การทำธูปหอมดินสอพอง


การทำธูปหอมดินสอพอง

แบบบันทึกเรื่องเล่า

หัวปลา (Knowledge Vision) การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน (สาระ/งานโครงการ)

m สาระ  การงานอาชีพและเทคโนโลยี m งาน/โครงการ .....................................................

เรื่อง    การทำธูปหอมดินสอพอง

คุณกิจ (ผู้เล่าเรื่อง)นางสิริยุพา  วิจิตรพันธุ์ โรงเรียนเมืองใหม่(ชลอราษฎร์รังสฤษฏ์)        สพท.ลบ 1

รายละเอียดเรื่องเล่า

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 กำหนดให้แต่ละโรงเรียน จัดทำหลักสูตรท้องถิ่น โรงเรียนเมืองใหม่(ชลอราษฎร์รังสฤษฏ์) ได้นำภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องการทำธูปหอมดินสอพอง มาจัดทำหลักสูตร 

สนองพระราชปณิธาน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

...ศิลปประดิษฐ์เครื่องหอม ซึ่งในอดีตคนไทยใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน แต่ในปัจจุบันมีเครื่องสำอางจากต่างประเทศเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย เครื่องหอมของไทยที่บรรพบุรุษคิดประดิษฐ์ขึ้นไว้ได้รับความนิยมลดลง

ทั้งในการประดิษฐ์และการใช้เครื่องหอมของไทยที่เคยเป็นที่นิยม เช่น การทำธูปหอม ดินสอพอง แป้งนวล แป้งร่ำ แป้งเกสรดอกไม้ ...เครื่องหอมเหล่านี้มีสูตรและวิธีการผลิตที่ต้องเรียนรู้และฝึกหัด ปฏิบัติ จึงจะมีความชำนาญและผลิตได้อย่างมีคุณภาพ....ศิลปประดิษฐ์เหล่านี้ ปัจจุบันด้อยถอยความนิยมลง จนอาจจะขาดการสืบทอดและสูญหายไป การที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปิดสอนวิชาเหล่านี้ที่ศูนย์ศิลปาชีพต่าง ๆ เพื่อที่ทำให้ศิลปะอันเป็นเอกลักษณ์ล้ำค่าของไทยได้รับการฟื้นฟูยั่งยืนไปสู่คน รุ่นต่อไปไม่ขาดสาย....

ข้อมูล: มูลนิธิศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

จุดเริ่มต้น ปี พ.ศ.2545 à ผลสำเร็จ

1.        รู้จักประโยชน์ดินสอพองใช้ผสมผงธูปได้จากแผ่นพับของ  นายสมปอง อินเหว่าวงศ์ กลุ่มพัฒนาอาชีพทำดินสอพอง แต่ไม่มีคนนิยมทำ เพราะเสียเวลามาก

2.       เริ่มศึกษาจากตำรา ดูงานจากโรงงานทำธูปหลายแห่ง ทดลองทำหลายครั้ง ไม่ประสบความสำเร็จ

3.       คิดค้น ดัดแปลงจนประสบความสำเร็จ เป็นสูตรเป็นของตนเอง   ได้ธูปมีลักษณะที่ติดไฟง่าย  ควันไฟน้อยขี้ธูปไม่ปลิวมีกลิ่นหอม   ระยะเวลาติดไฟ 1 ก้านใช้เวลาประมาณ 40 นาที

ผลจากการดำเนินงาน

       ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติได้จริง ตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้

               กระบวนจัดการเรียนรู้ของครู ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความรู้ เกิดความรัก เกิดความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนเองที่มีทรัพยากรอันมีคุณค่า

               กิจกรรมกลุ่ม นักเรียนได้ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ช่วยเหลือกัน

               นักเรียนนำเสนอและสาธิตผลงานสู่ชุมชนได้

               นักเรียนเป็นคนดี    คนเก่ง และมีความสุข

ผลสำเร็จของงาน

1.                  ธูปหอมดินสอพอง ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผลงานที่มีวิธีการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (BEST PRACTIC)ได้รับรางวัลที่ 2 ระดับภาค ณ โรงแรมนครสวรรค์ลากูล จังหวัดนครสวรรค์  วันที่  15 -16 กันยายน 2550

2. ด้รับเกียรติบัตรเป็นผู้ดำเนินการจัดกิจกรรม หนึ่งผู้เรียนหนึ่งผลงานคุณภาพดีเด่นในงานมหกรรม  เทิดไท้ 72 พรรษา ลพบุรีมหานครแห่งการเรียนรู้ วันที่4-7พฤศจิกายน   2547  จาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 1

         3.  จัดทำเป็นของชำร่วยมอบให้แขกผู้มาเยี่ยมชมโรงเรียนงานทอดผ้าป่าการศึกษา และอื่น ๆ

         4.  นักเรียนนำผลงานไปจัดแสดงและจำหน่าย  ในงานสิงห์บุรีเบิกฟ้าการศึกษาขั้นพื้นฐาน ณ วัดพิกุลทอง จังหวัดสิงห์บุรี 7-8  สิงหาคม 2545

   5.  นำผลงานไปจัดแสดงและนำไปจำหน่ายในงานเสมา 45 ที่ที่ Impact กรุงเทพมหานคร

วันที่ 20 สิงหาคม 2545

  สิ่งที่คาดหวัง

เราจะขอเป็นตัวแทนสร้างงานที่บรรพบุรุษของไทยได้สั่งสม    ภูมิปัญญา ประดิษฐ์คิดค้นไว้เป็นมรดกของชาติในท้องถิ่นของลพบุรี จะขยายงานจากเด็กสู่ชุมชน โรงเรียนจะเป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อชุมชนอย่างแท้จริง
                         
หมายเลขบันทึก: 194080เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2008 13:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากเรียนการทำธูปดินสอพองมากๆๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท