the_first_domino(4)-ลักษณะของตลาดนัด


ที่ผ่านมาเรามีแฟ้มรายชื่อหรือเว็บไซต์ลักษณะนี้มากมาย แต่ส่วนมากมันจะมีลักษณะเป็น “Supermarket”

(ร่างบทความสำหรับเผยแพร่ในเว็บไซท์ของนรทุนรัฐบาล)

บทความต่อไปนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับนักเรียนทุนรัฐบาล แต่เป็นความคิดเห็นของนักเรียนทุนคนหนึ่งต่อการยกสถานะทางวิชาการของประเทศเป็นสังคมแห่งองค์ความรู้ ผมนำเสนอบทความนี้ต่อนักเรียนทุนเป็นกลุ่มแรกเพราะผมเห็นว่าสังคมนักเรียนทุนนี้เป็นสังคมวิชาการที่เข้มแข็งที่สุดสังคมหนึ่งของประเทศ เป็นกลุ่มคนที่มีความสนใจ ความรู้ ประสบการณ์ และพันธมิตรที่หลากหลาย ท้ายสุดแล้วผมเชื่อว่าพวกเราต่างมีอุดมการณ์ลึกๆร่วมกันที่จะทำอะไรที่ยิ่งใหญ่เพื่อประเทศของพวกเรา

-----  - - -- - - - - - --- - ------------

“ตลาดนัด”ที่ว่าควรมีลักษณะอย่างไรบ้าง? ให้อะไรกับเราได้บ้าง?
อย่างแรกสุดตลาดต้องเป็นฐานข้อมูล อย่างน้อยที่สุดก็คือข้อมูลพื้นฐานของสมาชิกในด้านความถนัด เป็นต้นว่า สายการทำงาน และประสบการณ์งานที่เคยทำมา ที่ผ่านมาเรามีแฟ้มรายชื่อหรือเว็บไซต์ลักษณะนี้มากมาย(ทำเนียบนักวิจัย ทำเนียบนักเรียนทุน ทำเนียบพนักงาน ๙ล๙) แต่ส่วนมากมันจะมีลักษณะเป็น “Supermarket” คือมีคนกลางเป็นออกแบบสำรวจและสร้างlistของคนในหน่วยออกมา ข้อมูลปรากฎส่วนมากจึงเป็นข้อมูลจากมุมมองภายนอกโดยคนสำรวจ เป็นต้นว่า นายXXX จบสาขาชีวเคมีจากที่นั่นที่นี่ ปัจจุบันเป็นอาจารย์ มีผลงานpublcationได้แก่๑,๒,๓,… ปัญหาคือคนภายนอกไม่มีทางรู้ดีไปกว่าตัวสมาชิกเอง สาขาการเรียนหรือการทำงานแยกย่อยเจาะจงลงไปกว่าที่คนๆหนึ่งจะรู้รอบหมด คนเรียนสาขาเดียวกันจากที่เดียวกันยังไม่ความถนัดไม่เหมือนกัน ยิ่งไปกว่านั้น “ความสามารถ” อันเป็นสินค้าที่แท้จริงไม่ได้จำกัดอยู่ที่สาขาที่เรียน, งานที่ทำประจำ, หรือหน่วยงานที่สังกัด “ความสามารถ”มาจากความสนใจและประสบการณ์ส่วนบุคคล ที่สำคัญ”ความสามารถ”จะกลายเป็นสินค้าก็ต่อเมื่อเจ้าของมันเต็มใจจะใช้เต็มใจจะแลกเปลี่ยนทำประโยชน์
ฐานข้อมูลจึงควรมีความเป็นตลาดนัด ที่แต่ละสมาชิกนำเสนอตัวเอง เป็นห้องสมุดที่หนังสือแต่ละเล่มคือสมาชิกแต่ละคน คนกลางเพียงแค่อำนวยความสะดวกเท่านั้น
อย่างที่สองตลาดจะต้องคัดเอา “คนคุณภาพ” เข้ามา…จำนวนคนในตลาดยังไม่สำคัญเท่าคุณภาพ
“คนคุณภาพ”ไม่ได้นิยามที่ การศึกษา ตำแหน่งงาน อาชีพอะไร แต่”คนคุณภาพ”สำหรับตลาดคือคนที่รู้ว่าตัวเองถนัดอะไร และตั้งใจจะผสานความถนัดความรู้ที่มีอยู่เข้ากับกลุ่ม ตลาดนัดแห่งนี้จึงไม่ควรสร้างขึ้นจากนโยบายประเภทคำสั่งกว้างๆ
…คือสั่งให้คนเข้าไปอยู่ในตลาดในขณะที่เขายังไม่เห็นความจำเป็น
…สั่งในนักเรียน พนักงานทุกคนสร้างฐานข้อมูลของตัวเอง ซึ่งผลมันก็จะออกมาคล้ายๆกับที่ผมเคยเห็นมาเมื่อหลายปีก่อนตอนที่เรากำลังฮิตทำ portfolioกัน คือเราจะได้ฐานข้อมูลที่ใหญ่แต่กลวง สมาชิกส่วนมากนำเสนอตัวเองแบบขอไปที การรวมกลุ่มก็ไม่เกิดขึ้นเพราะสมาชิกส่วนมากไม่ได้เข้าตลาดมาเพื่อสร้างกลุ่ม
ดังนั้นคนที่จะผ่านเข้าประตูตลาดไป คือคนที่อย่างน้อยรู้ความสามารถของตัวเองและเข้าใจว่าการเข้าไปรวมกลุ่มกับคนที่ความสามารถคล้ายๆกันหรือหลากหลายออกไปจะช่วยให้เขาใช้ความสามารถได้ดีขึ้นไปอีก ทำอะไรได้มากขึ้นไปอีก ใครที่รู้สึกว่า”ข้ามาคนเดียวไม่เห็นเป็นไร”ก็ไม่ต้องสมัครเข้ามา
สาม ตลาดต้องคึกคัก คือมีคนเดินเยอะๆมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนเยอะๆ
               …ข้อสามนี่ต้องตามมาจากข้อสอง: คุณภาพของคนเป็นเรื่องสำคัญแต่ถ้าคุณภาพดีแล้ว ปริมาณเยอะด้วยอีกตังหากก็ยิ่งสุดยอด
                  ในตลาดที่คึกคักก็จะมีสินค้าให้สมาชิกเลือกเยอะและหลากหลาย โอกาสจะหาคนที่matchกับความต้องการก็จะง่ายเข้า ความหลากหลายในที่นี้ไม่ได้มีแค่เรื่องความรู้ และประสบการณ์เท่านั้น แต่รวมไปถึงคุณสมบัติในการสร้างทีมอีกด้วย
…คนบางคนถนัดที่จะทำงานในส่วนของตัวเอง  …เหมือนกับนักดนตรีในวงดนตรี
…คนบางคนถนัดที่จะประสานกลุ่มเอาไว้ด้วยกัน …เหมือนกับconductor
                ยิ่งตลาดนัดคึกคักโอกาสที่ทีมงานดีๆจะกำเนิดขึ้นก็ยิ่งเยอะ

 เราจะออกแบบตลาดนัดนี้อย่างไร? ตลาดนัดที่จะดึงดูด “คนคุณภาพ”ทุกหนแห่งให้มารวมตัวกัน
 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 19876เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2006 06:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2012 13:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท