อะไรเอ่ย ........ "สร้าง" แล้วต้อง "ทำลาย"?


...ไม่ได้หมายความว่า "มาตรฐานเดิม" นั้นไม่ดี เพราะว่า "ขณะนี้" เป็นเรื่องที่ "ต่างกรรม ต่างวาระ" กัน เหตุปัจจัยทั้งหลายได้เปลี่ยนไปจากเดิม ทำให้มีความจำเป็นที่ต้องคิด "สิ่งใหม่" ที่ "เหมาะสม" ยิ่งกว่าเดิม

        ลูกชายเคยถามคำถามนี้กับผม ...นานมาแล้ว.... ซึ่งคำตอบที่จำได้ก็คือ "สถิติ" ..... มาวันนี้ หลังจากที่ผมได้เข้าร่วมการประชุมวิชาการ HA National Forum ครั้งที่ 7 ที่ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี  คำตอบต่อคำถามนี้ของผมเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง .... คำตอบใหม่ที่คิดได้ก็คือ .....SOP (Standard Operating Procedure) และ/หรือ CPG (Clinical Practice Guideline)

       พูดง่ายๆ ก็คืออะไรก็ตามที่เราจัดทำไว้ในลักษณะที่เป็น "หลักปฏิบัติ" หรือจัดไว้ให้เป็น "แนวทาง" หรือเป็น "มาตรฐาน" ในการปฏิบัติงานนั้น เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีการ "ปรับเปลี่ยน" อยู่ตลอดเวลา เรียกได้ว่า เมื่อสร้างหรือกำหนดออกมาเป็นมาตรฐาน (Standardization) แล้ว ต้องกล้าที่จะ "ทำลาย" มาตรฐานเดิมที่ใช้อยู่นี้ เพื่อพัฒนาไปสู่ "สิ่งใหม่"  สร้างเป็นมาตรฐานใหม่ไว้ใช้ต่อไป

       ...ไม่ได้หมายความว่า "มาตรฐานเดิม" นั้นไม่ดี เพราะว่า "ขณะนี้" เป็นเรื่องที่ "ต่างกรรม ต่างวาระ" กัน เหตุปัจจัยทั้งหลายได้เปลี่ยนไปจากเดิม ทำให้มีความจำเป็นที่ต้องคิด "สิ่งใหม่" ที่ "เหมาะสม" ยิ่งกว่าเดิม เป็นการพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ตามกระบวนการ PDCA (Plan-Do-Check-Action) ที่เราคุ้นเคยกันนั่นเอง

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 19373เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2006 10:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สร้าง แล้วต้อง ปรับปรุง   สร้างแล้วต้องดูแลปรับเปลี่ยน พัฒนา อาจจะรื่นหูกว่า สร้างแล้วทำลาย 

 มรรคาเดิม  แต่สำนวนฟังแล้วรู้สึกต่างกัน

     เห็นด้วยกับคุณวีรพัฒน์มากครับ ภาษาที่คัดสรรมาใช้ จำเป็นอย่างไรที่จะเลือก "ทำลาย" เพียงเพื่อจะบอกว่า "ปรับเปลี่ยน" การปรับเปลี่ยนไม่จำเป็นต้องทำลายลงให้สิ้นซากก่อนเสมอไป หากแต่การนำของ "ดี-เก่า-เดิม" มา "เสริม-เติม-ต่อ" ก็ได้ครับ...ด้วยความเคารพยิ่ง และเป็นผู้หนึ่งที่เสพงานเขียนอาจารย์อยู่อย่างเนืองนิตย์

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำจากทั้งสองท่านครับ

ขอ ลปรร. ด้วยคนนะคะ

ท่านอาจารย์..มักเปิดประเด็นให้เราได้ get และเกิด cognitive activate อยู่เรื่อยๆ..เป็นระยะๆ...นะคะ...(ยิ้ม)...

ทำให้เกิดความสนุก...มีความสุขกับการเข้ามา ลปรร. และเกิดการขยาย schema

คิดว่า..พอเข้าใจเจตนาที่สื่อนะคะ..แต่หาก..ให้ get จริง..คิดว่าสอดคล้องกับท่านเจ้า คห. ทั้งสองท่านในข้างต้นนะคะ...หากเปลี่ยน...Key word..ที่เป็นบวก..ทำให้เรา...ผู้เสพสื่อ.."สบายใจ...ยิ่งนักกับการที่ก้าวต่อ..เพื่อพัฒนา...

ต่างกรรมต่างวาระ..มาตรฐานเดิมดี...เมื่อเก่าก่อน...มาตรฐานใหม่...ดีเมื่อวันนี้....หากกลับมาปัดฝุ่นใหม่อาจดีอีกได้...ในวาระนี้...ก็อาจเป็นได้

 

ต่างกรรม ต่างวาระ

      ต่างการกระทำ ต่างโอกาสวันเวลาสถานที่

ในความคิดเห็นของข้าพเจ้า เมื่อเวลาเปลี่ยนไป คำว่า มาตรฐาน(เดิม) อาจต้องถึงกับ สร้างใหม่โดยไม่เหลียวกลับไปมองมาตรฐานเดิมอีกเลย

  

    จากประสบการณ์  ผมว่าการใช้ วาทกรรม ทั้งสองลักษณะ  มีประโยชน์ทั้งคู่  การสื่อเพื่อให้เห็นข้อเท็จจริงในบทสรุปก็ควรเป็นถ้อยคำที่สะท้อนความจริงและชี้นำไปในทาง Positive แต่ในโอกาสที่ต้องการให้คนยุดคิด  และหันมาสนใจสิ่งที่เราจะสื่อ การใช้คำที่โดนใจ  ทำให้สะดุ้ง ก็เป็นเรื่องที่ดีครับ  เป็นการดึงความสนใจให้ทุกคนมาพิจารณาเรื่องราวนั้นๆไปด้วยกัน  สุดท้ายก็จบลงด้วยข้อสรุปที่เรียบร้อย  ถ้อยคำที่ดูเร่าร้อน  รุนแรงเป็นเพียงสื่อกระตุ้นในช่วงแรกเท่านั้น  เหมือนแพที่เราใช้ช่วยให้ข้ามฟากไปได้  เมื่อขึ้นฝั่งกันได้แล้วก็ไม่ควรจะแบกแพนั้นไปด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท