การบริหารงานวิชาการ


เรื่องของงานวิชาการ

งานวิชาการถือว่าเป็นหัวใจของการบริหารการศึกษา เพราะจุดมุ่งหมายของสถานศึกษาก็คือ  การจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ  ซึ่งขึ้นอยู่กับงานวิชาการทั้งสิ้น  งานวิชาการเป็นกิจกรรมการจัดการเกี่ยวกับงานด้านหลักสูตร  การนำหลักสูตรไปใช้  แบบเรียน  งานการเรียนการสอน  งานสื่อการเรียนการสอน  งานวัดผลและประเมินผล  งานห้องสมุด  งานนิเทศการศึกษา  งานวางแผนการศึกษา  และงานประชุมอบรมทางวิชาการ  เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุจุดหมายของการศึกษาที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพสูง

                จะเห็นได้ว่าการบริหารงานวิชาการนับเป็นงานที่สำคัญของโรงเรียน  เป็นหน้าที่หลักของโรงเรียน ถือเป็นหัวใจของการบริหารโรงเรียน  โรงเรียนจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับงานวิชาการของโรงเรียน ที่จะสร้างนักเรียนให้มีคุณภาพ มีความรู้  มีจริยธรรม  และคุณสมบัติตามที่ต้องการ เพื่อนำไปใช้ในการดำรงชีวิตในสังคมต่อไปได้เป็นอย่างดี

งานวิชาการมีขอบข่ายครอบคลุมเกี่ยวกับงานด้านหลักสูตร  และการเรียนการสอน  ตั้งแต่การวางแผนเกี่ยวกับงานวิชาการ  การจัดดำเนินงาน  เกี่ยวกับการเรียนการสอน  การจัดบริการการสอน  ตลอดจนการวัด และประเมินผล  รวมทั้งติดตามผล และสื่อการสอนรวมไปถึงการพัฒนาผู้สอนตลอดจนการดำเนินกิจการของโรงเรียนจะต้องเป็นไปตามหลักสูตร  และระเบียบพิธีการของการเรียนการสอน จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคมทุกระยะ  ด้วยการจัดเนื้อหาวิชาให้ทันสมัย  บางครั้งก็มีการเพิ่มวิชาใหม่ ๆ เข้าไปด้วยผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียนอย่างแท้จริงนั้น เกิดจากการเรียนการสอน  ดังนั้น  เมื่อหลักสูตรเปลี่ยนก็จำเป็นต้องอบรมครูตามไปด้วย เพราะการใช้หลักสูตรในโรงเรียนจะมีส่วนเกี่ยวโยงไปถึงการจัดตารางสอน การจัดชั้นเรียน  วิธีสอน การใช้อุปกรณ์การสอนและการประเมินผลดังนั้นจะเห็นได้ว่า  งานวิชาการเป็นงานที่มีขอบข่ายครอบคลุมหลายด้าน  อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพแก่ผู้เรียนทุกด้าน  ซึ่งสามารถสรุปขอบเขตของงานวิชาการได้ดังนี้  งานการจัดหลักสูตร  งานการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  งานการใช้วิธีการสอน และการใช้สื่อการเรียนการสอน  งานการวัดผลการเรียนการสอน และการนิเทศการสอน

หลักการบริหารงานวิชาการ

                ในการบริหารงานวิชาการจะต้องมีหลักการและวิธีการดำเนินงาน  เพื่อให้เกิดความ

คล่องตัวในการบริหาร  ดังนั้นในหลักการเบื้องต้นของการบริหารจึงต้องมีข้อความชัดเจนในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

                1. ยึดหลักให้สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาให้เป็นไปตามกรอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานและสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชนและสังคมอย่างแท้จริง  โดยมีครู  ผู้บริหาร  ผู้ปกครอง  และชุมชนมีส่วนร่วม

                2. มุ่งส่งเสริมสถานศึกษาให้จัดกระบวนการเรียนรู้  โดยถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด

                3. มุ่งส่งเสริมให้ชุมชนและสังคมมีส่วนร่วมในการกำหนดหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้ รวมทั้งเป็นเครือข่ายและแหล่งการเรียนรู้

                4. มุ่งจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐาน โดยจัดให้มีดัชนีชี้วัดคุณภาพการจัดหลักสูตร

และกระบวนการเรียนรู้ และสามารถตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษาได้ทุกช่วงชั้นทั้งระดับเขต

พื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา

                5. มุ่งส่งเสริมให้มีการร่วมมือเป็นเครือข่าย  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพในการจัดและพัฒนาคุณภาพการศึกษา

ที่มา  http://www.onec.go.th.

 

คำสำคัญ (Tags): #วิชาการ
หมายเลขบันทึก: 197857เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2008 16:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 04:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากรู้เกี่ยวกับความต้องการและปัญหาของชุมชนในการมีส่วนร่วมบรหารงานวิชาการ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท