ระบบเวียงแนวคิดใหม่สู่ความเป็นหนึ่ง(1)


ความคิดสร้างสรรทั้งคน และส่วนรวม

             ฉบับก่อนเรามาพูดถึงระบบเวียงแบบพอคราวๆ กันแล้วก็แนะนำให้รู้จักกับระบบเวียงกันเลยดีกว่า  ระบบ  Academic Coiiege  หรือระบบเวียง  ในภาษาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดกลุ่มนิสิตกับอาจารย์ เพื่อร่วมมือกันดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง  ต่อชุมชน ต่อสังคม โดยปราศจากการแบ่งแยกทางด้าน  สาขาวิชา  เชื้อชาติ  ภูมิลำเนา และศาสนา

                     การจัดกิจกรรมในรูปแบบระบบเวียงนับเป็นก้าวสำคัญของมหาวิทยาลัยฯ  ในการที่จะสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของนิสิต  บุคลากรทุกฝ่าย  ตลอดจนชุมชนที่จะร่วมกันดำเนินกิจกรรมให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่หวังไว้  เวียงทั้ง 6 เวียงอันได้แก่  เวียงจอมทอง  เวียงน้ำเต้า  เวียงบัว เวียงกาหลวง เวียงลอ และเวียงเชียงแรง   แต่ละเวียงได้สร้างตราสัญลักษณ์ จากการศึกษาความเป็นมา  ปรัชญา  สี และสัญลักษณ์ประจำเวียงเพื่อความเป็นเอกลักษณ์ของเวียงต่างๆ   เวียงแรกที่จะแนะนำให้รู้จักกันวันนี้คือ

               เวียงน้ำเต้า                            ความเป็นมา          เป็นเวียงโบราณยุคแรก  รูปทรงเป็นรูปน้ำเต้า  ปัจจุบันตั้งอยู่ที่       อำเภอเมือง  จังหวัดพะเยา
                                                ปรัชญา                  เน้นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์งานทั้งคน และส่วนร่วม
                                                สีประจำ                 สีน้ำเงิน
                                                สัญลักษณ์             น้ำเต้า
ความหมายของตราสัญลักษณ์ประจำเวียง
                นำภาพน้ำเต้าซึ่งเป็นพืชเครือเถาวัลย์ชนิดหนึ่ง  มาจัดองค์ประกอบให้สอดคล้องกับชื่อเวียง  น้ำเต้าเป็นพืชที่มีผลค่อนข้างใหญ่  หมายถึง  องค์ความรู้ต่างๆ  ที่กว้างขวาง  วงกลมหมายถึงการแสวงหาความรู้ของมนุษย์หนังสือที่เปิดออก  หมายถึง  การศึกษา
                แถบด้านบน  9  แถบ  หมายถึงความเจริญก้าวหน้า  ลวดลายจักสานหมายถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
                สีเทา   แสด  คือ  สีประจำมหาวิทยาลัย
                องค์ประกอบทั้งหมดมีความหมายในภาพรวมคือ  การสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ  และการทำงานเพื่อส่วนรวม

กิจกรรมเน้นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์งานทั้งคน และส่วนรวม

                เป็นไงบ้างคะรู้จักกันอีกหนึ่งเวียง  แล้วฉบับต่อไปจะมาเล่าให้ฟังอีกว่าที่เหลืออีก  5  เวียง มีความหมายอย่างไรกันบ้างแล้วพบกันใหม่ฉบับหน้านะคะ

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 1958เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2005 14:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท