องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ตามแนวพุทธธรรม


การเรียนรู้ตามแนวพุทธธรรม
จากประสบการณ์การบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรมชั้นนำมีแนวคิดมาให้ประยุกตฺใช้
ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคะ  ซึ่งแนวคิดนี้เป็นการประยุกต์ใช้หลักธรรมและ
วิธีการทางพระพุทธศาสนาในการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อสอดแทรกคุณธรรม  จริยธรรม
ให้เกิดขึ้นกับครูและนักเรียนเป็นเรื่องที่น่าสนใจในยุคของการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลให้
ครู  ผู้บริหาร   และนักเรียนห่างไกลจากวิถีธรรมจึงขอเสนอ   
องค์ประกอบในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวพุทธธรรมได้ดังนี้นะคะ
1. อาวาสสัปปายะ เตรียมสถานที่สอน
2. อาหารสัปปายะ เตรียมอุปกรณ์การสอน
3. กัมมสัปปายะ เตรียมเรื่องที่สอน
4. อริยาปกสัปปายะ เตรียมกิจกรรมการสอน
5. ปุคคลสัปปายะ เตรียมคน(ครู ภูมิปัญญาชาวบ้าน วิทยากร ฯลฯ)ที่จะสอน
6. อุตสัปปายะ เตรียมสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้
7. โคจรสัปปายะ เตรียมชุมชน
หลักการสอน
สอนให้รู้จัก ปริยัติ haed Knowledg
สอนให้รู้จริง ปฏิบัติ hand Prossess
สอนให้รู้แจ้ง ปฏิเวช heart Attitued
ครูจะต้องมีลักษณะ
รูปัปปมาณิกา  งามรูป (บุคลิกภาพดี   แต่งกายเป็นแบบอย่าง)
โฆสัปปมาณิกา  งามเสียง  (พูดเพราะ  ด้วยวาจาภาษาดอกไม้)
ลูขัปปมาณิกา   งามความประพฤติ  (ประพฤติตนอยู่ในระเบียบวินัย  จรรยาบรรณวิชาชีพครู)
ธัมมัปปมาณิกา  งามความรู้   ( มีปัญญา  มีความรู้พร้อมที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้อย่างถูกต้อง)
ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ครูจะต้องคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียนดังนี้
บุคคล ๔ (ประเภทของบุคคล - four kinds of persons) 
๑. อุคฆฏิตัญญู (ผู้ที่พอยกหัวข้อก็รู้, ผู้รู้เข้าใจได้ฉับพลัน แต่พอท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง 
- a person of quick intuition; the genius; the intuitive) 
๒. วิปจิตัญญ (ผู้รู้ต่อเมื่อขยายความ, ผู้รู้เข้าใจได้ ต่อเมื่อท่านอธิบายความพิสดารออกไป
 - a person who understands after a detailed treatment; the intellectual) 
๓. เนยยะ (ผู้ที่พอจะแนะนำได้, ผู้ที่พอจะค่อยชี้แจงแนะนำให้เข้าใจได้ ด้วยวิธีการฝึกสอนอบรมต่อไป 
- a person who is guidable; the trainable) 
๔. ปทปรมะ (ผู้มีบทเป็นอย่างยิ่ง, ผู้อับปัญญา สอนให้รู้ได้แต่เพียงตัวบทคือพยัญชนะหรือถ้อยคำ 
ไม่อาจเข้าใจอรรถคือความหมาย - a person who has just word of the text at most; an idiot) 
 อ้างอิง http://ecurriculum.mv.ac.th/dhamma/dhammathai/bd/04.php.htm
หมายเลขบันทึก: 198142เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2008 21:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท