ของเล่นเล่าเรื่อง ตอน ภูเขาน้ำเเข็งที่ซ่อนอยู่



                  ข้อความบรรทัดกว่าๆ ที่เด็กหญิงคนหนึ่งเขียนขึ้นบอกเราถึงเรื่องราวมากมายที่อยู่ในโลกความเข้าใจของเธอ 
                  ท่าเราเป่าลมน้อยลูกป่องจะออกมาน้อยท่าเราเป่าลมมากลูกป่องจะออกมมากๆมันลอยได้เพราะมีฟองอากาศอยู่ในฟองสะบู่อากาศมาจากลมที่เราเป่า   (รักษาตัวสะกดตามต้นฉบับเดิม)

                  แม้ตัวสะกดที่ใช้จะยังไม่ถูกต้องนัก แต่ก็เห็นได้ชัดว่ามีความสามารถในการผันอักษรให้ได้เสียงอย่างที่ต้องการ การใช้ตัว ย่อมเป็นที่คุ้นเคยกว่า เพราะมีคำในชีวิตประจำวันมากมาย ทำให้เกิดความคุ้นชินในการนำเอาตัว ท มาใช้ทันที เมื่อต้องการจะใช้เสียง เทอะ
                  เป็นที่น่าสังเกตว่าหนูคนนี้สามารถเขียนคำว่า อากาศ ได้อย่างถูกต้อง ทั้งๆที่เป็นคำยาก  แต่สำหรับเธอคำว่าอากาศเป็นคำที่ไม่ยากเลย นั่นเพราะมีโอกาสได้ใช้บ่อยจนเกิดความเคยชินนั่นเอง  เพราะในหน่วยวิชามานุษย์กับโลกของโรงเรียนนี้มีการสอนเรื่องอากาศ  ดังนั้นการจะระบุว่าคำใดเป็นคำยาก หรือคำที่ไม่ยากนั้น ส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้เรียนมีโอกาสใช้บ่อยแค่ไหน และการระบุว่าคำที่กำลังเรียนอยู่เป็นคำยากนั้น บางทีอาจทำให้เด็กเกร็ง และเกิดอาการท้อถอย รู้สึกว่าเป็นเรื่องยากทันทีที่ได้เห็นคำเหล่านั้นก็เป็นได้ จากนั้นก็จะพาลให้รู้สึกสับสนกับตัวสะกด และท้ายที่สุดก็จะรู้สึกว่าการเรียนเป็นเรื่องยากไปจริงๆ

                  การมีความรู้เรื่องอากาศว่ามีคุณสมบัติเบา ลอย  และเป็นสิ่งที่ออกมาได้จากการหายใจ ก็ทำให้เขาอธิบายหลักการใหญ่ๆของของเล่นชิ้นนี้ได้แล้วว่าปลาเป่าฟองสบู่ ทำงานอย่างไร  การที่เขารู้ได้ว่าน้ำในขวดนี้คือฟองสบู่ ก็แสดงว่าเขาต้องเคยมีประสบการณ์ในการใช้สบู่เหลวมาก่อน เมื่อเห็นของเหลวที่มีลักษณะคล้ายกันจึงระบุได้ว่าคือสบู่ แม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่เคยเห็น และไม่ได้เป็นก้อนอย่างที่สบู่ควรจะเป็นก็ตาม สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าเขาสามารถระบุความเป็นสบู่ได้ และนำไปใช้ได้อย่างแม่นยำ
                  และเด็กคนนี้ยังสังเกตและใคร่ครวญถึงอาการของฟองที่สัมพันธ์กับการเป่าลมของเธอได้ว่า ถ้าเป่าลมออกมาน้อย ลูกป่อง(หรือลูกโป่ง) จะออกมาน้อย ถ้าเป่าลมมากลูกป่องจะออกมามาก แสดงให้เห็นถึงความมีทักษะทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างชัดเจน เพราะทักษะแรกที่เด็กจะต้องเรียนรู้จากวิชาวิทยาศาสตร์คือทักษะการสังเกต และบันทึกสิ่งที่เห็นให้ตรงกับความเป็นจริง แล้วถ่ายทอดสิ่งที่เห็นออกมาได้

                  มีการเห็นจำนวนไม่น้อย ที่ผู้เห็นไม่ได้เห็นสิ่งที่อยู่ตรงหน้า แต่เป็นการเห็นสิ่งที่อยู่ในจินตภาพเดิมของตน ที่ได้สร้างขึ้นไว้ก่อนหน้านี้ การสอนให้ลูกศิษย์ เห็นในสิ่งที่เห็นอย่างตรงไปตรงมา เป็นความยากอย่างหนึ่งของครู แต่เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่ต้องได้รับการฝึก

                  ครั้งหนึ่งครูเคยพากลุ่มเด็กที่อยู่ในวัยเดียวกันนี้ไปนั่งสังเกตไก่ที่มีชีวิต และกำลังเดินไปเดินมา แล้วบอกให้เด็กวาดไก่ตัวนี้ให้เหมือน  ปรากฏว่ามีเด็กบางคนวาดไก่เป็นรูปวงกลมสองวง มีขาเป็นขีดตรงลงมา ครูต้องไปชวนให้ดู และชวนให้สังเกตส่วนต่างๆของไก่อยู่เป็นนาน กว่าเด็กจะมองเห็นและวาดสิ่งที่เห็นออกมาได้บ้าง บางคนก็นั่งหันหลังให้ไก่ แล้วก็วาดออกมาจนเสร็จโดยที่ไม่ได้หันไปมองไก่ตัวที่กำลังเดินอยู่เลย

                
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 19776เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2006 22:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท