาจารย์รู้ดีว่าการอธิบายด้วยคำพูดมักไม่เพียงพอ วิธีที่ดีที่สุดในการบ่มเพาะเต๋าคือการเรียนรู้จากประสบการณ์โดยตรง

อาจารย์จึงหยิบสิ่งที่ดูคล้ายก้อนหินจากโต๊ะของท่านขึ้นมาก้อนหนึ่ง แล้วเขียนที่อยู่ลงบนกระดาษ “นำก้อนหินนี้ไปยังที่อยู่ตามที่เขียนไว้ เมื่อเธอไปถึงที่นั่น จงถามคนแถวนั้นว่า พวกเขายินดีให้ราคาก้อนหินนี้เท่าไร แต่อย่าขายให้เขานะ เพียงต้องการรู้ราคาที่เขายินดีให้เท่านั้น”

เมื่อศิษย์ไปถึงที่นั่น เขาพบว่าเป็นตลาดนัด มีพ่อค้าจำนวนมากกำลังเร่ขายสินค้า และลูกค้ามากมายกำลังเดินดูสินค้า บ้างก็กำลังต่อรองราคา

เริ่มจากคนที่อยู่ใกล้ที่สุด ศิษย์ยื่นก้อนหินให้เขาแล้วถามว่า “ของโทษขอรับ, ท่านให้ราคาก้อนหินนี้เท่าไร?”

ชาวบ้านส่วนมากเดินต่อไปโดยไม่สนใจ บ้างถลึงตาใส่ บ้างหันมามองแล้วยิ้มเยาะ บ้างหัวเราะออกมาดังๆ มีอยู่๒-๓คนพูดกับเขาว่า “ไม่เอาหรอก” “ไม่, ขอบคุณ” “ไปให้พ้น!”

หลังจากผ่านไปประมาณหนึ่งชั่วโมง มีสุภาพสัตรีผู้หนึ่งเกิดความสงสาร “๑๐หยวนแล้วกัน! เผื่อเอาไปใช้ทับกระดาษ” เธอยื่นเงินให้ แต่เขาสั่นศีรษะ แล้วกล่าวขอบคุณ

เขากลับไปรายงานประสบการณ์ให้อาจารย์ทราบ “อาจารย์ขอรับ, ชาวบ้านส่วนมากไม่สนใจก้อนหินเลย อย่างมากที่สุดขายได้๑๐หยวน”

“ดีแล้ว” อาจารย์ยื่นกระดาษอีกแผ่นหนึ่งให้ “ทีนี้ไปตามที่อยู่นี้ เอาก้อนหินไปด้วย แล้วทำเหมือนเดิม ถามคนที่นั่นว่าเขาให้เท่าไร”

ตามที่อยู่นั้นเป็นอีกแถบหนึ่งของเมือง เมื่อศิษย์ไปถึง เขาพบว่ามันเป็นร้านขายเครื่องเพชร พอเข้าไปในร้าน เขาเห็นตู้โชว์ที่เต็มไปด้วยอัญมณีส่งประกายระยิบระยับ มีเสมียนท่าทางขึงขังยืนอยู่หลังเคาน์เตอร์ ทุกคนแต่งเครื่องแบบของทางร้าน

“ต้องการอะไร, เจ้าหนู?” เสมียนคนหนึ่งปราดเข้ามาประชิดตัวเขา

“อื้อ... ข้าพเจ้าอยากทราบว่าท่านจะให้ราคาอ้ายนี่เท่าไร” ศิษย์ยื่นก้อนหินให้ เสมียนมองดูด้วยความประหลาดใจ แล้วทำท่าฉุนเฉียว

“พ่อแม่เธออยู่ที่ไหน? ร้านนี้ไม่ใช่สถานที่ของเด็ก ออกไปเลยไป๊!”

“เออน่า, รู้แล้วหละ” ศิษย์คิดในใจ “ผลมันก็ไม่ต่างไปจากที่ตลาด” เขาหันหลังกลับออกมา

ผู้จัดการร้านสังเกตเห็นเหตุการณ์ เขาชำเลืองดูก้อนหินในขณะที่ศิษย์เดินไปถึงประตู “เดี๋ยวก่อน” เขาพูดขึ้น “ขอดูหน่อย, ลูก”

เมื่อผู้จัดการได้ตรวจสอบก้อนหินแล้ว ทำท่าสงสัย ทันใดนั้นนัยตาของเขาลุกโพลง สั่งให้เสมียนคนหนึ่งไปตามช่างทำเพชรอาวุโสจากโรงงานที่อยู่หลังร้าน

ช่างทำเพชรสูงอายุปรากฏตัวขึ้น บ่นพึมพัมที่ถูกขัดจังหวะการทำงาน แต่เมื่อได้เห็นก้อนหิน เขาก็ตาลุกโพลงเช่นกัน หลังจากใช้แว่นขยายตรวจดูอยู่พักใหญ่ พลิกดูด้านนี้ด้านนั้น แล้วส่งคืนให้ศิษย์ จากนั้นกระซิบเบาๆที่ข้างหูผู้จัดการ

ทันใดนั้น ผู้จัดการได้ยิ้มอย่างเอาใจ “ฉันรักหนูนะลูก ฉันจะให้ลูกกวาดเพื่อแลกกับก้อนหินนี้, ตกลงใหม?”

ศิษย์สั่นศีรษะ “ข้าพเจ้าต้องการทราบว่า ท่านพอใจจ่ายให้เท่าไรขอรับ”

“ฉันเข้าใจ” ผู้จัดการทำท่าครุ่นคิด “ฉันให้เธอ๑๐หยวนเป็นไง ขายไหม?”

“ไม่ขอรับ ข้าพเจ้าไม่สามารถขายได้ และข้าพเจ้าต้องไปแล้ว” เขาได้คำตอบที่ต้องการแล้ว ดังนั้นถึงเวลาที่จะต้องกลับไปรายงาน

“เดี๋ยวก่อน ฉันให้เธอ๔๐๐หยวน นี่เป็นจำนวนเงินที่มากแล้วนะ กลับมาก่อน ว่ายังไง?”

ศิษย์ปฏิเสธที่จะขาย และพยายามจากไป เป็นเช่นนี้อยู่หลายครั้งหลายหน จนกระทั่งได้ราคาสูงถึง๑๐๐,๐๐๐หยวน แต่เขาก็ยังคงปฏิเสธ

“บอกมาเลย, ลูก” ผู้จัดการยังคงยิ้ม แต่เริ่มมีเหงื่อซึมออกมา “บอกมาเลยว่าต้องการเท่าไร”

“ขายให้ไม่ได้ ขอรับ, นี่คือสิ่งที่ข้าพเจ้าพยายามบอกท่าน”

ผู้จัดการไม่มีทางเลือก จึงต้องปล่อยเขาไป

ศิษย์ได้กลับมาหาอาจารย์ เขาเต็มไปด้วยความสงสัย “อาจารย์, ราคาที่ได้รับจากตลาดเพียงแค่๑๐หยวนเท่านั้น แต่นี่มันขึ้นไปถึง๑๐๐,๐๐๐หยวน แล้วยังจะเพิ่มให้มากกว่านี้อีก ทำไมถึงต่างกันมากขนาดนั้น ขอรับ?”

“โดยทั่วไปแล้ว ผู้คนจะเพ่งความสนใจไปที่ลักษณะภายนอก” อาจารย์อธิบาย “ก้อนหินนี้ดูพื้นๆธรรมดา ดังนั้นทุกคนที่ตลาดจึงคิดว่าไม่มีค่า

“อย่างไรก็ตาม ก้อนหินนี้มีมากกว่าที่เห็น ที่จริงแล้วมันเป็นเพชรที่มีขนาดใหญ่เป็นพิเศษและมีคุณภาพ มีไม่กี่คนที่สามารถจำแนกออกว่าที่แท้แล้วมันเป็นอะไร ผู้คนที่ตลาดไม่มีความสามารถเช่นนี้”

“แต่อาจารย์ ขอรับ, เสมียนคนที่ตะเพิดข้าพเจ้าออกมาก็ทำงานอยู่ร้านเพชร เขายังไม่รู้จักมันเลย”

“การที่อยู่ร้านเพชรไม่ได้เป็นการรับประกันว่ามีความรู้อย่างแท้จริง อาจเป็นไปได้ที่เขารู้จักเพชรที่เจียรนัยแล้วได้ดี แต่ไม่รู้จักเพชรที่แท้จริงในสภาพธรรมชาติ ดังนั้นเขาจึงไม่ต่างจากคนทั่วไป”

“แล้วผู้จัดการกับช่างทำเพชรเล่า ขอรับ, เป็นอย่างไร? อะไรทำให้เขาต่างไปจากเสมียนและผู้คนที่ตลาด?”

“ผู้จัดการสงสัยว่าก้อนหินนี้อาจมีคุณค่า เนื่องจากเขามีประสบการณ์หลายปีเกี่ยวกับเพชรพลอยทุกชนิด ส่วนช่างทำเพชรมีประสบการณ์มากกว่า เขาต้องใส่ใจเป็นเวลานานนับสิบปี จึงจะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเพชรพลอยได้ นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมเขาจึงไม่สงสัย... ซ้ำยังรู้จักคุณค่าแท้จริงของสิ่งที่ดูคล้ายก้อนหินธรรมดาๆนี้อีกด้วย”

นิทานเรื่องนี้มิได้เกี่ยวกับก้อนหิน หรือศิษย์ หรืออาจารย์ มันเป็นเรื่องราวของเต๋า

ก้อนหินที่ดูเหมือนไม่มีอะไรน่าสนใจในตอนแรก หากได้รับการตัดแต่งอย่างถูกต้อง และขัดเกลาโดยผู้เชี่ยวชาญ เพชรที่อยู่ภายในจะเด่นตระหง่าน เผยให้เห็นทั้งหมดที่เป็นความภูมิใจอันส่งประกายแวววาวของมัน เช่นเดียวกับเต๋า ซึ่งมักปรากฏในรูปแบบที่เรียบง่ายและธรรมดา แต่เมื่ออาจารย์ที่แท้จริงได้แสดงหรืออธิบายความเป็นจริงทางด้านจิตใจให้เห็น เต๋าจะเผยความงดงามอันสุกสว่างออกมา

โลกที่เราอาศัยอยู่ก็เหมือนกับตลาดซึ่งเป็นศูนย์รวมเกี่ยวกับการจัดการเงินตรา และโลกยังเป็นที่ตั้งแห่งการเห็นแก่ความสุขทางกายมากกว่าคุณค่าทางใจอีกด้วย เต็มเปี่ยมไปด้วยสิ่งที่ได้มาทางวัตถุและป้ายบอกราคา

อาจารย์เต๋าที่แท้จริงนั้นมีอยู่น้อย และปรากฏขึ้นในช่วงเวลาที่ห่างกันมาก ดังนั้นผู้คนส่วนใหญ่ในโลกจึงไม่ค่อยเข้าใจเต๋า ในนิทานเรื่องนี้ได้สะท้อนให้เห็นปฏิกริยาของผู้คนที่มีต่อศิษย์ผู้เยาว์วัย ถึงแม้สิ่งที่ดูคล้ายก้อนหินนั้น ความจริงแล้วมีคุณค่าอย่างยิ่ง แต่ผู้คนกลับมองมันอย่างไม่แยแส และซ้ำยังรังเกียจ

เต๋าเต็กเก็ง บทที่๔๑ ได้พรรณาถึงชนิดต่างๆของผู้คนที่เข้าหาเต๋าไว้ดังนี้

เมื่อบุคคลระดับสูงได้รับฟังเต๋า

ก็ปฏิบัติตามอย่างมานะ

เมื่อคนในระดับปานกลางได้รับฟังเต๋า

บ้างก็เข้าใจบ้างก็ไม่เข้าใจ

เมื่อคนในระดับต่ำสุดได้รับฟังเต๋า

ก็หัวเราะเยาะด้วยเสียงอันดัง

หากมิถูกหัวเราะเยาะก็คงมิใช่เต๋าแล้ว

ระดับทั้งสามในที่นี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับความบริสุทธิ์ทางจิตใจ ความแตกต่างกันของระดับเหล่านี้มิได้ขึ้นอยู่กับความแตกต่างทางโลก อย่างเช่น ระดับการศึกษา คะแนนไอคิว วรรณะทางสังคม ความอาวุโส บรรดาศักดิ์ และตำแหน่งงาน

เมื่อได้รับฟังเต๋า ผู้ที่มีความบริสุทธิ์ทางจิตใจในระดับสูงย่อมจำแนกความเป็นจริงทางจิตใจออก เนื่องจากมันทำให้เกิดการสั่นสะเทือนกับพวกเขาได้อย่างลึกซึ้ง ในนิทานเรื่องนี้บอกว่า บุคคลเช่นนั้นหาได้ยากและไม่มีให้เห็นในตลาด

คนส่วนมากที่ตลาดยังอยู่ห่างไกลจากระดับนี้ พวกเขาเคยชินในการทำธุระกิจกับสิ่งที่พวกเขาสามารถเห็นได้และสัมผัสได้ อย่างเช่น สินค้าที่จับต้องได้ในตลาด ส่วนเต๋าที่ไม่สามารถสัมผัสได้นั้นปรกฏขึ้นโดยปราศจากหีบห่อที่มีสีสัน ใบโฆษณาเพื่อสนับสนุนการขาย หรือมูลค่าที่สามารถถูกต่อรองได้ จึงไม่ใช่สิ่งของที่พวกเขาสามารถหยิบฉวยได้ง่ายๆ

มีคนอีกจำพวกที่หัวเราะเยาะเต๋า พวกนี้จัดอยู่ในจำพวกที่มีความบริสุทธิ์ทางจิตใจระดับต่ำสุด เขาเห็นว่าความผ่องแผ้วจิตใจของเต๋าเป็นสิ่งประหลาด บางคนถึงกับแสดงความดูหมิ่นและเย้ยหยัน “เต๋า? ท่านคงหมายถึงวัตถุดิบชนิดใหม่?”

พวกเขามองเต๋าไปในทำนองนั้น เพราะว่าโลกแห่งวัตถุเต็มไปด้วยสินค้าสำหรับขาย ดังนั้นผู้คนจึงสับสนระหว่างราคากับคุณค่า โดยนึกเอาง่ายๆว่า ของที่มีราคาสูงจะต้องมีคุณค่าสูงโดยอัตโนมัติ และของบางอย่างที่ไม่มีราคาแปะติดจะต้องไม่มีคุณค่าไปด้วย

ตามที่อาจารย์ได้ให้ข้อสังเกตุเอาไว้ในนิทานเรื่องนี้ว่า ผู้คนส่วนมากเชื่อมั่นต่อการปรากฏทางภายนอกผ่านทางการตัดสินด้วยราคา ก้อนหินถูกเห็นว่าดูไม่ประทับใจ มันจึงได้รับการพิจารณาว่าไม่มีคุณค่า มีเพียงนัยตาที่หยั่งรู้เท่านั้น จึงจะสามารถมองผ่านลักษณะภายนอก และตรวจพบเพชรที่อยู่ภายใน

ถ้าตลาดคือโลกที่กว้างใหญ่ ร้านเพชรก็คือสถาบันศาสนาอย่างเช่นวัดหรือโบสถ์

ในร้านเพชร ช่างทำเพชรจะนำเพชรที่ยังมิได้รับการเจียรนัยซึ่งดูเหมือนก้อนหิน เอามาตัดและขัด จากนั้นนำออกแสดงเพื่อขายให้สาธารณชน ในทำนองเดียวกัน สถาบันศาสนาจะนำคำสอนด้านจิตใจมาทำให้เป็นระบบและมีพีธีรีตอง จากนั้นนำสู่สาธารณชน

แหวนและเพชรพลอยที่ถูกนำเสนออยู่ในร้านเพชร เป็นตัวแทนของคำสอนทางศาสนาที่ได้กลั่นกรองและบรรจุหีบห่อแล้วที่เราพบในชีวิตประจำวัน บรรดาบัญญัติ๑๐ประการ, อริยสัจจสี่, วิถีทั้ง๘, ..ล้วนเป็นสิ่งที่รู้จักกันทั่วไปและถือว่ามีคุณค่า เนื่องจากมันได้ถูกทำเครื่องหมายไว้ชัดเจน เช่นเดียวกับแหวนและเพชรพลอยที่ติดราคาไว้เป็นการกำหนดคุณค่าของมัน

บ่อยครั้งที่เรามักสันนิฐานเอาว่า บุคคลที่อยู่ในวัดจะต้องมีความรู้ในเรื่องเต๋า เนื่องจากเราเห็นคนในวัดเหมือนกับเสมียนในร้านเพชรว่าจะต้องมีความรู้ในเรื่องเพชร ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วมิได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป ระดับความรู้ของเสมียนอาจมีจำกัดเฉพาะสิ่งที่เขาสามารถอ่านได้จากฉลาก อันได้แก่ ชื่อสินค้า และราคาขาย เช่นเดียวกับบางคนที่อยู่ในวัดอาจรู้เพียงคำสอนระดับพื้นฐาน และเรื่องอื่นๆอีกเพียงเล็กน้อย

เมื่อเผชิญหน้ากับเรื่องที่เกี่ยวกับความเป็นจริงทางจิตใจ บุคคลในระดับนี้ยากที่จะจำแนกออก เขาอาจบอกปัดทันทีโดยไม่ยอมพิจารณา เช่นเดียวกับที่เราพบในนิยาย เมื่อเสมียนร้านเพชรพยายามไล่ศิษย์ออกไป

ผู้จัดการร้านเพชรเป็นตัวแทนของบุคคลที่มีความเข้าใจระดับปานกลาง เช่นผู้ที่อุทิศเวลาและความพยายามเพื่อศึกษาเต๋า พวกเขาพยายามท่องวลีและหลักปฏิบัติ แต่ยังไม่เข้าใจแท้จริงถึงคำสอนทางด้านจิตใจที่อยู่เบื้องหลัง

ถึงแม้ผู้จัดการจะดูเหมือนเป็นภาพลักษณ์ของความรับผิดชอบในทัศนวิสัยของเสมียน แต่เมื่อเปรียบเทียบกับช่างทำเพชรแล้ว เขามีความรู้น้อยกว่า ผู้จัดการรู้จักเพชรที่ยังมิได้เจียรนัย แต่ความรู้ของเขาได้มาจากตำรา พื้นฐานของความรู้ที่มาจากตำรานั้นอาจดูเหมือนน่าประทับใจในตอนแรก แต่เมื่อต้องประสบกับบางสิ่งที่อยู่นอกเหนือตำรา เขายังคงต้องหันเข้าของความช่วยเหลือจากช่างทำเพชร

ช่างทำเพชรเป็นตัวแทนของการเข้าใจระดับสูง เขาเป็นอาจารย์ที่แท้จริง เพราะว่าแหล่งความรู้เบื้องต้นของเขาไม่ใช่ตำรา เขาเรียนรู้จากการปฏิบัติอย่างขยันขันแข็ง ทำงานโดยตรงเกี่ยวกับเพชรที่ยังมิได้เจียรนัยด้วยวิธีต่างๆ จนกลายมาเป็นเครื่องประดับที่มีประกายแวววาวนานาชนิด

ด้วยเหตุนี้เราจะเห็นว่า การปฏิบัติเป็นพื้นฐานที่สำคัญมากที่แยกอาจารย์เต๋าที่แท้จริงออกจากผู้ที่มีความรู้จากตำรา ปราชญ์ที่แท้จริงจะบ่มเพาะเต๋าจากประสบการณ์โดยตรง มิใช่จากการอ่านตำรา ดังนั้นพวกเขาจึงสัมผัสเต๋าได้ด้วยตัวเอง

เช่นเดียวกับช่างทำเพชรได้ตัดเพชรและขัดเพชรเพื่อให้สาธารณชนได้ใช้ประโยชน์ อาจารย์เต๋าศึกษา พิจารณา วิเคราะห์ และทำให้เห็นจุดเด่นของความเป็นจริงทางจิตใจ เพื่อให้ผู้คนในระดับต่ำกว่าสามารถเข้าใจเต๋าได้ง่ายขึ้น

ถ้าจะถามว่าทั้งหมดนี้ได้บอกอะไรแก่เราในเรื่องคุณค่าของเต๋า? คำตอบอาจผันแปรไปตามระดับของบุคคล

ที่ระดับต่ำสุด ผู้คนที่ตลาดไม่สามารถบอกท่านได้เพราะว่าเขาไม่รู้จริงๆ เสมียนและผู้จัดการสามารถแจ้งราคาแก่ท่านได้สำหรับเครื่องเพชรแต่ละชิ้นที่ท่านต้องการซื้อ แต่พวกเขาไม่รู้จริงเกี่ยวกับเพชรที่ยังมิได้เจียรนัย

ช่างทำเพชรตระหนักรู้ว่า สิ่งที่ดูคล้ายก้อนหินนั้นมิได้ด้อยคุณค่าเนื่องจากสถาพที่ยังไม่ได้เจียรนัยของมัน ที่จริงแล้วมันมีคุณค่ามากกว่าเครื่องเพชรชิ้นใดๆที่มีในร้าน เพราะว่าสิ่งที่ดูคล้ายก้อนหินนั้นสามารถนำไปทำเป็นเพชรขนาดต่างๆได้มากมาย

นี่คือคุณค่าของก้อนหินก้อนนั้น แต่เป็นคุณค่าที่แท้จริงของเต๋าด้วยหรือ? ในนิทานเรื่องนี้ ก้อนหินมิได้ถูกขายไป ทำไมหรือ?

ก็เพราะว่า ศิษย์ได้บอกกับทุกคนว่าไม่ขาย ปราชญ์เท่านั้นที่รู้ว่าคุณค่าของหินก้อนนั้นมากกว่าจำนวนเงินใดๆ หินก้อนนั้นมิใช่สินค้าชนิดหนึ่งที่ใครสามารถนำไปขายที่ตลาดได้

จากทัศนวิสัยของร้านเพชรประกอบกับการคำนวณอย่างแน่ชัดแล้ว พวกเขายินดีที่จะจ่าย แต่จากทัศนวิสัยของปราชญ์ไม่มีการต่อรอง, การซื้อหรือการขายนั้นเป็นไปไม่ได้เพราะว่าหินก้อนนั้นไม่มีราคา มันไม่สามารถถูกเข้าถือสิทธิ์ได้ด้วยจำนวนเงินใดๆ มันไม่ได้ติดราคาไว้เหมือนกับแหวนในร้านเพชร

เต๋าอยู่เหนือราคา เต๋าปราศจากราคาและนั่นคือคุณค่าที่แท้จริงของเต๋า!

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท