การพัฒนาชุดฝึกทักษะนิทานร้อยกรองประกอบภาพ การอ่าน การเขียนและบอก


การพัฒนาชุดฝึกทักษะนิทานร้อยกรองประกอบภาพ การอ่าน การเขียนและบอก

  ชื่อเรื่อง  การพัฒนาชุดฝึกทักษะนิทานร้อยกรองประกอบภาพ การอ่าน การเขียนและบอก
ความหมายคำที่มีตัวการันต์ เรื่อง ครูเป็ดเทวดา  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย  สุภาพ  ปูนอน   ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียน โรงเรียนบ้านบรบือ(ราษฏร์ผดุง)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1
ปีที่พิมพ์  2552

บทคัดย่อ

ภาษาไทยเป็นเครื่องมือในการสื่อสารของคนไทย ซึ่งต้องสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การอ่านและการเขียนสรุปความเป็นทักษะที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน
ดังนั้นจึงฝึกให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อเรื่องที่อ่านแล้วสรุปรวบยอดของเรื่องที่อ่าน สามารถพูด เขียนสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้ และเป็นการฝึกให้ผู้เรียนรู้จักใช้ความคิด สติปัญญา และรอบรู้ในสิ่งที่อ่าน
รู้จักสรุปข้อคิด ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันซึ่งเป็นทักษะทางสติปัญญา ดังนั้นการการวิจัยครั้งนี้
มีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อพัฒนาชุดฝึกทักษะนิทานร้อยกรองประกอบภาพ การอ่าน การเขียนและบอกความหมายคำที่มีตัวการันต์ เรื่อง ครูเป็ดเทวดา  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของชุดฝึกทักษะนิทานร้อยกรองประกอบภาพ การอ่าน การเขียนและบอกความหมายคำที่มีตัวการันต์ เรื่อง ครูเป็ดเทวดา  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะนิทานร้อยกรองประกอบภาพ การอ่าน การเขียนและบอกความหมายคำที่มีตัวการันต์ เรื่อง ครูเป็ดเทวดา    เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้ชุดฝึกทักษะนิทานร้อยกรองประกอบภาพ การอ่าน การเขียนและบอกความหมายคำที่มีตัวการันต์ เรื่อง ครูเป็ดเทวดา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  โรงเรียนบ้านบรบือ(ราษฏร์ผดุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1 จำนวน 42 คนได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง(Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี  3 ชนิด มีดังนี้  ชุดฝึกทักษะนิทานร้อยกรองประกอบภาพ การอ่าน การเขียนและบอกความหมายคำที่มีตัวการันต์ เรื่อง ครูเป็ดเทวดา  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  จำนวน 17 ชุด   แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่  4 เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40  ข้อ  แบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะนิทานร้อยกรองประกอบภาพ การอ่าน การเขียนและบอกความหมายคำ
ที่มีตัวการันต์ เรื่อง ครูเป็ดเทวดา  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบ t-test (Dependent)
 ผลการวิจัย ปรากฏผลดังนี้
  1.  ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะนิทานร้อยกรองประกอบภาพ การอ่าน การเขียน
และบอกความหมายคำที่มีตัวการันต์ เรื่อง ครูเป็ดเทวดา  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเท่ากับ 86.04/81.96
  2.  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดฝึกทักษะนิทานร้อยกรองประกอบภาพ การอ่าน การเขียนและบอกความหมายคำที่มีตัวการันต์ เรื่อง ครูเป็ดเทวดา  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01
  3.  ดัชนีประสิทธิผลของชุดฝึกทักษะนิทานร้อยกรองประกอบภาพ การอ่าน การเขียน
และบอกความหมายคำที่มีตัวการันต์ เรื่อง ครูเป็ดเทวดา   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ  0.6921 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้
เพิ่มมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ  69.21
  4.  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะนิทานร้อยกรอง ประกอบภาพ การอ่าน การเขียนและบอกความหมายคำที่มีตัวการันต์ เรื่อง ครูเป็ดเทวดา 
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด(  = 4.61) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากและมากที่สุด
 ชุดฝึกทักษะนิทานร้อยกรอง ประกอบภาพ การอ่าน การเขียนและบอกความหมายคำที่มีตัวการันต์ เรื่อง ครูเป็ดเทวดา  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะส่งถึงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนและความก้าวหน้าในการเรียนรู้ 
                                                                                                                   สุภาพ  ปุนอน

                                                                                                                         

หมายเลขบันทึก: 196941เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2008 15:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:41 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอความอนุเคราะห์ความหมายของชุดฝึกและอ้างอิง ขอบพระคุณค่ะ

สาริศา

ช่วยตอบนิยามศัพท์ด้วยค่ะ จักเป็นพระคุณอย่างสูง

การกำหนดนโยบายการใช้แหล่งเรียนรู้ หมายถึง

การสร้างความพร้อมแก่บุคลากรในการใช้แหล่งเรียนรู้ หมายถึง

การจัดทำระบบสารสนเทศแหล่งเรียนรู้ หมายถึง

การจัดหาแหล่งเรียนรู้ หมายถึง

การประเมินผลการเรียนรู้ หมายถึง

(งานส่งอาจารย์ค่ะ โครงร่างวิจัย)

ผมอยากรู้ว่าความหมายของคำที่มีในตัวการันต์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท