ตับอักเสบ & น้ำหวาน


การดื่มน้ำหวานจำนวนมากๆ ไม่ได้ช่วยให้โรคตับอักเสบหายเร็วขึ้น แต่กลับมีผลเสียคือน้ำตาลมากเกินไป จะเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมในตับทำให้ตับโตมีอาการจุกแน่นนานกว่าปกติ

     เรามักจะพบผู้ป่วยที่มาบำบัดรักษายาเสพติด ตรวจพบเชื้อไวรัสตับอักเสบเสมอๆ โรคตับอักเสบจากเชื้อไวรัสมีหลายชนิด ได้แก่ เอ,บี,ซี,ดี แต่ที่พบบ่อย ได้แก่ เชื้อไวรัสตับอักเสบบี  อัตราการเป็นพาหะของไวรัสชนิดนี้พบได้ ร้อยละ 6-10 ของประชากร ซึ่งการรักษาไม่มียารักษาโดยเฉพาะ แต่การรักษามีจุดมุ่งหมายเพื่อประคับประคองให้ตับมีสภาพดีขึ้น และสามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ การรักษาที่ดีคือ การพักผ่อนให้เพียงพอ ลดกิจกรรมรวมทั้งการออกกำลังกายที่ต้องใช้แรงมากๆ ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เป็นอาหารอ่อน ย่อยง่าย เช่น อาหารจำพวกแป้ง ผักและผลไม้ ไม่ควรรับประทานอาหารมันจัดหรือไขมันมาก เพราะจะทำให้ตับต้องทำงานมากขึ้นจะมีอาการคลื่นไส้ และอาเจียนมากขึ้นได้ ถ้ามีอาการบวมต้องงดอาหารรสเค็ม                           

     การดื่มน้ำหวานจำนวนมากๆ ไม่ได้ช่วยให้โรคหายเร็วขึ้น แต่กลับมีผลเสียคือ น้ำตาลมากเกินไป จะเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมในตับทำให้ตับโต มีอาการจุกแน่นนานกว่าปกติ

     เป็นวิทยาการใหม่ที่เราจะได้นำมาเป็นแนวทางในการดูแล ให้คำแนะนำกับผู้ป่วยต่อไปค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 19338เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2006 21:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 23:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ ด้วยสมุนไพร "ลูกใต้ใบ"

อ้างอิงจาก http://www.dmsc.moph.go.th/webroot/secretary/Homepage/news47/may/7.html เนื้อหามีดังนี้

สมุนไพรลูกใต้ใบ

สมุนไพรลูกใต้ใบหรือหญ้าใต้ใบ ในประเทศไทยมีอยู่ 4 ชนิด ได้แก่

1. Phyllanthus amarus

2. Phyllanthus debilis

3. Phyllanthus urinaria

4. Phyllanthus virgatus

จากรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์มติชนเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2547 ที่มีผู้เลี้ยงไก่ชนนำต้นเม็ดใต้ใบไปต้มเอาน้ำให้ไก่กินเพื่อรักษาโรคไข้หวัดนกนั้น ไม่สามารถจะทราบได้ว่าเป็น Phyllanthus ชนิดใด

จากการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล การวิจัยพืชสกุล Phyllanthus ทั้งหมด 198 รายงาน แต่ไม่มีรายงานการทดสอบฤทธิ์ของพืชสกุล Phyllanthus ต่อเชื้อ influenza virus มีแต่รายงานการวิจัยฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสตับอักเสบบีของสมุนไพร P. amarus มากที่สุดทั้งในระดับห้องปฏิบัติการในเซลล์เพาะเลี้ยงและการวิจัยทางคลินิกในผู้ป่วยตับอักเสบชนิดบีแบบเรื้อรัง หรือผู้ที่เป็นพาหะ นอกจากนี้ มีรายงานการศึกษาฤทธิ์ของ P. urinaria และ P. niruri ในการต้านไวรัสที่ก่อโรคตับอักเสบ

รายงานการวิจัยฤทธิ์ของสมุนไพรใต้ใบทั้งหลาย พอจะสรุปได้ดังต่อไปนี้

Phyllanthus amarus

1. ฤทธิ์ต้านไวรัสตับอักเสบ มีรายงานการศึกษาวิจัยฤทธิ์ต้านไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B virus, HBV) ของสารสกัดของ P. amarus ในห้องปฏิบัติการ และมีการศึกษาวิจัยต่อเนื่องถึงกลไกการออกฤทธิ์ ซึ่งพบว่ามีได้หลายกลไกการออกฤทธิ์ เช่น การยับยั้ง HBV DNA polymerase, ยับยั้ง HBV mRNA transcription & replication เป็นต้น และมีรายงานการวิจัยในคนหลายรายงาน ซึ่ง The Cochrane Hepato-Biliary Group ได้สรุปผลงานวิจัยที่เป็น randomized controlled trial (RCT) ของพืชสกุล Phyllanthus ในโรคตับอักเสบเรื้อรังไว้ มีเพียง 5 รายงานที่มีคุณภาพดี สรุปได้ว่า

Phyllanthus sp. ให้ผลบวกต่อการ clearance ของ serum HbsAg เมื่อเทียบกับ placebo หรือเมื่อไม่ให้การรักษา

ไม่มีความแตกต่างในการ clearance ของ serum HBsAg, HBeAg, HBV DNA ระหว่าง Phyllanthus sp. กับ interferon (IFN)

Phyllanthus sp. ให้ผลดีกว่า non-specific treatment หรือยาจากสมุนไพรอื่นๆ ในการ clearance ของ serum HBsAg, HBeAg, HBV DNA และการกลับมาเป็นปกติของค่า liver enzymes

การใช้ Phyllanthus sp. ร่วมกับ IFN จะให้ผลดีกว่า IFN อย่างเดียวในการ clearance ของ serum HbeAg และ HBV DNA

ไม่พบ serious adverse event

สรุปได้ว่า Phyllanthus sp. อาจมี positive effect ด้าน antiviral activity และต่อ liver biochemistry ในโรคตับอักเสบบีแบบเรื้อรัง อย่างไรก็ตาม หลักฐานที่มียังไม่หนักแน่นพอเนื่องจากคุณภาพของวิธีวิจัยและความแตกต่างของ สมุนไพรที่นำมาวิจัย จึงควรมีงานวิจัยในขนาดใหญ่ต่อไปในอนาคต

2. ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อเอชไอวี สารสกัดด้วยน้ำและสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ของ P. amarus มีฤทธิ์แรงในการยับยั้ง HIV-1 replication โดยสารออกฤทธิ์อยู่ในกลุ่ม gallotannins โดยสาร geraniin และ corilagin มีฤทธิ์แรงที่สุด นอกจากนี้ สารสกัดทั้งสองและสาร geraniin ยังสามารถยับยั้ง virus uptake ได้ 70-75% รวมทั้งยับยั้ง HIV-1 reverse transcriptase ด้วย

3. ฤทธิ์ต้านไวรัสหัวเหลือง (Yellow head virus, YHV) ในกุ้งกุลาดำ นักวิจัยของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ร่วมมือกับสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง จังหวัดสงขลา ทำการวิจัยฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพรลูกใต้ใบชนิด P. urinaria ที่ผสมในอาหารในการป้องกันการติดเชื้อ YHV ในกุ้งกุลาดำ โดยเอากุ้งมาฉีดเชื้อ YHV พบว่ากุ้งที่ได้รับอาหารที่ผสมสารสกัดสมุนไพรมีอัตราการรอดตายสูง และสามารถฟื้นเป็นปกติได้ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่พบอัตราการรอดเลย

4. ฤทธิ์ต้านอักเสบ สารสกัดของ P. amarus มีฤทธิ์ต้านอักเสบโดยการยับยั้ง endotoxin-induced nitric oxide synthase (iNOS), cyclooxygenase (COX-2) และ tumor necrosis factor-alpha (TNF-) และสารสกัดด้วยน้ำและสารสกัดด้วยเมธานอลมีฤทธิ์ต้านอักเสบโดยลดการบวมของอุ้งเท้าหนูได้

5. ฤทธิ์ antioxidant และต้านอนุมูลอิสระ สารสกัดด้วยเมธานอลของ P. amarus มีฤทธิ์ antioxidant สามารถยับยั้ง lipid peroxidation และต้านอนุมูลอิสระได้เมื่อศึกษาในหลอดทดลอง

6. ฤทธิ์ลดการเจ็บปวดและอาการบวม สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ผสมกับน้ำ (hydroalcoholic extract) มีฤทธิ์ต้านอาการเจ็บปวดจากการได้รับสารต่างๆ เช่น acetic acid, formalin หรือ capsiacin และสารสกัดด้วยเฮกเซนสามารถต้านอาการบวมและอาการเจ็บปวดในหนูที่ได้รับ Complete Freund’s adjuvant ฉีดเข้าอุ้งเท้าได้

7. ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลของกระเพาะอาหาร สารสกัดด้วยเมธานอลของ P. amarus สามารถลดอัตราตาย พื้นที่ที่เกิดแผลในกระเพาะอาหาร และอาการเลือดออก เนื่องจากได้รับเอธานอลได้

8. ฤทธิ์ต้านอาการท้องเสีย สารสกัดด้วยน้ำของ P. amarus สามารถลดการเคลื่อนตัวของอาหารในลำไส้หนูถีบจักร ชะลอการเกิดท้องเสีย และจำนวนครั้งที่ถ่ายหลังจากได้รับน้ำมันละหุ่ง

9. ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด สารสกัดด้วยเมธานอลของ P. amarus มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดในหนูที่ถูกทำให้เป็นเบาหวานด้วยการฉีดสาร alloxan

10. ฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ สารสกัดด้วยเมธานอลของ P. amarus มีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ของสาร 2-acetaminofluorene (2-AFF), aflatoxin B1, sodium azide, N-methyl-N-nitro-N-nitrosoguanidine และ 4-nitro-O-phenylenediamine เมื่อศึกษาด้วย Ames test

11. ฤทธิ์ต้านเนื้องอกและต้านมะเร็ง สารสกัดด้วยน้ำของ P. amarus สามารถต้านการเกิดมะเร็ง sarcoma ในหนูที่ได้รับสารก่อมะเร็ง 20-methylcholanthrene และยืดอายุของหนูที่ได้รับการปลูกถ่ายเซลล์มะเร็ง Dalton’s lymphoma ascites และ Ehrlich Ascites carcinoma และทำให้ก้อนเนื้องอกมีขนาดเล็กลง

12. ฤทธิ์คุมกำเนิด เมื่อป้อนสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ของ P. amarus ทั้งต้นแก่หนูถีบจักรเพศเมีย ในขนาด 100 มก./กก. 30 วัน พบว่ามีผลต่อระดับเอนไซม์ 3 beta & 17 beta hydroxy steroid dehydrogenase ทำให้หนูไม่ตั้งท้องเมื่อเลี้ยงรวมกับหนูเพศผู้

Phyllanthus urinaria

1. ฤทธิ์ต้านไวรัส Epstein-Barr พบว่าสารกลุ่ม ellagitannin ที่แยกได้จาก P. myrtifolius และ P. urinaria สามารถยับยั้งเอนไซม์ Epstein-Barr DNA polymerase ได้ที่ความเข้มข้นต่ำในระดับ micromolar

2. ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ Reverse transcriptase ของ Retrovirus จากการทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดด้วยน้ำร้อนและสารสกัดด้วยเมธานอลของสมุนไพรไทย 57 ชนิดในการยับยั้งเอนไซม์ Reverse transcriptase ของ Retrovirus โดยทดสอบกับ Maloney murine leukemia virus reverse transcriptase พบว่า สารสกัดด้วยน้ำร้อนของ P. urinaria ที่ความเข้มข้น 125 g/ml สามารถยับยั้งเอนไซม์นี้ได้ 91%

3. ไม่มีฤทธิ์ยับยั้งไวรัสตับอักเสบ จากการวิจัยทางคลินิกในผู้ป่วยตับอักเสบบีเรื้อรังที่มี positive hepatitis B e-antigen (HbeAg) มี HBV DNA มากกว่า 500,000 copies/ml และมีระดับเอนไซม์ alanine transaminase (ALT) สูง ที่ได้รับ P. urinaria ขนาด 1, 2 และ 3 กรัมวันละ 3 ครั้งนาน 6 เดือน หรือได้รับ placebo นาน 6 เดือน ไม่พบฤทธิ์ต้านไวรัส HBV ของ P. urinaria ในผู้ป่วยกลุ่มนี้

4. ฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง สารสกัด้วยน้ำของ P. urinaria มีพิษต่อเซลล์มะเร็ง Lewis lung carcinoma โดยไม่มีพิษต่อเซลล์ปกติต่างๆ โดยทำให้เซลล์มะเร็งเกิด apoptosis

5. ฤทธิ์กระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบ พบว่าสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ผสมกับน้ำ (hydroalcoholic extract) ของ P. urinaria มีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ และหลอดลมของหนูตะเภาหดตัว

6. ฤทธิ์ต้านอาการเจ็บปวด (anti-nociceptive effect) สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ผสมกับน้ำ (hydroalcoholic extract) ของ P. urinaria มีฤทธิ์ยับยั้งอาการเจ็บปวดในหนูถีบจักรเมื่อได้รับสาร formalin หรือสาร capsaicin

Phyllanthus debilis มีรายงานการวิจัยสมุนไพรนี้เพียง 1 รายงาน

ฤทธิ์ต่อระบบภูมิคุ้มกัน พบว่า สารสกัดด้วยน้ำของใบ P. debilis มีผลลดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของคน โดยมีฤทธิ์ในการยับยั้ง complement system ของระบบภูมิคุ้มกัน และยับยั้งการสร้างหรือการกำจัด free radical ที่สร้างจาก polymorphonuclear leukocytes เมื่อกระตุ้นด้วยสาร zymosan

ข้อมูลจาก…สถาบันวิจัยสมุนไพร

การรักษาแบบชีวโมเลกุลถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกมาดูกันเลย

การฟื้นฟูรักษาด้วยชีวะโมเลกุล สำหรับการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน

ปัจจุบันนี้คนเราเกิดภาวะตรึงเครียดเนื่องด้วยหลายๆสาเหตุ และปัจจัย ทำให้ร่างกายและจิตใจของเกิดโรคต่างๆขึ้นมากมาย แต่พวกเรายังโชคดีที่ว่ามีการค้นพบการป้องกันสภาพที่เสื่อมโทรมนี้

โดยปรัชญาเบื้องต้น สิ่งที่สำคัญพื้นฐานสำหรับการมีสุขภาพที่ดีคือ แสงแดด, ออกซิเจน, น้ำ, การได้รับสารอาหารที่สมดุล และ การออกกำลังกายที่เพียงพอ

การวิจัยใหม่ค้นพบว่าห้าข้อนี้เป็นสิ่งสำคัญของชีวิต แต่เนื่องด้วยชีวิตปัจจุบันทำให้สิ่งต่างๆ สารอาหาร น้ำดื่ม อากาศที่ไม่บริสุทธิ์ การได้รับแสงแดดที่ไม่เพียงพอหรือผิดช่วงเวลา ทำให้เราได้รับสิ่งไม่มีคุณภาพเพียงพอเราจึงต้องอาศัยตัวช่วยเพื่อให้ได้รับสิ่งสำคัญที่เพียงพอ

ผลของการบำบัดด้วยเซลล์ :

-ต่อต้านความชราและการแก่ก่อนวัยอันควรที่เกิดจากความเหนื่อยล้าทั้งทางร่ายกายและจิตใจ

-ฮอร์โมนไม่สมดุลและไม่มีประสิทธิภาพของต่อมไร้ท่อ

-ปัญหาเรื่องความเจ็บป่วยทางอารมณ์และจิตใจ, ความเจ็บป่วยเนื่องจากความเครียด

-อาการอ่อนล้าเรื้อรัง(Chronic Fatigue Syndrome CFS)

-การพักฟื้นหลังจากโรคหรืออุบัติเหตุ

-กระดูกสันหลังและไขข้อเสื่อม

-ความบกพร่องของกล้ามเนื้อและระบบประสาทบางประเภท

-โรคเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเนื้อเยื้อเรื้อรัง

-ปัญหาระบบหมุนเวียน

-โรคเกี่ยวกับระบบย่อย

-ระบบภูมิคุ้มกันเสื่อมสภาพและการติดเชื้อ

-การสร้างเซลล์ เนื้อเยื่อและอวัยวะขึ้นมาใหม่

-ภูมิคุ้มกัน สารต่อต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งการอักเสบ

-การควบคุมระบบประสาทอัตโนมัติ

-โปรโมทและบำรุงรักษาการหมุนเวียนเลือด

-เพื่อให้มั่นใจการซ่อมแซมเนื้อเยื่อและการรักษาบาดแผล

-การเพิ่มประสิทธิภาพของการฟื้นฟูระบบประสาท

-ควบคุมความสมดุลของระบบฮอร์โมน

-ปรับปรุงระบบทางเดินอาหารที่จะนำไปสู่การกำจัดอาการท้องผูก

-เพิ่มความยืดหยุ่นที่ข้อต่อและหมอนรองกระดูก

-ปรับปรุงการรับรู้และการตื่นตัวของสมองและเสริมสร้างความชุ่มชื้นของผิวหนังชั้นนอกซึ่งนำไปสู่ผิวที่กระชับ สดใสและเรียบเนียน

-เพิ่มความหนาแน่นของชั้นหนังแท้โดยการเร่งคอลลาเจน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท