สังคมแห่งการเรียนรู้


บทปาฐกถานำ โดย ท่าน ศ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ที่แม้จะผ่านมาหลายปีแล้ว สิ่งที่อาจารย์กล่าวไว้ก็ยังเป็นปัจจุบัน และเห็นชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ

     ได้อ่านหนังสือ  รวบรวมบทความจากการสัมมนา "สังคมแห่งการเรียนรู้ การประยุกต์สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต" ที่จัดทำขึ้นโดย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.นเรศวร ปี 2544 ในวาระครบรอบ 11 ปี ม.นเรศวร (26-27 กค.44) ช่วงนั้นทุกคณะฯต่างก็จัดงานพร้อมๆกัน จึงไม่ได้เข้าร่วมโครงการฯ เลยพลาดโอกาสเพิ่มรอยหยักในสมองไปอย่างน่าเสียดาย แต่ก็ โชคชะตาฟ้าคงลิขิตให้ได้พบกับหนังสือเล่มนี้โดยบังเอิญ จึงมีเรื่องมาเล่าในโอกาสนี้

นับเป็นการรวบรวมบทความ จากนักวิชาการที่มีคุณภาพสูงจากหลากหลายสถาบัน  นับเป็นหนังสือที่ดีมากๆอีกเล่มนึง ที่แม้เวลาจะผ่านมาหลายปี แต่เรื่องต่างๆ ก็ยังเป็นที่กล่าวกันอยู่ถึงปัจจุบัน ต้องขอชื่นชม คณะมนุษย์ฯ ม.นเรศวร เริ่มตั้งแต่ปกสีสันน่าหยิบ (น้ำเงิน) เล่มขนาดพกพาสะดวก บทบรรณาธิการ โดยท่านอาจารย์ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ ดิฉันก็รู้สึกว่าตัวเองโชคดีเหลือเกินที่ได้พบหนังสือที่ดีแบบนี้ (แหม! เสียดายไม่มีกล้องจะได้บันทึกภาพหน้าตาหนังสือมาให้ดูกัน เป็นพวก Low tech หน่ะค่ะ)

บทปาฐกถานำ โดย ท่าน ศ.นิธิ เอียวศรีวงศ์  ที่แม้จะผ่านมาหลายปีแล้ว สิ่งที่อาจารย์กล่าวไว้ก็ยังเป็นปัจจุบัน และเห็นชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ  

มีบางประโยคที่อ่านแล้ว ก็ช่วยกระตุ้นเตือน ให้ทบทวนตัวเอง ว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่ได้เรียนรู้อะไรเพิ่มพูนขึ้นมามากน้อยแค่ไหน ขออนุญาตหยิบมาให้อ่านกันดูสักนิดนึงนะคะ

     "เวลาเราบอกว่าอยากทำให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เรามักจะนึกถึงการสร้างหรือทำให้เกิดแหล่งข้อมูลข้อเท็จจริงแก่คนทั่วไป เป็นต้นว่า การขยายการศึกษา ขยายโรงเรียน ขยายหลักสูตร xxขยายวิทยาเขต อันนี้เติมเอง  อิอิ!Xx  ติดตั้งอินเทอร์เนตให้มากที่สุด ทั้งในหมู่บ้าน ในสถานศึกษา ป้อนข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงอย่างเดียว ไม่ได้ก่อให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น เพราะ "การเรียนรู้หมายถึงการประมวลข้อเท็จจริงจำนวนหนึ่ง แล้วยังรวมถึง ความสามารถในการ "สร้างความรู้" ขึ้นเองด้วย กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การประยุกต์ใช้ความรู้นั้น ความรู้นี้ ปรับความรู้ไปเรื่อยๆ ความรู้จึงไม่อยู่นิ่ง"  

     ยิ่งอ่านมากขึ้นก็เห็นความน่าสนใจจนอยากให้เพื่อนๆได้อ่านบ้าง แต่คงไม่สามารถนำเสนอได้มากเท่าที่ควร  หากเพื่อนๆคนไหนสนใจ  เข้าใจว่าคณะฯมนุษย์ได้ส่งกระจายให้ทุกคณะฯ ใน ม.น. รวมถึง สำนักหอสมุดด้วยค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 19636เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2006 17:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
ขยันเขียน Blog ดีครับ
   ความรู้นอกจากเกิดจากรอยยักในสมอง แล้วความรู้ยังเกิดจากในตัวคนอีกนะครับที่เค้าเรียกว่าความรู้จากประสบการณ์ การที่จะให้ความรู้ในตัวคนออกมาได้เราต้องจัดบรรยากาศไม่ให้ความรู้ที่ขี้อายรู้สึกหวดกลัว รู้สึกปลอดภัย แล้วความรู้นั้นจะออกมาครับ
หลังจากผมกลับจาก NZ แล้ว จะส่งหนังสือ KM ของท่านอาจารย์ ดร. ประพนธ์ ผาสุขยืด (สคส.) มาให้อ่านเพิ่มเติม ถ้าผมลืมช่วยทวงด้วยครับ

 

ในสำนักหอสมุดเราก็มีบริการหนังสือรวมบทความนี้ด้วยนะคะ  ซึ่งได้รับอภินันทนาการจาก  คณะมนุษยศาสตรืและสังคมศาสตร์ บรรณารักษ์ สำนักหอสมุดได้จัดหมวดหมู่ไว้ที่  HN700.567 ก482 2544  อยู่ที่ชั้นสิ่งพิมพ์มหาวิทยาลัย  สมาชิกห้องสมุดทุกท่านมีความสนใจ  สามารถมายืมอ่านได้นะค่ะ /งานหอประวัติ  สำนักหอสมุด


 

คุณสุวรรณา ช่วยกรุณาแนะนำที่อยู่ของหนังสือให้ น่ารักมากค่ะ

เนื้อหาในหนังสือเป็นสิ่งที่ดีมากจริงๆ อยากให้มีผู้สนใจอ่านเยอะ โดยเฉพาะกลุ่มนิสิต ป.โท สายอาชีพ ครู เพราะจะได้ประโยชน์ไปประยุกต์ใช้กับนักเรียน นักศึกษา ได้เป็นอย่างดี แต่สาขาอื่นถ้าสนใจก็จะได้ประโยชน์ไม่น้อยเช่นกัน

ประเทศไทยของเรามีหนังสือที่เขียนโดยคนไทย ดีๆ มากมาย แต่บางครั้งเราก็วิ่งตามกระแสสังคมที่เปลี่ยนเร็วมาก  จนไม่ได้หยุดพิจารณาสิ่งที่อยู่ใกล้ๆ ตัวอย่างเพียงพอ 

น่าเสียดายนะคะ  แต่ก็เป็นข้อดีของดิฉันเองที่ไม่เก่งภาษาอังกฤษ แต่ชอบอ่านหนังสือ เลยได้อ่านหนังสือไทย ที่เหมาะกับเรา ถึงแม้ว่าจะเป็นของไทย ก็มีความรู้อีกมากมายที่ชวนให้ศึกษา ค้นหา ในแบบไทยๆ ต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท