การอ่านตีความ


      การอ่านตีความ (การวินิจสาร,พินิจสาร,วินิจฉัยสาร)

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการอ่านตีความ
ความหมายและความสำคัญของการอ่านตีความ

            การอ่านตีความ เป็นการอ่านเพื่อหาความหมายที่ซ่อนเร้น หรือหาความหมายที่แท้จริงของสาร โดยพิจารณาข้อความที่อ่านว่าผู้เขียนมีเจตนาให้ผู้อ่าน เกิดความคิดหรือความรู้อะไรนอกเหนือไปจากการรู้เรื่อง

ความสำคัญของการอ่านตีความ

  1. ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องที่อ่านได้หลายด้านหลายมุม
  2. ทำให้เห็นคุณค่าและได้รับประโยชน์จากสิ่งที่อ่าน
  3. ช่วยฝึกการคิดไตร่ตรองหาเหตุผล
  4. ทำให้มีวิจารณญาณในการอ่าน

ประเภทของการอ่านตีความ  แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

                1.    การอ่านออกเสียงอย่างตีความ (การอ่านตีบท) เป็นการอ่านแบบทำเสียงให้สมบทบาท ใส่อารมณ์กับบทที่อ่านและความรู้สึกให้เหมาะสม
                2.    การอ่านตีความเป็นการอ่านที่ต้องศึกษาทำความเข้าใจงานเขียนทุกแง่ทุกมุมเพื่อตีความเป็นพื้นฐานของ
การอ่านออกเสียงอย่างตีความ

ความรู้เกี่ยวกับการอ่านตีความ

  1. เสียง (คำ) และความหมาย เสียงของคำที่แตกต่างกัน ย่อมสื่อความหมายที่แตกต่างกัน ผู้อ่านต้องวิเคราะห์ว่าเสียงของคำที่ผู้เขียนใช้นั้น สัมพันธ์กับความหมายอย่างไร
  2. ภาพพจน์ ผู้อ่านต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องภาพพจน์ ซึ่งจะช่วยให้การอ่านตีความมีความกว้างขวางลึกซึ้งยิ่งขึ้น เช่น ภาพพจน์ อุปมา อุปลักษณ์ นามนัย อธิพจน์ บุคลาธิษฐาน เป็นต้น
  3. สัญลักษณ์ สัญลักษณ์ในทางวรรณกรรม หมายถึง สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งมักจะเป็นรูปธรรม ที่เป็นเครื่องแทนนามธรรม เช่น ดอกไม้แทนหญิงงาม พระเพลิงแทนความร้องแรง ฯลฯ แบ่งเป็นลัญลักษณ์ตามแบบแผน และสัญลักษณ์ส่วนตัว
  4. พื้นหลังของเหตุการณ์ คือ ความเป็นไปในสมัยที่งานเขียนเรื่องนั้นได้แต่งขึ้น รวมถึงลัทธิความเชื่อ สภาพภูมิศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และความเป็นอยู่ของยุคสมัยนั้น ๆ
  5. ความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอ่านตีความ ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับประวัติผู้แต่ง ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ จิตวิทยา ปรัชญา ศาสนา
  6. องค์ประกอบที่ทำให้การอ่านตีความแตกต่างกัน ได้แก่ ความสนใจ ประสบการณ์ จินตนาการ เจตคติ ระดับสติปัญญา ความรู้และวัย
  7. เกณฑ์การพิจารณาการอ่านตีความ การตีความงานเขียน ความผิดถูกไม่ใช่เรื่องสำคัญ อยู่ที่มีความลึกซึ้งกว้างขวางและมีความสมเหตุสมผล

กลวิธีการอ่านตีความ (กระบวนการอ่านตีความ)

  1. การวิเคราะห์เพื่อการตีความ หมายถึง การพิจารณารูปแบบเนื้อหา กลวิธีการแต่ง และการใช้ภาษาของงานเขียน
  2. พิจารณารายละเอียดของงานเขียน จะต้องพิจารณารายละเอียดต่าง ๆ คือ

    2.1   พิจารณาว่าส่วนใดเป็นข้อเท็จจริง เรื่องใดเป็นข้อคิดเห็น ตลอดจนความรู้สึกและอารมณ์ของผู้เขียน 
             ซึ่งอาจแสดงออกโดยตรง หรือแสดงออกโดยผ่านพฤติกรรมของตัวละคร
    2.2    วิเคราะห์และรวบรวมปฏิกิริยาของผู้อ่านที่มีต่องานเขียน  เป็นการที่ผู้อ่านวิเคราะห์ตัวเอง
    2.3    การพิจารณาความคิดแทรก  หมายถึง  การพิจารณาข้อความรู้ความคิดที่ผู้เขียนมีไว้ในใจ  
              แต่ไม่ได้เขียนไว้ในงานเขียนนั้นตรง ๆ

  3. การตีความงานเขียน นำข้อมูลต่าง ๆ ประมวลเข้าด้วยกัน เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจแล้วตีความงานเขียน ว่าผู้เขียนส่งสารอะไรมาให้แก่ผู้อ่าน
  4. การแสดงความคิดเสริม เป็นการที่ผู้อ่านแสดงความคิดของผู้อ่านเอง โดยที่กระบวนการอ่านตีความนั้นมีส่วนยั่วยุให้คิด เป็นความรู้ ความคิดเห็น ความรู้สึกหรืออารมณ์ที่เกิดขึ้นใหม่

กลับเมนู

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 19529เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2006 14:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 16:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดีครับผมอ่านผม

จะได้รู้จะได้เอาไปเรียนใน

ชั้นเรียนครับ

เนื้อหาการอ่าตีความ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท