ความ(ไม่)สำเร็จของการแต่งตั้งคณะกรรมการ/ความล้มเหลวของการแต่งตั้งคณะกรรมการ


เคยมีการมีพูดคุยปรึกษาหารือกันหรือไม่ ว่างานที่เราได้ทำไปนั้น ผลเป็นอยางไรบ้าง สำเร็จหรือล้มเหลวเพียงใด คณะกรรมการแต่ละท่าน ได้ทำหน้าที่ของตนเองเต็มที่หรือไม่

          ข้าราชการหลายท่านที่ทำงานอยู่ในระบบราชการไทย คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องได้รับการเข้าร่วมเป็นกรรมการนู่นบ้าง กรรมการนี่บ้าง ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ไม่แปลกอะไร แต่เคยสงสัยบ้างไหมคะว่า บางคนได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการถึง 2 หรือ 3 ตำแหน่งในงานเดียวกัน เช่น เป็นคณะกรรมการด้านสถานที่ แล้วยังเป็นคณะกรรมการด้านการประเมินผล อะไรทำนองนี้ แล้วหลังจากเสร็จงาน เคยมีการมีพูดคุยปรึกษาหารือกันหรือไม่ ว่างานที่เราได้ทำไปนั้น ผลเป็นอยางไรบ้าง สำเร็จหรือล้มเหลวเพียงใด คณะกรรมการแต่ละท่าน ได้ทำหน้าที่ของตนเองเต็มที่หรือไม่ หรือบางคนเสร็จงานแล้วหน้าที่ของตนเองต้องทำอะไรบ้างก็ยังไม่ทราบ เพราะเพื่อนทำหมด ตัวเองไม่รู้ด้วยซ้ำว่าทำหน้าที่อะไร (เพราะตอนชี้แจงหน้าที่ของคณะกรรมการไม่ได้เข้าฟัง หรือฟังแล้วแต่ไม่อยากทำ ใครจะทำไม)

          ที่ยกประเด็นนี้ขึ้นมาก็ไม่ใช่อะไรมากหรอกค่ะ เพราะว่าต้องการถามว่า จำเป็นไหมคะ ที่การดำเนินงานแต่ละอย่างของส่วนราชการ จะต้องมีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมามากมายซะเหลือเกิน แต่ถ้าถามว่า คนที่ทำงานจริงๆ น่ะ มีใครบ้าง ก็นับได้ไม่กี่คนหรอกค่ะ แต่งตั้งคนที่มีตำแหน่งสูงๆ มาเป็นประธาน แต่ไม่ได้ทำหน้าที่ประธานอย่างจริงจัง แต่งตั้งคนตำแหน่งเล็กๆ เป็นคณะกรรมการตัวน้อยๆ แต่จริงๆ แล้ว ต้องทำเอง ตัดสินใจเองทุกอย่าง มันควรจะยังมีต่อไปหรือไม่คะ หรือเราจะทำอย่างไรกับที่ข้าราชการที่ยังติดอยู่กับกระบวนการนี้ดีคะ ช่วยกันแสดงความคิดเห็นหน่อยค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #คุณภาพ
หมายเลขบันทึก: 19771เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2006 20:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

     ความเห็นพี่ พอจะ(อยาก)ฟังไหม หรือเบื่อ ๆ ก็บอกนะ (ยิ้ม)

     ประเด็นการให้ผู้ที่มี power (ไม่ใช่ตำแหน่งสูง ๆ อย่างเดียว) เป็นประธานก็ยังจำเป็นในบางบริบท แต่ไม่ทั้งหมด

     ส่วนที่บอกว่าน่าจะสรุปหลังการดำเนินงานนั้น น่าจะพอจำได้ ลองใช้ AAR: After Action Review ดูซิ หากจะลองอีกครั้ง พี่จะไป คปสอ.เขาชัยสน อีกครั้งในวันที่ 29-30 มีนาคม 2549 นี้ แล้วพบกันนะ พี่จะไปนำเพื่อทำ AAR ยุทศาสตร์พัฒนาสุขภาพฯ ให้ด้วยนะครับ

     พี่ชื่นชมนะ การตั้งประเด็นของน้องพี่มองว่าเพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบสาธารณสุขได้ดีทีเดียว อยากเห็นน้อง ๆ HSRD มา ลปรร.กันในเวทีนี้อีกเยอะ ๆ เลย ฝากชวนด้วยซิครับ (พี่ไม่กล้าชวน เพราะประวัติไม่ดี...ฮา)

ขอบคุณมากนะคะ สำหรับคำชมและกำลังใจที่มีให้น้อง ส่วนเรื่องที่พี่บอกว่า ชวนชาว HSDR มาร่วมกันน่ะค่ะ ตอนนี้ชวนมาได้ 2 คนแล้วค่ะ แต่จะไม่หยุดชวนหรอกค่ะ และจะไม่ชวนเฉพาะชาว HSRD นะคะ ชวนทุกคนค่ะ แล้วแต่ว่าใครจะสนใจค่ะ

 

 

ส่วนเรื่องที่พี่บอกไม่กล้าชวน เพราะประวัติไม่ดีนั้น น้องมองว่าคนเรา (เกือบ) ทุกคนค่ะ ที่มีประวัติ หรือจุดเจ็บในใจ กันทั้งนั้นแหละค่ะ แต่คนที่ได้เรียนรู้จากจุดนั้น และนำมันมาเป็นจุดในการพัฒนาตัวเอง น้องว่าน่าชื่นชมนะคะ และที่สำคัญกว่านะคะ ตามหลักพุทธศาสนา ท่านให้มองที่ปัจจุบัน น้องคิดว่าการทำปัจจุบันให้ดีที่สุด และมองไปข้างหน้า น่าจะดีกว่าจมอยู่กับเงาที่เลวร้ายของวันวารนะคะ

 

     อาจารย์หมอวิจารณ์ ฝากภาพถ่ายจากงาน HA Forum 7 มาให้นะ พี่จะส่งไปทาง e-mail ต่อนะครับ

     เห็นด้วยที่บอกว่าเราต้องเรียนรู้จากเมือวันวาน เพื่อสร้างสรรค์วันนี้และวันหน้า สำหรับพี่ไม่มีความสังสัยในอดีต เพียงล้อเล่นกันบ้างเท่านั้น (ยิ้ม ๆ) ชวนเถอะ ชวนกันให้เยอะ ๆ เพื่อเข้ามา ลปรร.กันในเวทีแห่งนี้ ไม่ต้องเลือกว่าเขาคือใคร ดีไหม!

     สสจ.พัทลุง (ในโครงการไตรภาคีฯ) จะดำเนินการจัด KM Workshop "การร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน" เรื่องนี้ ในเร็ว ๆ นี้ อย่าลืม set ทีมจากเขาชัยสน เข้ามานะครับ แต่มีเงื่อนไขว่าคน ๆ นั้นต้องส่งเรื่องเล่าที่ภูมิใจในการทำงานสาธารณสุขของตนเองมากที่สุดมา 1 เรื่อง เพื่อรับการพิจารณา เมื่อได้รับการคัดเลือก ที่เหลือจะฟรีหมด (โครงการออกค่าใช้จ่ายให้ในการเข้าร่วม KM Workshop "การร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน") ดีไหมเอ่ย!

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท