ภารกิจการจัดการเทคโนโลยีในหน่วยงาน


ในแต่ละหน่วยงานย่อมมีผู้รับผิดชอบในการจัดการเทคโนโลยีแตกต่างกัน จึงเกิดตำแหน่งต่าง ๆ ในการบริหารจัดการในหน่วยงานแตกต่างกันไปตามความรับผิดชอบและภาระงานในแต่ละหน่วยเช่น CIO,CTO,CFO,CKO,CEO,PMO ฯลฯ ซึ่งแล้วแต่ภาระกิจและหน้าที่อันได้รับการมอบหมายจากองค์กร แต่ละตำแหน่งจะใช้การบริหารจัดการแบบใด และควรเน้นไปในเรื่องใดเป็นหลัก

นิยามของ Technology Manangement

The Technology Management is focused on understanding how to manage the dynamic environment found in a technology-based enterprise in managing technology with classes that provide you with the knowledge and skills to be a leader. 

The core TM include Technology Strategy, Process Management, Project Management, Marketing Management, Supply Chain Management, Managing Innovation, Simulation and Risk Analysis, Financial Management, and Organization Behavior. 

ในแต่ละหน่วยงานย่อมมีผู้รับผิดชอบในการจัดการเทคโนโลยีแตกต่างกัน   จึงเกิดตำแหน่งต่าง ๆ ในการบริหารจัดการในหน่วยงานแตกต่างกันไปตามความรับผิดชอบและภาระงานในแต่ละหน่วยเช่น CIO,CTO,CFO,CKO,CEO,PMO ฯลฯ 

PMO : Project Management Officer
CTO: Chief Technology Officer
CIO : Chief Information Officer
CEO : Chief Executive Officer
CKO : Chief Knowledge Officer
CFO : Chief Financial Officer
Chief Technologist
Technology Expert

ซึ่งแล้วแต่ภาระกิจและหน้าที่อันได้รับการมอบหมายจากองค์กร   แต่ละตำแหน่งจะใช้การบริหารจัดการแบบใด และควรเน้นไปในเรื่องใดเป็นหลัก  เน้นการจัดการคุณภาพ  เน้นการพัฒนาบุคคล เน้นการจัดการมุ่งผลสัมฤทธิ์  ฯลฯ  กลยุทธใดเหมาะสมสำหรับองค์กรและหน่วยงานของท่าน   เหตุและผลที่ควรจะสอดคล้องกัน  ความเหมือนและความแตกต่างกันระห่างแต่ละหน่วยงาน  ภาระกิจที่แตกต่างกัน เทคโนโลยีที่ต้องจัดการแตกต่างกัน  เราควรทำอย่างไรในการจัดการเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนประสิทธิภาพ  ประสิทธิผล ความทันสมัย ความก้าวหน้าและความพร้อมในการแข่งขันขององค์กร   

ความคิดเห็นและแนวทางจะเป็นองค์ความรู้สำหรับแต่ละหน่วยงาน   ซึ่งจะเป็นวิธีการคิดของท่านเมื่อเข้าสู่ตำแหน่งเหล่านั้นในอนาคต

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 19674เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2006 01:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)
เบ็ญจวรรณ พุทธิอังกูร

เรียน  ท่านอาจารย์ที่เคารพ

       ดิฉันมีความเห็นว่า การบริหารจัดการองค์การในปัจจุบันมีเครื่องมือที่นำมาใช้มากมาย  ส่วนใหญ่เป็นองค์ความรู้ที่ได้มาจากต่างประเทศ การจะเลือกใช้วิธีการใดย่อมขึ้นอยู่กับความชาญฉลาดของผู้บริหาร  ที่จะเลือกนำมาใช้ ควบคู่ไปกับการให้ความรู้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาที่จะเรียนรู้  ทำความเข้าใจ และร่วมมือปฏิบัติไปด้วย  ไม่มีทฤษฎีใดเป็นสูตรสำเร็จสำหรับองค์การ สิ่งสำคัญที่สุดที่ผู้บริหารจะต้องคำนึงถึงคือทรัพยากรบุคคลในองค์การ   ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ  การพัฒนาบุคลากรจึงเป็นภารกิจสำคัญไม่แตกต่างจากการพัฒนาด้านเทคโนโลยี 

         หากมองในมุมของทักษะการใช้ ไอที คนรุ่นใหม่มักจะมักทักษะด้านไอทีค่อนข้างดีกว่าคนรุ่นเก่า ผู้บริหารซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นเก่าจะต้องเรียนรู้ให้ทันกับความก้าวหน้าของไอทีด้วย 

 

นางสาวลัดดาวรณ เสียงอ่อน

       หากมีโอกาสได้ดำรงตำแหน่ง CIO  ของหน่วยงานที่เป็นโรงพยาบาล (องค์การมหาชน) ซึ่งมีความก้าวล้ำนำสมัยในเรื่องของงาน IT พอสมควร  จะเน้นการพัฒนาบุคลากร เพื่อมุ่งเน้นให้ หน่วยงานสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการที่รวดเร็ว  สามารถแข่งขันกับหน่วยงานอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  จะมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสารไม่ว่าจะเป็นทั้งในและนอกองค์  ซึ่งในการที่จะทำเช่นนั้นได้  บุคลากรต้องมีความรู้ความสามารถพอสมควร  ดังนั้นในฐานะของผู้บริหารจำเป็นต้องเน้นในเรื่องของการพัฒนาบุคลากรเป็นสำคัญ  เพื่อให้บุคลากรสามารถใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการแข่งขันกับหน่วยงานอื่นได้ตามนโยบาลทางการแข่งขันของโรงพยาบาลต่อไป

      แต่หากโรงพยาบาลใดที่เพิ่งเริ่มต้นในการนำ IT มาใช้ก็ควรจะเริ่มต้นที่การทำ TQM ก่อน  เพื่อสร้างให้ระบบต่าง ๆ ในองค์กรอยู่นิ่ง และยังเป็นการที่ให้โอกาสบุคลากรในหน่วยงานได้มีโอกาสศึกษางานด้านเทคโนโลยี มีการเรียนรู้ และ ฝึกหัดตนเองในการนำเทคโนโลยีมาใช้   เพื่อเป็นพื้นฐานในการนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ต่อไป  ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว น่าจะให้ผลดีต่อองค์กรที่ยั่งยืนมากกว่า การนำเทคโนโลยีมาใช้โดยขาดระบบการพัฒนาคุณภาพที่ดี

ผู้บริหารคือ นักแก้ปัญหา ที่มีความรับผิดชอบในการวิเคราะห์สถานการณ์ที่เข้ามาท้าทายองค์การ การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการนำเสนอข้อมูลสำหรับการแก้ปัญหา การตัดสินใจและเป็นเครื่องมือในการบริหารงาน ในขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆมากมายในการนำเทคโนโลยี่เข้ามาใช้ในองค์การ ดังนั้น CTO จึงต้องมีการจัดการให้ระบบเทคโนโลยี่ให้กลายเป็นส่วนประกอบหนึ่งขององค์การ โดยต้องสอดคล้องกับวัฒนธรรม กระบวนการทำงาน และขั้นตอนการปฏิบัติงานขององค์การ โดยต้องผสมผสานการทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องมือและบุคลากร ที่เรียกว่า "sociotechnical system" คือการผสมผสานระหว่างพฤติกรรมทางสังคมให้เข้ากับความรู้ทางเทคนิคเพื่อให้ระบบทำงานได้อย่างเหมาะสม จะเห็นได้ว่าบุคลากรเป็นองค์ประกอบสำคัญในการทำให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์ ดังนั้นการเตรียมบุคลากรให้พร้อมในการปรับตัวกับเทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งสำคัญ โรงพยาบลศิริราชมียุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรบุคคล ดังนี้

1. พัฒนาแผ่นแม่บทการฝึกอบรมบุคลากรทุกระดับ

2. พัฒนาบุคลาการให้สามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองตลอดชีวิต

3. พัฒนาเจ้าหน้าที่งานเวชสารสารสนเทศ

4. พัฒนาเจ้าหน้าที่งานสารสนเทศของหน่วยงานต่างๆ

มีการจัดการการเปลี่ยนแปลง โดยกำหนดการฝึกอบรม (Training) บุคลากร 4 ระดับคือ

Lead Super Users : 15 คน

Super users : 200 คน

End users : 6,000 คน

and System Admistrators

เพื่อเตรียมรับกับระบบ Siriraj Hospital Management Information System (SiHMIS) ที่จะมีขึ้นในทุกหน่วยงานของโรงพยาบาล การเตรียมบุคลากรให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทำให้การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในองค์การประสบความสำเร็จและเกิดประโยชน์สูงสุด

 

 

 

TQM คือสุดยอดเคล็ดวิชาในอดีตที่ยังใช้ได้ดีในปัจจุบัน เพราะถึงแม้ยุทธจักรจะมีการแข่งขัน มีการเปลียนแปลงอย่างมากมาย เพราะมันเริ่มมาจากกระบวนท่าพื้นฐาน Q.C.สู่ Q.A.ส่งต่อ ISO แล้วสอดแทรกด้วยกระบวนท่า MBO.มาลงเอยที่เคล็ดวิชา TQM. เพราะสิ่งสำคัญในปัจจุบันคือ CHANGE ต้องเปลี่ยนต้องปรับเพื่อให้ทันต่อการแข่งขันทั้งด้านการพัฒนาบุคคลากรที่ต้อง ALERT ตลอดเวลาในลักษณะ COMPANY IMPROVEMENT& INVOLEMENT และที่สำคัญคือ TECHNOLOGY สิ่งที่จะทำให้ชนะกันในโลกของการแข่งขัน COMPETTITION ปัจจุบันก็คือสิ่งนี้ ผมเชื่อว่าจะครองยุทธจักรได้ก็ต้องเป็นเจ้าแห่ง ITเพราะด้านอื่นๆมีเหมือนๆกัน โดยเฉพาะ IT ด้านต่างๆ การติดต่อสื่อสารที่สะดวกรวดเร็ว เครื่องจักรอุปกรณ์ในการทำงาน มีอาวุธลับในการผลิตที่ทันสมัยแต่ประหยัด และตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าอย่างทันที่ CUSTOMER NEED ในทุกที่ ทุกเวลาตรงตามความต้องการและต้องเหนือคู่แข่ง พร้อมกับมีการปรับปรุงกันทั้งสำนักอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นถ้าผมเป็นเจ้าสำนักด้านการบริหารต้องเน้นการลงทุนด้าน IT & technology  เพี่มมากขึ้นพร้อมผู้เยี่ยมยุทธด้านนี้ รวมถึงการฝึกปรือลิ่วล้อ บุคลากรเพื่อรองรับกับสิ่งเหล่านี้อย่างสอดคล้อง และเหมาะสมกับวัฒนธรรมของสำนักเรา

อัญชลี รอดสวาสดิ์

ถ้าดิฉันมีโอกาสเป็น CIO ของสถานศึกษาจะพัฒนางานด้าน IT ของสถานศึกษาดังนี้.-

1.พัฒนาภายในองค์กรโดย

1.1 เริ่มจากการพัฒนาความรู้และความสามารถในงานด้าน IT ของผู้ที่เกี่ยวข้องก่อนเป็นลำดับแรกโดยนำสิ่งที่บุคคลส่วนใหญ่สนใจมาทำงานด้าน IT ก่อนเพื่อให้เกิดแรงจูงใจอยากใช้งานซึ่งจะต้องเรียนรู้เช่น การนำ INTERNET เข้ามาบริการภายในสถานศึกษาก่อน และให้ความรู้ในการใช้งานจากนั้นก็ขยายการใช้งานมากขึ้นโดยที่ไม่กลัวการใช้งาน IT

1.2 เปิดการอบรมการใช้งานอย่างเป็นรูปธรรมให้กับผู้สนใจและมีความรักในงานด้านนี้โดยส่งเสริมความรู้ความสามารถและมีผลตอบแทนแบบเป็นรูปธรรม เพื่อให้บุคลากรประเภทนี้มีกำลังใจและเต็มใจในการพัฒนางานด้านนี้โดยใจรักมิใช่ถูกบังคับ และจะได้สร้างผลงานออกมาเรื่อยๆ และจัดให้เป็นกลุ่มพัฒนางานด้าน IT ของสถานศึกษา

1.3 ใช้บุคลากรตามข้อ 1.2 ขยายผลต่อไปยังบุคคลากรต่างๆโดยเฉพาะกับครูบาอาจารย์ให้สามารถใช้งานด้าน IT ให้ได้ทุกคนเพื่อขยายการใช้งานต่อไปยังนักศึกษาเพื่อให้นักศึกษาทุกคนสามารถใช้งาน IT ได้แบบธรรมชาติเหมือนเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน และใช้บุคลากรตามข้อ1.2 เป็นที่ปรึกษาและแหล่งความรู้ของบุคคลากรในสถานศึกษา

1.4 จัดหาอุปกรณ์ด้าน IT ที่ทันสมัยเข้ามาทดแทนของล้าสมัยส่วนหนึ่ง เพื่อให้เกิดการต่อเนื่องของเทคโนโลยี่ที่พัฒนาใหม่ขึ้นตลอดเวลา โดยไม่ทิ้งของเดิมให้สูญหาย

1.5 สร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรในสถานศึกษาให้รักใคร่สามัคคีกันช่วยเหลือซึ่งกันและกันให้มากที่สุดเพื่อให้การพัฒนาทั้ง 4 ข้อข้างต้นมีอุปสรรคน้อยที่สุด

 2. ประชาสัมพันธ์และให้บริการต่อสังคมในฐานะสถานศึกษาที่ต้องให้ความรู้และบริการถือเป็นการพัฒนาภายนอกองค์กรทางอ้อมโดย

 2.1 จัดตั้งศูนย์บริการด้าน IT ในรูปของ INTERNET โดยมี Web page ของสถานศึกษาเพื่อให้ความรู้และบริการแก่ครูบาอาจารย์ นักศึกษา บุคลากรในสถานศึกษา และประชาชนทั่วไป 

 2.2 จัดตั้งศูนย์บริการด้าน IT ในรูปอาคารสถานที่อันสะดวกสบาย ที่ทุกคนสามารถเข้ามาสอบถามหาข้อมูลและรับบริการด้วยตัวเองในสถานศึกษาได้

 3. จัดหางบประมาณทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อนำมาสบับสนุนในข้อ 1 และข้อ 2  ให้เกิดเป็นรูปธรรมเพราะส่วนหนึ่งของการบริหารและการพัฒนาต้องอาศัยงบประมาณค่ะ!

 

ในปัจจุบันระบบราชการมีลักษณะการทำงานที่มีการควบคุมในทุกขั้นตอน ทั้งนี้แตกต่างจากการทำงานในระบบเอกชน อย่างเห็นได้ชัด
               การทำงานในระบบราชการมีการเน้นหนักในการทำงานตามระเบียบกฎหมาย และวางระบบควบคุมทุกขั้นตอน การควบคุมดังกล่าวเป็นผลให้มีการกำหนดคุณภาพการทำงานในรายละเอียด โดยอ้างเหตุแห่งการทำงานที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยส่วนรวม ประกอบกับระบบราชการไม่จำต้องคำนึงถึงผลกำไรขององค์การ เนื่องมาจากไม่จำต้องหารายได้  อันเป็นข้อแตกต่างที่สำคัญกับภาคเอกชน
               นอกจากนี้การทำงานในภาคราชการ ยังคงขาดการประเมินผลที่เกิดขึ้นจริงต่อประชาชน ดังจะเห็นได้จาก การตรวจสอบการทำงานมักจะตรวจเฉพาะระบบการทำงานว่าถูกต้องตามขั้นตอนปฏิบัติหรือไม่เท่านั้น แต่จะไม่มีการประเมินผลที่เกิดขึ้นว่าสอดคล้อง และเกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม  เช่นการตรวจสอบโครงการต่างๆ มักจะตรวจสอบว่าการดำเนินการตามโครงการเป็นไปอย่างถูกต้อง ไม่มีทุจริต และโปร่งใส แต่ไม่มีหรือมีน้อยมากในการประเมินว่าโครงการดังกล่าวบรรลุตามเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่
               การปฏิบัติงานราชการในลักษณะดังกล่าวจึงเป็นการจัดการคุณภาพ  (TQM)  ทั้งนี้จะพบว่าในข้อเท็จจริงจะส่งผลให้ การปฏิบัติราชการถูกละเลยในการพิจารณาผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น และข้าราชการจะทำงานเฉพาะตามขั้นตอน และขาดการคำนึงถึงความคุ้มค่าของโครงการที่ดำเนินการ
               อย่างไรก็ดี ได้มีการเริ่มนำระบบการจัดการโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ (RBM) เข้ามาใช้ในระบบราชการดังจะเห็นได้จาก หน่วยราชการทุกหน่วยจะต้องจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ มีการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ และมีการตรวจสอบโดยสถาบันที่เชื่อถือได้
               การปรับปรุงดังกล่าวส่งผลให้ราชการต้องหันกลับมาพิจารณาถึงผลลัพธ์ในการทำงานมากขึ้น และในอนาคตมีแนวโน้มที่ว่า สัดส่วนการจัดการคุณภาพจะลดความสำคัญลง และไปเพิ่มความสำคัญในการจัดการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
               แนวโน้มดังกล่าวน่าจะส่งผลดีมากต่อระบบการทำงานราชการ และข้าราชการจะสามารถหันกลับมามุ่งการทำผลงาน มากการการทำตามขั้นตอนให้ถูกต้อง เพราะระบบการจัดการต่างๆเอื้ออำนวย
               อย่างไรก็ดี การพัฒนาบุคคล (HRM) จะมีส่วนช่วยและเป็นตัวเร้าให้การจัดการมุ่งผลสัมฤทธิ์ สามารถส่งผลได้อย่างเหมาะสม และเป็นรูปธรรม โดยจักต้องปรับทัศนคติ และเปลี่ยนแปลงประเพณีค่านิยม ต่างๆในระบบราชการให้เกิดการยอมรับในการนำระบบการจัดการที่เหมาะสมดังกล่าวมาใช้ให้บังเกิดผลอย่างแท้จริง
บัณฑิต หมั้นทรัพย์

ผมยังคงมีความมุ่งเน้นในเรื่องของ HRM เนื่องจากมองเห็นว่าการพัฒนาศักยภาพของบุคคลอย่างต่อเนื่องจะก่อประสิทธิภาพให้แก่องค์กรอย่างสูงสุด รวมถึงประสิทธิผลของงานก็สามารถได้ผลรับที่ดีด้วย โดยมุ่งเน้นในเรื่องของพัฒนาองค์กรในเรื่องของ knowledge learning organization center เป็นกลุ่มองค์ความรู้รวมขององค์กร โดยผ่านระบบการเรียนรู้ผ่านระบบ intranet ภายใน โดยจัดแบ่งกลุ่มความรู้เป็นความรู้ในด้านต่าง ๆ เหมาะสำหรับพนักงานทั่วไป โดยตัวอย่างเช่น strategic thinking skill เหมาะสำหรับพนักงานทั่วไปทุกท่าน หรือ อาจจะเป็น leadership skill เหมาะสำหรับหัวหน้างาน และ presentation skill เหมาะสำหรับนักขาย และ negotation skill เหมาะสำหรับพนักงานทั่วไป โดยการอบรมจะเป็นระบบ video clip file ผ่านระบบ intranet ขององค์กร และจัดให้มีทดสอบผ่านระบบ online ของบริษัทฯ และมีการมอบรางวัลให้กับผู้เข้ามาทำการทดสอบต่าง ๆ โดยบริษัทฯ ให้การสนับสนุนในเรื่องของรางวัลต่าง ๆ ของระดับการผ่านการอบรมของพนักงาน

ทั้งนี้สามารถวัดผลการอบรมได้ด้วยระบบ KPI ว่าด้วยประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานภายหลังผ่านการทดสอบ

 

ขอบคุณมากครับ

ร.ต.อ.หญิง ศิริพร ลือวิภาสกุล

เรียน อาจารย์ ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข ที่เคารพ

     ถ้าดิฉันได้เป็น CIO (Chief Information Officer) ในองค์กรโรงเรียนายร้อยตำรวจ จะบริหารจัดการให้ 4 กองบังคับการในโรงเรียนนายร้อยตำรวจจัดทำเวบไซด์ของแต่ละกองบังคับการ ได้แก่ กองบังคับการปกครอง, กองบังคับการวิชาการ, กองบังคับการอำนวยการ และกองบังคับการบริการการศึกษา ให้มีข้อมูลข่าวสารครบถ้วนภายในกองบังคับการ เพื่อให้นักเรียนนายร้อยตำรวจและประชาชนทั่วไปที่สนใจ ได้รับทราบข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายที่เป็นประโยชน์ทางการศึกษา จะต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างหน้าที่ความรับผิดชอบ และข้อมูลอื่น ๆ ที่มีความทันสมัย นอกจากนี้

     - จะมอบหมายให้แต่ละกองบังคับการ ติดตั้งระบบ Wireless Lan เพื่อความสะดวกในการสืบค้นข้อมูลและสะดวกในการใช้งาน

     - จะแนะนำให้แต่ละกองบังคับการมีการพัฒนาระบบ IT ให้มีความทันสมัย ให้สามารถนำมาจัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินผลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการใช้กระดาษมากเกินความจำเป็น ช่วยลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน และช่วยประหยัดเวลาในการทำงาน

     - จะให้ทั้ง 4 กองบังคับการ ทำงานร่วมกันโดยผ่านระบบ LAN เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายการทำงานให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากรภายใน รร.นรต., ข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนนายร้อยตำรวจ  และข้อมูลอื่น ๆ เป็นต้น

     - จะจัดให้มีการประชุมหารือกันภายใน 4 บก. เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและทราบถึงปัญหา เพื่อสามารถนำไปปรับปรุงแก้ไขพัฒนาระบบ IT ต่อไป

     - จะส่งเสริมบุคลากรใน รร.นรต.ทุกคนให้ได้รับการอบรมการใช้ IT ในทุกโปรแกรมที่สำคัญและจำเป็น เพื่อให้บุคลากรมีความรู้เท่าเทียมกันหรือใกล้เคียงกัน โดยมีวัตถุประสงค์ให้ทุกคนมีประสิทธิภาพในการทำงานและสามารถทำงานแทนกันได้ ซึ่งเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพที่ดีโดยใช้ระบบ HRD (Human Resource Development)

     - ดังนั้น หากดิฉันได้เป็น CEO/CIO ใน รร.นรต. จะเลือกเทคโนโลยีการจัดการแบบ RBM (Research Base Management) เพราะหน่วยงาน รร.นรต.เป็นหน่วยงานภาครัฐ การบริหารจัดการโดยทั่วไปจะใช้ระบบ TQM (Total Quality Management) ซึ่งเป็นการบริหารจัดการที่เน้นกระบวนการที่มีคุณภาพเป็นหลัก การทำงานจะต้องยึดกฎ ระเบียบ แบบแผน ข้อบังคับ และคำสั่ง เป็นหลักในการทำงาน ซึ่งเป็นการทำงานที่เป็นระบบ มีความละเอียดรอบคอบ มีกฎหมายคุ้มครอง มีความปลอดภัย แต่การดำเนินงานมักจะเป็นไปด้วยความล่าช้า เนื่องจากการทำงานต้องเสนอผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น บางครั้งมีการทำงานที่ซ้ำซ้อน สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและไม่คุ้มค่า ซึ่งหากจะแก้ไขโดยการใช้ระบบ HRD (Human Resource Development) โดยใช้การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถด้วยวิธีการจัดให้มีการฝึกอบรม ก็อาจทำให้บุคลากรมีความรู้ที่ใกล้เคียงกันได้ แต่งานจะบรรลุเป้าหมายหรือไม่นั้น เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน ดังนั้น ดิฉันจึงเลือกใช้เทคโนโลยีการจัดการแบบ RBM (Research Base Management) ซึ่งเน้นผลลัพธ์ของงานเป็นหลัก หรือเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า MBO (Management by Objective) การจัดการที่มุ่งวัตถุประสงค์ โดยให้บุคลากรยึดหลักการทำงานที่เน้นเป้าหมายของงาน เน้นความสำเร็จของงาน เนื่องจาก CIO/CEO เป็นผู้บริหารที่ต้องรับผิดชอบงานในหลาย ๆ เรื่อง จึงต้องทำงานแข่งกับเวลา และการพัฒนา IT มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก การทำงานจึงควรมุ่งเน้นไปที่ความสำเร็จของงานหรือผลลัพธ์ของงานตามระบบ RBM เป็นสำคัญ 

สุนันทา คุ้มจิตร์

โรงพยาบาลราชบุรีเป็นโรงพยาบาลศูนย์  มีชื่อเสียงมืคนไข้มากจึงควรมีระบบITเข้ามาในองค์กรดังนั้นถ้าได้เป็นCEOดิฉันจะนำระบบITเข้ามาเพื่อให้โรงพยาลสู่ความเจริญก้าวหน้าทุกฝ่าย ทุกแผนกติดต่อเชื่อมใยงกันได้ตลอดไม่ต้องเวลาและนำสมัยในการนำ IT มาใช้ เช่น โรงพยาบาลศูนย์  ภายในโรงพยาบาลจะใช้คอมในการสั่งยาเมื่อแพทย์ตรวจผู้ป่วยเสร็จ  ห้องยาก้จะนำใบสั่งยาพร้อมยามาแจกให้ตามตึกได้เลย 

       ในการที่คนไข้นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลได้นำระบบ IT มาใช้ประชุมในโรงพยาบาลถ่ายทอดออกทางทีวีในการประชุมของโรงพยาบาล  โดยเจ้าหน้าที่อื่นๆ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์  พยาบาล  และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ  ก็จะดูตามทีวี ซึ่งจะมีตามตึก  ซึ่งในการทำเช่นนี้  จะทำให้เจ้าหน้าที่ทราบข้อมูลในการประชุมโดยที่ไม่ต้องเข้าร่วมประชุม ซึ่งดีมาก  ทำให้ผู้บริหารต้องพยายามพัฒนาระบบต่าง ๆ ให้ดีขึ้น  นอกจากนี้ระบบ LAN ยังจะช่วยค้นหาบัตรผู้ป่วยได้  โดยไม่เสียเวลา

      ในแผนกห้องผ่าตัดก็จัดให้มีการ Set Case ผ่าตัดทางคอมพิวเตอร์เพื่อความสะดวกรวดเร็วและไม่ผิดพลาดในการรับ Set ผ่าตัด

      ระบบของ HRM ก็เป็นสิ่งดีที่โรงพยาบาลน่าจะนำมาใช้เพราะเป็นการมุ่งเน้นในการพัฒนาบุคลากร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดต่อองค์กร

     ดังนั้นถ้าหากมีโอกาสได้เป็น CEO ดิฉันจะพัฒนางานด้าน IT ให้มีคุณภาพ  เพื่อใช้ระบบงานทุกฝ่ายขององค์กร  ทุกแผนก  เพื่อให้งานสัมฤทธ์ผลโดยเร็ว  และมีความนำสมัย  ก้าวหน้า  เพื่อให้โรงพยาบาลศูนย์ราชบุรีเป็นโรงพยาบาลศูนย์ที่ทันสมัย  ใหม่เสมอด้านงาน IT

ราชโบริกาฯ  มีระบบ  IT ที่ดูทันสมัย  แต่ผลการประเมินระบบสารสนเทศของโรงเรียนเพื่อเข้าสู่โครงการ ToPSTAR กระบวนการทำงานยังอยู่ที่  PD  ไปไม่ถึง  CA  ดังนั้นต้องพัฒนาระบบ

 TQMเพราะบุคคลากรทุกคนมีความสำคัญต่อระบบงานดังความเห้นของคุณอุบล  การทำงานที่มีประสิทธิภาพอยู่ที่ทีมงานทุกคน  ผู้บริหาร CIO ต้องเลือกคนทำงานเป็นโดยเฉพาะหัวหน้าทีม  การพัฒนาคน การกำกับติดตามผลงานที่ดีทำให้ผลงานมีคุณภาพ  การตอบแทน/รางวัลสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ

มีผลงานดี  การสนับสนุนส่งเสริมผู้มีความรู้ความสามารถการบริหารจัดการควรใช้รูปแบบที่แตกต่างกันทั้ง MBO / HRDและคงต้องบูรณาการหลายแบบตามประเภทของ  บุคคล สถานการณ์

จากการอ่านข้อคิดเห็นของอุบล   โชคชัย   บัณฑิต  และอัญชลี ตรงกับความคิด   atita โดนใจมากๆๆๆขอสนับสนุนความคิดนี้และถ้าเป็นCIOจะต้องเน้นการบูรณาการ

ในองค์การแต่ละองค์กรมีควมแตกต่างกัน ทั้งในองค์กรภาคราชการและเอกชน ประเด็นที่เริ่มต้นด้วย CIO บริษัทนั้น ต้องดูศักยภาพบุคลากรในองค์กรก่อน ถ้าเป็นองค์กรหรือบริษัทที่ทำเกี่ยวกับ IT บุคลากรในองค์กรก็จะเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถสูง ดังนั้นการจัดการองค์กรควรจะเน้น RBM เพราะบุคคลากรเหล่านั้นจะเลือกวิธีปฏิบัติที่มุ่งสู่ผลสำเร็จเอง หรือเลือกที่จะปฏิบัติ เช่น ในบริษัทที่เขียนโปรแกรม ระดับผู้จัดการจะบอกว่า อยากได้ program ที่ทำงานแล้ว output ออกเป็นแบบนี้ programmer จะไปคิดและเขียน program เองโดยผู้จัดการไม่ต้องไปบอกวิธีอะไรมาก (จากประสบการณ์ ถ้าหัวหน้าบอกว่าให้เขียน program แล้วบอกว่าต้องเขียนแบบนี้นะ ก็จะเถียงในใจว่า ก็หัวหน้าเขียนเองสิ ) นั้นคือ บุคลลากรในองค์กรมีความรู้และเข้าถึงเทคโนโลยีได้เท่าเทียนกันไม่ต่างกันมาก

      แต่ถ้าในองค์กรที่มีบุคคลกรมีความรู้ที่แตกต่างกันมากมีความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน การใช้ระบบ HRD ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะองค์กรต้องมองถึงการพัฒนาบุคคลกรก่อน ในการใช้ IT เช่น ที่บริษัททริปเปิ้ล ทู ที่ข้าพเจ้าทำงาน บุคคลกรมีความรู้ความสามารถแตกต่างกัน มีตั้งแต่  ม.3 ถึงปริญญาตรี ความสนใจในเทคโนโลยีก็แตกต่างกัน  แม้จะติดตั้งระบบ LAN และสามารถต่อ internet ได้ทุกเครื่อง การส่ง print งานจากอีกเครื่องหนึ่งได้ แต่บุคคลกรบางคนก็ยังทำไม่เป็นหรือไม่ใช้ หรือใช้ IT ยังไม่เต็มประสิทธิภาพ ดังนั้น CEO ของบริษัทควรมองในประเด็นนี้ แม้จะหาอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพขนาดไหน ถ้าคนในองค์กรขาดองค์ความรู้เรื่อง IT การจะนำ IT มาใช้ให้เต็มประสิทธิภาพก็เป็นเรื่องยาก

 

นายรังสรรค์ อ้วนวิจิตร

          ในปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากในทุกองค์การ และคงไม่มีองค์การใดที่จะขาดเทคโนโลยีได้ เพราะเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการบริหารจัดการให้องค์การสามารถทำงานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพและบรรลุประสิทธิผลตามภารกิจขององค์การที่กำหนดไว้  ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ทุกองค์การจะต้องรู้จักการจัดการเทคโนโลยีที่ถูกต้องและเหมาะสมกับองค์การนั้น ๆ

          องค์การใดที่มีเทคโนโลยีจำนวนมากและทันสมัย แต่ถ้าขาดการจัดการที่ดีก็ยากที่จะประสบความสำเร็จได้  ดังนั้นทุกองค์การควรมีบุคคลที่รับผิดชอบและดูแลเทคโนโลยีในองค์การทั้งระบบโดยตรงที่เรียกว่า CIO (Chief Information Officer)  เพื่อที่จะช่วยจัดการนำเทคโนโลยีที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้ในการทำงานตามภารกิจขององค์การให้เกิดประโยชน์สูงสุด

          CIO ขององค์การควรเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและมีทักษะในเรื่องเทคโนโลยีเป็นอย่างดี (สามารถพัฒนา    ตนเอง หรือหาผู้ชำนาญการมาช่วยได้)  มีความสามารถในการจัดการกลยุทธ์ทางด้านเทคโนโลยี มีความสามารถในการทำงานเป็นทีม และมีความสามารถในการสื่อสารที่ดี

          CIO  ในองค์การที่ดีควรดำเนินการ ดังนี้

          1.  ศึกษาภารกิจขององค์การทั้งระบบในภาพรวม รวมทั้งกลยุทธ์ในการบริหารองค์การ

          2. จัดทำกลยุทธ์การจัดการเทคโนโลยีทั้งระบบในเรื่องของ Softwear  Hardwear และ Peoplewear  โดยกำหนดให้สอดคล้องกับภารกิจและกลยุทธ์การบริหารองค์การ ซึ่งในการจัดทำกลยุทธ์นั้น จะต้องศึกษาให้คลอบคลุมอย่างละเอียดในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ปัจจุบันองค์การมีเทคโนโลยีอะไรบ้าง จำนวนเท่าใด เพียงพอหรือไม่ ประสิทธิภาพการใช้งานเป็นอย่างไร ใช้คุ้มค่าหรือไม่ ตอบสนองการดำเนินงานต่าง ๆ ได้ดีเพียงใดและมีความจำเป็นต้องจัดหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการทำงานเพิ่มเติมหรือไม่ อย่างไร บุคคลมึความรู้ความสามารถเพียงใด เป็นต้น

          3.  ดำเนินการตามกลยุทธ์การจัดการเทคโนโลยีที่กำหนด

          4.  ควบคุมติดตามและประเมินผลกลยุทธ์ ว่าเป็นไปตามเป้าหมายและตัวชี้วัดที่กำหนดไว้

          ผู้เขียนเชื่อว่าถ้าได้มีการจัดการเทคโนโลยีในองค์การอย่างจริงจังแล้วก็จะช่วยให้มีการใช้เทคโนโลยีอย่างประหยัดและคุ้มค่ามากที่สุดตามหลัก Good Governance และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์การอย่างแน่นอน                      

  

 

       การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กรเป็นสิ่งที่สำคัญในการสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กรให้บรรลุเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ รวมถึงสามารถบริการลูกค้าให้มีความพึงพอใจได้เป็นอย่างดี โดยที่ผู้บริหารยุคใหม่จะต้องกล้าเปลี่ยนแปลงองค์กรแม้ในสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน 
       การบริหารจัดการในแต่ละองค์กรที่จะเน้นไปในด้านใดด้านหนึ่งนั้น มีความแตกต่างกันตามสภาพแวดล้อม และข้อจำกัดของแต่ละองค์กร สำหรับในธุรกิจกิจรถยนต์นั้นกระบวนการต่างๆได้ถูกกำหนดไว้อย่างเป็นระบบ 1. ด้านการจัดการคุณภาพ เรามีระบบงานในการรักษามาตรฐานให้ได้ตามที่กำหนด มีมาตรฐานทางด้านโชว์รูม ศูนย์บริการ และระบบบริหารงาน มีมาตรฐานในการขาย 10 ขั้นตอน และจะต้องผ่านการรับรองมาตรฐานการบริการ (Quality Care) อันประกอบไปด้วย Service Upgrade, DCRC และ 5 ส. โดยที่จะต้องปฎิบัติตามแต่ละขั้นตอนที่ระบุไว้ 2. ด้านการพัฒนาบุคคล เรามีการกำหนดพนักงานในตำแหน่งต่างๆตามโครงสร้างขนาดขององค์กร โดยมีการกำหนดรายละเอียดหน้าที่ความรับผิดชอบของงานเป็นลายลักษณ์อักษร(Job Description) ทุกตำแหน่งในองค์กรจะต้องผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรที่จัดทำขึ้น รวมถึงพนักงานเข้าใหม่จะต้องได้รับการฝึกอบรม แม้ว่าคนจะเปลี่ยนหรือลาออกก็จะต้องรักษามาตรฐานไว้ กล่าวคือ เราดำเนินธุรกิจตามระบบที่กำหนดไว้ 3. ด้านการจัดการมุ่งผลสัมฤิทธิ์ เรามีการกำหนดเป้าหมายทั้งในด้านการขาย ด้านการบริการ และความพึงพอใจลูกค้า ซึ่งถูกกำหนดไว้ตามเป้าหมายที่กำหนด อัตราการเติบโตของตลาดและคู่แข่งขัน โดยจะได้รับผลตอบแทน กำไรในการดำเนินธุรกิจรวมถึงความจงรักภักดีของลูกค้า
       สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนั้นทุกกระบวนการที่เราจัดทำขึ้นมาทั้งหมด ทั้งในด้านการจัดการคุณภาพ และด้านการพัฒนาบุคคล ก็เพื่อผลสำฤิทธิ์ทางธุรกิจ ให้ได้ผลตอบแทน และกำไร ในระยะยาว จึงกล่าวได้ว่าในโลกของธุรกิจรถยนต์จะเน้นไปในด้านการจัดการมุ่งผลสำฤิทธิ์มากกว่าด้านอื่นๆ
 

ณัฐพล เนียมประดิษฐ์

โลกของการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันสูงสุด ทั้งในด้านรับรู้ข้อมูลข่างสารจากทั่วโลก  การวางแผนการผลิตบริการหรือสินค้าเพื่อสนองความต้องการของลูกค้า การการวิเคราะห์การตลาด การคาดเดายอดขาย การเข้าถึงลูกค้าเป็นต้น ซึ่งเน้นความพึงพอใจในสินค้าและบริการ การทำให้ลูกค้าพึงพอใจนั้นต้องเน้นที่คุณภาพของสินค้าและบริการเป็นหลัก ดังนั้น CIO จึงควรนำหลัก TQM มาใช้ในการควบคุมคุณภาพในทุกขั้นตอนของกระบวนการทำงาน เพื่อให้งานออกมาอย่างมีคุณภาพ ส่งผลให้ลูกค้าพึงพอใจ

ระบบสารสนเทศของราชโบริกาดูทันสมัย  แต่  ,,,,,ขอบอกว่าผลการประเมิน  โครงการ  ToPSTAR  อยู่ที่ระดับ  PD  ยังไม่ถึงระดับ   CA    หน้าที่   CIO  ที่ดีอย่างเราต้องรีบทำการพัฒนาระบบสารสนเทศโดยการคัดสรรผู้นำที่ดีเป็นผู้รับผิดชอบ    พัฒนาตามกระบวนการ  TQM   เพราะมีความเชื่อเช่นเดียวกับคุณ  อุบล  ว่าเมื่อดีทั้งระบบย่อมประสบความสำเร็จได้ง่าย   ส่วนขั้นตอนการพัฒนา  จากข้อคิดเห็นของคุณ  อัญชลี  บอกรายละเอียดชัดเจนขอนำไปใช้บ้าง  ในระบบราชการความล่าช้าจากขั้นตอนรออนุมัติ ดังข้อเสนอของ นายอำเภอโชคชัยถูกต้องทุกประการ  ความเจริญจึงเกิดขึ้นไม่ได้ในระบบราชการ  ในฐานะที่เป็น   CIO  ของราชการต้องกล้าตัดสินใจและใช้เงินนอกระบบเข้าช่วยดังเช่นผอ.ราชโบริกา  อุปสรรคที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ  คน   บุคลากรทุกคนต้องให้ความร่วมมือ   CIO  ต้องดูแลกำกับติดตามอย่างใกล้ชิด  เป็นขวัญและกำลังใจคุณธรรมของผู้นำช่วยให้งานสำเร็จลุล่วง     อย่าลืมว่า   ระบบ  PDCA   /  TQM  /MBO /HRM    เหมาะสมกับใคร  และ งานประเภทใด  CIO ควรเลือกใช้ให้เหมาะสม
นายทัศพร ชูศักดิ์

ยุคนี้จัดได้ว่าเป็นยุคของสารสนเทศ (คลื่นลูกที่ 3) ซึ่งในองค์กรแต่ละองค์กรได้มีการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในองค์กรของตนเองไม่มากก็น้อยซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดขององค์กร งบประมาณ ลักษณะการดำเนินงานขององค์กร ฯลฯ เมื่อมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในหน่วยงาน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีผู้ดูแลรับผิดชอบ ดังนั้นจึงมีตำแหน่งต่าง ๆ ตามมาสำหรับผู้ดูแลรับผิดชอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กร เช่น ตำแหน่ง CIO,CTO,CKO,Chief Technologist,Technology Expert ตำแหน่งที่กล่าวมานี้มีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบที่สำคัญ พอสรุปได้ดังนี้ *1.ศึกษาและติดตามเทคโนโลยีใหม่ๆที่จะเกิดขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์กรในอนาคต *2.มีความรอบคอบและดูแลระบบข้อมูลสารสนเทศโดยรวม โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับคลังข้อมูลขององค์กร *3.สนับสนุนและมีส่วนร่วมกิจกรรมการวางแผนกลยุทธ์ภายในองค์กร *4.การพัฒนาและจัดทำแผนแม่บทของ MIS  ขององค์กรและพิจารณาความสอดคล้องระหว่างแผนที่ได้จัดทำขึ้นกับนโยบายขององค์กร *5.สร้างศักยภาพของภาวะผู้นำในการที่จะสร้างความเชื่อถือและโน้มน้าวให้บุคลากรในองค์กรเชื่อและเห็นความสำคัญของ MIS *6.การจัดสรรงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศในองค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยพิจารณาระบบคอมพิวเตอร์และการบริการที่เหมาะสมรวมทั้งการพิจารณาโครงงานพัฒนาระบบขององค์กรด้วย จากที่กล่าวมาข้างต้นทุกท่านคงเห็นความสำคัญของผู้ที่มีบทบาทในการดูแลเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรชัดเจนมากขึ้น ดังนั้นคงถึงเวลาแล้วที่องค์กรของท่านจะมีผู้รับผิดชอบงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างจริงจังเสียที มิฉะนั้นองค์กรของท่านคงต้องล้าหลังตามไม่ทันองค์กรอื่นที่มีความได้เปรียบทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างแน่นอน กลยุทธ์ที่สำคัญของการส่งเสริมผู้รับผิดชอบงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็คือ การศึกษางานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานอื่นๆ  การพบปะพูดคุยกับผู้ดูแลงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นๆ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การติดตามเทคโนโลยีใหม่ๆให้ทัน ฯ   ......ท่านพร้อมหรือยังที่จะเป็น  CIO ...                        

จิตติยา เพชราพันธ์

เรียน  อาจารย์ปรัชนันท์  ที่เคารพ

การจัดการเทคโนโลยี  มีความสําคัญมากขึ้นทุกขณะ หนวยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ไมวาจะเปนหนวยงานที่แสวงหากําไร หรือไมแสวงหากําไร จําเปนตองวางแนวทางในการจัดการเทคโนโลยีของหนวยงานอยางรอบคอบ โดยสมควรเน้นการจัดการไปในทุกด้าน ได้แก่ ด้านคุณภาพ การพัฒนาบุคลากรและการจัดการมุ่งผลสัมฤทธิ์ เนื่องจากโลกปัจจุบันมีการแข่งขันกันอยู่ตลอดเวลาในทุก ๆ ด้าน ซึ่งเราต้องวิ่งตามให้ทัน  โดยตองมีการแตงตั้งผูรับผิดชอบในดานการจัดการเทคโนโลยีขึ้น ผูบริหารเทคโนโลยีจะตองไดรับการฝกอบรมใหเขาใจงานตาง ๆ ที่เกี่ยวของกับการจัดการเทคโนโลยี เขาใจลักษณะและธรรมชาติของการนําเทคโนโลยีมาใชในองคกร เขาใจผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีตอการปฏิบัติงาน และ การสรางหนวยงานใหมีความเขมแข็ง สามารถแขงขันในตลาดหรือในสังคมได

การจัดการเทคโนโลยี
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ICT) เปนทรัพยากรที่สําคัญ  จําเปนตองไดรับการจัดการอยางถูกตองและเหมาะสม   การจัดการเทคโนโลยีควรใชหลักการ  ดังนี้   
1. มีนโยบายในการจัดการเทคโนโลยี หนวยงานจําเปนตองประกาศนโยบายดานการจัดการเทคโนโลยีใหชัดเจน เปนลายลักษณอักษร แจงใหผูบริหาร พนักงาน และ ผูเกี่ยวของทราบ เพื่อนํานโยบายไปปฏิบัติจริง
2. มีผูรับผิดชอบในการจัดการเทคโนโลยี เป็นผูที่มีความสามารถ มีความรูและทักษะอยางแทจริง
3. มีการวางแผนงาน ไวลวงหนา เพื่อเปนแนวทางใหผูบริหารระดับสูง และผูปฏิบัติงานทราบวางานนั้น ๆ จะตองทําอะไรบาง ใชทรัพยากรมากนอยเพียงใด และคาดหวังไดวาจะเกิดอะไรขึ้น
4. มีการจัดสรรทรัพยากรสําหรับการปฏิบัติงาน เชน งบประมาณ ทรัพยากรบุคคล เครื่องมือตาง ๆ ผูบริหารระดับสูงตองสนับสนุนทรัพยากรอยางพอเพียง
5. มีการจัดฝกอบรมผูปฏิบัติงาน ตรงกับความตองการของบริษัท และทําใหบุคลากรสามารถปฏิบัติงานไดอยางมีประสิทธิภาพ
6. มีการกําหนดผูมีสวนไดวนเสีย เพื่อใหทุกคนที่เกี่ยวของไดเขามารวมในการดําเนินงานตั้งแตตน และเพื่อใหแนใจวาการดําเนินการนั้นจะไดผลดีที่สุด
7. มีการดําเนินงานตามกิจกรรมที่กําหนดไวในแผนงานอยางเหมาะสม แผนงานที่จัดทําขึ้นนั้นระบุกิจกรรมตาง ๆ ไวในแผนและเหมาะสมกับสภาพการณ  การดำเนินงานต้องมีการควบคุมให้เป็นไปอย่างถูกต้อง
8. มีการวัดผลการดําเนินงานตามกิจกรรม ตามแนวทางที่กําหนดไว จากผลการดําเนินงานทั้งสวน Output และ Outcome
9. มีการจัดเก็บบันทึกรายละเอียดการดําเนินงาน  ไวครบถวน โดยจัดทําดัชนีสําหรับใหคนเรื่องที่ตองการไดอยางถูกตอง
10. มีการรายงานผลตอผูบริหารระดับสูง การรายงานผลเปนเครื่องมือใหผูบริหารรับทราบผลลัพธที่เกิดขึ้นจากการดําเนินงาน และเพื่อใหผูบริหารระดับสูงสามารถเสนอแนะแนวทางการดําเนินงานไดหากเกิดปญหาใด ๆ ขึ้นระหวางการดําเนินงานตามแผน


 

ต้องยอมรับว่า อปท.โดยเฉพาะอบต.ก็คล้ายคลึงกับหน่วยงานราชการทั่ว ๆ ไป การบริหารจัดการคงจะคล้ายกับที่คุณโชคชัยและบุคคลที่ทำงานอยู่ในระบบราชการ ได้สรุปในเรื่องการบริหารจัดการไว้อย่างละเอียด สำหรับอบต.ไร่ขิงได้มีการจัดการเทคโนโลยี่ในหลายเรื่อง เช่น ระบบแผนที่ภาษี(GIS) , การสร้าง web page , การให้บริการ Internet ตำบล , ระบบ E-Auction , ระบบ Lan , ติดตั้งUBC และ การคำนวณเงินค่าภาษีและการคำนวณเงินค่าน้ำประปาโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป

ซึ่งจากระบบที่ได้จัดทำดังกล่าวก็สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นได้ในระดับที่น่าพอใจ อีกทั้งยังเป็นต้วสนับสนุนส่งเสริมในด้านการจัดการตามหลักธรรมาถิบาลแต่ก็ยังมีปัญหาในเรื่องของบุคลากรที่รับผิดชอบยังขาดความสนใจความรู้ความเข้าใจ และคุณประโยชน์ในเรื่อง IT จึงทำให้ระบบต่าง ๆ ขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นหากผมได้เป็น CIO ในลำดับแรกผมต้องทำในด้าน HRD เพื่อให้เขาได้รับรู้ถึงบทบาทและความสำคัญของระบบ และความสำคัญของผู้ใช้ระบบควบคู่กันไปโดยให้มีการจัดฝึกอบรมในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงการศึกษาดูงานในหน่วยงานที่ประสบความสำเร็จในการใช้ IT มาใช้เพื่อการบริหารจัดการให้เหมาะสมกับองค์กรอีกทั้งยังต้องมีการจัดทำแผนในเรื่อง IT ขึ้นมาโดยเฉพาะ

สรุปอบต.จำเป็นต้องปรับความรู้ความเข้าใจในเรื่องของคุณประโยชน์ที่จะได้รับจากระบบ IT ให้บุคลากรขององค์กรทั้งในระดับผู้ปฏิบัติและในระดับนโยบายให้มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน

        ปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศได้มีบทบาทที่สำคัญต่อวิถีชีวิตและสังคมของมนุษย์เป็นอย่างมาก  เทคโนโลยีสารสนเทศได้สร้างการเปลี่ยนแปลง  ให้โอกาส  และก่อให้เกิดการพัฒนาแก่องค์การเป็นอย่างมากทั้งนี้เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและบริการ  องค์การต้องอาศัยบุคคลที่มีความสนใจ  ความรู้  ความเข้าใจ  ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์  สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างทันการณ์    มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการแข่งขันอย่างสูงสุดและก่อให้เกิดผลกระทบในด้านลบน้อยที่สุดต่อองค์การและสังคม    อย่างไรก็ตามการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การต้องขึ้นอยู่กับผู้บริหารและวัฒนธรรมขององค์การเป็นสำคัญ 

       ผู้บริหารควรจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การดังนี้

       1.ด้านบุคคลากร

       ผู้บริหารควรวางแผนเรื่องบุคคลากรเนื่องจากการเตรียมบุคคลากรให้พร้อมเป็นสิ่งที่สำคัญในการที่จะสร้างและพัฒนา  รวมทั้งการใช้งานระบบสารสนเทศเมื่อจัดสร้างเรียบร้อยแล้ว  ทั้งนี้เพื่อให้บุคคลากรมีความรู้  ความเข้าใจ  เกิดทักษะ  ความสามารถและศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ  โดยการจัดฝึกอบรม  สัมมนา  บรรยายพิเศษ  ศึกษาดูงาน  รวมทั้งการสรรหาบุคคลากรทางสารสนเทศให้สอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงานทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

       2.งบประมาณ

       ผู้บริหารควรวางแผนเตรียมเงินและวางแนวทางในการจัดหาเงินที่จะนำมาพัฒนาระบบตามแผนที่วางไว้  ตลอดจนการเตรียมเงินสำหรับการพัฒนาระบบในอนาคตอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศที่รวดเร็ว

       3.การวางแผน

       ผู้บริหารต้องจัดทำแผนการจัดสร้างหรือพัฒนาระบบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว  โดยการจัดตั้งคณะทำงานซึ่งอาจประกอบด้วยผู้บริหาร  นักออกแบบระบบ  ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก  และผู้ใช้ระบบ

       กรณีศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน  มหาวิทยาลัยคริสเตียน

       มหาวิทยาลัยคริสเตียนมีจุดมุ่งหมายในการให้บริการ    การศึกษาระดับอุดมศึกษา  เพื่อตอบสนองนโยบายของชาติในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาทุกระดับ  โดยมุ่งเน้นความรักและคุณภาพในการให้บริการด้านวิชาการและวิชาชีพ  โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

       1.จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาในสาขาวิชาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ

       2.ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้  ความชำนาญในวิชาชีพ  มีทักษะในการบริการ  ในการบริหารจัดการ  ในการใช้และผลิตเทคโนโลยี  และในการสื่อสารระดับสากล  มีวินัย  คุณธรรม  และจริยธรรม

       3.เป็นแหล่งแสวงหา  ค้นคว้าวิจัย  แลกเปลี่ยน  ถ่ายทอด  สร้างและพัฒนาความรู้

       4.เป็นแหล่งบริการทางวิชาการแก่สังคม

       5.เป็นแหล่งทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม

       เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์บางประการดังกล่าว  มหาวิทยาลัยคริสเตียนมีการบริหารจัดการ  โดยใช้หลักของ     4 M  ซึ่งประกอบด้วย 1).Man   2).Money and Material  และ3).Management  ดังนี้

       1).Man 

       กำหนดเป็นนโยบาย  สร้างความเข้าใจและชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  ทั้งกลุ่มผู้บริหาร  คณาจารย์  บุคคลากรและนักศึกษา  รวมทั้งจัดอบรม  สัมมนา  ให้ความรู้  และการศึกษาดูงานที่เกี่ยวข้อง  ทั้งนี้เพื่อให้ทรัยากรบุคคลของสถาบันทันต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเทคโนโลยีและข่าวสาร

       2).Money and Material 

       2.1).ในปี  2548  มหาวิทยาลัยคริสเตียนได้ดำเนินกลยุทธ์ของการเป็นสถาบันการศึกษาแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ  (ICT  CAMPUS)  โดยมีการสนับสนุนเงินงบประมาณบางส่วนเพื่อให้คณาจารย์  บุคคลากร  และนักศึกษาทุกคนมีเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดพกพา (Notebook)  ทั้งนี้เพื่อการเรียนรู้และติดตามข่าวสารอย่างต่อเนื่องและทันต่อเหตุการณ์ของโลก

       2.2.).มหาวิทยาลัยคริสเตียนได้จัดเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากสำหรับคณาจารย์  บุคคลากร  และนักศึกษา  ทั้งที่ศูนย์วิทยบริการ  ศูนย์บริการคอมพิวเตอร์  ห้องปฏิบัติการ  ศูนย์บริการวิชาการ  ศูนย์ประชาสัมพันธ์  ศูนย์รับรอง  และหอพักนักศึกษา  เพื่อรองรับการเรียนรู้  นอกจากนี้แล้วยังจัดให้มีระบบต่างๆเพื่อให้บริการ  ในการจัดการเรียน  การสอน  การฝึกปฏิบัติ  และการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลสารสนเทศต่างๆผ่านระบบอินเตอร์เน็ต  ระบบ  LAN  และ  WIRELESS

       3).Management 

       มหาวิทยาลัยคริสเตียนใช้หลักบริหารจัดการแบบผสมผสานเพื่อให้องค์การก้าวไปข้างหน้าโดยควบคู่ไปกับเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้ง  Human  resource  management ,  Tatal  quality  management  และ  Result  based  management    โดยไม่เลือกเทคนิคการบริหารจัดการอย่างใดอย่างหนึ่ง  โดยมีความเชื่อว่าการควบคุมคุณภาพของการดำเนินงานแบบผสมผสานดังกล่าวจะทำให้องค์การเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด

       โดยสรุปความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศได้สร้างการเปลี่ยนแปลง  ให้โอกาส  และก่อให้เกิดการพัฒนาแก่องค์การมหาวิทยาลัยคริสเตียนเป็นอย่างมาก  และไม่เพียงแต่ช่วงเวลาของปัจจุบันเท่านั้น  ในอนาคตสถาบันยังต้องเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่าต่อเนื่องโดยไม่หยุดยั้งเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์และเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน 

            สำหรับองค์กรและหน่วยงานของดิฉัน เป็นองค์กรการกุศล ดังนั้นรูปแบบการบริหารจัดการจึงไม่สลับซับซ้อนเหมือนองค์กรอื่น ๆ โดยมีหน่วยงานดังนี้ งานการเงินและบัญชี งานอบรมสัมมนา/สมาชิก งานบรรเทาทุกข์ งานดวงตา/อวัยวะ งานโลหิต งานโครงการที่พิเศษ/โครงการพระราชดำริ

            ในการบริหารจัดการในด้านงานเกี่ยวกับการเงินและบัญชี จะใช้การบริหารจัดการแบบ CFO โดยเน้นการจัดการมุ่งผลสัมฤทธิ์ เพราะผู้ที่อยู่ในตำแหน่งที่รับผิดชอบนี้ ส่วนมากจะเป็นผู้มีความสามารถเฉพาะตัวอยู่ตามสายงานอยู่แล้ว ดังนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องดู Process ต่าง ๆ เพียงแต่เน้นความต้องการความสัมฤทธิ์ผลก็เพียงพอ โดยการนำเทคโนโลยี IT มาช่วยในระบบการเงิน การบัญชี เพื่อความสะดวกรวดเร็ว พร้อมข้อมูลการเงินและบัญชีสามารถที่จะ Link ส่งยังหน่วยงานต้นสังกัด คือ สภากาชาดไทย ในการทำงบประมาณ รายงานสรุปสถานการณ์เงินในรอบ 1 เดือน และสรุปฐานะการเงินในรอบ 3 เดือนให้สภากาชาดไทย พร้อม Link ข้อมูลภายในภาค (7 จังหวัดในภาค 4) และในฐานะที่เป็นภาค ต้องจัดประชุมภาคทุก 3 เดือน พร้อมทำหนังสือผลงาน ดังนั้นข้อมูลต่าง ๆ ภายในภาคต้องติดต่อเชื่อมโยงกันได้หมด เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเก็บข้อมูล ปัจจุบันจะใช้รายงานพิมพ์ส่งทางไปรษณีย์ จะไม่สะดวกและล่าช้า

            งานอบรมสัมมนา/สมาชิกใช้ CKO และ Technology Expert และเน้นการพัฒนาบุคลากรโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญ

            บรรเทาทุกข์, ดวงตา, อวัยวะ, โลหิต เป็นงานที่ต้องให้บริการ ใช้การบริหารจัดการ PMO, CTO และ CEO เพราะแต่ละงานต้องมีหัวหน้าโครงการ มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการให้ข้อมูล การติดต่อประชาสัมพันธ์ การเก็บข้อมูล รวมทั้งหัวหน้า volunteer ในการทำงาน เน้นการจัดการด้านคุณภาพ และความสัมฤทธิ์ผล ควรนำ IT ในการเชิญชวนผู้มาบริจาค และจัดทำ Website ทำข้อมูลเชื่อมโยงส่วนกลางและภาค

            โครงการพิเศษ/โครงการตามพระราชดำริ ใช้ PMO มุ่งเน้นจัดการมุ่งผลสัมฤทธิ์ โดยใช้ IT มาช่วยในการจัดทำโครงการทุก ๆ ด้าน รวมทั้งการรวบรวมและติดตามประเมินผล
ภาระกิจที่ได้รับมอบหมายจากองค์กร หากตามเป้าหมายองค์กรวางแผนขยายเครือข่ายสาขาจำนวน80สาขาในปี2549เพื่อรองรับกับเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังเจริญเติบโต ผู้บริหารต้องมองไกลต้องเลือกการบริหารจัดการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ เพื่อชิงความได้เปรียบในการแข่งขันก่อนคู่แข่งรายอื่น โดยการจัดหา(MOBILIZATION)และการใช้ประโยชน์(UTILIZATION)ได้ทันตามกำหนดเวลา เพราะจะเป็นโอกาสในตลาดขององค์กร โดยผู้บริหารจะใช้วิธีOUTSOURCING   CONTRACTING OUT   TUREKEY   ALLIANCE  เพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมาย ไม่ว่าจะทำโดยวิธีใดขอให้สัมฤทธิ์ผล มีความรวดเร็ว คล่องตัว ทันสมัยด้วย ลูกค้ามีความพึงพอใจจากผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลายขององค์กร
นายศักดิ์สิทธิ์ เลิศหัสดีรัตน์

เราควรทำอย่างไรในการจัดการเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนประสิทธิภาพ  ประสิทธิผล ความทันสมัย ความก้าวหน้าและความพร้อมในการแข่งขันขององค์กร?

Human Resource Management: HRM เป็นการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ภายใต้แนวคิดว่า "คน" เป็นทรัพยากรหนึ่งในองค์กรที่ควรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ "คน" ยังเป็นต้นทุนที่สำคัญขององค์การที่เรียกว่า Human Capital แนวคิดดังกล่าวนี้มองว่าคนเป็นทรัพยากรที่สามารถสร้างมูลค่าให้กับองค์การได้เสมอทั้งในช่วงเวลาที่ทำงานให้กับองค์การหรือเมื่อเกษียณอายุงานจากองค์การแล้วก็ตาม

พัฒนาการขององค์การและการแข่งขันในอดีตเน้นพัฒนาการด้านเทคโนโลยีที่เป็นเครื่องจักร อุปกรณ์ที่ทันสมัย ที่สามารถนำมาทำงานแทนที่คนในสายการผลิตแบบ Line Production เช่น สายการผลิตอะหลั่ยรถยนต์ สายการผลิตอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ หรือแม้แต่สายการผลิตอาหารกระป๋อง เครื่องจักรและอุปกรณ์เหล่านี้มีอายุการใช้งานที่กำหนดไว้พร้อมกับค่าเสื่อมราคา และทำงานแบบเดิมซ้ำๆ พัฒนาการในยุคนั้นเน้นการผลิตเพื่อป้อนสินค้าให้กับตลาดผู้บริโภคให้รวดเร็วที่สุด คนจึงไม่ได้รับการพิจารณาคุณค่าเท่าที่ควร

แต่ในยุคปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเมื่อสายการผลิตมีความอิ่มตัว ผู้บริโภคเปลี่ยนใจไปบริโภคสินค้าใหม่ๆ มากขึ้น การปรับปรุงสายการผลิตจึงต้องใช้เงินลงทุนมากขึ้น นอกจากนี้กระแสตลาดในสภาวะแข่งขันในปัจจุบันที่มีความหลากหลายของสินค้า และสินค้ามีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เช่น สินค้าด้านคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์สื่อสาร การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วนี้เองทำให้องค์การต้องเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้มากขึ้น การพัฒนาด้านหนึ่งที่น่าสนใจและทำการแข่งขันได้ยากคือ การพัฒนาบุคลากร ให้มีความรู้ความสามารถมากขึ้น

การได้มาซึ่ง "คน" ที่จะทำงานให้กับองค์การนั้นมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มต้นคิดว่าจะต้องจ้างคนมาทำงานในตำแหน่งงานหนึ่งๆ เพราะองค์การต้องเสียเวลาในการคิดถึงสาเหตุและความจำเป็นในการจ้างคนเพิ่มหนึ่งคน ค่าใช้จ่ายในการสรรหาเป็นกิจกรรมที่ติดตามต่อมาพร้อมกับค่าใช้จ่ายในการจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน สถานที่ทำงาน อุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการทำงาน หรือแม้แต่รถยนต์ประจำตำแหน่ง เหล่านี้ล้วนเป็นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น เราจะเห็นว่าการรับบุคลากรเข้าทำงานเพียงหนึ่งคนเป็น "การลงทุน" แต่การลงทุนกับคนแตกต่างจากเครื่องจักรเพราะคนมีความหลากหลายด้านทักษะ และมีศักยภาพในการพัฒนาความรู้ความสามารถให้เพิ่มมากขึ้นรองรับงานใหม่ๆ ที่สามารถสร้างผลประกอบการที่ดีให้กับองค์การได้ในอนาคต

การบริหารจัดการองค์การที่ดีควรมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าองค์การจะเป็นอะไรในอนาคต จากนั้นจึงหันมาดูว่าทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์การนั้นมีพอเพียงหรือไม่ ถ้าไม่พอก็ต้องจัดหาเพิ่ม สำหรับเรื่อง "คน" การจัดหาพนักงานเพิ่มเป็นค่าใช้จ่ายและถ้าไม่ต้องการเพิ่มคน เรายังสามารถศักยภาพให้คนที่มีอยู่ได้เช่นกัน Human Resource Development: HRD เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งในการพัฒนาคนเช่นกัน การลงทุนกับคนในด้านการฝึกอบรมให้ความรู้ นอกจากองค์การจะไม่ต้องลงทุนเพิ่มคนแล้ว องค์การยังได้รับประโยชน์จากการใช้คนที่มีอยู่ให้ทำงานให้มากขึ้นกว่าเดิมเพราะคนมีศักยภาพมากขึ้นนั่นเอง

HRM&HRD สามารถดำเนินการได้ด้วยการนำเครื่องมือในการบริหารจัดการมาใช้งาน เช่น ระบบการฝึกอบรมตามความต้องการขององค์การ, On the Job Trianing: OJT, Classroom Training, Outdoor Training, On-line Training, รวมถึงระบบการพัฒนาในสายอาชีพ (Career Path & Career Development), การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Appraisal), Key Performance Indicators: KPI เป็นต้น เครื่องมือเหล่านี้จะถูกนำมาใช้งานต่างกันแต่เชื่อมโยงกันได้เป็นอย่างดีเพื่อเป้าหมายในการพัฒนาคนหนึ่งคนในองค์การ

การเปลี่ยนแปลง (Change) ในองค์การไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป หรือแม้แต่ลูกค้าที่เปลี่ยนไป การเตรียมตัวที่ดีที่สุดคือการเตรียมคนให้มีความพร้อมและมีความตระหนักในความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะเกิดขึ้นในรูปแบบใดถ้าคนพร้อม การดำเนินงานจะไม่มีอุปสรรค การวางแผนเรื่องคนจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายที่สุดสำหรับผู้บริหารในยุคปัจจุบัน

ในหน่วยงานสาธารณสุขตั้งแต่ระดับสาธารณสุขจังหวัด  สาธารณสุขอำเภอ  และระดับตำบลคือสถานีอนามัย  มีคอมพิวเตอร์ใช้ในสำนักงานทุกแห่ง   ไม่ว่าจะเป็บสถานีอนามัยอย่างน้อยต้องมีคอมพิวเตอร์ใช้ในการเก็บข้อมูลประชากร การจัดทำบัตรทอง  30  บาท และข้อมูลการรักษาพยาบาล ฯลฯ และเจ้าหน้าที่ที่อยู่ตามสถานีอนามัยต้องปฏิบัติงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ทุกวันมากกว่าการให้บริการด้านรักษาผู้ป่วยเสียอีก  แต่ปัจจุบ้นนี้บุคลากรที่ปฏิบัติงานยังไม่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยีและตามเทคโนโลยีไม่ทัน  บางแห่งมีคอมพิวเตอร์ใช้แต่ก็ใช้ไม่เป็น  เมื่อใช้ไม่เป็นก็เลยไม่สนใจที่จะเรียนรู้   จึงเกิดปัญหาในระบบงานทำให้การทำงานล่าช้าในการรายงานผลงาน  ซึ่งเป็นปัญหาในระบบงาน ดังนั้น ในฐานะที่ได้ตำแหน่งเป็นผู้บริหาร CIO อันดับแรกที่จะต้องแก้ปํญหาคือ  ต้องพัฒนาบุคลากรเพราะคิดว่า  คน คือ สาเหตุของความสำเร็จ  ความรุ่งเรืองและความมีชื่อเสียงขององค์กร  เพราะผลผลิตที่มีคุณภาพ ล้วนเกิดขึ้นจากการบริหารจัดการ และการลงมือกระทำของคนทั้งสิ้น หลายองค์กรจึงให้ความสำคัญอย่างยิ่ง กับเรื่องของบุคลากรในองค์กร  โดยการคัดเลือกคนที่เหมาะสม สนับสนุน และส่งเสริมให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  เพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่า  ตรงตามความต้องการของลูกค้า รวมทั้งการสร้างชื่อเสียงให้องค์กร สู่ความเป็นเลิศได้สำเร็จ

         ดังนั้น ต้องให้บุคลากรมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องเทคโนโลยี เพราะปัจจุบันนี้เทคโลยีมีการพัฒนาและเติบโตเร็วมากในยุคนี้ ถ้าหน่วยงานเรามีเทคโนโลยีไม่ทันสมัยและบุคลากรขาดการพํฒนาคุณภาพตนเองไม่ทันกับเทคโนโลยีแล้ว การพํฒนาหน่วยงานก็จะไม่ประสบความสำเร็จ

สำหรับผู้ที่เริ่มทำงานใหม่ยังไม่มีประสบการณ์ในการทำงานเลย อยากจะทราบข้อมูลเกี่ยวบการเป็นSupport Sale ธุรกิจประเภทจำหน่ายสินค้าไอที อาทิเช่น Notebook  Projector ฯ และแนวคิดต่างๆเพื่อนำข้อมูลไปทำสารนิพนธ์ไปประกอบการเรียน/การทำงาน

ขอบคุณล่วงหน้านะคะสำหรับพี่ๆที่ใจดี

หากมีข้อมูลช่วยส่งมาที่ [email protected] นะคะขอบคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท