องค์ประกอบที่เกี่ยวกับ m-Learning


องค์ประกอบที่เกี่ยวกับ m-Learning ของ krutuk

                        

 

 

องค์ประกอบที่เกี่ยวกับ m-Learning

องค์ประกอบของรูปแบบ

องค์ประกอบย่อยของรูปแบบ

1. การวางแผน การประเมิน การปรับปรุงแก้ไข (Plan, Formative Summative Evaluation and Revise)

·       ในการออกแบบการเรียนการสอน m-Learningมี การวางแผน ประเมิน ปรับปรุงแก้ไขในทุกขั้นตอน

2. จัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning)

·       Blended Learning เป็นการบูรณาการ online learning และ face-to-face meetings เข้าด้วยกัน

·       m-Learning หมายถึง การเรียนการสอนที่ให้นิสิตเรียนได้จากบทเรียนทั้ง Online  และOffline  โดยผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่นผ่านโทรศัพท์มือถือ

( Mobile phone ) หรือคอมพิวเตอร์แบบพกพา (PDAs) MP3,4 Payer  โดยใช้เทคโนโลยีเครือข่าย โทรศัพท์ไร้สาย(wireless telecommunication) ที่ถูกสร้างขึ้นโดยผู้วิจัยเอง และผู้สอนเป็นผู้ควบคุม ดูแล และแนะนำ โดยนำเสนอแบบมัลติมีเดีย

·       e – Learning คือ การเรียนรู้แบบออนไลน์ (Online Learning) พัฒนาการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต (Internet) หรือ อินทราเน็ต (Intranet)

3. กลยุทธ์ในการวางแผนและนโยบายของสถานศึกษา (Strategies planning and academic planning)

 

·       ภารกิจของมหาวิทยาลัย(mission of University)

·       หลักสูตร/การสอน(curriculum/teaching) มหาวิทยาลัยนเรศวรเปิดสอนในระดับปริญญาตรี 16 คณะ  1 วิทยาลัยนานาชาติ  1  วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา มี  63  สาขาวิชา

 

  

องค์ประกอบของรูปแบบ

องค์ประกอบย่อยของรูปแบบ

4. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง (Context issues)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

·       stakeholder เป็นการร่วมมือระหว่างผู้เรียน ผู้สอน ผู้ดูแลระบบ ผู้ที่มีส่วนร่วมและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการเรียนการสอน m-Learning

·       spatial-temporal ช่องทางการเรียนการสอนแบบ m-Learning ทั้งในส่วนของ face-to-face, Internet , m-Learning

·       facility เป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน            m-Learning ตัวอย่างเช่น สภาพแวดล้อม อุปกรณ์ที่จะใช้

·       collaboration support สิ่งที่สนับสนุนการร่วมมือในการเรียนการสอน m-Learning เช่น อุปกรณ์การสื่อสาร   ช่องทางการสื่อสารในการเรียนการสอน m-Learning

5. ประเด็นการออกแบบบทเรียน (Design issues)

·       ผู้เรียน (learner)

·       ผู้สอน(instructor)

·       หลักสูตร

·       กิจกรรมการเรียนการสอน

·       อุปกรณ์เคลื่อนที่(Mobile)

·       มัลติมีเดีย(Media)

6. ทฤษฎีการสอนและจิตวิทยาการสอน

·       Big Six Skills เป็นกระบวนการที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้สารสนเทศ ด้วยทักษะหลัก 6 ประการ (Big Six Skills Information Problem-solving Approach หรือ Big Six Skills Approach) แนวคิดนี้ได้รับการพัฒนาโดยไอเซนเบอร์ก และเบอโกวิทซ์ (Eisenberg and Berkowitz, 1988; 1996)

·       Constructivism เป็นกระบวนการคิด (Cognitive Process) ที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ ความตั้งใจ (Attending) การรับรู้ (Perception) การจำได้(Remembering) การคิดอย่างมีเหตุผล (Reasoning) การใช้จิตนาการ (Imagining) การคาดการณ์ล่วงหน้า (Anticipating) การตัดสินใจ (Decision) การแก้ปัญหา (Problem Solving)

·       Cognitive เป็นแนวคิดของทฤษฎีนี้จะเน้นความพอใจของผู้เรียน ผู้สอนควรให้ผู้เรียนทำงานตามความสามารถของเขาและคอยกระตุ้นให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จ การเรียนการสอนจะเน้นให้ผู้เรียนลงมือกระทำด้วยตัวเขาเอง ผู้สอนเป็นผู้ชี้แนะ

·       Motivation เป็นทฤษฎีการสร้างแรงจูงใจ ในการสร้างขวัญ กำลังใจให้ผู้อื่น ผู้สร้าง หรือผู้ให้ขวัญ  โดยกิจกรรมใน         m-Learning เกี่ยวกับการเสริมแรงจูงใจผู้เรียน

·       Willis(1992) เป็นการออกแบบการเรียนการสอนทางไกลเกี่ยวกิจกรรมที่จะนำมาใช้กับการเรียนการสอน m-Learning

 

หมายเลขบันทึก: 197564เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2008 14:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เรียนครูตุ๊ก

ผม โสภณ ไชยวงษ์ ทำงานอยู่การบินไทยครับ ผมทำProjectเกี่ยวกับ E-Learning ในส่วนของลูกเรืออยู่ครับ search หาข้อมูลเจอของครู เลยเรียนขออนุญาตนำไปศึกษาเพื่อชี้แจงให้ลูกเรือเข้าใจ โดยเฉพาะในส่วน m-learning ครับ ขอบคุณครับ

เรียนคุณโสภณ

ด้วยความยินดีค่ะ ตอนนี้รูปแบบกำลังให้ผู้เชี่ยวชาญรับรองอยู่ค่ะ ถ้ามีความก้าวหน้าอย่างไรจะมานำเสนอต่อนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท