การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน
คณะทำงานจัดการความรู้ การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน

แนวปฏิบัติในการดำเนินการด้านความเสี่ยงแพทย์แผนไทย


แนวปฏิบัติในการดำเนินการมาตรฐานการพัฒนาคุณภาพด้านความเสี่ยง

 แนวปฏิบัติในการดำเนินการมาตรฐานการพัฒนาคุณภาพด้านความเสี่ยง

ข้อกำหนด

          5.1    แบบรายงานและทบทวนเหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์

ตัวชี้วัด

1.มีแบบรายงานและทบทวนเหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์จากการมารับบริการรายงานใน 7 วัน เพื่อกำหนดมาตรการแก้ไขและป้องกันการเกิดซ้ำ ในกรณีร้ายแรงจะต้องรายงานตามลำดับชั้น ถ้าไม่ร้ายแรงให้รายงานหัวหน้างาน

ความมุ่งหมาย

เพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์ในส่วนของบริการแพทย์แผนไทย

วิธีการประเมิน

1.พิจารณาตามตัวชี้วัด

2.เอกสารกำหนด การจัดการด้านความเสี่ยงที่เกี่ยวกับงานบริการแพทย์แผนไทย

แนวปฏิบัติ

ตัวอย่างจาก กลุ่มงานแพทย์แผนไทย รพ.มหาสารคาม ได้มีการกำหนดแนวทางการป้องกันความเสี่ยงที่สำคัญ ดังนี้ โดยจะสอดคล้องกับข้อกำหนดด้านตัวชี้วัดมาตรฐานงานบริการแพทย์แผนไทย ได้แก่

·       คุณภาพทางคลินิค

·       คุณภาพการบริการ

·       คุณภาพการบริหารจัดการ

 

 

เครื่องชี้วัดคุณภาพ

คำอธิบาย

กย

ตค

พย

ธค

มค

กพ

มีค

เมย

เครื่องชี้วัดคุณภาพทางคลินิก

1.  อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง  ไม่เกินร้อยละ  0

2.  อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ไม่รุนแรง  ไม่เกินร้อยละ  10

 

 

 

 

 

 

 

 

คลินิกนวดไทย

รุนแรง หมายถึง มีภาวะกระดูกเคลื่อนหัก มีเลือดออกภายในหลังการนวด (อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง จากการนวด ไม่เกินร้อยละ  0)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ไม่รุนแรง หมายถึง มีการฟกช้ำเขียวจากการนวด กล้ามเนื้อระบม มีไข้ (อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ไม่รุนแรง จากการนวด ไม่เกินร้อยละ  10)

 

 

 

 

 

 

 

 

คลินิกอบสมุนไพร

รุนแรง หมายถึง เสียชีวิตในห้องอบไอน้ำสมุนไพร (อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง จากการอบ ไม่เกินร้อยละ  0)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ไม่รุนแรง หมายถึง เป็นลมขณะอบ เป็นผื่นคัน (อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ไม่รุนแรง จากการอบ ไม่เกินร้อยละ  10)

 

 

 

 

 

 

 

 

คลินิกยาไทย

รุนแรง หมายถึง

1.เกิดภาวะ ANAPHYLACTIC SHOCK  (อัตราการเกิดอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ไม่เกินร้อยละ  5)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2.เกิดอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาซ้ำ (อัตราการเกิดอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาซ้ำ ไม่เกินร้อยละ  0)

 

 

 

 

 

 

 

 

การประคบสมุนไพร

รุนแรง หมายถึง เกิดภาวะ BURN ผิวหนังพองไหม้ มีน้ำใต้ผิวหนัง  (อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง จากการประคบ ไม่เกินร้อยละ  0)

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 193207เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2008 11:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท