เอาแผนการสอนบูรณาการหลักเศรษฐกิจพอเพียงมานำเสนอคะ


แผนการสอน

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 2

 

กลุ่มสาระวิชาวิทยาศาสตร์ (เพิ่มเติม)                                                                                           ช่วงชั้นที่ 3

ชื่อวิชา โครงงานวิทยาศาสตร์          รหัสวิชา ว 30211                                                 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ชื่อหน่วยการเรียนรู้ : โครงงานพลังงานกับชีวิตบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เรื่อง : เริ่มต้นกับโครงงานวิทยาศาสตร์                                                                              เวลา   2 ชั่วโมง

............................................................................................................................................................

 

1. สาระที่  8  : ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2. มาตรฐานการเรียนรู้

2.1 มาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

มาตรฐาน ว 8.1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะ            หาความรู้  การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้น ๆ เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

2.2 มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น

          2.2.1 สร้างคำถามที่นำไปสู่การสำรวจตรวจสอบในเรื่องที่เกี่ยวข้อง และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่

                2.2.2 บันทึกและอธิบายผลการสังเกต การสำรวจตรวจสอบ ค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ให้ได้ข้อมูลเชื่อถือได้ และยอมรับการเปลี่ยนแปลงความรู้ที่ค้นพบเมื่อมีข้อมูล                         และประจักษ์พยานใหม่เพิ่มขึ้นหรือโต้แย้งจากเดิม

2.2.3 จัดแสดงผลงาน เขียนรายงาน และหรืออธิบายเกี่ยวกับแนวคิด กระบวนการ                      และผลงานของโครงงานหรือชิ้นงานให้ผู้อื่นเข้าใจ

3. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี

          1. ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ตามความสนใจ และนำเสนอด้วยวาจา รวมทั้งจัดแสดงผลงานในรูปนิทรรศการ        

4. สาระสำคัญ

          โครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นการฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และการเรียนรู้    ด้วยตนเองจากการลงมือปฏิบัติจริง โดยการศึกษาค้นคว้า ทดลอง ประดิษฐ์คิดค้น สรุปผล         เขียนรายงาน ตลอดจนการนำเสนอผลงานอย่างมีขั้นตอนจัดแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ                           1)โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสำรวจ 2)โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง 3) โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสิ่งประดิษฐ์ และ 4) โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทการสร้างทฤษฎีหรือ                    การอธิบาย นักเรียนควรฝึกปฏิบัติกิจกรรมการทำโครงงานวิทยาศาสตร์เบื้องต้นให้ถูกต้อง                       เพื่อนำไปใช้ในการจัดทำโครงงานในสาระวิชาวิทยาศาสตร์ และสาระวิชาอื่น ๆ ต่อไป

5. จุดประสงค์การเรียนรู้

          5.1 บอกความหมายและประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์ได้

                5.2 ปฏิบัติกิจกรรมตามที่มอบหมายได้

                5.3 บรรยายคุณค่าและความสำคัญของโครงงานวิทยาศาสตร์ได้

6. สาระการเรียนรู้

          6.1 ความหมายของโครงงานวิทยาศาสตร์

                6.2 ประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์

                6.3 คุณค่าและความสำคัญของโครงงานวิทยาศาสตร์

7. ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างสิ่งล่อใจ

                1. ครูนำภาพข่าวการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยระดับโลก มาร่วมอภิปรายในประเด็นต่าง ๆ  ดังนี้

                                1.1 นักเรียนอยากเป็นคนคนหนึ่งที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศหรือไม่

                                1.2 ถ้านักเรียนอยากเป็นคนเก่ง นักเรียนควรทำอย่างไรบ้าง

                                1.3 นักเรียนทราบหรือไม่ว่าโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ชนะเลิศจากการประกวด             เป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทใด

          2. ครูและนักเรียนร่วมสนทนาจากการศึกษาดูงานนิทรรศการสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ                 ปี 2550 ที่เกี่ยวกับเรื่องโครงงานวิทยาศาสตร์ที่นักเรียนได้ไปศึกษาในประเด็นต่าง ๆ  ดังนี้

                                2.1 โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องใดที่นักเรียนสนใจและประทับใจมากที่สุด

                                2.2  นักเรียนทราบหรือไม่ว่าเป็นโครงงานประเภทใด

                                2.3 นักเรียนอยากทำโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นหรือไม่ เพราะอะไร

ขั้นที่ 2 ขั้นให้แสวงหาองค์ความรู้

3. นักเรียนดูวีดีทัศน์ เรื่อง โครงงานวิทยาศาสตร์ ( ความหมาย ประเภท และคุณค่า และความสำคัญของโครงงานวิทยาศาสตร์)

4. แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 6 กลุ่ม ๆ ละ 5 คน  โดยให้แต่ละกลุ่มเลือกหัวหน้ากลุ่ม   พร้อมทั้งตั้งชื่อกลุ่ม

5. นักเรียนศึกษาความรู้เรื่องความหมาย ประเภท และคุณค่าและความสำคัญของโครงงานวิทยาศาสตร์จากแหล่งเรียนรู้ และจากใบความรู้ที่ 2 เรื่อง ความหมาย ประเภท และคุณค่าของโครงงานวิทยาศาสตร์

 

ขั้นที่ 3 ขั้นเข้าสู่การปฏิบัติ

6. นักเรียนแต่ละกลุ่มปฏิบัติกิจกรรมตามแบบบันทึกกิจกรรมที่ 2 เรื่องความหมาย ประเภทและคุณค่าและความสำคัญของโครงงานวิทยาศาสตร์

7. นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันเขียนแผนที่ความคิดเรื่องคุณค่าของโครงงานวิทยาศาสตร์

8. นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน  พร้อมกับนำผลงานไปช่วยกันจัดแสดงบนบอร์ดหน้าห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์

ขั้นที่ 4 ขั้นจัดสรุปโครงสร้างความรู้

9. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อสรุปความหมาย ประเภท และคุณค่าและความสำคัญของโครงงานวิทยาศาสตร์

10. นักเรียนแต่ละคนสรุปความหมายและประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นของตนเองลงในแบบบันทึกการเรียนรู้หลังเรียน (Learning Log)

11.นักเรียนค้นคว้าเพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ต ในส่วนที่นักเรียนต้องการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มแล้วบันทึกลงในแบบบันทึกการเรียนรู้หลังเรียน (Learning Log)

ขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผล

12. ทดสอบความรู้ความเข้าใจ เรื่อง ความหมาย ประเภท และคุณค่าและความสำคัญ                 ของโครงงานวิทยาศาสตร์ โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบ จำนวน 10 ข้อ

8.หลักฐานการเรียนรู้

          8.1  บันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องที่ 2 ความหมายและประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์

                8.2  แผนที่ความคิด คุณค่าและความสำคัญของโครงงานวิทยาศาสตร์

                8.3  บันทึกการเรียนรู้หลังเรียน (Learning Log)

                8.4  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

9. สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้

          9.1 สื่อการเรียนรู้

                   9.1.1 ภาพข่าว

                                9.1.2  บันทึกกิจกรรมที่ 2 เรื่องความหมาย ประเภท และคุณค่าของโครงงานวิทยาศาสตร์

                                9.1.3 ใบความรู้ที่ 2 เรื่องความหมาย ประเภท และคุณค่าของโครงงานวิทยาศาสตร์

                9.1.4 บันทึกการเรียนรู้หลังเรียน (Learning Log)

                                9.1.5 วีดีทัศน์ เรื่องโครงงานวิทยาศาสตร์

                                9.1.6 แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ เรื่อง เริ่มต้นกับโครงงานวิทยาศาสตร์ จำนวน 10 ข้อ

               

9.2 แหล่งการเรียนรู้

                                9.1.1 นิทรรศการสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ปี 2550

9.1.2 ห้องวิทยาศาสตร์

                                9.1.3 ห้องสมุดโรงเรียน

                                9.2.4 ห้องคอมพิวเตอร์

 

10. การวัดและประเมินผล

          10.1 สังเกตพฤติกรรมการเรียน

                                10.1.1 ความตั้งใจเรียน

                                10.1.2 การตอบข้อซักถาม

                                10.1.3 การลงมือปฏิบัติกิจกรรม

                                10.1.4 การนำเสนอผลงาน

                                10.1.5 การทำงานเป็นกลุ่ม

                10.2  ตรวจผลงานนักเรียน

                10.3  ทดสอบความรู้ความเข้าใจ เรื่อง เริ่มต้นกับโครงงานวิทยาศาสตร์

หมายเลขบันทึก: 199335เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2008 12:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

"ทำไมลอกผลงานเขาอย่างนี้ละ"

ลอกเขามามันน่าอาย

หวัดดีค่า คุณครูมล สบายดีมั้ย เราหญิงเองไม่รู้จำกันได้บ่ สอนที่สหัสขันธ์ศึกษานานแล้วเหรอ กำลังหาแผนการสอนอยู่เลย ขอบใจมากนะ เราเพิ่งมาบรรจุที่คลองมือไทร ที่ชลบุรีเองจ้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท