รพ.ท่าคันโท
รพ.ท่าคันโท รพ.ท่าคันโท รพ.ท่าคันโท

การบริหารยา


ยา ยา ยา กินยาดี ถูกวิธี มีชีวียืนยาว

วิธีปฏิบัติเรื่องการบริหารยาผู้ป่วยใน

การรับคำสั่งการรักษา

1 แพทย์เขียนคำสั่งการรักษาในdoctor order ด้วยลายมือชัดเจน

2พยาบาลหัวหน้าเวรเป็นผู้รับคำสั่งการรักษาโดย

                2.1คัดลอกชื่อยา ขนาด วิธีการให้ยา เวลาให้ยาลงใน medical sheet1 ด้วยหมึกสีน้ำเงินสำหรับยากิน  และ medical sheet 2 ด้วยหมึกสีแดงสำหรับยาฉีด

                2.2เซ็นชื่อผู้รับคำสั่งการรักษาโดยใช้หมึกสีแดงด้วยลายมือชัดเจนอ่านง่ายบริเวณมุมขวาล่างติดกับสำสั่งการรักษาของแพทย์

                2.3 ฉีกใบก๊อบปี้ doctor order รวบรวมส่งฝ่ายเภสัชกรรม (ไม่ควรลอกลงกระดาษโน้ตใด ๆ ส่งเพราะไม่ได้ช่วยการประหยัดกลับทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนทางยาได้ง่าย)

                2.4 การรับคำสั่งทางโทรศัพท์ ให้ผู้รับคำสั่งระบุท้ายorder ด้วยหมึกสีน้ำเงินโดยเขียนชื่อผู้รับคำสั่ง เวลา ชื่อแพทย์ผู้สั่งการรักษา เช่น ดาริกา RN 5 รคส.นพ.ธิติพงศ์ ทางโทรศัพท์ แล้วให้ปฏิบัติการรับคำสั่งตามข้อ 2.1 – 2.3 ตามปกติ

                2.5 หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกำคำสั่งการรักษา เช่นอ่านลายมือไม่ชัดเจน  มีข้อสงสัยเกี่ยวกับชื่อยาหรือขนาดการให้ยาให้พยาบาลถามแพทย์โดยตรง แล้วบันทึกผลการซักถามด้วยดินสอใน doctor order

 

การตรวจสอบยา

                ครั้งที่ 1 พยาบาลผู้รับคำสั่งการรักษาตรวจสอบ ชื่อผู้ป่วย ชื่อยา ขนาด วิธีการให้ เวลาให้ยา จากลายมือแพทย์ใน doctor order และใน medical sheet อีกครั้งหลังการคัดลอก

                ครั้งที่2 พยาบาลหัวหน้าเวรตรวจสอบ ชื่อผู้ป่วย ชื่อยา ขนาด วิธีการให้ เวลาให้ยา จากลายมือแพทย์ใน doctor order และใน medical sheet1 และ medical sheet 2 ทุกเวร

            ครั้งที่ 3 พยาบาล member  ในเวรเช้า ตรวจสอบทั้งยากิน ยาฉีด และยารูปแบบอื่น ๆ โดยตรวจสอบ ชื่อผู้ป่วย ชื่อยา ขนาด วิธีการให้ เวลาให้ยาใน medical sheet และยาในรถ unit dose ในช่วงเวลา 14.oo . (หลังจากเจ้าหน้าที่นำรถกลับจากห้องยา) หากพบความคลาดเคลื่อนให้บันทึกในแบบฟอร์ม ….และแจ้งงานเภสัชทางโทรศัพท์

ครั้งที่ 4     พยาบาลผู้ให้ยาเตรียมยาฉีดตามรายการใน medical sheet โดยใช้หลัก 6R   (พร้อมลง

บันทึกการให้ยาโดยระบุเวลาให้ยาซึ่งยอมรับความคลาดเคลื่อนจากเวลามาตรฐานเท่ากับ บวกลบ 30 นาที)

              พยาบาลแจกยากินแก่ผู้ป่วยจากรถตามรายการใน Medical sheet โดยใช้หลัก 6R 

พร้อมลงบันทึกการให้ยาโดยระบุเวลาให้ยา(ซึ่งยอมรับความคลาดเคลื่อนของการให้ยาจากเวลามาตรฐานเท่ากับ บวกลบ 30 นาที)

                               

 

การให้ยากิน

1. การให้ยากิน ใช้หลัก 6R   โดยยอมรับความคลาดเคลื่อนของการให้ยาจากเวลามาตรฐานเท่ากับ บวกลบ 30 นาที (หากเกินถือเป็น Medical  error  เรื่องการให้ยาผิดเวลา)

                2.มอบยาแก่ผู้ป่วย(ที่รู้สึกตัวดี) หรือญาติผู้ดูแล โดยแจ้งชื่อยา เวลารับประทานยา ผลข้างเคียงที่ควรทราบ (ไม่แนะนำให้วางยาไว้บริเวณเตียงหรือบริเวณใด ๆ โดยไม่แจ้งผู้ป่วยทราบ)

                3.ควรป้อนยาแก้ผู้ป่วยหากไม่มีญาติอยู่เผ้าและผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองได้น้อย

            4.ควรตระหนักถึงการได้รับยาอย่างครบถ้วนของผู้ป่วยเสมอ

 

การให้ยาฉีด

                1.เตรียมยาด้วยหลัก ปราศจากเชื้ออย่างเคร่งครัดในบริเวณที่จัดสำหรับการเตรียมยาโดยเฉพาะ

                2.เตรียมยาโดยใช้หลัก 6R

                3.ล้างมือสะอาดก่อนการเตรียมและให้ยา

            4. ทำ skin test  ก่อนการให้ยา anti biotic  ครั้งแรกในผู้ป่วยทุกราย

                5.ให้ยาฉีดตามหลัก 6R  

6. ควรให้ยาฉีดที่อุณหภูมิห้อง (  ยาที่แช่ตู้เย็นควรปล่อยให้อุ่นระดับอุณหภูมิห้องก่อนฉีด )

7.ยาที่หยดทางหลอดเลือดควรให้ ให้หมดตามเวลาที่กำหนด  ( หากให้นานเกินกำหนดถือเป็นความคลาดเคลื่อนในการบริหารยา )

8.ติดตามอาการที่อาจเกิดขึ้นหลังให้ยา

การบริหารยาตามช่วงเวลา

1.ยา ATB ที่แพทย์สั่งการรักษาว่าstat dose ให้ทำการ skin test อ่านผลแล้วให้ยาได้ทันที

2. ยา ATB ที่แพทย์สั่งการรักษาไว้โดยไม่ได้ระบุว่า stat dose ให้ทำการ skin test และให้ยาตามช่วงเวลาเวลามาตรฐานการให้ยาฉีดผู้ป่วยใน เช่น

PGS 2 mU  IV q 4  hr  สั่งการรักษาเวลา 9.00 . จะต้องทำการ skin test และให้ยาก่อนเวลา 10.00 . แล้วให้ถือว่ายาที่ได้รับครั้งแรกนี้เป็น dose 10.00 . จากนั้นให้ยาตามเวลาปกติคือ  dose    14.00 , 18.00 . 22.00.00.00 . และ dose 06.00 . ตามลำดับ

 

Cloxacillin 1 g IV q 6 hr สั่งการรักษาเวลา 9.00 . จะต้องทำการ skin test และให้ยาก่อนเวลา 12.00 . แล้วให้ถือว่ายาที่ได้รับครั้งแรกนี้เป็น dose 12.00 . จากนั้นให้ยาตามเวลาปกติคือ  dose 18.00 , 24.00. และ dose 06.00 . ตามลำดับ

 

Methronidazole 500 mg IV q 8 hr สั่งการรักษาเวลา 9.00 . จะต้องทำการ ให้ยาก่อนเวลา 14.00 . แล้วให้ถือว่ายาที่ได้รับครั้งแรกนี้เป็น dose 14.00 . จากนั้นให้ยาตามเวลาปกติคือ  dose 22.00  และ dose 06.00 . ตามลำดับ

Ceftriazone 1 g IV q 12 hr สั่งการรักษาเวลา 9.00 . จะต้องทำการ ให้ยาก่อนเวลา 12.00 . แล้วให้ถือว่ายาที่ได้รับครั้งแรกนี้เป็น dose 06.00 . จากนั้นให้ยาตามเวลาปกติคือ  dose 18.00  และ dose 06.00 . ตามลำดับ

Ceftriazone 2 g IV OD   กรณีที่ 1หากสั่งการรักษาในช่วงเวลา 00.01 . ถึง 12.00 ให้ทำการ ให้ยาทันทีแล้วให้ถือว่ายาที่ได้รับครั้งแรกนี้เป็น dose 06.00 . จากนั้นให้ยาตามเวลาปกติคือ  dose 06.00  ของวันรุ่งขึ้น

 Ceftriazone 2 g IV OD   กรณีที่ 2หากสั่งการรักษาในช่วงเวลา 12.00 . ถึง 24.00 ให้ทำการ ให้ยาทันทีแล้วให้ถือว่ายาที่ได้รับครั้งแรกนี้เป็น dose 18.00 . จากนั้นให้ยาตามเวลาปกติคือ  dose 18.00  ของวันรุ่งขึ้น

                ตารางแสดงมาตรฐานเวลาการให้ยาฉีดผู้ป่วยใน

คำสั่งการรักษา

เงื่อนไข

เวลาให้ยามาตรฐาน(นาฬิกา)

หมายเหตุ

PGS 2 mU  IV q 4  hr 

 

 

 

 

Cloxacillin 1 g IV q 6 hr

 

 

 

 

Methronidazole 500 mg IV q 8 hr

 

 

 

Ceftriazone 1 g IV q 12 hr

หมายเลขบันทึก: 195973เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2008 13:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมากเลย จะขอนำไปใช้ในงานดูนะคะ

สวัสดีค่ะ

- เห็นการเปลี่ยนแปลงบ้างแล้วนะค่ะ

ตารางอาจต้องปรับหน่อยนะค่ะ เพราะล้นจอเลยจ้า

- น่าจะให้เภสัชกร มาในตึกบ้างนะ

เห็นการพัฒนาหลายอย่างที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลท่าคันโท ในฐานะที่เป็นคนท่าคันโทรูสึกภูมิใจเช่นกัน แต่มีสิ่งที่อย่างฝาก เช่นแผนกทันตกรรมที่การให้บริการเปิดปิดทำตามใจมาก เช่นปิดไปทอดกระถิน ซึ่งพอผมไปรับบริการแล้วเจ้าหน้าที่บอกว่าไปทอดกระถินทำให้อึ่งไปเหมือนกัน นี้เค้าไม่ทำงานกันเลยเหรอ ยังงัยก็ฝากผู้บริหารดูด้วยน่ะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท