บทความเรื่องมือใหม่กับการถ่ายวีดีโอ ถ่ายให้เป็นทำอย่างไร?


คุณเคยมีประสบการณ์แบบนี้หรือไม่? คุณหยิบ miniDV ใหม่ของคุณ .(เลือกมานานนมกว่าจะตัดสินใจซื้อ) และพอวันหยุดก็จะพาครอบครัวไปที่นั่นที่นี่เพื่อที่จะลองถ่าย หรือพกไปในโอกาสสำคัญ ๆ ก็หยิบขึ้นมาถ่ายเพื่อเก็บไว้เป็นประวัติศาสตร์ของครอบครัว แต่ช่างมือใหม่เสียจริง ๆ รู้อย่างเดียวว่า switch ON แล้วก็กด Record แล้วก็โฟกัสไปยังสิ่งที่ต้องการ ด้วยประสบการณ์อันน้อยนิดในการถ่ายวีดีโอ เห็นคนอื่นเค้าทำได้ ฉันก็ทำมั่ง ดูจากทีวีบ้าง ดูจากหนังบ้าง หลังจากนั้นก็เอาเข้าคอมพิวเตอร์ทำจนหามรุ่งหามค่ำ ไม่หลับไม่นอนกัน เพื่อถ่ายลงแผ่น CD /DVD เอาไปอวดพวกเดียวกัน

คุณเคยมีประสบการณ์แบบนี้หรือไม่? คุณหยิบ miniDV ใหม่ของคุณ .(เลือกมานานนมกว่าจะตัดสินใจซื้อ) และพอวันหยุดก็จะพาครอบครัวไปที่นั่นที่นี่เพื่อที่จะลองถ่าย หรือพกไปในโอกาสสำคัญ ๆ ก็หยิบขึ้นมาถ่ายเพื่อเก็บไว้เป็นประวัติศาสตร์ของครอบครัว แต่ช่างมือใหม่เสียจริง ๆ รู้อย่างเดียวว่า switch ON แล้วก็กด Record แล้วก็โฟกัสไปยังสิ่งที่ต้องการ ด้วยประสบการณ์อันน้อยนิดในการถ่ายวีดีโอ เห็นคนอื่นเค้าทำได้ ฉันก็ทำมั่ง ดูจากทีวีบ้าง ดูจากหนังบ้าง หลังจากนั้นก็เอาเข้าคอมพิวเตอร์ทำจนหามรุ่งหามค่ำ ไม่หลับไม่นอนกัน เพื่อถ่ายลงแผ่น CD /DVD เอาไปอวดพวกเดียวกัน แต่เจ้ากรรมจริง ๆ เอาเล่นออกทีวีมันช่างวืบ ๆ ๆ วาบ ๆๆ ไปหมด ดูแล้วเวียนหัวจังเลย หรือบางที่ก็หลับไปเลย ทำไม? มันไม่เหมือนที่ ทีวี / VCD / DVD ที่เค้าทำกัน ยิ่งไปดูตาม department store ที่เค้าโชว์ มันสวยจังเลยทำไมของเราเป็นแบบนี้ นี่แหละที่เค้าเรียกว่ามือใหม่ จะทำอย่างไร? ที่จะทำได้แบบเขา ก็อยากแนะนำว่าลองดูขั้นตอนเหล่านี้ ถึงแม้ว่าผมก็ไม่ได้เป็นมืออาชีพ แต่ก็ลองเอาวีดีโอเก่าเมื่อตอนซื้อกล้องและถ่ายเก็บไว้แรก ๆ แล้วเปรียบกับตอนนี้มันช่างแตกต่างกันหนา อยากจะย้อนไปในอดีตก็ทำไม่ได้ แล้ว ก็เลยปรง แล้วก็เก็บมาถ่ายทอดให้คนอื่นได้เรียนรู้กัน เพื่อที่จะไม่ต้องเลียนแบบที่ผมมีประสบการณ์ผ่านมา การถ่ายวีดีโอเป็นทรัพยากรที่สำดัญที่สุดที่จะทำให้ผลงานดีที่สุด ปัจจัยอย่างอื่น มันเกี่ยวข้องน้อยที่สุด การที่ได้วีดีโอที่ดีมาแล้ว ถือว่าสำเร็จไปแล้ว 80%

การที่จะได้วีดีโอที่ดีมาได้ ลองนำเอาเทคนิคเหล่านี้ไปประกอบกับการถ่ายวีดีโอ

1. หลีกเลี่ยงการซูม เข้าและออกมากเกินไป

โดยปกติคนขายกล้องมักจะโฆษณาโอ้อวด กล้องวีดีโอของเขามีความสามารถสูงสามารถซูมได้หลายร้อยเท่ามากกว่ายี่ห้ออื่น ๆ ทั้ง ๆ ที่นั่นมันไม่ได้เป็นปัจจัยที่ดีเลยเพราะว่า ถ้าคุณซูมมากกว่า 4X ก็เกิดอาการสั่น ภาพที่ได้ออกมาก็ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ยกเว้นคุณจะใช้ขาตั้งกล้องควบคู่กับการซูม เมื่อเราหลงคารมคนขายก็ได้กล้องที่ความสามารถในการซูมสูง และพวกเราก็ใช้มันเสียเลย แบบว่าซูมเข้า ๆ ออก ๆ เป็นว่าเล่น พอทำเป็น CD หรือ DVD ออกมา ดูแล้วมึน เพราะฉะนั้นหลีกเลี่ยงการใช้ซูมให้น้อยที่สุดและที่เท่าจำเป็น และถ้าจำเป็นต้องการใช้ซูมก็ขอให้ช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้ และไม่ควรใช้ซูมระหว่างขณะที่เปลี่ยนฉาก ถ้าทำอย่างนี้ได้วีดีโอก็จะดูดีขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง แต่ผมบางครั้งหลงลืมตัวใช้เหมือนกัน

2. จับกล้องให้นิ่งขณะถ่ายวีดีโอ

กล้องวีดีโอ ปัจจุบันนี้ตัวขนาดเล็ก และมีปัญหาแน่นอนกับอาการสั่น ไม่เหมือนกล้องรุ่นใหญ่ ๆ มีน้ำหนักมากต้องแบกใส่บ่า และนั่นแหละก็เป็นลดอาการสั่นได้ดี แต่ไม่มีคนอยากใช้เพราะพกพาลำบาก จึงต้องมาใช้กล้องวีดีโอขนาดเล็ก

ถึงแม้ว่าจะจับกล้องให้นิ่งแล้ว แต่อาการสั่นก็จะมีนิดหน่อย แต่เทคโลยีของกล้องก็สามารถชดเชยอาการสั่นได้เล็กน้อย วีดีโอที่ออกมาก็จะดูนิ่ง หรือถ้าหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็อาศัยเทคนิคในการทำกล้องให้นิ่งอย่างอื่น เช่น ใช้ขาตั้งกล้อง (สามขา) เหมือนกับมืออาชีพเค้าใช้กัน (แบบนี้นายแบบ นางแบบตัวน้อยของพวกเรา ๆ ท่าน ๆ ไม่รอหรอกครับ วิ่งกันกระจัดกระจาย มีน้อยคนที่ใช้) หรือ ง่ายขึ้นมาอีกหน่อยก็ใช้ขาตั้งแบบขาเดียวตั้งบนพื้นแล้วก็จะกล้องให้นิ่ง แบบนี้ก็จะเกิดอาการเอียงเกิดขึ้นบ้างแต่ก็ลดอาการสั่นดีกว่าใช้มือจับ หรือยืนให้หลังพิงฝา หรือนั่งคลุกเข่า ถ้าจะให้ดี ถ่ายวีดีโอแบบไม่ใช้จอ LCD เอากล้องแนบกับลูกตาแล้วกดให้นิ่ง แบบนี้ก็ลำบากกับคนใส่แว่น เหมือนกัน

3. การถ่ายวีดีโอเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ให้เป็นที่น่าสนใจ มีชีวิตชีวา

เรื่องราวต่าง ๆ ที่เราบันทึกไว้ในวีดีโอ เสมือนกับเราพาคนดูวีดีโอของเราไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ ถ่ายบรรยากาศรอบ ๆ หลังจากนั้นก็ตัดเข้าไปหากลุ่มที่เราต้องการโฟกัส คนใดคนหนึ่งที่เป็นตัวหลัก และบันทึกวีดีโอเสมือนเราเอากล้องไปวางไว้บนหัวของคนนั้น ๆ ตัดไปตัดมา เช่น วันนี้พาลูกสาวตัวเล็ก ๆ เข้าไปชมพระบรมมหาราชวัง อันดับแรกก็ถ่าย ภาพวิวรวมทั้งหมดก่อน หลังจากนั้น ก็วิ่งไปดักหน้า แล้วก็ถ่ายเธอกำลังเดินเข้ามากับแม่ของเขา หลังจากเธอก็เดินผ่านไปแล้วก็มองเจดีย์สักอย่างหนึ่ง เราก็ถ่ายข้าง ๆ หรือด้านหลังว่าเธอกำลังมองเจดีย์ แล้วก็ตัดไปถ่ายเจดีย์นั้น ฉะนั้นคนที่ดูวีดีโอ ก็จะตื่นเต้นเหมือนกับเดินไปกับลูกสาวของเรา

4. การลำดับเรื่องจะจบ หรือการเริ่มต้น?

นี่เป็นเทคนิคการลำดับเรื่อง บางครั้งก็ออกอาการมึนเหมือนกันว่าจะเริ่มอย่างไร? และจะจบอย่างไร? ดูแล้วสนุกตื่นเต้น แบบนี้ก็สามารถลอกเลียนแบบภาพยนต์สักเรื่องหนึ่ง หรือสารคีใด ๆ สักเรื่อง เช่น เริ่มจากการเกริ่นจากในบ้านคุณแม่กำลังคุย + เปิดหนังสือท่องเที่ยวให้ลูกสาวดูที่ใดที่หนึ่งแล้วก็เล่าเรากำลังจะไป ตัดไปยังขณะขับรถเดินทาง ตัดไปยังแผนที่แล้วก็มีรถวิ่งจากบ้านไปที่ที่ต้องการจะไป แล้วก็ผ่านสิ่งต่าง ๆ ตามข้างทาง แล้วก็ถึงที่หมาย แล้วบันทึกกิจกรรมในวันนั้น ๆ และช่วงกลาง ๆ ของกิจกรรม บางครั้งก็อาจะตัดกลับไปในบ้านคุณแม่กำลังคุย + เปิดหนังสืออีกครั้งหนึ่งแทรกไปอยู่เป็นตอน ๆ สุดท้ายก็เดินทางกลับบ้านเหมือนกับการเดินทางไป และก็จบลงตรงที่แม่อ่านหนังสือจบและพูดคุยกับลูก เทคนิคเหล่านี้ขึ้นอยู่กับการจินตนาการ+เทคนิคการตัดต่อด้วย และทำให้เกิดการเริ่มต้น และจบแบบสมบูรณ์

5. ทำให้สั้น และเข้าใจง่าย

ถ้าตั้งกล้องถ่ายวีดีโอที่มีความยาวมากกว่า 2 นาทีนั้น มันจะทำให้ผู้ดูเบื่อหรือก็หลับไปเลย การทำคลิปวีดีโอประกอบด้วยคลิปย่อยจำนวนมากมาย คลิปหนึ่ง ๆ มีความยาวประมาณ 5 ถึง 10 วินาที จะได้ผลมากกว่า ทำให้คนดูตื่นเต้นใจจดใจจ่อว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นอีก พิธีการบางสิ่งบางอย่างก็เอาส่วนหัวส่วนท้ายก็พอ แล้วก็ตัดเอาช่วงกลางออกไปให้รู้ว่านี่เป็นพิธีการอะไรเท่านั้นก็พอ

6. เงา แสง มุมกล้อง

แสงธรรมชาติ มุมกล้องจะมีความสัมพันธ์กันได้ก็ยิ่งดี เพราะสถานที่ที่เราไปถ่ายต้องอาศัยแสงธรรมชาติเป็นหลัก ไม่สามารถจัดหาไฟสตูดิโอได้ตลอดเวลา เพียงแต่ต้องหลีกเลี่ยงการถ่ายย้อนแสงแบบจัง ๆ เพราะจะทำให้คนที่ถูกถ่ายหน้าดำ แต่ถ้าจำเป็นก็ต้องถ่ายย้อนแสง ก็อาจจะใช้ backlight ที่ติดมากับกล้องใช้ให้เป็นประโยชน์ ลดอาการหน้าดำได้บ้าง หรือหันมุมกล้อง เพื่อให้เกิดแสงเงาแทนที่จะถ่ายคนตรง ๆ หรือสถานที่นั้นตรง ๆ นั่นก็จะได้มุมมองที่แปลก ๆ

7. การเปลี่ยนมุมมอง

ถ้าตั้งกล้องถ่ายวีดีโอมุมเดียวนั้นโอกาสที่ผู้ชมจะเบื่อมาก ๆ เพราะนั้นการเปลี่ยนมุมหลาย ๆ มุม (มุมบน มุมล่าง ข้างซ้าย ข้างขวา) เหมือนกับใช้กล้องหลายตัวรุมจุดโฟกัสนั้น ๆ ตัดสลับไปมา บางที่ก็มีการถ่ายซ้ำและนำเอาไปตัดต่อเอา ก็จะทำให้เกิดการสนใจติดตามอย่างต่อเนื่อง โฟกัสสิ่งที่กำลังดำเนินไปอยู่

8. เรียนรู้จากภาพยนต์

การเรียนรู้เทคนิคต่าง ๆ จากภาพยนต์ และจดจำ เช่น ถ้านั่งดูภาพยนต์ไป และลองเดาว่าจะเปลี่ยนฉากอย่างไร แสดงว่าคุณมองออก และสามารถดำเนินเรื่องการถ่ายวีดีโอของคุณแบบไม่ติดขัด และเก็บสิ่งแวดล้อม เก็บสถานการณ์ ได้ทั้งหมด หลังจากนั้นก็เอามาตัดต่อและเรียงลำดับใหม่ในคอมพิวเตอร์ เล่าเป็นเรื่องราวได้อย่างสนุก

9. การเตรียมแบตเตอรี่ให้เพียงพอ

ถ้าแบตเตอรี่หมดขณะการถ่ายทำ ทุกอย่างก็จบ ฉะนั้นก็ต้องเตรียมแบตเตอรี่ลูกใหญ่ขึ้น หรือพกสายยาว ๆ เสียบปลั๊กเอาก็ได้ เพื่อเหตุการณ์ดำเนินการไปด้วยดีก็ต้องเตรียมพร้อมเรื่องการเตรียมแบตเตอรี่ลูกใหญ่ ๆ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมาก ๆ

10. ระบบเสียง

ถ้าทำได้ก็ยิ่งดี หมายถึง ทุกอย่างพร้อมและเตรียมมาดีก็จะให้การถ่ายทำวีดีโอสมบูรณ์ขึ้น แต่โฮมวีดีโอ มันเอาแน่นอนไม่ได้ไม่มีบทไม่มีสคริป ทุกอย่างเป็นไปตามธรรมชาติ บางทีก็อาศัยการตัดต่อเอาส่วนที่ไม่ต้องการออกไป หรือค่อยมาเสริมด้วยบทพากษ์ใหม่แทรกเข้าไปหรือเพิ่มบทเพลง เพื่อที่จะกลบเกลื่อนสิ่งที่ไม่ดีออกไป

บทสรุป

เรายังไม่ใช่มืออาชีพ แต่ต้องการทำดีสุด สักวันหนึ่งก็ทำได้เอง กว่าวันนั้นจะมาถึงจะต้องเรียนรู้พื้นฐานจากประสบการณ์ที่ผ่านมาด้วยตัวเอง ลองผิดลองถูกมานานนับ และแล้วก็เกิดความมั่นใจ มันเกิดขึ้นโดยธรรมชาติของการเรียนรู้, เหมือนการขี่จักรยาน หรือการว่ายน้ำ ถ้าคุณสนใจมากขึ้นก็จะเกิดความชำนาญด้วยตนเอง., อยากจะแนะนำว่าถ้ายังต้องการหาประสบการณ์ใหม่ก็ขนขวายจากหนังสือหรืออินเตอร์เนทให้มากขึ้น พูดคุยกับกับคนที่มีประสบการณ์แล้วนำเอาไอเดียเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้กับตัวเอง

บทความ : chainuntdata

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 19757เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2006 17:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 23:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
 

 

"Real Love are not for Love somebody, It for Everybody & Nobody”

 

สุขสันต์วันแห่งครอบครัวครับ

 

รักคุณบุญรักษา ^^

ขอบคุณค่ะสำหรับข้อความที่มีความรู้ดีๆแบบนี้ ได้ประโยชน์มากๆ แล้วจะนำเทคนิคนี้ไปใช้นะคะ ขอบคุณอีกครั้งคะ

ขอบคุณนะครับ ทำให้มือใหม่อย่างผมมีความรูเพิ่มขี้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท