แบบเรียนสำเร็จรูป


นวัตกรรม

นวัตกรรมที่ทำคือ บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง สารเคมี

ชื่อนางปุณยนุช  เกษม ครูชำนาญการโรงเรียนวัดนิคมสามัคคีชัย

ผลงานที่ภาคภูมิใจนักเรียนที่สอนได้รับรางวัลชนะเลิศ การประกวดอัจฉริยภาพ

ช่วงชั้นที่2 ระดับศูนย์เครือข่าย

รายละเอียดเรื่องเล่า

                เนื่องจากโรงเรียนวัดนิคมสามัคคีชัย จัดการเรียนการสอนโดยให้นักเรียนเดินเรียน และในการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ นักเรียนจะต้องเดินมาเรียนที่ห้องสมุด เพราะครูผู้สอนประจำอยู่ที่ห้องสมุด ในขณะเดียวกันครูผู้สอนก็รับผิดชอบงานธุรการด้วย แต่การทำงานธุรการจะต้องไปทำงานอีกอาคารหนึ่ง จึงทำให้เกิดปัญหาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ไม่บรรลุผล และไม่มีคุณภาพ หากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ ก็จะไม่สามารถพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้นได้ จึงเกิดแนวความคิดและแรงบันดาลใจ ที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยใช้นวัตกรรมบทเรียนสำเร็จรูป (Programmed Instruction) เรื่องสารเคมี มาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อเป็นการแก้ปัญหา หรือพัฒนาการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพ ครูผู้สอนจึงได้ทำการศึกษานักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อจัดนักเรียนเป็นกลุ่มๆ ละ 5-6 คน โดยให้นักเรียนที่เรียนเก่งกับนักเรียนที่เรียนอ่อนคละกันไป เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ครูผู้สอนสร้างความคุ้นเคยกับนักเรียนให้ความเป็นกันเองกับเขา แล้วนำนวัตกรรมบทเรียนสำเร็จรูปที่สร้างขึ้นซึ่งเป็นบทเรียนที่มีการจัดเรียงเนื้อหาในแต่ละขั้นตอนไม่มากนัก โดยเรียงลำดับเนื้อหาจากง่ายไปหายาก พร้อมกับมีคำถามและคำเฉลย บรรจุใจกรอบ (Frame) มาใช้กับนักเรียน ซึ่งนักเรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง เป็นการแบ่งเบาภาระการสอนของครู เป็นการเรียนที่ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ เมื่อนักเรียนศึกษาบทเรียนสำเร็จรูปแล้ว นักเรียนจะทำแบบทดสอบ โดยมีเฉลยให้นักเรียนได้ตรวจโดยทันที ทำให้นักเรียนมีสุขภาพจิตดี ไม่ต้องแข่งกับใคร ทำผิดก็ศึกษาหาความรู้และลองทำใหม่ ท้ายที่สุด ก็จะประสบความสำเร็จ เป็นการส่งเสริมความซื่อสัตย์ และความรับผิดชอบของนักเรียนด้วย

                ผลจากการนำบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง สารเคมี มาใช้กับนักเรียน นักเรียนสามารถที่จะเรียนด้วยตนเอง ตามความสามารถของแต่ละคน ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ดีขึ้นกว่าเดิม โดยมีวิธีปฏิบัติข้อดีของตนเองดังนี้

1.       ศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล

2.       สร้างตนให้คุ้นเคย

3.       อย่าละเลยปัญหา

4.       พัฒนาผู้เรียน

5.       เขียนนวัตกรรม

6.       นำไปใช้

7.       ใส่ใจประเมินผล

หมายเลขบันทึก: 194281เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2008 12:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2012 09:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท