อาทิตย์


มาร่วมกันดูแล TB

CQI  แนวทางการดูแลผู้ป่วยวัณโรค

 

ความสำคัญของปัญหา

               จากข้อมูลทางระบาดวิทยาของจังหวัดกาฬสินธุ์  ปี  พ.ศ. 2549  ( ม.ค. พ.ย. 2549พบว่าผู้ป่วยวัณโรคจำนวน  653 ราย  คิดเป็นอัตราป่วย  65.91  ต่อแสนประชากรคน  อำเภอหนองกุงศรี  พบผู้ป่วยมากเป็นอันดับ 3 ของจังหวัด  คิดเป็นอัตราป่วย  122.50 ต่อประชากรแสนคน  ข้อมูลย้อนหลัง  3  ปี ( 2547 2549 )  อัตราป่วยด้วยวัณโรคมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี  โดยในปี พ.ศ. 2547 พบผู้ป่วยทั้งหมด 40 คน  คิดเป็นอัตราป่วย  60.69 ต่อประชากรแสนคน  ปี พ.ศ. 2548 พบผู้ป่วยทั้งหมด 57 คน  คิดเป็นอัตราป่วย  86.47 ต่อประชากรแสนคน

ปี พ.ศ. 2549 พบผู้ป่วยทั้งหมด 81 คน  คิดเป็นอัตราป่วย  122.50 ต่อประชากรแสนคนถึงแม้ว่าการดำเนินงานที่ผ่านมา  อัตราการหายขาดวัณโรคอยู่ในอัตราที่สูง ( Cure rate 91 %)  แต่อัตราการป่วยก็เพิ่มขึ้นทุกปี  โดยเฉพาะในปี  2550  มีอัตราป่วยสูงกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารสุขกำหนดไว้  ซึ่งกระทรวงได้กำหนดอัตราป่วยไม่เกิน  120  ต่อประชากรแสนคน  ประกอบกับการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสุขภาพในพื้นที่พบว่า  โรควัณโรคเป็นปัญหาสำคัญลำดับที่  1  ของอำเภอหนองกุงศรี  จึงได้มาวิเคราะห์จุดแข็ง  จุดอ่อนในการทำงาน

 

จุดอ่อน

จุดแข็ง

1.       ขาดการดำเนินงานระบบเชิงรุก

2.       อัตราป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจากสถิติย้อนหลัง 3 ปี

3.       ไม่มีระบบเจ้าหน้าที่ ที่เป็นพี่เลี้ยง ในการกำกับ ดูแลการรักษาอย่างเคร่งครัด

4.       ระบบติดตามเยี่ยมได้ไม่ครบตามเกณฑ์มาตรฐาน

5.       อัตราการการขาดยา 8.38 %

6.       ผลตรวจ AFB  ไม่ครบ 3 ครั้ง ตามเกณฑ์

7.       ขาดการประชาสัมพันธ์ที่เป็นรูปแบบจริงจัง

 

1.          เจ้าหน้าที่ผ่านการอบรม มีผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน

2.          คลินิกบริการตรวจรักษาโรควัณโรคทุกวันอังคาร

( ยกเว้นวันหยุดราชการ)

3.          มีการประสานงานที่ดีทั้งในระดับ เขต จังหวัดและระดับอำเภอ

4.          มีการจักระบบปฏิทินการให้ยา

5.          มีระบบนิเทศงานที่ดีทั้งในในระดับ เขต จังหวัด ทุก 3  เดือน

6.          มีระบบการส่งต่อผู้ป่วย เพื่อติดตามเยี่ยมในระดับ สอ.

7.          มีระบบการรายงานได้ควบถ้วน ถูกต้อง  ทันเวลา

8.          มีทีมสหวิชาชีพติดตามเยี่ยมที่บ้านกรณีผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนและมีปัญหาเกี่ยวกับการักษา

 

 

เป้าหมาย

                  1.อัตราความสำเร็จการรักษา (Success rate) มากกว่าร้อยละ 85

                  2.อัตราการขาดยา  น้อยกว่าร้อยละ 5

                  3.อัตราการเปลี่ยนของเสมหะจากบวกเป็นลบ (Conversion rate) มากกว่าร้อยละ 85

                  4.อัตราการโอนออก น้อยกว่าร้อยละ 3

                  6.ผู้สัมผัสร่วมบ้านได้รับการตรวจคัดกรอง  ร้อยละ 100

                  7.บุคคลกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองวัณโรค  ร้อยละ 80

                  8.  ผู้ป่วยวัณโรคมีพี่เลี้ยงในการกำกับกินยา  100 %

 

 

การดำเนินงาน 

               ทบทวนกระบวนการย้อนร้อย  TB  ใหม่

 

กระบวนการ

แผนก

ปัญหา

แนวทางแก้ไข

1.  คัดกรอง

ประชาสัมพันธ์

-  ไม่ได้ซักประวัติ

-  ไม่ได้  UP

-  ซักประวัติผู้ป่วยตามแบบฟอร์ม

   (เพิ่มช่องอาการสำคัญ)

-  เพิ่มพนักงาน

-  ยึดหลัก UP ทุก case

-  ประชาสัมพันธ์  ยื่นเอกสาร

   ห้องบัตร

- ผู้ป่วยนั่งรอจุดไข้หวัดนก

   (ใส่ mask)

 

 

 

 

 

 

 

 

ทบทวนกระบวนการย้อนร้อย  TB  ใหม่

 

กระบวนการ

แผนก

ปัญหา

แนวทางแก้ไข

2.  ตรวจทางห้องปฏิบัติการ

-  ผู้ป่วย  ไปเอง , เปล

  (UP)

-  X-Ray

-  Lab

- ผู้ป่วยไอ  อากาศ

  ในห้องไม่โปร่ง

- ไม่มีจุดเก็บเสมหะ

-  การเก็บเสมหะไม่

   ถูกต้อง

- เบิก Spray ( ห้อง X-Ray)

- จัดทำป้ายจุดเก็บเสมหะ

   (ต้นไม้หลังห้อง lab)

- เก็บ  3  วัน (วันแรก + วันที่  2

   (ญาติมา) + วันที่  3  ผู้ป่วยมา

    พบแพทย์

-  lab แนะนำการเก็บเสมหะ

X – Ray

- ไม่มีแผ่นการ์ดให้ On mask

- ประชาสัมพันธ์  อย่าลืม

  On mask

-  โทรแจ้ง X-Ray  ก่อนทุกครั้ง

- หลัก UP

-  กรณีมาพร้อมกันให้ X-Ray

   case UP  สุดท้าย

-  pt นั่งรอข้าง X-Ray

3.  การรักษา

-  ห้องตรวจ

- ห้องตรวจไม่ UP

-  ห้องตรวจไม่ได้

   สัดส่วน

-  จัดห้องตรวจ  NO…….

- จัดเวรแพทย์เป็นรายสัปดาห์

4.  แพทย์

-  ห้องตรวจ

-  แนวทางการรักษา

   ไม่เหมือนกัน

- มี แนวทางการรักษาแต่ไม่ปฏิบัติ

- จัดทำ CPG TB  ตาม WHO 

-  ประเมินการปฏิบัติตาม CPG

-  ทบทวน Case ที่มีปัญหาโดย  ทีม PCT

5.  เภสัช

-  ผู้ป่วยถอด Mask หลังออกจากห้องตรวจ เภสัชไม่ทราบว่าต้อง UP

-  ผู้ป่วยได้รับยาเกิน  ทำให้ไม่มาตามนัด

-  ระบบการนัดไม่ได้นัดตามปฏิทิน

- อธิบายผู้ป่วยต้องใส่  Mask  

   2 เดือน  (หน้าห้องตรวจ)

- เพิ่มการแนะนำผู้ป่วย

-  จัดมุมกินยาต่อหน้า

 

 

 

 

ทบทวนกระบวนการย้อนร้อย  TB  ใหม่

 

กระบวนการ

แผนก

ปัญหา

แนวทางแก้ไข

6.  การดูแลต่อเนื่อง

รพ.               สสอ.

โทรศัพท์

 


ระบบรายงาน

 

 


กินยาไม่ต่อเนื่อง

 

- ส่งประนุชใหม่ทุกราย (PCU)

-  ส่ง  สสอ. ภายใน  3  วัน

-  ส่ง  HHC  ภายใน  1 สัปดาห์

-  จัดระบบพี่เลี้ยง

-  ติดตามทางโทรศัพท์/ให้ สอ.ตาม

-  HHC  โดยทีม  รพ.

7. การประเมินผล

- ขาดการนิเทศ

   ติดตามภายใน 

   Cup

Walk in

-  ดูคู่มือยาผู้ป่วย

-  การสัมภาษณ์

-  ทบทวนในรูปแบบประชุม คปสอ.

   1 ครั้ง / เดือน

-  การวิเคราะห์ข้อมูล

-  การสังเกต  ในกรณีเยี่ยมบ้าน

-  วิเคราะห์ตาม Co hort ก่อนศูนย์

    จะมา

-  บุคลากรขาดความรู้ในวิชาการ

-  จัดประชุมโดยเชิญวิทยากร

   ภายนอก

-  การจัดการ

- ทบทวนในการประชุมโรงพยาบาลและ CUP

 

 

 

 

 

 

 

 

ผลการดำเนินงาน  ( 1 ต.ค.49-  30 ก.ย. 50)

เป้าหมาย

ค่าเป้าหมาย

ผลงาน

ร้อยละ

1.      คัดกรองผู้สัมผัสร่วมบ้านและผู้ใกล้ชิด

 

100%

( 184 คน)

144  คน

78.26

2       คัดกรองกลุ่มเสี่ยง

 

80% 

(1,056 คน)

996  คน

75.34

2.     

คำสำคัญ (Tags): #ดูแลวัณโรค
หมายเลขบันทึก: 198862เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2008 14:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 06:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เชิญแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันนะครับ

การจัดระบบบริการเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค

“ปฏิทินกินยา”

1. ชื่อผู้เขียนเรื่อง เครือข่ายงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลคุณภาพ (HNQA) จังหวัดกาฬสินธุ์

ที่อยู่ ศูนย์คุณภาพเครือข่ายโรงพยาบาล (HNQA) จังหวัดกาฬสินธุ์

โรงพยาบาลกมลาไสย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์

โทรศัพท์ 081 3200359

โทรสาร 043 899241

E- mail [email protected] หรือ nittaya_kasai@ thaimail.com

2. บทสรุปผู้บริหาร

จากการดำเนินงานการดูแลผู้ป่วยวัณโรคตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลกพบว่าวัณโรคยังคงเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญของประเทศ เนื่องจากผู้ป่วยที่ขาดความรู้ ความตระหนักในการดูแลตนเองและบุคคลในครอบครัว ส่งผลให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อสู่บุคคลอื่นทำให้ผู้ป่วยวัณโรคมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์จึงกำหนดนโยบายให้การลดอุบัติการณ์การป่วยด้วยโรควัณโรค≤120 ต่อแสนประชากร จากการออกตรวจประเมินเครือข่ายงานผู้ป่วยนอก พบว่าผลการดำเนินงาน การดูแลผู้ป่วยและคัดกรองบุคคลในครอบครัว ของโรงพยาบาลในเครือข่ายจังหวัดกาฬสินธุ์ ในช่วงที่ผ่านมายังพบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เพิ่มมากขึ้นทุกปี ผู้ป่วยวัณโรคไม่มารับยาตามนัด รับประทานยาไม่ครบ รับประทานยาไม่ถูกต้อง ตามขนาด และเกิดอาการข้างเคียงจากการใช้ยา เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการไม่สามารถติดตามผู้ป่วยให้มารับการรักษาอย่างต่อเนื่องจนสิ้นสุดการรักษาได้ครบทุกคน ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยคือ การรักษาไม่หายขาด มีผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาเพิ่มขึ้น ใช้เวลาการรักษายาวนานขึ้นทำให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรม และเกิดการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่นมากขึ้นดังตารางแสดงต่อไปนี้

ตารางสรุปสถานการณ์วัณโรคย้อนหลัง 3 ปี เครือข่าย HNQA จังหวัดกาฬสินธุ์

ปี 47

ปี 48

ปี 49

ราย

%

ราย

%

ราย

%

ยางตลาด

กมลาไสย

หนองกุงศรี

40

60.96

57

86.47

81

122.5

สมเด็จ

ห้วยเม็ก

62

139.68

40

79.69

39

83.1

ห้วยผึ้ง

ตัวชี้วัดการดูแลผู้ป่วยวัณโรค

การรักษา

เป้า

ผลเสมหะบวก

Cure Rafe

> 85

Successc Rate

> 85

ขาดยา

< 5

Conversion Rate

> 85

การติดตามเยี่ยม

> 80

จากตารางการดำเนินพบว่ามีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นทุกปีถึงแม้อัตราการรักษาหายขาดจะสูงแต่จำนวนผู้ป่วยเพิ่มทำให้โรงพยาบาลมีค่าใช้จ่ายต่อรายเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นเครือข่ายงานผู้ป่วยนอก (HNQA) จังหวัดกาฬสินธุ์ จึงได้กำหนดในมาตรฐานการให้บริการงานวัณโรคของเครือข่าย ดังนี้

1. ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ทุกรายจะได้รับการให้คำปรึกษารายบุคคลโดยพยาบาลผู้ดูแล

คลินิกให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการแพร่กระจายเชื่อ การดูแลตนเองขณะรับยาและสิ่งที่ต้องปฏิบัติเมื่อมาพบแพทย์ในแต่ละครั้ง โดยใช้ปฏิทินกินยาและปฏิทินการนัด เป็นเครื่องมือในการกำกับดูแลให้ผู้ป่วยกินยาตามแผนการรักษาและรับยาอย่างต่อเนื่อง

2. จัดหาชุดอุปกรณ์ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ เช่นแก้วน้ำ ผ้าปิดปาก /mask มอบให้

ผู้ป่วยสำหรับใช้ส่วนตัว ในวันขึ้นทะเบียนและวันที่มารับบริการทุกเดือน

3. เภสัชกร ให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการกินยา อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น อาการและ

อาการแสดงที่ต้องมาพบแพทย์ก่อนวันนัด ความสำคัญของการกินยาต่อเนื่องและผลเสียที่จะเกิดขึ้นจากการรับยาไม่ต่อเนื่อง และประเมินการใช้ยาของผู้ป่วยเมื่อมารับยาครั้งต่อไปเทียบกับปฏิทินการกินยา

4. พยาบาลประจำคลินิกวัณโรค แจ้งข้อมูลผู้ป่วยวัณโรคให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

เจ้าของพื้นที่ที่มีผู้ป่วยวัณโรค เพื่อออกเยี่ยมบ้านและติดตามผลการรักษา

5. พยาบาลประจำคลินิกวัณโรค ตรวจสอบผู้ป่วยที่มาและไม่มารับยาตามนัด จากปฏิทิน

การนัด แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าของพื้นที่เพื่อออกติดตามผู้ป่วยมารับยากรณีที่ผู้ป่วยขาดนัด

3. จุดที่เป็นวิธีปฏิบัติที่ดีเยี่ยม

- ใช้ปฏิทินการกินยา ซึ่งเป็นกระดาษ A4 ทำช่องวันที่คล้ายปฏิทินทั่วไป ขนาดช่องวันที่เท่ากับขนาดของซองยา

- ด้านหน้าปฏิทินกินยามีชื่อคนไข้ อายุ HN สูตรยาที่รับประทาน เดือนที่รับยา

- เขียนเดือนและปีที่มารับยาให้ชัดเจน

- เย็บซองยาสีชาซึ่งบรรจุยาที่ต้องรับประทานตามน้ำหนักตัวแบบวันต่อวัน (one day dose) ติดในช่องวันที่ให้ครบจนถึงวันก่อนนัด

- ช่องสุดท้ายเขียนวันนัด คำแนะนำในการมาตรวจและสิ่งที่ต้องนำมาตรวจตามนัด

- ด้านหลังปฏิทินมีคำแนะนำในการรับประทานยาและการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยและญาติ

- ติดฉลากชื่อยาที่รับประทานไว้ที่กรอบสี่เหลี่ยมด้านหลังปฏิทิน

จัดยาให้ผู้ป่วย 2 สัปดาห์ และนัดติดตามผลพร้อมสมุดประจำตัวบันทึกการกินยา

ห้องยาจัดยาให้ผู้ป่วย โดยจัดยาตามวันที่มารับบริการ และ Dose สุดท้ายก่อนวันนัดหนึ่งวัน

- ใช้ปฏิทินการนัด ที่ระบุรายชื่อผู้ป่วยที่นัดและรายการที่ต้องตรวจก่อนพบแพทย์ ตามวันที่ในปฏิทินแต่ละเดือน ช่วยให้เจ้าหน้าที่ทราบข้อมูลผู้ป่วยที่มาและไม่มาตามในแต่ละครั้ง สามารถติดตามให้ผู้ป่วยมารับยาต่อเนื่องได้ทันตามกำหนดเวลา

4. ประสิทธิผล

ต่อผู้ป่วย

1. รับประทานยาครบ ถูกต้องตามขนาด

2. การรักษาหายขาด ไม่มีปัญหาการดื้อยา

3. ลดค่าใช้จ่ายในการมารับการรักษา

4. ผู้ป่วยและญาติมีความพึงพอใจต่อบริการคลินิกวัณโรคมากขึ้น

ตารางแสดงการรักษาผู้ป่วยวัณโรค ปีงบประมาณ 2550

การรักษา

เป้า

ยางตลาด

กมลาไสย

หนองกุงศรี

สมเด็จ

ห้วยเม็ก

ห้วยผึ้ง

ราย

%

ราย

%

ราย

%

ราย

%

ราย

%

ราย

%

ผลเสมหะบวก

90

34

21

Cure Rafe

> 85

75

83.33

29

86.69

15

71.43

Successc Rate

> 85

75

83.33

29

86.69

15

71.43

ขาดยา

< 5

9

10

0

0

1

4.76

Conversion Rate

> 85

91.36

100

80

การติดตามเยี่ยม

> 80

100

ความพึงพอใจ

> 80

84.84

ผลการประเมินความพึงพอใจ

หัวข้อ

ยางตลาด

กมลาไสย

หนองกุงศรี

สมเด็จ

ห้วยเม็ก

ห้วยผึ้ง

1. กิริยามารยาทของเจ้าหน้าที่

83.33

2.ความเอาใจใส่ดูแลผู้มารับบริการ

83.33

3. การให้คำแนะนำ / ข้อมูลแก่

ผู้มารับบริการญาติ

87.5

4. สถานที่นั่งรอรับยา

82.29

5. ความสะดวกในการติดต่อกับ

เจ้าหน้าที่

83.33

6. ปฏิทินยา

95.83

6.1 สะดวกในการกินยา

83.33

6.2 ไม่ลืมกินยา

83.33

6.3 กินยาถูกต้องและครบตาม

ขนาด

83.33

6.4 ไม่ลืมวันนัด

83.33

6.5 ทราบอาการที่ควรมาพบ

แพทย์

83.33

ต่อเจ้าหน้าที่

1. ทำงานง่ายขึ้น มีความสุขในการทำงาน

2. ลดภาระงานในการติดตามผู้ป่วยมารับยา

ต่อโรงพยาบาล

1. ลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา

2. ลดการแพร่กระจายเชื้อในชุมชน ผู้ป่วยรายใหม่ลดลง

มาร่วมกันดูแลผู้ป่วยวัณโรคกันเถอะ

ยินดีนะคะ

ที่การดูแลผู้ป่วยวัณโรคเป็นระบบ เคยไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลผู้ป่วยวัณโรคที่โรงพยาบาลหนองกุงศรีร่วมกับทีมของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ หลังจากที่ได้ไปร่วมมาแล้วเห็นความก้าวหน้ามากไปไกลกว่าทีมศรีนครินทร์ ในการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน การกินยา

จริงๆ แล้วก็เป็นการทบทวนการทำงานนะครับเพราะเราก็ทำงานมามาก แต่ยิ่งทำก็ยิ่งรู้สึกว่าเรากำลังถลำลึกลงไป ดังนั้นจึงต้องหยุดแล้วมองไปรอบๆซิว่ามีอะไรที่เป็นจุดพลิกกลับไปสู่จุดหมายปลายทางร่วมกัน โชคดีที่มีทีมงานที่คิดตรงกัน เราก็เพิ่งเริ่มครับยังไม่รู้ว่ามาถูกทางไหม ยินดีรับ ลปรรฬ จากทุกท่านครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท