จากงาน 7th HA National Forum (3): Clinical tracer


การตามรอยนั้น ควรดูให้ครอบคลุมกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมากที่สุด

แนวคิดเรื่อง การตามรอย เป็นเรื่องที่โดนใจตัวเองมาก ถึงแม้ พรพ. จะเน้นหนักในการตามรอยทาง clinic  แต่โดย concept แล้ว คิดว่านำมาใช้ได้การพัฒนางานบริการทางห้องปฏิบัติการได้ รวมทั้งแนวคิดอีกหลายอย่างที่นำเสนอในการประชุม คิดว่าสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้  จึงอยากเชิญชวนให้ชาวห้องพยาธิ อ่านบันทึกที่เก็บเกี่ยวจากการประชุมคราวนี้ต่อๆ ไปนะคะ

Clinical tracer?
หมายถึงสภาวะทางคลินิก ที่ใช้ติดตามประเมินคุณภาพ ในแง่มุม (องค์ประกอบต่างๆ) สภาวะที่ว่า อาจเป็นตัวโรค  ภาวะแทรกซ้อนของโรค  หัตถการ  หรือ ปัญหาสุขภาพ ก็ได้

การตามรอยนั้น ควรดูให้ครอบคลุมกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น กระบวนการทำงานในเรื่องนั้น และองค์ประกอบอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น การพัฒนาบุคลากร ระบบสารสนเทศ เครื่องมือ สิ่งแวดล้อม ระบบยา ฯลฯ

เขียนตอนนี้ หลายคนก็อาจยังไม่เข้าใจ ลองดูตัวอย่างจากรพ.ตำรวจ เขาเล่าให้ฟังการตามรอย โรคหูน้ำหนวกเรื้อรัง เนื่องจากเขาพบปัญหาหลังผ่าตัดหลายอย่าง เช่น graft failure, facial nerve palsy, infection, hematoma   จึงมีการตามไปดูในองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัด เช่น วิธีผ่าตัด  ขั้นตอนขอความร่วมมือจากผู้ป่วย  อุปกรณ์ที่ใช้  นำมาสู่การปรับเปลี่ยนแนวทางการดูแลผู้ป่วย ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ให้ทันสมัยขึ้น การดูแลร่วมก่อนผ่าตัด  การดูแลต่อเนื่องหลังกลับบ้าน และคำแนะนำในการดูแลตนเอง

เอ.. แล้วจะใช้แนวทางนี้ กับงานพยาธิได้ไหม?  ใครที่เคยฟังการนำเสนอโครงการพัฒนาคุณภาพการเตรียม  cryoprecipitate ของ ทีม Cryo project ใน Otop 1 คงตอบว่า นั่นแหละ คือกระบวนการตามรอยคุณภาพของ cryoprecipitate ที่ยอดเยี่ยมมาก

คำสำคัญ (Tags): #คุณภาพ#ha#tracer
หมายเลขบันทึก: 19805เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2006 12:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

พออ่านเรื่องนี้ปุ๊บก็นึกตัวอย่างได้อีกเรื่องปั๊บเลยค่ะ อันนี้จะเป็นโครงการณ์ Otop2 ของพี่ประจิมและคณะ เราตามรอย tube ที่ใช้ใส่เลือดมาตรวจ sugar ซึ่งเราพบปัญหาว่ามีการ clot เป็นจำนวนมากในแต่ละเดือน เราเริ่มจากการเห็นสถิติว่ามีมากจัง เดือนที่ผ่านมา 50 กว่าราย พี่ประจิมก็เลยเริ่มขบวนการตามรอย ตั้งแต่วิธีเตรียม tube การผสมเลือดหลังจากเจาะแล้ว ทำให้ทีมงานเป็นทีมระหว่างหน่วยอีกเหมือนกันค่ะ ทั้งห้องล้าง, ทีมเจาะเลือด คิดว่าพี่ประจิมคงได้มาเล่าข่าวคราวในอีกไม่นาน (หลังจากเชี่ยวชาญการใช้บล็อกจากการเป็น แดจิมกึง ในชุมชน Path Variety)  

เราคงสามารถใช้วิธีการนี้ได้ในปัญหาที่พบเห็นจากการส่งตรวจนี่แหละค่ะ ซึ่งจะทำให้กระบวนการแก้ปัญหาทำได้ถูกจุดมากขึ้น

   อ่านเรื่อง tracer ของ CKO มาสามตอน ทำให้นึกถึงรายการ "กบนอกกะลา" ของช่อง 9 ขึ้นมาทันทีเลยค่ะ
   พี่เม่ยขอเสนอความเห็นสัก 2 ประเด็นค่ะ..
  • tracer ย้อนหลัง..ตามปัญหา..หาสาเหตุของปัญหาให้ครอบคลุมมากที่สุด แล้วแก้ที่เหตุ (เช่นเรื่อง Cryoprecipitate ที่ CKO พูดถึง) อย่างนี้น่าจะเรียกว่า "ย้อนรอย"
  • tracer ไปข้างหน้า..ตามผลสำเร็จ..เป็นการติดตามประเมินผล ว่าสำเร็จแล้วนำไปใช้อะไรได้บ้าง เกิดผลดีมากน้อยเพียงใด (เช่น..เตรียม cryo ได้คุณภาพแล้ว เมื่อนำไปใช้กับผู้ป่วยแล้วผลการรักษาดีขึ้นไหม ถ้าไม่ดีก็ต้องตามรอยต่อไปว่าเพราะเหตุใด แก้ไขกันต่อไป) อย่างนี้เรียก "สะกดรอย"
ในการพัฒนาคุณภาพงาน น่าจะทำทั้งสองอย่างไปพร้อมๆกัน...ไหมคะ?
ที่พี่เม่ยพูดอย่างหลัง คือการตามไปดูผลสำเร็จ อันนี้ ก็อยู่ในกระบวนการตามรอย เป็นส่วน การวัดผล ค่ะ แล้วจะเล่าให้ฟังต่อไป
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท