วิทยาศาสตร์ที่ถูกบิดเบือน : กรณี "ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น"


      สถานภาพล่าสุดของประเด็นนี้
มีต่อ
  • มีหลายประเด็นจริงๆๆด้วย
  • เอแล้วผู้เขียน
  • ไม่ปรับแก้ไขหรือครับพี่ชิว
  • มาทักทายพี่ก่อน
  • สบายดีไหมครับ

สวัสดีครับพี่ชิว

แปลกจังที่เขาเพิ่งได้รับแจ้งเรื่องความคลาดเคลื่อน แต่ผมว่า ถึงจะแก้ไขเนื้อหาเกี่ยวกับข้อเท็จจริงเหล่านี้แล้ว ก็ยังมีประเด็นใหญ่เกี่ยวกับการเปรียบเทียบกับพุทธศาสนาอีก

เคยมีหนังสือของ T. Lobsang Rampa เล่าเรื่องศาสนาพุทธในทิเบตไว้อย่างน่าอ่าน มีคนแปลเป็นภาษาไทยอย่างน้อยสองคน ผมไปปรึกษาผู้รู้ด้านพุทธศาสนาของทิเบต ท่านว่าเรื่องนี้เป็นเพียงนิยาย หลังจากนั้นก็ได้อ่านบทความยืนยันเรื่องที่ท่านว่าแต่นิยายเรื่องนี้ก็ตีพิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำอีกเป็นสิบครั้ง

จะว่าไปก็อ่านสนุกดีครับ

สวัสดีครับ

      อ.แอ๊ด : นี่แค่เสี้ยวเล็กๆ ครับ พี่เจอที่ผิดเกือบทุกหน้า ทำให้สงสัยเหมือนกันว่า บางที....

      อ.หมู : พี่แจ้งทางอัมรินทร์ไปว่า คนไทยไม่มีวัฒนธรรมที่ทำให้คนรู้จักกันเสียหน้าครับ :-P ทพ.สม ไล่ไปไล่มาเป็นรุ่นน้องพี่ที่ รร.เตรียม 2 ปีอีกต่างหาก...เฮ้อ

      คุณ พี่หนุ่มคนตานี : ด้วยความยินดีครับ

 

  • สงสัยผิดมากเลย
  • สรุปว่า
  • ทพ.สม ไล่ไปไล่มาเป็นรุ่นน้องพี่ที่ รร.เตรียม 2 ปีอีกต่างหาก...เฮ้อๆๆๆๆ
  • มาเฮ้อๆๆๆๆด้วยคน ฮ่าๆๆๆ

อย่างนี้ก็น่าดีนะครับ คุยกันง่าย

ชาวพุทธแท้ ไม่ก้าวร้าวอยู่แล้ว ;) แต่อาจจะหัวแข็ง อิๆ

ประเด็นนี้อาจจุดชนวนให้คนหันไปอ่านหนังสือเล่มนี้มากขึ้นนะครับ ว่า เอ.. คลาดเคลื่อนตรงไหนหว่า...

  • เห็นในร้านหนังสือค่ะ แต่จับแล้ววาง
  • เพราะช่วงนี้อ่านเป็นเล่มๆไม่ไหว
  • ต้องอ่านเป็นประเด็นเล็กๆน้อยๆ
  • ขอบคุณที่ทำให้ได้รับความรู้ทางวิทยาศาสตร์มากขึ้นค่ะ

สวัสดีครับ

      อ.แอ๊ด ขจิต ฝอยทอง & อ.หมู ธ.วั ช ชั ย : ผิดเยอะจริงๆ ครับ และด้วยความที่ขายดีมากนี่ ทำให้สิ่งผิดๆ กระจายออกไปในวงกว้างมากแล้ว พี่เลยต้องไปทักท้วง บ.อัมรินทร์ ซะหน่อย

      เรื่องคุยกับผู้เขียนนี่ มีความเสี่ยงเยอะครับ ต้องระวังเรื่อง ego ของคนอยู่เหมือนกัน 

      เห็นท่านผู้บริหารบอกว่า จะให้นักฟิสิกส์มาช่วยตรวจ ยังหวั่นๆ อยู่ว่า นักฟิสิกส์ก็มีหลายแขนง ถ้าจะตรวจได้ต้องรู้ theoretical physics โดยเฉพาะ spacetime physics ดีๆ ครับ

      คุณ naree suwan : ดีแล้วครับ แต่ถ้าได้อ่าน ก็คิดว่าอ่านเพลินๆ เพราะข้อมูลวิทย์นี่จับแพะชนแกะมั่วไปหมด แบบเนียนๆ

มั่วแบบเนียน...เฮ่อๆๆๆ  ขอมาแอบหัวเราะด้วยคนนะครับอาจารย์บัญชา ธนบุญสมบัติ

อ่านๆ ไป ก็นึกถึงนิยายของ (.........) ซึ่งชอบนำเอาคำสอนทางพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านวิปัสสนามาอธิบาย... อาตมาอ่านแล้วก็รู้สึกเบื่อทุกครั้ง จึงนำเรื่องนี้ไปปรารภกับเพื่อนสหธัมมิกรูปหนึ่งซึ่งจัดเป็นพวกหนอนหนังสือ เค้าว่า...

  • อย่างนั้นแหละ ! อะไรที่เราอ่านแล้ว เรารู้สึกว่ารู้มากกว่าคนเขียน เราจะรู้สึกเบื่อ...

เจริญพร

 

 

สวสัดีค่ะ ขออนุญาตแสดงความเห็น (ส่วนตัว) ค่ะ

  • กรณีที่หนังสือมีข้อมูลคลาดเคลื่อน มองในแง่ผู้ให้บริการ (ห้องสมุด) ควรต้องดึงหนังสือกลับออกจากชั้นเพื่อป้องกันและปกป้องการรับรู้ของผู้ใช้บริการด้วยนะคะ (หมดสมัยที่จะปล่อยให้ผู้อ่านพิจารณาโดยใช้วิจารณญาณของตนเองแล้วมั้ยคะ)
  • อย่างน้อยอาจมีผู้ใช้ที่ไม่ทราบข้อเท็จจริง ถึงศึกษาตำราหลายเล่มหลายผู้เขียน ก็อาจยึดเอากรณีหนังสือได้รับการต้อนรับด้วยการพิมพ์ซ้ำหลายๆ ครั้ง น่าห่วงเหมือนไม่น้อยค่ะ
  • ถ้าห้องสมุดทราบความเคลื่อนไหวเช่นนี้ ต้องมาคุยกันแล้วมีวิธีการแก้ปัญหาเพื่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ แล้วร้านหนังสือมิต้องพิจารณาการเรียกคืนสินค้า เหมือนยาบางตัวที่ไม่ผ่าน อย. ...โอ้ อาจไปกันใหญ่เลยค่ะ
  • และจะทำอย่างไรกับอีกหลายเล่มในมือผู้บริโภค...ทิ้งคำถามค่ะ ^^
  • สวัสดีครับพี่ชิว
  • [เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว] บัญชา ธนบุญสมบัติ, , Know How & Know Why : กฎพิสดาร ปรากฏการณ์พิศวง, สนพ. สารคดี, หน้า 128-137 เรื่อง “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” หมายความว่าอย่างไร
  • อยากอ่าน ทฤษฎีเฉาส์ เอ้ย ทฤษฏีเคออส (Chaos Theory)  ที่พี่เขียนไว้ 
  • มีรุ่นพี่ที่เรียนโท ด้านรัฐศาสตร์แนะนำให้อ่าน Chaos Theory ผมก็เลยลองหามาอ่าน และลองจับแพะชนแกะ เขียนสรุป ย่อๆ ไว้เป็นบทความเรื่อง Introduction to Chaos Theory ครับ ดำหนิดำเนียน (ติเตียน) ได้นะครับ
  • ปล. หนังสือ ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น ซึ่งเขียนโดย ทันตแพทย์สม สุจีรา ผมอ่านจบแล้วครับ
  • ส่วนตัวคิดว่าถ้ามีการแก้ไข ก็น่าจะทำให้หนังสือมีคุณค่าขึ้นมาอีกเยอะเลยนะครับ 
  • การร่วมมือกันระหว่าง สองผู้รู้ เพื่อเขียนหนังสือ นี่ทำให้นึกถึง เสถียรโกเศศ+นาคประทีป นะครับ :)

กราบนมัสการหลวงพี่ BM.chaiwut ครับ

        สำหรับกรณีที่กล่าวถึงในบันทึกนี้นั้น มีเหตุที่ทำให้เชื่อได้ว่า ผู้เขียนอาจจะฝึกจิตไปผิดทิศผิดทาง จนทำให้ไม่สามารถจับประเด็นต่างๆ จากเอกสารอ้างอิงได้อย่างถูกต้อง แต่ด้วยความที่เป็นนักสื่อสารชั้นยอด ทำให้ "เลือก" เอาเฉพาะบางคำ บางข้อความ มาสนับสนุนความเชื่อที่ตนเองได้ปักธงเอาไว้แล้ว โดยละเลยบริบท (context) ที่ใช้งานได้ครับ

        คล้ายกับที่มีคนเคยตั้งข้อสงสัยว่า พุทธศาสนาสอนเรื่อง "อนัตตา" แต่เหตุไฉนจึงมีพุทธภาษิต "ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน" (ซึ่งฟังแล้วเหมือนมีตัวมีตน มีอัตตา) อะไรทำนองนั้นครับ

        กราบขอบพระคุณหลวงพี่ฯ อีกครั้งที่แวะมาเยี่ยมเยียนครับ 

สวัสดีครับ

      คุณ สะ-มะ-นึก : หัวเราะนี่ต้องแอบด้วยหรือครับ 5555

      คุณ ดาวลูกไก่ ชื่นชมยินดี : ผมคิดว่า ต้องสร้างวัฒนธรรมการวิพากษ์เชิงสร้างสรรค์ขึ้นมาให้ได้ครับ เพราะจะเป็นทั้งภูมิคุ้มกันและเครื่องมือในการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารทที่ดี

            กรณีหนังสือพิมพ์ซ้ำหลายๆ ครั้งนี่ต้องระวังครับ ผมเคยเจอย่างน้อย 2 กรณี

            - กรณีแรกเป็นตำราเรียนของเด็กอาชีวะครับ พิมพ์ซ้ำกว่า 10 ครั้ง ได้รางวัล "หนังสือยอดนิยม"...แต่จากความรู้และประสบการณ์ของผม ตำราเล่มนี้เขียนผิดๆ เพี้ยนๆ แทบทุกหน้า เช่น การใช้ศัพท์ นิยาม ความรัดกุมของภาษา การลำดับความ ฯลฯ (การที่ได้พิมพ์หลายครั้งเป็นเพราะ ผู้สอนใช้เป็นตำราเรียนใน course ของตนเอง!)

            - อีกกรณีหนึ่งก็เล่มที่กล่าวถึงนี้ครับ : พิมพ์ไปกว่า 30 ครั้ง เพราะสังคมไทย "อ่อน" วิทยาศาสตร์ จึงไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าผู้เขียนรู้จริง หรือ มั่วนิ่ม และที่แย่ไปกว่านั้นก็คือ ดึงเอาพระพุทธเจ้าลงมา ทำให้คนส่วนใหญ่คิดว่า นี่! ถ้าเขาไม่มั่นใจ ก็คงไม่อ้างถึงพระพุทธองค์หรอก

               แต่ลืมคิดไปว่าพระพุทธองค์ตรัสสอนเรื่อง กาลามสูตร เตือนเอาไว้นานแล้ว....

        กวิน : เดี๋ยวพี่ลองไปค้นไฟล์ดู ไม่แน่ใจว่าจะนำมาโพสต์ไว้เลย หรือจัดหน้าให้อ่านง่ายๆ ดี รอเดี๋ยวนะครับ

 

สวัสดีค่ะพี่ชิว

ตามมาอ่านบทวิเคราะห์ด้วยคนค่ะ ยังไม่เคยได้อ่านหนังสือเล่มนี้เลยค่ะ แต่รู้ว่าคนพูดถึงเยอะมาก ขนาดในสังคม g2k นี้ก็พูดกันบ่อย ..นี่ขนาดฟังพี่ชิวอธิบายยังคิดตามและงงๆ เลยค่ะ.. ถ้าไม่แตกฉานจริงๆ ก็ยากที่จะเปรียบเทียบนะคะ..คนละมุมมองจริงๆค่ะ..หรือว่าคนที่รู้เข้าใจวิทยาศาสตร์แตกฉานจริงๆนั้นมีน้อยมากในประเทศ..หรืออาจเป็นที่คนที่เค๊ารู้จริงทั้งสองด้าน..ไม่ได้มาอ่านหนังสือเล่มนี้...

ถ้ามีคนเตือนว่าสิ่งที่เราเขียนนั้นไม่ถูก..ก็ควรน่าที่จะรีบแก้ไขนะคะ..เพราะเป็นความรับผิดชอบต่อการกระทำของตัวเอง..นอกจาก..จะไม่อยากรับผิดชอบต่อสังคม..เพราะหนังสือติดตลาดแล้ว..จะเสียผลประโยชน์ทุกฝ่ายหรือเปล่าคะ...หรือเค๊าคิดว่าเป็นเพียงนิยายอ่านสนุกๆมังคะ ..อุ๊บส์

  • แวะมาเรียนรู้ครับ
  • ขอบคุณครับ

มารับทราบข้อมูลค่ะ ...เป็นหนังสือแนะนำในวงกว้างที่เกือบจะซื้อมาอยู่ครั้งแล้วละค่ะ ...เพราะอย่างอ่านเชิงเปรียบเทียบพุทธ-วิทย์อย่างนี้บ้าง ...แต่ความที่กลัวว่าจะหนัก (สมอง) เกินไป ก็เลยยังไม่ได้ซื้อ-หา มาอ่านซะที ...ก็รอดตัวไป

เล่มนี้เป็นหนังสือขายดีไปแล้วซะด้วยซิคะ ....ถ้าเกิดการแก้ไขขึ้นมา เห็นที่จะเป็นเรื่องใหญ่เชียวล่ะ ....เคสนี้ต้องติดตามต่อไปซินะคะ

ประเด็นนี้น่าสนใจทีเดียวครับ

สวัสดีครับ น้องอุ๊  a l i n_x a n a =) 

        การที่มีคนพูดถึงเยอะมาก และการที่หนังสือเล่มนี้ขายดีมาก (พิมพ์ไปแล้วกว่า 35 ครั้ง) ย่อมหมายถึงว่า ประเด็นทำนองนี้มีคนไทยสนใจมาก...แต่...ไม่สามารถสรุปได้ว่าหนังสือมีคุณภาพในแง่ที่ว่า ให้ข้อมูลและแสดงทัศนะอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการครับ

        ในประเทศไทยนี่ พี่เชื่อว่ามีผู้ที่สามารถอ่านอย่างเข้าใจจริงๆ ได้ครับ แต่ประเด็นก็คือ ผู้ที่สามารถเช่นนี่... 

         1) ได้อ่านแล้วหรือยัง 
         2) ได้อ่านแล้ว และแม้จะรู้ว่าหนังสือมีข้อบกพร่องมากมาย แต่จะมีเวลาประมวลความคิด เพื่อแจ้งไปยังสำนักพิมพ์ และผู้เขียนหรือไม่
         3) ได้อ่านแล้ว และอาจพอมีเวลา แต่...ภายใต้วัฒนธรรมไทยๆ นี่ เราไม่ค่อยแสดงการวิพากษ์เชิงสร้างสรรค์ ด้วยเกรงว่าผู้เขียนจะเสียหน้า และจะเป็นการไปขัดประโยชน์ของสำนักพิมพ์ครับ

        เรื่องนี้พี่เองคิดอยู่นานทีเดียว แต่จริงๆ แล้วก็ถือว่าได้แจ้งผู้เขียนและบรรณาธิการไปตั้งแต่ปีก่อนแล้ว แต่พอมาถึงตอนนี้ คิดว่าการเผยแพร่ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ผิดพลาดสมควรจะชะลอหรือหยุดได้แล้วครับ

        เอาไว้จะหาโอกาสขยายความแบบค่อยเป็นค่อยไปครับ ขอบคุณสำหรับข้อคิดเห็นนะครับ ^__^

 

 

สวัสดีครับ  ^__^

      คุณ อำนวย สุดสวาสดิ์ : หากมีคำถาม หรือข้อคิดเห็นใดๆ ก็ยินดีนะครับ

      คุณ นัทธ์ : ผมกำลังติดตามอยู่ครับว่า บริษัทฯ จะจัดการอย่างมืออาชีพอย่างไร ให้ได้ทั้งเงิน (ของขายได้) ได้ทั้งกล่อง (ข้อมูลได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง)

      ที่คิดอย่างนี้ เพราะผู้บริหารสูงสุด (คุณเมตตา) ได้รับทราบเรื่องแล้วนั่นเอง

      คุณ panik : ขอบคุณครับ ลองมาดูต่อกันดีกว่าว่า เรื่องนี้บริษัท และสังคมไทยจะทำอย่างไร

 

สวัสดีครับ อาจารย์ครับ

 

ผมเห็นที่ร้านเมื่อหลายเดือนก่อนก็คว้ามาสองเล่ม ส่งให้น้อง นก เชียงรายเล่มหนึ่ง เอาไว้อ่านเล่มหนึ่ง ชอบเพราะชอบอ่านหนังสือทำนองนี้ ตั้งแต่ ฟริจอบ คับปรา ที่เขียน เต๋าออฟ ฟิสิกส์  อ่านรวดเดียวจบยันสว่างเลย สมัยโน้นนะครับ

มาเล่มนี้ก็อ่าน แต่ไม่ทราบว่ามีข้อบกพร่อง เพราะผมไม่เรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ที่อาจารย์อธิบายมานั้นครับ

เอ ทางสำนักพิมพ์ จะทำอย่างไรต่อไปในฐานะผู้รับผิดชอบ.... เอาไปแก้ไขแล้วพิมพ์ใหม่

รถญี่ปุ่นบกพร่อง เมื่อพบเขาเรียกคืนหมดเป็นหมื่นๆ แสนๆคันเพื่อแก้ไขใหม่

หนังสือสำคัญหากผิดจะเรียกคืนแล้วแก้ไข อย่างที่ควรจะรับผิดชอบไหม...?

หนังสือเป็นอาหารสมอง หากหนังสือผิด สมองก็เรียนรู้ จดจำในสิ่งที่ผิด อันตรายนะครับ...? หากเรื่องเหล่านี้มีผลต่อการต่อยอดความรู้ของคนรุ่นต่อไป มิผิดพลาดไปหมดรึเปล่า.... โอยไม่อยากคิดว่าผลกระทบจะมากมายแค่ไหนในระยะยาว หากไม่แก้ไขและปรับให้ถูกต้อง

บ้านเรามีกฏหมายในส่วนผู้บริโภตของเรื่องเหล่านรี้หรือเปล่าหนอ

สำนักพิมพ์ต้องรับผิดชอบครับ...???

ขอบคุณครับอาจารย์ครับ

  • ธุค่ะ..

หลายๆ ครั้งที่ต้อมมองหาหนังสือเล่มนี้  แต่แล้วก็จับวางๆ ไม่ได้ซื้อเสียที   อยากอ่านก็อยากอ่าน แต่กลัวอ่านแล้วจะรู้สึกว่าหนักเกินไป   ตกลงก็เลยยังไม่ได้อ่านเสียที

 

สวัสดีครับ พี่ บางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา)

        หนังสือ The Tao of Physics นี่ก็เป็นหนังสือเล่มโปรดของผมเหมือนกันครับ ตอนนั้นจำได้ว่าอยู่สักปี 4 เรียนฟิสิกส์ด้วย ก็เลยอ่านแบบมันส์เอามั่กๆ (รวดเดียวจบเหมือนกันเลย ^__^)

        แต่ตอนนี้ แว่บๆ กลับไปดูอีกที...อ้าว! Fritjof Capra นี่บางทีก็ "บิด" ข้อมูลเพื่อให้ดูสอดคล้องเหมือนกันนะครับ อย่างเช่น แผนภาพ "โป๊ยกัก" (สะกดถูก?) ที่เป็นแผนภาพ 8 เหลี่ยมของเต๋านั่น ก็โดนสลับที่ซะใหม่ เพื่อให้ดูคล้ายกับแผนภาพของทางด้านฟิสิกส์ของอนุภาค (particle physics)

        ก็เลยเสียศรัทธาไปเล็กน้อย...

        สำหรับกรณี "ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น" นี่ หากประกาศตัวตั้งแต่ต้นว่าเป็นนิยาย ก็คงจะไม่เป็นไร เพราะว่าจินตนาการคนเขียนนี่เยอะดีเหมือนกัน

        แต่นี่เล่นไปยกข้อความในหนังสือเล่มนั้นที เล่มนี้ที โดยไม่รู้จริง แถมยังมั่ว (แบบไม่รู้ตัว) อย่างที่ฝรั่งเรียกว่า wild speculation (การคาดเดาตามอำเภอใจ) ย่อมทำให้ผู้อ่านที่ไม่รู้เท่าทัน เข้าใจไปว่า ผู้เขียนมั่นใจมาก

        อีกอย่างคือ คำนิยมจาก อาจารย์ระวี ภาวิไล ด้วยครับ อันนี้ต้องขอวิจารณ์ด้วยความเคารพว่า หากท่านได้อ่านหนังสือเล่มนี้อย่างละเอียด และพิจารณาโดยแยบคายแล้วไซร้ ท่านก็คงจะไม่เขียนคำนิยมในลักษณะสนับสนุนออกมาเป็นแน่แท้

        ตามความเข้าใจของผมนั้น พุทธศาสนาให้ความสำคัญกับความจริง หรือ สัจจะ อย่างสูงครับ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ ^__^

ปล. ผมกำลังจับตาดูต่อไปว่า สำนักพิมพ์ที่ตั้งมาตรฐานของตนเองเอาไว้สูงมากเช่นนี้ จะดำเนินการต่อไปอย่างไร เพื่อรักษาคุณงามความดีที่ได้สั่งสมมาอย่างยาวนานและต่อเนื่องครับ

สวัสดีครับ น้องต้อม เนปาลี

       หนังสือเล่มนี้หากมองในแง่การนำเสนอแล้ว ไม่หนักหรอกครับ เพราะคนเขียน "พลิ้วลื่นไหล" ได้ดีทีเดียวครับ

ได้รับหนังสือเล่มนี้ในวันเกิดจากเจ้านาย ก็อ่านเกือบจะเชื่อตามหนังสือแล้ว เพราะอ่อนวิทยาศาสตร์ สงสัยต้องตั้งสติอ่านใหม่

เกือยซื้อแล้วครับ หนังสือเรื่องนี้ เพราะน่าจะต่อจาก Secret, และ The Key คือเป็นหนังสือขายดีทั้ง 3 เล่ม แต่เพื่อสนับสนุนความเชื่อ... โดย นำคำสอนของ พระพุทธเจ้ามาเปรียบเทียบกับ ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ จึงรู้สึกว่า เกินไปกับหนังสือประเภทนี้ เพราะ THE Key ทั้ง 2 เล่ม ก็เพียงพอแล้วครับ

สวัสดีครับ

       คุณคนผ่านมา : ถ้าอ่านแบบเพลินๆ ดูจินตนาการของผู้เขียน ก็สนุกดีเหมือนกัน ส่วนข้อเท็จจริงในทางวิทยาศาสตร์นี่ ถ้าสนใจก็ต้องไปหาหนังสืออ่านสนุกๆ แนววิทยาศาสตร์ที่เขียนได้ถูกต้องกว่านี้ครับ

        คุณ Naret : หนังสือแนวนี้ส่วนใหญ่เป็นการแสดงทัศนะและประสบการณ์ชองผู้เขียนน่ะครับ แต่ถ้าเป็นวิทยาศาสตร์จริงๆ แล้ว ต้องแสดงทัศนะของวิทยาศาสตร์กระแสหลัก (mainstream science) โดยอาจเสริมทัศนะกระแสรองลงไปด้วย

        แต่ถ้าพูดถึงวิทยาศาสตร์ด้วยทัศนะของผู้เขียนแทบจะล้วนๆ แล้ว ถ้าผู้เขียนไม่มีพื้นฐานที่ดีเพียงพอ ก็จะมีข้อมูลและข้อความที่ผิดเพี้ยนได้มากทีเดียวครับ

 

แปลกที่คนไม่ค่อยใช้หลัก กาลามสูตร

ผมว่าเป็นเรื่องธรรมดาครับ ก็เป็นแค่หนังสือเล่มหนึ่งในล้านๆเล่มในโลก

คนที่อ่านแล้วเชื่อ พอได้ข้อมูลใหม่ก็จะเปลี่ยนความเชื่อไปเอง

แต่ก็ดีที่ มีคนเขียนแย้ง แต่อย่าไปเป็นทุกข์กับมันละกัน

ปฏิจสมุปบาท นิพพานที่นี่เดี๋ยวนี้

2-A) “ทุกๆ สิ่งในจักรวาลหลังการระเบิดครั้งใหญ่ (บิ๊กแบง) จะมีแนวโน้มเข้าสู่สภาวะที่ยุ่งเหยิงมากขึ้นเสมอ”

ข้อความนี้ ดร.บัญชา ไม่น่าตีความว่าผิด หรือคลาดเคลื่อน

เพราะ ใช่คำว่าแนวโน้ม ถูกต้องแล้ว

การที่มันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

แปลว่า มันเพิ่มๆลดๆ ได้ รอบๆแนวโน้ม

หนูอ่านแล้วที่ห้องสมุด ร.ร แปลกๆอย่างไงไม่รู้ เรียนถามด.รบัญชา ธนบุญสมบัติ

ให้ช่วยแนะนำหนังสือเกี่ยวฟิสิกกส์หน่อย อยากรู้พวกทฤษฏีต่างๆของฟิสิกส์แต่ไม่ใช้แบบแบบเรียนกลัวเจอหนังสืออย่างนี้อีก ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

สวัสดีครับ ทุกๆ ท่าน

        คุณ wacky (ข้อคิดเห็น #28) : ขอบคุณมากๆ เลยครับสำหรับคำแนะนำ และข้อคิดเห็น ^__^

        ยอมรับว่าเป็นทุกข์อยู่บ้าง ในแง่ที่ว่า ขนาดวิทยาศาสตร์ที่มีความแม่นยำ ยังโดนเอาไปตีความได้เละเทะขนาดนี้ (โดยคนที่มีสติปัญญาสูงพอสมควร!) แล้วเรื่องต่างๆ ที่ซับซ้อนกว่านี้จะเสี่ยงต่อการผิดพลาดขนาดไหน

        จริงด้วยครับที่ว่า "คนที่อ่านแล้วเชื่อ พอได้ข้อมูลใหม่ก็จะเปลี่ยนความเชื่อไปเอง" 
         นี่แหละที่ทำให้คิดได้ว่า คงต้องลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่าง โดยให้เป็นหลักฐานที่ใช้อ้างอิงได้ในอนาคต (ผมจะนำประเด็นนี้ไปตีพิมพ์ในนิตยสาร สารคดี เดือนสิงหาคม 2551 ครับ)

        คุณ SB*star (ข้อคิดเห็นที่ #29) : ผมเห็นด้วยกับที่เขียนมาครับว่า 

        "การที่มันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แปลว่า มันเพิ่มๆลดๆ ได้ รอบๆแนวโน้ม"

        ข้อความนี้เป็นจริงครับ ในทางฟิสิกส์เรียกว่า fluctuation ซึ่งผมมักจะแปลว่า การกระเพื่อม (ของปริมาณอะไรก็ตามที่เรากำลังสนใจรอบๆ แนวโน้ม) <-- บอกตามตรงว่า ชอบคำว่า 'รอบๆ แนวโน้มของคุณ SB*star จัง

        อย่างไรก็ดีการกล่าวว่า "ทุกๆ สิ่งในจักรวาล....จะมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะยุ่งเหยิงขึ้นเสมอ" นั้นทำให้ไม่ละเอียดอ่อนต่อเงื่อนไขในทางเทอร์โมไดนามิกส์ครับ
        หากเราเชื่อว่า จักรวาลเป็นระบบโดดเดี่ยว (isolated system) แล้วปรับคำกล่าวนี้เป็น "จักรวาล (เมื่อมองโดยรวม) จะมีแนวโน้มเข้าสู่สภาวะยุ่งเหยิงขึ้นเสมอ" ผมคิดว่านักฟิสิกส์จะรับได้ทันที เพราะเป็นไปตามกฎข้อที่สองของเทอร์โมไดนามิกส์

        คำว่า "ทุกๆ สิ่งในจักรวาล" นั้น เมื่อคิดต่อไปอีก 1 ขั้นแล้ว ย่อมเป็นได้ทั้ง
        - ระบบโดดเดี่ยว (isolated system) : ไม่แลกเปลี่ยนทั้ง mass และ energy กับสิ่งแวดล้อม
        - ระบบปิด (closed system) : แลกเปลี่ยนเฉพาะพลังงาน ไม่แลกเปลี่ยนมวลสาร (ข้อนี้หากใครคิดลึกๆ ไปอีก 1 ขั้น ก็จะบอกว่าไม่น่าจะถูกต้อง เพราะถึงที่สุดแล้ว มวลสารสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานได้ แต่ในทางปฏิบัติ เรามักจะนับปริมาณมวลสาร โดยนับจำนวนอนุภาคองค์ประกอบครับ)
        - ระบบเปิด (open system) : แลกเปลี่ยนได้ทั้งมวลสารและพลังงานกับสิ่งแวดล้อม

         เจ้าระบบเปิดนี่เองที่อาจมีเอนโทรปี (entropy) ลดลงได้ แต่ทำให้สิ่งแวดล้อมมีเอนโทรปีเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่มากกว่าครับ

 

สวัสดีครับ คุณ SB*star

        (เมื่อกี้เจ้าคอมพิวเตอร์ที่ผมใช้มีอาการแปลกๆ ก็เลยรีบโพสต์ไปก่อน...มาต่อกันอีกนิดครับ)

        นี่เองครับที่ทำให้ผมทักท้วง เพราะหากปล่อยประโยคเหล่านี้ออกไป ก็จะทำให้เราไม่แยกแยะระหว่างระบบแบบต่างๆ ซึ่งจะทำให้เกิดความสับสนได้ว่า เอ๊ะ! แล้วอย่าง ชีวิต (life) ทำไมจึงเกิดขึ้นมาได้ คำตอบเบื้องต้นก็คือ ชีวิตเป็นระบบเปิดนั่นเองครับ

        ขอขอบคุณคุณ SB*star อีกครั้งนะครับที่แสดงความคิดเห็นมา การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วยบรรยากาศฉันท์มิตรและให้เกียรติกันเช่นนี้ ไม่ว่าใครก็คงจะมีกำลังใจในการตอบคำถาม และต่อยอดความรู้ครับ ^__^

-----------------------------------------------------------------

สวัสดีครับ น้อง lhrr

        หนังสือทุกเล่มอ่านได้ครับ แต่ต้องอ่านด้วยความพินิจพิจารณา และโดยไม่ด่วนปักใจเชื่อ หรือไม่เชื่อ ในทันที (ในทางพุทธศาสนาจะกล่าวถึง หลักกาลามสูตรนั่นเอง)

       เกี่ยวกับที่ถามมาว่า "ให้ช่วยแนะนำหนังสือเกี่ยวฟิสิกส์หน่อย อยากรู้พวกทฤษฏีต่างๆของฟิสิกส์ แต่ไม่ใช้แบบแบบเรียน กลัวเจอหนังสืออย่างนี้อีก ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ"

       ผมขอตีความให้กว้างออกไปอีกนิดว่าเป็นหนังสือที่ใช้ความรู้ทางฟิสิกส์อธิบายก็แล้วกันครับ จะได้รวมการประยุกต์ทฤษฎีทางฟิสิกส์ไปด้วย

       บางเล่ม ผมไปหา link มาให้แล้ว ลองตามไปดูหน้าปกได้เลย

       1. หนังสือชุด "Introducing..." จัดพิมพ์โดย สนพ.มูลนิธิเด็ก
           หนังสือชุดนี้เป็นหนังสือแปลที่ดีมากครับ คือ คนทำอยากให้คนที่สนใจเรื่องหนึ่งๆ มีหนังสือเบื้องต้นที่ครอบคลุม และอ่านง่าย นำเสนอในรูปของการ์ตูน + เนื้อหา + คำพูด
           เล่มเกี่ยวกับฟิสิกส์ที่มีอยู่ในท้องตลาดตอนนี้ เช่น
           - Introducing Quantum Theory : กำเนิดควอนตัม
           - Introducing Stephen Hawking : สตีเฟ่น ฮอว์กิ้ง
           - Introducing Universe : ประวัติเอกภพ

       2. หนังสือของ ศ.ดร.สุทัศน์ ยกส้าน 

           ท่านอาจารย์ ดร.สุทัศน์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ชั้นเยี่ยม และนักเขียนฝีมือดีครับ ท่านมีความระมัดระวังในการให้ข้อมูล และมีศิลปะในการนำเสนอ
           ผมพบว่าหนังสือของท่านทุกเล่มมีความน่าเชื่อถือสูง และขอแนะนำให้อ่านได้เลย (หากจะมีข้อบกพร่อง ก็เป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้นได้ในหนังสือแทบทุกเล่ม)

       3. หนังสือฟิสิกส์เล่มอื่นๆ

           - ฟิสิกส์นอกตำรา (ผู้เขียน : ศ.วิชัย หโยดม) สนพ.สารคดี
           - แฟนพันธุ์แท้ไอน์สไตน์ (ผมเขียนเอง) บ.SE-ED [เล่มนี้ให้พื้นฐานและรายละเอียดเกี่ยวกับทฤษฎีสัมพัทธภาพค่อนข้างมาก ผู้อ่านถ้ามีพื้นฐานระดับ ม.ปลาย น่าจะเหมาะ)
           - ไอน์สไตน์ ฉบับการ์ตูน (รังสิมา ลี้เจริญชัย แปล) เล่มนี้คลาสสิคมาก แต่ข้อมูลพื้นฐานยังใช้ได้ดีเป็นส่วนใหญ่ อาจจะอ่านยากนิดหนึ่ง เพราะแทรกอารมณ์ขันแบบฝรั่งเอาไว้

       4. บทความเกี่ยวกับฟิสิกส์ในบางแง่มุม
            - หากสนใจ ทฤษฎีเคออส (chaos theory) ผมมีบทความ "เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาวหมายความว่าอย่างไร" ซึ่งสามารถส่งเป็น e-mail ให้ได้ หรือจะไปหาอ่านในหนังสือ Know How & Know Why กฎพิสดาร ปรากฏการณ์พิศวง ก็ได้ครับ

(ที่แนะนำเรื่องทฤษฎีเคออสนี้ เพราะว่ามีคนสนใจและพูดถึงกันมาก แต่ความเข้าใจคลาดเคลื่อนมีเยอะเหลือเกิน และหาหนังสือที่ดีอ่านยากจริงๆ)

สวัสดีค่ะ อาจารย์

ไม่ได้เข้ามานานเลยค่ะ เพราะเปลี่ยนคอมพิวเตอร์แล้วงมหาทางเข้าไม่เจอ พวก favourite website ที่เซฟไว้ตามกาลเวลาหายเกลี้ยง ต้องค่อยๆ มางมหาทีละอันตามแต่ที่จะนึกได้ค่ะ

เรื่องหนังสือเกี่ยวกับไอน์สไตน์ที่เอาไปใช้อ้างอิงทางด้านศาสนา ดิฉันก็ลองได้ซื้ออ่านมาบ้างเหมือนกัน นอกจากเล่มนี้แล้ว ยังมีอีกเล่มที่ชื่อคล้ายๆ กันคือ ไอน์สไตน์เห็น พระพุทธเจ้าเป็น.. หรืออะไรซักอย่างของคุณศุภวรรณ กรีน ค่ะ (ไม่แน่ใจว่าอ้างอิงชื่อหนังสือถูกหรือเปล่านะคะ เพราะทิ้งหนังสือไว้ที่เมืองไทย)

พอเอามาอ่านแล้วก็อ่านไม่จบค่ะ รู้สึกเหมือนกันว่ามีหลายอย่างที่ถูกบิดเบือน และพยายามโน้มน้าวให้คนอ่านเชื่อไปในจุดที่ผู้เขียนอยากจะให้เชื่อ ทำให้มีความรู้สึกแหม่งๆ ยังไงบอกไม่ถูกค่ะ ได้เข้ามาอ่านหน้านี้ของอาจารย์แล้ว อยากปรบมือให้ดังๆ เลยค่ะ

สวัสดีครับ คุณ แม่น้องธรรม์

     ดีใจจังที่ได้คุยกันอีกครับ และขอขอบคุณสำหรับ "ดอกไม้" (เสียงปรบมือดังๆ ในช่วงท้าย) เพราะงานนี้ เลี่ยง "ก้อนหิน" ไม่ได้แน่ๆ  ^___^ 

     1) อีกเล่มหนึ่งชื่อ "ไอน์สไตน์ถาม พระพุทธเจ้าตอบ" ครับ มีวิทยาศาสตร์ที่ผิดเพี้ยนจำนวนหนึ่ง แต่ไม่มากเท่าเล่มของ ทพ.สม เพราะเล่มนั้นจะเน้นไปในเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมซะเป็นส่วนใหญ่

     2) ผมมีความเห็นว่า สำหรับหนังสือทั้งสองเล่มนี้ จริงๆ แล้วผู้เขียนทั้งคู่มีความหวังดี คือ อยากให้คนหันมาสนใจในการปฏิบัติธรรม
         แต่มีข้อสังเกตบางอย่างครับ

         2.1) ผู้เขียนหนังสือทั้งสองเล่มนี้น่าจะเป็นนักอ่าน และมีความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์พอสมควร แต่ว่าพื้นฐานเกี่ยวกับฟิสิกส์ยุคใหม่ (modern physics) และวิทยาศาสตร์กายภาพ (physical science) อื่นๆหลายอย่าง ยังไม่ดีเพียงพอ ทำให้การตีความและการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปเทียบเคียงผิดมากหน่อย ถูกน้อยหน่อย

         2.2) ในกรณีของคุณศุภวรรณนั้น เธอประกาศชัดว่า

         "จุดอ่อนของหนังสือเล่มนี้คือ [หมายถึง ไอน์สไตน์ถาม พระพุทธเจ้าตอบ ที่เธอเขียน] ความรู้ทางฟิสิกส์ที่ดิฉันไม่สามารถเข้าใจได้หมดและถ่องแท้ แต่ถึงแม้ความรู้ทางฟิสิกส์ของหนังสือเล่มนี้จะผิดหมด ก็ยังไม่เป็นไร ไม่น่าห่วงมากเท่ากับการสรุปสภาวะพระนิพพานอย่างผิดๆ..." (หน้า18 ย่อหน้าแรก)

          อ่านแล้วคิดอย่างไรครับ? สำหรับผมนั้น เกิดข้อกังขาว่า เออ! ในเมื่อรู้ว่าตนเองไม่รู้จริง แล้วจะนำไอน์สไตน์มาอ้างตั้งแต่ต้นทำไมหนอ? (ไอน์สไตน์ ในที่นี้ หมายถึง ทั้งทฤษฎีของไอน์สไตน์ และฟิสิกส์ยุคใหม่ที่อ้างถึงในเล่ม)

          2.3) หากใครได้อ่านหนังสือทั้งสองเล่มนี้แล้ว อาจจะตั้งคำถามคล้ายๆ ว่า "การปฏิบัติธรรม" ที่แต่ละท่านกล่าวถึงนั้น น่าจะหมายถึง การปฏิบัติธรรมตามแนวทางที่แต่ละท่านเชื่อมั่นและมั่นใจอย่างยิ่งว่า ปฏิบัติแล้วได้ผล (ซึ่งจะได้ผลอย่างไร คงต้องไปพิสูจน์กันเอง หากสนใจ)

          แต่ทั้งหมดนี้ทำให้ตั้งคำถามได้มากมาย โดยเฉพาะคำถามที่ว่า แล้วทำไมถึงได้เป็นอย่างนี้เล่า?


ไว้คุยกันใหม่ครับ 

ปล. ตอนนี้ผมมีบล็อกอื่นๆ อีกที่อาจจะสนใจด้วย

        ชายผู้หลงรักมวลเมฆ : http://gotoknow.org/blog/weather/toc 

        วิธีดูเมฆแบบต่างๆ การฟังพยากรณ์อากาศ ฯลฯ และที่สำคัญที่สุด คือ มีเพื่อนๆ นำภาพที่เคยถ่ายไว้มาแลกเปลี่ยนกันชมครับ ^__^)

        

ดีใจมากเลยครับที่ได้อ่าน บทความนี้ของพี่ชิวครับ

ผมและเพื่อนซึ่งเรียนสาขาฟิสิกส์ เถียงเรื่องนี้กันคอขึ้นเอ็นเลยครับ

บุคคลากรสาย วิทยาศาสตร์สุขภาพส่วนใหญ่จะเออ ออ ห่อหมกไปกับ ทพ ท่านนี้ด้วย

ถึงแม้ว่าจะพยายามอธิบายแล้วก็ตามแต่ด้วยความที่ด้วยคุณวุฒิ และการเลือกใช้คำในอธิบายที่ดีพอ

ยังไม่สามารถทำให้ บุคคลากรท่านนั้นเข้าใจเป็นอันว่าต้อง เงียบหุบปากไป

แต่ตอนนี้ดีใจครับ ไม่เสียใจ อย่างน้อยก็ทราบว่า ผมและเพื่อนเข้าใจฟิสิกส์ อย่างถูกต้อง

ขอบคุณพี่ชิวมากครับ

ต้นน้ำ 18

สวัสดีครับ น้อง พสวท 18 ต้นน้ำ

       ด้วยความยินดีครับ คงต้องมีใครเริ่มสักคนล่ะครับ ไม่งั้นปล่อยไว้นานๆ วิทยาศาสตร์เสียหายหมด

       น่าสงสัยไหมล่ะครับ ที่ขนาดวิทยาศาสตร์อย่างฟิสิกส์ซึ่งเป็นศาสตร์ที่แม่นยำ วัดได้ ตรวจสอบได้ ยังสามารถถูกบิดเบือนได้ขนาดนี้ แล้วศาสตร์อื่นๆ ที่ตรวจสอบยากกว่าจะอยู่ในสภาพไหน (ใครอ้างอะไรก็ได้)

       น้องเรียนอยู่ปีไหนแล้วครับนี่ พี่กำลังอยากจะเสนอให้อาจารย์และพวกเรา (นิสิตฟิสิกส์จุฬา) ที่ภาคฟิสิกส์ จัดสัมมนาภายในเกี่ยวกับเรื่องนี้สักหน่อยว่า เพราะเหตุใดกันหนอ ฟิสิกส์จึงได้ถูกบิดเบือนได้ขนาดนี้ (เป็นเพราะว่ายาก & ซับซ้อนเกินไป?) และที่สำคัญคือ จะช่วยกันแก้ไขอย่างไร

      สิ่งที่ต้องระวังไว้ก็คือ คนที่อ้างว่านับถือพระพุทธศาสนา แต่ละเลยคำสอนพื้นฐานอย่างหลักกาลามสูตรนั่นล่ะครับ (มิน่าเล่าพระพุทธองค์ถึงได้ตรัสหลักนี้ไว้อย่างชัดเจน)

      ไว้คุยกันใหม่ครับ ^__^

 

เกือบซื้อมาอ่านแล้วเชียว แต่ถึงซื้อมาก็อาจจะไม่รู้ เพราะวิทยาศาสตร์คืนครูไปเกือบหมดแล้วค่ะ

สวัสดีครับ ซูซาน

      กรณีที่กล่าวถึงนี้ โดยสรุปก็คือ ผู้เขียนพยายามโน้มน้าวผู้อ่านให้เชื่อว่า พุทธศาสนาตามการตีความที่ผู้เขียนเชื่อ (ย้ำตรงขีดเส้นใต้ครับ) เป็นศาสตร์ที่สูงส่ง ถูกต้อง ส่วนวิทยาศาสตร์สนับสนุนความเชื่อนั้น

      หมายความว่า พุทธศาสนาตามการตีความที่ผู้เขียนเชื่อและพยายามชี้นำนั้น อาจจะไม่ถูกต้องทั้งหมดหากยึดถือตามหลักการก็เป็นได้

      ในการทำเช่นนี้ ผู้เขียนใช้วิธี...

           - ยกข้อสรุปบางอย่างในวิทยาศาสร์มาสนับสนุนความเชื่อทางศาสนาของเขา โดยละเลยบริบท (context) ในการใช้งานข้อสรุปนั้น

           - ตีความบางแง่มุมของศาสนาเสียใหม่ให้ดูเหมือนกับสอดคล้องกับข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์

      อย่างไรก็ดี พี่คิดว่าเขาคงไม่ได้ทำแบบตั้งใจ แต่เกิดจากความเข้าใจวิทยาศาสตร์ที่ผิวเผิน ประกอบกับการ "ปักธง" เอาไว้แล้วว่า พุทธศาสนานั้นเหนือกว่าวิทยาศาสตร์ ทำให้ได้ข้อสรุปแบบ (ผิดๆ) ว่าเรื่องที่ไอน์สไตน์พบนั้น พระพุทธเจ้าตรัสรู้มานานแล้ว

      แต่จริงๆ แล้วหลายเรื่องที่ผู้เขียนกล่าวอ้าง พี่ต้องขอบอกว่าในทางพุทธศาสนาไม่เคยกล่าวถึงเลย (เช่น พุทธศาสนาไม่เคยกล่าวถึงเรื่อง การเคลื่อนที่ และความโน้มถ่วง อย่างที่ฟิสิกส์ของไอน์สไตน์กล่าวถึง เป็นต้น)

      การทำเช่นนี้ทำให้เกิดผลต่อคนต่างๆ กันไป

          - คนที่ไม่รู้เท่าทัน คือ ไม่รู้วิทยาศาสตร์ดีเพียงพอ ก็อาจจะคล้อยตามได้โดยง่าย

          - คนที่มีแนวโน้มจะใช้ศรัทธานำ คือ มีความคิดอยู่ในใจว่า พุทธศาสนาเหนือกว่าวิทยาศาสตร์อยู่แล้ว ก็แทบจะเชื่อและสนับสนุนความคิดของผู้เขียนโดยทันที

          - แต่คนที่รู้ทัน คือรู้วิทยาศาสตร์ค่อนข้างดี และเข้าใจพื้นฐานทางพุทธศาสนาพอสมควร ก็อาจจะรู้สึกว่า เอาอีกแล้ว มั่วอีกแล้ว....

       นอกจากนี้ยังมีบางประเด็นที่พี่ไม่สามารถเขียนบันทึกได้ในขณะนี้ เนื่องจากหลักฐานยังไม่ชัดเปรี๊ยะ แต่ถ้าประเด็นนี้ขยายผลออกมา ก็จะกลายเป็นลัทธิใหม่ที่ทำให้คนส่วนหนึ่งเพี้ยนได้ครับ

       ขอบคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมตรงนี้ ^___^

ขอบคุณค่ะอาจารย์

อ่านบันทึกของอาจารย์ทำให้ได้ความรู้ไปด้วยค่ะ หนังสือเล่มนี้มีคนแนะนำให้อ่านเยอะมากพอๆกับเล่มอื่นๆของผู้เขียนคนเดียวกันด้วย แต่ยังไม่เคยอ่านเลยค่ะ

สวัสดีครับ อาจารย์ จันทรรัตน์

        ใช่แล้วครับ ที่ผ่านมาเป็นขาขึ้นครับ กระแสกำลังแรง

        ผมคิดว่าถ้าผู้เขียนและสำนักพิมพ์ให้ความสำคัญกับความถูกต้องของเนื้อหา และทำการปรับปรุงครั้งใหญ่ รวมทั้งยอมรับความผิดพลาดต่อสาธารณชน ก็น่าจะเกิดผลดีต่อสังคมไทยครับ

        อย่างไรก็ดี สำหรับหนังสือที่มีอยู่นี้ หากท่านอาจารย์ได้อ่าน ผมก็อยากรับฟังความคิดเห็นด้วยครับ จะได้มีมุมมองอื่นๆ ที่กว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้น

ขอบคุณครับ ^__^

      

ผมก็อ่านแล้ว และพอจะมองเห็นความต้องการของผู้เขียนที่ต้องการจะสื่อสารให้ผู้อ่านได้เข้าใจบ้างว่า สิ่งที่วิทยาศาสตร์ค้นพบโดยผ่านทางวัตถุวิสัย กับสิ่งที่ผู้ปฏิบัติธรรมมีประสบการณ์ผ่านทางจิตวิสัย เป็นสิ่งที่เทียบเคียงกัน (ค้นพบสิ่งเดียวกันแต่วิธีการเข้าถึงต่างกัน)

ทุกท่านพยายามเปิดใจให้กว้าง ความผิดพลาดเกิดขึ้นได้แน่นอน ผู้เขียนไม่ใช่นักฟิสิกส์ ,เข้าใจว่าผู้อ่านส่วนหนึ่งรับกันไม่ได้เพราะผู้เขียนอ้างอิงตำรามากมายแต่กลับให้ความจริงที่คลาดเคลื่อนบ้าง ผู้อ่านคงต้องเสียดายเงิน แต่ถ้าต้องการรู้ลึกจริงๆ ก็ต้องค้นคว้าเพิ่มเติมเอาเอง อย่ารอให้ใครมาป้อนอย่างเดียว ด้วยเหตุที่ผู้เขียนอาจจะแปลผิดหรือเข้าใจผิดก็อาจเกิดขึ้นได้

หนังสือถูกเขียนขึ้นมามีไว้ให้อ่านนะครับแต่ไม่ได้ให้เชื่อโดยไม่ได้คิด

อยากให้มีนักเขียนมากๆและควรจะมีมากกว่านักวิจารณ์ คนทำงานกับคนนั่งดูมันต่างกัน

ถ้าไม่ลองทำก็จะไม่รู้ว่าถูกหรือผิด คนนั่งดูจะคอยบอกได้ถ้าได้อ่านและวิเคราะห์ไปด้วย ก็ถือว่าเป็นประโยชน์เช่นกัน

แนะนำผู้เขียนทำได้แต่อย่าดูหมิ่นหรือถางถาง ดูจากเว็ป คนส่วนใหญ่ถางถางตามคนอื่นโดยยังไม่ได้อ่านเลย หนังสือเล่มนี้เนื้อหาที่ดีก็มีมาก ไม่เห็นได้พูดคุยกัน มีแต่จับประเด็นผิดอย่างเดียว น่าเสียดายจริงๆ

สวัสดีครับ คุณสมพร

       ขอบคุณมากครับ สำหรับความคิดเห็น

       อย่างไรก็ดี สถานภาพปัจจุบันก็คือ บ. อมรินทร์ ระงับการพิมพ์เพิ่มหนังสือ (บางเล่ม) ของ ทพ.สม เพราะมีข้อผิดพลาดมาก ซึ่งน่าจะพอบอกอะไรบางอย่างได้ดีทีเดียวครับ

       บันทึกนี้เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ & ความจริงทั้งหมดเท่านั้นครับ ข้อเท็จจริงก็คือ ผมเคยได้ให้คำแนะนำที่สร้างสรรค์กับนักเขียน สำนักพิมพ์ ทั้งโดยตรง และผ่านสื่อสารมวลชนไปแล้ว (ในส่วนที่ผ่านสื่อสารมวลชน กำลังจะตีพิมพ์ในวันอาทิตย์ที่ 3 ก.ค. นี้ครับ)

       ส่วนเรื่อง 'การถากถาง' นั้น หากมีข้อความใดที่ทำให้รู้สึกเช่นนั้นจริงๆ ก็ช่วยโปรดระบุมาด้วยครับ จะได้ปรับให้นุ่มนวลขึ้น เพราะบันทึกนี้พยายามเขียนแบบกลางๆ ให้เรียบที่สุดแล้ว

       สำหรับเรื่องที่บอกว่า "มีผิดบ้าง" นั้น ขอให้ข้อเท็จจริงว่า หากผู้อ่านมีความรู้วิทยาศาสตร์มากเพียงพอ ก็จะพบว่ามีที่ผิดมากมาย แต่มิได้หมายความว่า ผู้เขียนไม่ฉลาดนะครับ ตรงกันข้าม ผู้เขียนมีจินตนาการสูงมาก แต่ยังขาดความเข้าใจพื้นฐานที่ถูกต้อง ทำให้เกิดลักษณะที่เรียกว่า "จับแพะชนแกะ" ซึ่งอ่านเผินๆ จะเหมือนไม่มีอะไรน่าสงสัย

       ดังนั้น ข้อมูลและความคิดเห็นในส่วนวิทยาศาสตร์จึงจำเป็นต้องได้รับการแก้ไข เพราะทางสำนักพิมพ์จัดหนังสือเล่มนี้อยู่ในหมวด 'ธรรมะวิทยาศาสตร์' ครับ

       ส่วนข้อมูลและความคิดเห็นทางศาสนาที่นำเสนอเอาไว้นั้น ก็ควรได้รับการตรวจสอบจากผู้รู้ในทางศาสนาและปรัชญาเช่นกัน

       การตรวจสอบทั้งหมดที่เสนอให้มีนี้ เป็นไปเพื่อการควบคุมคุณภาพของหนังสือนั่นเอง

       ขอเรียนเพิ่มอีกนิดว่า ที่ว่าเขียนยาก วิจารณ์ง่าย อาจจะใช้ได้ในกรณีอื่นๆ แต่ในกรณีนี้อาจจะมิได้เป็นเช่นนั้น เพราะการวิจารณ์เรื่องทางเทคนิคให้ถูกต้อง รัดกุม ซึ่งจะนำไปสู่การปรับปรุงอย่างสร้างสรรค์นั้น ต้องการคนที่มีความรู้มากเพียงพอ อีกทั้งยังต้องใช้เวลา และความอดทนอย่างสูงอีกด้วยครับ

       ที่กล่าวเช่นนี้ได้ ก็เพราะได้ทดลองแก้ไขความผิดพลาดคลาดเคลื่อนบางอย่างแล้ว พบว่า การแก้ไขทำได้ แต่ยากกว่าการเขียนโดยไม่รู้จริงอีกด้วยซ้ำครับ (จะนำมาให้อ่านในราวสัปดาห์หน้า)

       หากเราเปิดใจให้กว้าง รับฟังข้อเสนอและข้อชี้แนะต่างๆ ก็จะเห็นภาพชัดเจนขึ้นว่า ความจริงในมิติอื่นๆ ที่อาจจะไม่เคยเห็นนั้นเป็นเช่นไร

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียน และสละเวลาอันมีค่าแสดงความคิดเห็นครับ

สวัสดีครับพี่ชิว

ผมไม่มีโอกาสได้อ่านหนังสือที่เป็นประเด็นทั้งสองเล่มเลยครับ เพราะไม่มีสตังค์ซื้อ อิอิ แต่พอได้อ่านเรื่องราวจากที่พี่ชิวได้ให้ความรู้ และผู้รู้ท่านอื่นๆได้แลกเปลี่ยนมา เป็นเรื่องที่ทำให้ผมได้คิดอะไรหลายๆอย่างเลยครับ

อย่างแรกคือ คนเรามักมีอัตตาที่เป็นของตนเอง ซึ่งผมเองก็เป็นครับ มักคิดว่าสิ่งที่เราคิดเราทำ และเราเลือกเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และถือสิ่งนั้นเป็นของเราเป็นแนวทางของเรา ซึ่งในความเป็นจริงอาจไม่ใช่อย่างนั้นเลย ประมาณว่าเราคิดแบบนี้น่าจะใช่ แล้วยึดติดกับมันเรื่อยมา ตอนนี้คิดได้แล้วครับว่ามันอันตรายจริงๆๆ

อย่างที่สอง พระพุทธเจ้าเป็นผู้ที่รู้จริงในทุกศาสตร์จริงๆครับ ท่านจึงสอนเราว่าอย่าเชื่ออะไรง่ายๆ แม้แต่สิ่งที่เราเห็น หรือเราได้ประสบกับตนเอง เพราะอะไรเหรอครับ มันอาจไม่ใช่อย่างที่เราคิด เพราะเราเอาจิตไปกำหนดแล้วว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ คิดเอาเองนะเนี่ย เหมือนวิทยาศาสตร์ไงครับ เรื่องบางอย่างอาจเป็นจริง แต่อาจไม่จริงเมื่อเราได้ค้นพบความจริงที่ยิ่งกว่า ทุกสิ่งมันไม่เที่ยงจริงๆด้วย

อ่าน blog นี้ของพี่ชิว ได้อะไรเยอะเลยครับ เหมือนเรื่องวิชาการที่ผมเรียนมา บางทีตอนนี้มันอาจล้าสมัยไปหมดแล้ว มิน่าอะไรๆก็ต้องมีหลักฐานทางวิชาการรองรับทั้งนั้น ไม่งั้นไม่น่าเชื่อถือ สงสัยต้องกลับไปนั่งศึกษาตัวเองใหม่ซะแล้วครับ อิอิ

ขอบคุณพี่ชิวที่สอนอะไรมากมายในหัวข้อนี้ครับ ยกนิ้วให้เลย (แต่ผมไม่เก่ง physics เท่าไหร่ครับ อ่านแล้วงงบ้าง แต่ได้ concept ที่น่าสนใจมากมายครับ) ขอบคุณครับ

เรื่องหนังสือที่เป็นประเด็ด ผมสรุปได้จากประสบการณ์ที่ผ่ามมาในชีวิตอันไม่นานนัก อิอิ (แบบว่ายังเด็กอยู่ครับ) ได้ว่า เปลี่ยนคนอื่นมันยากครับ เปลี่ยนตัวเองง่ายกว่า จริงมั้ยครับพี่ชิว

Hello เดอ!

         ก่อนอื่นเลย...ภาพเท่สุดๆ ครับ ชักอยากเจอตัวจริงซะแล้ว 555

         หลักกาลามสูตรของพระพุทธองค์นั้นเป็นหลักธรรมที่พี่คิดว่าเยี่ยมจริงๆ และจำเป็นต้องใช้อย่างยิ่ง ในทุกยุคทุกสมัย

         แต่ในทางกลับกัน เหตุไฉนคนที่เรียกต้วเองว่า ชาวพุทธ ถึงได้ละเลยหลักพื้นฐานนี้กันมากมาย ทำให้ตกอยู่ในกระแสการตลาดที่ต้องการชี้นำเราอยู่ตลอดเวลา

         ดีมากเลยที่ว่า แม้จะไม่เข้าใจในรายละเอียด แต่หากจับแก่นสาระหลักๆ ได้ว่า ผู้สื่อสารต้องการจะบอกอะไร ก็เพียงพอแล้วครับ เพราะแก่นสาระนี้ สามารถนำไปประยุกต์ได้ในกรณีอื่นๆ อีกมากมาย

          ไว้คุยกันใหม่ครับ ^__^

ถึงพี่ชิว ครับ

เนื่องจาก ตอนนี้มีกระแสในเรื่อง การเปรียบเทียบ พุทธรรม กับ วิทยาศาสตร์ อยู่มากมาย ซึ่งโดยส่วนตัวผมเห็นว่า แนวความคิดนี้ อาจจะเป็นการตลาดแบบหนึ่งที่จะทำให้ บุคคลที่เชื่อในความมีเหตุมีผล และ สิ่งที่พิสูจน์ได้ ให้หันมาสนใจ พุทธรรมมากขึ้น (ซึ่งก็แอบ น้อยใจ อยู่นิด ๆ ว่า เอ ทำไม ตัวพุทธรรมเองไม่มีความน่าสนใจถึงเพียงนั้นเลยเหรอ เลย จำเป็น ต้องอาศัยเครื่องมือบางอย่างมาช่วย :) ) แต่เรื่องนี้ก็สนุกดี และ ผมก็มีคำถามบางข้อที่อยากขอคำแนะนำบางอย่างในสิ่งที่ผมสรุปเอาเองว่าถูกต้อง แต่ มาตอนนี้ชักไม่แน่ใจว่า ถูกต้องหรือไม่ หากพี่ชิวจะว่างตอบ หรือ แสดงความคิดเห็น ก็จะเป็นการกรุณามากครับ ข้อสงสัยผมมีดังนี้

1. ในมุมเรื่อง invariance ใน ทฏษฏี สัมพัทธภาพ นั้น หากมองในมุมของ พุทธรรม เชิงเปรียบเทียบ ผมจะมองเป็น ไตรลักษณ์ ก็เห็นจะไม่ผิด ใช่หรือไม่ครับ เพราะ หาก บริบท เรื่อง invariance นั้น หมายถึง สิ่งที่จะได้ค่า เหมือนกัน ไม่ว่า จะวัดอย่างไร หรือ วัดโดยใคร หากจะเปรียบเที่ยบกับหลัก ไตรลักษณ์ ก็จะเหมือนกันตรงที่ ทุกสิ่งล้วนไม่อาจหนีพ้นจากหลักการ นี้ ไม่ว่า จะมองด้วย มุมไหน ก็ตาม

2. เรื่อง ความว่าง ในทุกสิ่งนั้น มักจะถูกหยิกยกขึ้นมาพูดในพุทธศาสนา แต่ จะมีใครที่เขัาใจ เรื่องนี้ อย่างลึกซึ้ง ซึ่ง หาก เป็น คนธรรมดาอย่าง ผม นั้น เวลาพูดถึงเรื่องนี้ ก็จะสะดุด เอ แล้ว ไอ้ความว่างเนี่ยคือ อะไร ก็เห็นๆ อยู่ว่า มันจับต้องได้ มี เนื้อมีหนัง ตีแล้วมันเจ็บ แต่หาก เรา ลองใช้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาทำความเข้าใจใน ความว่าง ว่า จริง ๆ แล้ว ทุกสิ่งที่เราเห็นเนีย มันก็ประกอบ ด้วย อะตอม มายึดเหนี่ยวกัน ใน แง่มุมต่าง ๆ เป็น โมเลกุล และ จาก หลาย ๆ โมเลกุล ก็จะประกอบกันเป็น ธาตุ ทีนี้ ใน แต่ละ อะตอม ก็รับรู้มาว่า ระหว่าง อิเล็กตรอน กับ นิวเคลียส นั้น ก็เต็มไปด้วย ความว่างทั้งนั้น ที่มีอยู่เป็นอะตอม ก็ เนื่องมาจาก แรง ระหว่าง อิเล็กตรอน ที่หมุนรอบ นิวเคลียส นั่นแหละ ซึ่ง หาก พิจารณาในแง่นี้แล้ว ก็พอ จะ อนุมานได้ว่า เออหนอ จริงๆ แล้ว ทุกอย่าง ประกอบ ด้วยความว่าง ทั้งนั้น ความอ่อน ความแข็ง รูปร่าง สี กลิ่น อะไรต่าง ๆ หาก พิจารณากันแล้ว ก็เกิดจาก การปรุงแต่งของจิตของเราทั้งนั้น (หรือ อีกนัย หนึ่ง คือ เมื่อสิ่งเร้าต่างๆ มาสัมผัส ประสาทสัมผัส ทั้ง 5 ผ่านการตีความของสมอง ก็จะทำให้เราเห็นอย่างที่เราเห็นอยู่ ) ซึ่งความจริง แล้ว สิ่งที่เราเห็น เราได้ยิน ที่แท้เป็นอย่างไร ก็ไม่รู้ รู้แต่ว่า หากมองในระดับ เล็ก ๆ ย่อย ๆ ลงไปแล้ว มีแต่ความว่าง และ แรงที่กระทำระหว่างกันทั้งนั้น พอผมคิดแบบนี้ ก็ทำให้ผมพอเข้าใจในบริบท ของความว่าง ความไม่มีตัวตน ความไม่เที่ยง ใน พุทธรรมได้ บ้างจาก พื้นฐานที่ผมได้เรียน วิทยาศาสตร์ มา

ยังมีอีกหลายข้อที่ผมคิด ในเชิงเปรียบเที่ยบ ระหว่าง วิทยาศาสตร์ กับ พุทธรรม เหมือนกัน แต่ ก็ไม่รู้ว่า จะเป็นการ จับแพะชนแกะ หรือ เปล่า ก็เห็นจะต้องรบกวนพี่ชิว ช่วย เล่าแจ้งแถลงไข ในความถูกต้อง ด้วย ครับ

นับถือ

ตื่น

สวัสดีครับ ตื่น

        ยอดเยี่ยมๆๆ พี่ว่าตื่นเข้าใจประเด็นนี้ดีกว่าพี่ซะอีกนะ ^__^

        เห็นด้วยมากทีเดียวว่า "....ซึ่งโดยส่วนตัวผมเห็นว่า แนวความคิดนี้ อาจจะเป็นการตลาดแบบหนึ่งที่จะทำให้ บุคคลที่เชื่อในความมีเหตุมีผล และ สิ่งที่พิสูจน์ได้ ให้หันมาสนใจ พุทธรรมมากขึ้น..."

        นี่แหละครับ ถึงยก "ไอน์สไตน์" มาอ้างกันนักหนา ลองคิดให้ลึกไปอีกขั้น คำว่า "ไอน์สไตน์" นี่ไม่ได้หมายถึงแค่ ตัวไอน์สไตน์ (ที่เป็นนักฟิสิกส์) เท่านั้น แต่ยังหมายถึง

            - ทฤษฎีของไอน์สไตน์ หรือประเด็นที่ไอน์สไตน์เข้าไปเกี่ยวข้อง (เช่น ทฤษฎควอนตัม หรือคำพูดเช่น "พระเจ้าไม่ทอดลูกเต๋า" หรือ "ไอน์สไตน์ยกย่องพุทธศาสนา" - อันหลังสุดนี้ สารานุกรม Wikipedia บอกว่า หาแหล่งที่มาแรกสุดไม่พบครับ!)

            - ฟิสิกส์ โดยเฉพาะ ฟิสิกส์ยุคใหม่ (modern physics)

            - วิทยาศาสตร์ยุคใหม่โดยรวม (modern science)

        จริงหรือไม่ ลองไปดูสิครับ อ้างถึง Chaos Theory, String Theory, Cosmology, etc. (แต่ไม่ยักพูดถึง จิตวิทยาสมัยใหม่ที่ศึกษา NeuroScience แฮะ)

        ตอบข้อ 1 ก่อนนะครับ

        1) เรื่อง invariance นี่เต็มๆ คือ invariance under coordinate transformation คือ อยู่คนละกรอบ แต่เห็นค่า invariance ตรงกัน หรือใช้กฎทางฟิสิกส์เดียวกัน

            นั่นคือ invariance เป็นหลักยึดครับ! ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ (Special Relativity) ซึ่งมีหลักการพื้นฐาน 2 ข้อ ได้แก่

           1. กฎทางฟิสิกส์มีรูปแบบเดียวกันในทุกกรอบเฉื่อย -> กฎเป็น invariance!

           2. อัตราเร็วแสงมีค่าเท่ากับในทุกกรอบเฉื่อย -> อัตราเร็วแสง c เป็น invariance!

           ที่น้องตื่นเทียบเคียงว่า คล้ายกับหลักไตรลักษณ์ในแง่ที่ว่าทุกสิ่งล้วนไม่พ้นหลักการนี้ นั้นพอได้สำหรับบางอย่างครับ คือ ไม่ทุกสิ่ง แต่มีบางสิ่งเช่น กฎทางฟิสิกส์ (ข้อ 1) และ อัตราเร็วแสง (ข้อ 2) ไม่พ้นหลักการนี้

           เป็นการเปรียบเทียบที่น่าสนใจมากครับ

ปล. มีคนกล่าวหาพี่เรื่องนี้ เขาหาว่า พี่กำลังบอกว่า invariance เป็นอัตตา! พี่เลยไม่คุยด้วย เพราะเขากล่าวหาต่อว่า "พี่หาว่างั้นพระพุทธเจ้าก็โกหกน่ะสิ ที่สอนเรื่องอนัตตา" ไปกันใหญ่เลยครับ ;-)

สำหรับอีกข้อหนึ่งขอติดไว้ก่อนครับ ^__^

พี่ชิว

ผมขอเพิ่ม อีก เหตุผล หนึ่งว่า ทำไมต้อง ไอน์สไตน์ คือ ไอน์สไตน์ คือ ตัวแทน ของ ความฉลาดของมนุษย์ ครับ นั่นคือ เหตุผลที่หากมีใครสามารถ เชื่อมโยง ไอน์สไตน์ เข้ากับสิ่งใด สิ่งนั้น จะดู ฉลาด ไปด้วย (เป็นไปตามคุณสมบัติ ถ่ายทอด A=B ,B=C -> A=C แหะ ๆ ) แต่หากมานึก อีกที ทำให้ผมพาลไป นึกได้ว่า มี รุ่นพี่คนนึง ที่เค้า ศึกษา พุทธธรรม เคย บอกผมว่า จุดประสงค์ เวลา เรา กราบ พระรัตนตรัย นั้น เรา กราบเพื่ออะไร และ ที่สำคัญคือ เรา กราบ พระพุทธ เพื่อ ให้เรา ระลึก ว่า พระพุทธเจ้า เป็น คนธรรมดา ที่ตรัสรู้ หรือ รู้แจ้งได้ นั่นหมายถึงว่า คนเราธรรมดา ก็สามารถ เป็นอย่างพระพุทธเจ้าได้ เช่นกัน หาก เรา มีความตั้งใจ ความ เพียร และ มี อิทธิบาท 4 เพียงพอ พอผมได้ฟังแล้ว ก็คิดว่า มีเหตุผลครับ และ ทำให้มุมมองผมที่มีต่อ พุทธศาสนา เปลี่ยนเป็น พุทธธรรม มากขึ้น แต่ที่น่าเสียดาย คือ การศึกษาบ้านเรา ยังไม่สามารถ ทำให้ คนศึกษา นั้น เข้าใจ ใน พุทธศาสนา ในแง่มุมของ ปรัชญา มากกว่า ใน เรื่อง ของ สิ่งเหนือธรรมชาติ อภินิหาร etc..

ทีนี้ คิดต่อว่า ดีหรือไม่กับแนวความคิดนี้(การถูกใช้เป็นเครื่องทางการตลาด) ในส่วนตัว ผมคิดว่า เป็นเรื่องดี ที่จะทำให้ คนที่มีความชอบ ใน หลัก เหตุผล และ วิทยาศาสตร์ จะ เริ่มเข้ามาเรียนรู้ ในหลัก พุทธรรม มากขึ้น เพราะ ผมเชือว่า คนอย่างพี่ชิว หรือ คนที่ศึกษา ใน วิทยาศาสตร์ มาก ๆ จะเข้าถึง พุทธรรม ในเชิงทฤษฎี ได้ลึกซึ้งกว่า และอาจถ่ายทอดให้คนทั่ว ๆ ไป ในอีกแง่มุมหนึ่ง (ในแง่ ทฤษฎี การเชื่อมโยงอย่างมีเหตุมีผลว่า เราสามารถ ประยุกต์ หลัก พุทธธรรมได้มุมที่ต่างจากพระสงฆ์ (ซึ่งส่วนใหญ่จะเทศน์ ในลักษณะ ศีล และ การใช้ ศีล หรือ หลักธรรม มาประยุกต์ กับ ปัญหา ประจำวัน ) เอาเป็นว่า จะเป็นเครื่องมือ หนึ่ง ที่สามารถ เผยแพร่ ให้ คนมีความสนใจในการศึกษา พุทธธรรม ในวงกว้างมากขึ้น

ปัญหาที่น่าจะคิดต่อ คือ คนเหล่านี้ จำเป็น ต้องใช้หนังสือ ประเภทนี้สำหรับจุดประกายให้มาสนใจ พุทธธรรม หรือไม่ (ผมไม่ห่วงคนเหล่านี้ เนื่องจาก คนเหล่านี้ มี หลัก กาลามสูตร อยู่แล้ว (วิทยาศาสตร์ สอนให้เป็นแบบนี้อยู่แล้ว) )

และ หาก กลุ่มคนที่ต้องใช้ หนังสือนี้ ในการจุดประกาย โดย ไม่เข้าใจในหลัก กาลามสูตร เลย ก็จะไม่มีภูมิคุ้มกัน และ พากัน เข้าใจผิด กันใหญ่โต (เหมือน คน ที่พูด ว่า invariance คือ อัตตา )

ทีนี้ หาก เราบรรจุ สิ่งอ้างอิง เพื่อ ความสมบูรณ์ของข้อมูลลงในหนังสือ ประเภทนี้ มีมากขึ้น ก็จะทำให้ หนังสือ อ่านยากขึ้น ขาดความสนใจ มากขึ้นด้วย (เหรียญ สองด้าน) ก็ต้องลอง Trade-off กันดูว่า จุดไหน คือ จุดที่พอเพียง

ทางออกอีกทางหนึ่งที่ผมคิดได้ในตอนนี้ คือ หนังสือประเภทนี้ ควร จะมี คำนำ หรือ บทนำอะไรสั้น ๆ ที่ บอกว่า เนื้อหาทั้งหมดนั้น มี ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนสอดแทรกอยู่ด้วย และ ย้ำเตือนผู้อ่านให้ คิดพิจารณา ขณะอ่าน ด้วย ก็จะเป็นการดี และ เปิดโอกาสให้กับ คนอ่านได้พิจารณาเองว่า เป็นอย่างไร

ผมเห็นด้วยกับทางออก ของ พี่ที่ให้สัมภาษณ์ ใน จุดประกายวรรณกรรม ฉบับอาทิตย์นี้นะ ที่น่าจะมี ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งสองฝ่าย ได้ตรวจสอบความถูกต้องของ หนังสือก่อน (แต่ ต้นทุน ทั้งในแง่เวลา และ เงิน ก็จะมีมากขึ้น จะตอบโจทย์ทางธุรกิจได้มั้ย ยังเป็นปัญหา)

ปล หากมีการเสวนา เรื่องที่พี่เกร่นไว้ในบทสัมภาษณ์ เมื่อไหร่ รบกวนแจ้งผมด้วยนะครับ คือ ผมอยากให้เวลา และ โอกาส ไปรับฟังครับ

นับถือ

ตื่น

ง่า

พี่ชิว ผมก็ยังไม่เข้าใจในคำตอบข้อ 1 อยู่ดี :( ง่ะ ครับ (คิดว่า ยังมีความรู้น้อยเกินไปในเรื่อง ทฤษฎี สัมพัทธภาพ) ขอผมไป หา แฟนพันธุ์แท้ ไอส์นไตน์ อ่านก่อนครับ :)

ว่าแต่ จริง ๆแล้ว เราน่าจะมี blog ที่ สนทนากันเรื่อง พุทธธรรม กับ วิทยาศาสตร์ เชิงเปรียบเทียบนะครับ ผมว่า เป็นเรื่องที่สนุก และ น่ารู้ มากเลย

ตื่น

สวัสดีครับ ตื่น

        จริงด้วย "ไอน์สไตน์ = ความฉลาด (ทางโลก) ของมนุษย์" ยอดเยี่ยมๆ (พี่ลืมไปจริงๆ)

         เรื่องอื่นๆ เดี๋ยวพี่แว่บมาตอบใหม่

         ส่วนเรื่องให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยตรวจนั้น ต้นทุนไม่สูงหรอกครับ (อย่างตอนนี้พี่ก็กำลังตรวจหนังสือให้ National Geographic บางเล่มอยู่ เขาให้ค่าตรวจเท่าไร ก็รับไป ไม่ได้คิดอะไร ถือว่าได้อ่านหนังสือหนุกๆ ได้ความรู้ด้วย)

        

สวัสดีค่ะคุณชิว

เตยอ่านไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็นไปได้แค่สามสิบกว่าหน้าก็มาเจอบทความในพันพิพเรื่องข้อมูลที่ผิดพลาดของหนังสือเล่มนี้เสียก่อน.. รอดไป เพราะเตยไม่มีพื้นฐานทางฟิสิกส์เลยค่ะ ขอบคุณมากที่ช่วยกันออกมารีวิวทำให้เราไม่หลงทาง

โดยส่วนตัวคิดว่าถ้าไม่มีความรู้ด้านฟิสิกส์พอ ไม่ควรเขียนหนังสือแบบนี้เลยเพราะทำให้คนอื่นที่ไม่มีความรู้เหมือนกันพลอยสับสนไปด้วย.. เพราะจริงๆแล้วคิดว่าคุณหมอเขาไม่ได้มีเจตนาไม่ดีนะคะ แต่คิดว่าเขาตีความทฤษฎีหลายๆทฤษฎีพลาดเสียมากกว่า เพราะจากที่อ่านมานี่ หลายข้อมูลคล้ายกัยที่อยู่ในหนังสือ the Tao of Physics (Fritjof Capra) มาก เพียงแต่แทนที่จะคัดของเขามาก็เอาของเขามาตีความตามความเข้าใจอันผิดพลาดเพราะเกิดจากพื้นฐานที่ไม่แน่นพอของตัวคุณหมอเอง น่าเสียดายจริง

เตยไม่มีความสามารถจะแสดงความเห็นทางฟิสิกส์ได้เพราะไม่มีความรู้ แต่เห็นด้วยกับฟริจจอฟ คัปปราค่ะว่า

the inaccuracy and ambiguity of our language is essential for poets who work largely with its subconscious layers and association. science, on the other hand, aims for clear definitions and unambiguous connections, and therefore it abstracts language further by limiting the meaning of its words and by standardizing its structure, in accordance with the rules of logic. the ultimate abstraction takes place in mathematics where words are replaced by symbols and where the operations of connecting the symbols are rigorously defined. in this way scientists can condense information into one equation, ie into one single line of symbols, for which they would need servral pages of ordinary writing.

คุณหมอแกตีความผิด แต่เขียนออกมาได้ดี เลยทำให้ ordinary writing ที่เขียนมาบิดเบือนไปจากสมการที่นักวิทยาศาสตร์หลายท่านตั้งขึ้น น่าเสียดายความสามารถทางการเขียนของแกนะคะ

สวัสดีครับ คุณเตย

      ใช่แล้วครับ ทพ.สม มีจุดประสงค์ดี คือ ต้องการโน้มนำให้คนมีศรัทธาในพุทธศาสนา โดยใช้วิทยาศาสตร์เป็นสื่อนำร่อง

      แต่ปัญหาก็คือ เมื่อวิทยาศาสตร์ผิดเพี้ยน & คลาดเคลื่อนมากอย่างมากมาย ทำให้คุณค่าของหนังสือในแง่การให้ข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อการต้ดสินใจด้อยลงไปมาก

      เพราะว่า ไม่ใช่ทุกคนหรอกครับที่จะอ่านเอาสนุก หรือแม้แต่คนที่คิดว่าตนเองมีความคิด มีวิจารณญาณที่ดี แต่หากพื้นฐานไม่ดีเพียงพอแล้ว จะตัดสินใจได้อย่างไรว่า ข้อความหนึ่งๆ หรือความคิดชุดหนึ่งๆ น่าเชื่อถือเพียงไร

      ผมชอบ quote ที่ส่งมาให้จริงๆ ครับ จะหาโอกาสถอดความออกมาเป็นภาษาไทย  นำมาจากหนังสือเล่มไหนหรือครับ (The Tao of Physics?)

การที่พระพุทธองค์เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ก็ยังไม่มีศาสตร์ใดๆๆ มาหักล้างได้ เรียกว่า 18 ดร. เรียนไม่จบหรอกนะ  บรรดาผู้รู็ ้ทั้งหลาย พึงสังวรณ์ให้มากๆๆ  จะได้ไม่ผิดเพี้ยน จากความเป็นจริง  แต่เคยศึกษางาน ดร.พนม เมืองแมน  ทราบว่าเรียนมามาก  เอาแต่เวลาไปติดต่อ มนุษย์ต่างดาว  ไม่ทำงานทางโลกเลย  เป็นสิ่งที่ควรศึกษานะ อย่างไร ฝากใว้เป็นข้อคิดทาง  ........................................................

สวัสดีครับ คุณชายใหญ่

        ขอบคุณมากครับ แต่น่าจะเป็นคนละประเด็นกันนะครับ

        สมมตินะครับ...สมมติผมบอกคุณชายใหญ่ว่า มีใครสักคนกำลังบิดเบือนพระพุทธศาสนาอยู่ โดยหากอ่านอย่างไม่รู้เท่าทัน ก็จะคิดว่าเป็นคำสอนของพระพุทธองค์

        ในกรณีเช่นนี้ ควรจะมีผู้รู้ทางพุทธศาสนา เช่น พระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ออกมาทักท้วง และอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไหม

        ลองคิดดูนะครับว่า ประเด็นที่เรากำลังคุยกันอยู่นี้นั้น ไม่ได้บอกสักคำเลยว่า คำสอนของพระพุทธองค์ด้อยกว่าศาสตร์อื่นๆ หรือไม่ อย่างไร

        ในทางกลับกัน ผมกำลังบอกว่า อย่างน้อยให้ใช้ หลักกาลามสูตร ที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ดีแล้ว ในกรณีเช่นนี้ครับ

ขอบคุณครับที่แวะมาเยี่ยมเยียน

พี่ชิวครับ

เมื่อคืน กลับไปอ่าน เรื่อง "แฟนพันธุ์แท้ ไอส์นไตน์" ก็เลย เข้าใจความหมายของ invariance ขึ้นมานิดหน่อย (ตอนนี้อ่านถึง บทที่ 3 ) พี่ชิว ครับ จริง ๆ แล้ว ใน ทฤษฎีสัมพัทธภาพ ทั่วไป ยังมี invariance หรือ เปล่า ครับ (พอดียังอ่านไม่ถึงบทหลัง ๆ ) เนื่องจาก ทั้ง ความเร็วแสง ก็ดี ,กฎทางฟิสิกส์ ก็ดี จะ เป็น invariance ใน กรอบ เฉื่อย เท่านั้น (หากเราเชื่อในทฤษฎี สัมพัทธภาพพิเศษ) ซึ่งคงไม่สามารถ สะท้อนภาพองค์รวมทั้งหมด จึงตอบยังตอบไม่ได้ใช่มั้ยว่า จริง ๆ แล้ว มี หลัก invariance จริงแท้ ใน จักรวาล หรือไม่(เพราะตอนนี้ รับแล้วว่า มีอยู่ครึ่งหนึ่ง คือ ในกรอบที่ไม่มีความเร่ง) จนกว่า เราจะทราบว่า ในสภาพที่มีแรงโน้มถ่วง หรือ มีความเร่งแล้ว ยังมีสิ่งที่เป็น invariance อีกหรือเปล่า

หากพิจารณาดู ดี ๆ แล้ว ผมคิดว่า invariance นั้น อาจก็เป็นสภาวะสมมุติ (ทางธรรม) อีก แบบหนึ่ง ก็ได้

ปล เห็นด้วย กับ สิ่งที่ คุณเตย quote มา ว่า ภาษามีข้อจำกัดของมันอยู่จริงๆ ในการถ่ายทอด ประสบการณ์ และ ความรู้ ครับ

สวัสดีค่ะคุณชิว

ใช่แล้วค่ะ The Tao of Physics โดย Fritjof Capra ค่ะ เป็นสุดยอดหนังสือเลยค่ะ ดีมากๆ ทำเรื่องฟิสิกส์ยากๆให้.. เข้าใจได้ง่ายขึ้นด้วย รู้สึกว่าจะมีแปลเป็นภาษาไทยแล้วด้วยนะคะ

สวัสดีครับ ตื่น

      เดี๋ยวพี่ลองไปค้นดูก่อนนะครับ ว่า General Relativity ว่าไง?

      เรื่องภาษานี่น่าสนใจครับ มีทฤษฎีทางภาษาศาสตร์เสนอว่า ความซับซ้อนของภาษาที่คนๆ หนึ่งใช้เป็นปัจจัยที่กำหนดว่า คนๆ นั้นสามารถคิดได้ซับซ้อนแค่ไหน เข้าใจว่าเรียกว่า The Principle of Linguistic Relativity (ถ้ามีผู้รู้ท่านใดมาพบเข้า โปรดช่วยแก้ไขความเข้าใจที่อาจจะผิด หรือคลาดเคลื่อนด้วยครับ)

สวัสดีครับ คุณเตย

       ขอบคุณมากครับ ผมมีทั้งเล่มภาษาอังกฤษ และเล่มแปลเลย ชอบอ่านมากตอนที่เรียนอยู่ประมาณปี 4 ครับ 

       หนังสือ The Tao of Physics นำเสนอฟิสิกส์ได้สนุก เพราะผู้เขียนเป็น particle physicists แต่เรื่องปรัชญา-ศาสนานี่ บางทีก็โดนลากเข้าความอยู่เหมือนกันนะครับ อย่างแผนภาพ "ปากั้ว" (แปดเหลี่ยม) นี่โดนดัดแปลงให้เทียบได้กับแผนภาพใน particle physics ครับ

สำหรับอ่านแล้วก้รู้สึกแปลกๆ บ้าง แต่ไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่

แล้ว ผมอยากถามเกี่ยวกับหนังสือของ นพ.วิธาน ฐานะวุฑฒ์ และ นพ. ประสาน ต่างใจ ว่าเป็นอย่างไรบ้าง เกี่ยวกับข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ โดยส่วนตัวผมชื่นชม 2 ท่านนี้

http://jitwiwat.blogspot.com/search/label/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%99%20%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%88

สวัสดีค่ะคุณชิว

นั่นสิคะ รู้สึกเหมือนกันว่าผู้เขียนตีความปรัชญาเข้าข้างทบ.ตัวเองบ้างอยู่เหมือนกันในหลายข้อ แต่อัันนี้แอบเข้าใจเค้านะคะ เพราะเขาเริ่มเขียนหนังสือด้วยสมมุติฐานที่ว่าวิทยาศาสตร์กับศาสนาสายพุทธ เซน เต๋า สอดคล้องกันในด้านการพิสูจน์(อธิบาย)ธรรมชาติ เพราะฉนั้นตอนเขาตีความหลักคำสอนทางพุทธศาสนา (อย่างน้อยเขาก็ไม่ตีความทฤษฎีฟิสิกส์ที่เขียนเป็นสมการคณิตศาสตร์ค่ะเพราะสมการคณิตศาสตร์ไม่ใช่เรื่องที่จะตีความเป็นอื่นได้นอกจากมีการทดลองอันพิสูจน์ได้ด้วยค่าสมการณ์อื่นมารองรับ.. คอมเมนท์ตรงนี้คุณชิวไม่เห็นด้วยรบกวนอธิบายหน่อยนะคะ เพราะเตยไม่ได้เรียนสายวิทย์ล่ะ แค่ชอบอ่านหนังสือเท่านั้นเอง)

จริงๆแล้วคุณสมก็แอบคล้ายคัปปร้าเล็กน้อยตรงตีความตามความเชื่อของตนนะคะ (คิดว่านะ) ผิดกันตรงฟริจจอฟ คัปปรา มีพื้นฐานทางฟิสิกส์แน่นกว่า(มาก)เท่านั้นเอง

สวัสดีครับ คุณ 'ผู้ไม่รู้'

       เข้าใจว่า นพ.วิธาน ฐานะวุฑฒ์ อยู่ในกลุ่มจิตวิวัฒน์ ใช่ไหมครับ ส่วน นพ. ประสาน ต่างใจ ก็ได้นำเสนอประเด็นแนวจิต-ควอนตัมออกมาเรื่อยๆ

       มองในแง่ดี : ทั้งสองท่านได้เปิดประเด็นให้กับสังคมไทย เพื่อนำไปเจาะลึกต่อ เนื่องจากทั้งสองท่านเป็นผู้ใฝ่รู้ อ่านมาก จึงมีเรื่องราวใหม่ๆ มานำเสนออยู่เป็นระยะ

       มองในแง่ระวัง : เนื่องจากทั้งสองท่านเป็นแพทย์ ซึ่งอาจจะไม่ได้ทำงานวิจัยทางด้านฟิสิกส์ยุคใหม่มาโดยตรง แต่อาศัยจากการอ่านงานแนว Popular Science ซึ่งหนังสือแบบนี้มีคุณภาพของงานแตกต่างกันไป

          ดังนั้น ผู้อ่านจึงควรเสาะหา หนังสือ หรือผู้รู้ในทางสายวิทยาศาสตร์กายภาพ เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงที่ใช้ในการตรวจสอบอีกทางหนึ่งด้วย เพื่อตรวจสอบข้อมูลและการตีความต่างๆ ว่าเป็นไปตามวิทยาศาสตร์กระแสหลัก กระแสรอง หรือเป็นเพียงการคาดเดาของใคร และสถานภาพปัจจุบันของเรื่องหนึ่งๆ เป็นอย่างไรครับ

สวัสดีครับ คุณเตย

      ต้องขอแสดงความชื่นชมความเป็นนักอ่านของคุณจริงๆ ครับ ที่แม้จะไม่ได้เรียนสายวิทย์ แต่มีความสนใจในเรื่องราวอื่นๆ ที่เป็นสาระความรู้ (ที่แม้แต่เด็กสายวิทย์หลายคนก็ไม่ได้สนใจ)

      เห็นด้วยในแง่ที่ว่า Capra ก็ตีความตามที่ตนเองตั้งสมมติฐานเอาไว้ แต่ Capra เป็นนักวิจัยด้านฟิสิกส์จริงๆ จึงทำให้ข้อมูลวิทยาศาสตร์มีพลัง และจับผิดได้ยาก (หมายความว่า เมื่อเวลาผ่านไป ความรู้บางอย่างอาจจะล้าสมัยไปแล้ว)

      ส่วนคนที่ไม่ได้ร่ำเรียนมาทางนี้นั้น แม้จะอ่านมาก แต่หากอ่านงานเฉพาะ Popular Science คือ ไม่ได้อ่าน Textbook หรือผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์โดยมีคณะกรรมการตรวจสอบ (peer review) ก็จะหาคนที่เข้าใจจริงๆ ได้ยาก หรืออาจจะคิดว่าเข้าใจ แต่จริงๆ ไม่เข้าใจครับ

ผมเป็นคนที่เรียนสายศิลป์ (รัฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ) แต่ก็สนใจในเรื่องวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่เด็ก เดี๋ยวนี้ก็ยังสนอยู่ (และกำลังพยายามอ่าน Universe in a Nutshell รอบที่สาม ให้เข้าใจขึ้นอีกหน่อย เพราะอ่านๆ ไปแล้วหัวจะระเบิด)

พอหนังสือ "ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น" ออกมา ผมก็อุตส่าห์ดีใจ ว่าจะได้เห็นปรากฏการณ์ใหม่ ที่ลองพยายามอธิบายศาสนาโดยหลักการทางวิทยาศาสตร์ เลยรีบซื้อมา แบบไม่ได้คิดอะไร (แม้ผมจะไม่นับถือศาสนาเป็นตัวเป็นตนก็ตามที)

อยากจะบอกว่า "ตั้งแต่ส่วนบทนำ" แล้วครับ ที่บ่งบอกว่าหนังสือเล่มนี้ "แย่" เพราะผู้เขียน พยายามบ่งอย่างไม่เป็นกลางแต่แรกอยู่แล้วว่า "พระพุทธเจ้า เหนือกว่าไอนสไตน์"

การอธิบายแบบนี้ นับว่าทุเรศสิ้นดี (ผมขอบ่น ประสาคนเสียดายตังค์เถอะนะครับ)

การที่คุณจะพยายามทำหนังสือที่เปรียบเทียบความรู้ในเชิงศาสนา กับวิทยาศาสตร์ "โดยคุณลำเอียง" แต่แรกอยู่แล้ว นั่นเท่ากับคนเขียนไม่มีความเป็นนักวิทยาศาสตร์ในตัวแต่ต้น (แต่เสร่อจะเขียนหนังสือวิทยาศาสตร์)

หากนักวิทยาศาสตร์คนไหนที่ ลำเอียงแต่ต้นว่า "การทดลองนี้ ยังไงๆ ก็จะต้องให้ผลการทดลองออกมาเป็นแบบนั้น แบบนี้" ย่อมไม่อาจเรียกว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ได้ฉันใด ผู้เขียนหนังสือนี้ ก็แย่พอๆ กันฉันนั้น

ด้วยความเคารพ

กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช

เรียนคุณบัญชา (อีกรอบ)

ตอนแรกผมอ่านแต่เนื้อหาของบล็อกแล้วตอบไปเลย ทีนี้พอมาอ่านในส่วนการแลกเปลี่ยน มีประเด็นหนึ่งที่ผมค่อนข้างจะสนใจเป็นพิเศษ นั่นก็คือ ใน คห. 36 ที่ คุณบัญชา แลกเปลี่ยนกับคุณต้นน้ำ

ผมมองว่า เหตุสำคัญที่ฟิสิกส์ (หรือวิทยาศาสตร์โดยทั่วๆ ไป) นั้นนอกจากจะเพราะยากแล้ว อาจเป็นเพราะ

1. ระบบการศึกษาแบบ Essentialism ของไทย ที่ "บังคับกรอบความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในวงจำกัดเกินไป"...จริงๆ กรณีนี้เกิดขึ้นกับทุกวิชา ทำให้เรื่องวิชาการเป็นเรื่อง "แหยง" คนเด็กโดยมาก

ผมมองว่า การบังคับให้ "ต้องเรียนรู้ทฤษฎีนั่นนี่ [b]ตามที่กระทรวงศึกษาต้องการให้เรียน ไม่ใช่เด็กต้องการรู้เอง[/b]" เป็นเครื่องลดทอนที่สำคัญอย่างหนึ่งต่อความใคร่รู้สนใจในเรื่องทางวิชาการ ซึ่งฟิสิกส์ก็หนีไม่พ้นจากบ่วงนี้

ตัวอย่างเช่น ทฤษฎีวิวัฒนาการนั้น โดยมากเราก็จะได้เรียนแต่พวกดาร์วินๆๆๆๆๆๆๆ (จนสมองจะวิ่น) มันเป็นการ force เด็กให้เห็นแต่ ดาร์วินครับ เด็กแทบไม่เคยเห็นแง่คิดอื่นๆ เลยของทฤษฎีกลุ่มนี้ เช่น Missing Link Virus Theory ที่เสนอถึง "ไวรัสวิวัฒนาการในร่างกายคน"

ซึ่งแนวคิดดังกล่าวก็มีฐานสนับสนุน และเหตุผลทางวิชาการที่รับได้ แต่เราไม่เคยได้เรียนกันครับ อย่างผม รู้จักกับแนวคิดนี้ครั้งแรกจากการอ่านการ์ตูนญี่ปุ่น (manga) แล้วเห็นว่าน่าสนใจดี เลยลองค้นต่อ

แต่ประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นคือ เมื่อเด็กต้อง follow argument เพียงแบบเดียว (ที่กระทรวงบังคับมา) มันทำให้เกิดภาวะ Undebatable ขึ้น...ซึ่งน่าเบื่อมากๆ

ฉะนั้นแนวทางที่น่าจะเหมาะจึงควรเป็น การกำหนด Theme เช่นว่า วันนี้จะคุยกันเรื่อง "ทฤษฎีวิวัฒนาการ" กันนะ...ให้เด็กไปลองหาๆ แนวคิดต่างๆ ที่ตนเชื่อดู หรือลองคิดดูเองก็ได้ แล้วมา Debate กัน อาจจะมีครูเป็นคนกลาง (เผลอๆ ครูจะได้เรียนเรื่องใหม่ๆ ไปด้วย) ไม่ใช่สักแต่เป็นควายให้กระทรวงศึกษาจูง...คือ ความรู้ชุดที่จำเป็นต้องเรียนน่ะมีแน่ครับ แต่เรา force เค้าเฉพาะพื้นฐานที่จำเป็นจริงๆ "ไม่ใช่จับยัดกะโหลกทุกเรื่องที่อยากให้รู้"

2. (อันนี้ฟิสิกส์ตรงๆ หน่อย) บอกตรงๆ นะครับว่าผมค่อนข้างจะชอบฟิสิกส์พอสมควรทีเดียว (แม้จะไม่ชอบคณิตศาสตร์เท่าไหร่นัก T-T) แต่ข้อเสียที่สำคัญมากๆ ของฟิสิกส์ และคณิตศาสตร์ ที่เหนือกว่าวิชาอื่นๆ (คือวิชาอื่นๆ ก็มีข้อเสียส่วนนี้ แต่ไม่มากเท่าฟิสิกส์ และคณิตฯ โดยเฉพาะตัวหลัง)

นั่นเพราะ วิชาทั้งสองนี้ "พูดด้วยภาษาที่คนทั่วไปไม่ค่อยคุ้นเคย" ครับ ภาษาหลักที่ใช้สื่อคือ ตัวเลข และสมการ คือ วิชาทั้งสองนี้เป็นวิชาที่ "มีความเป็นเหตุเป็นผลสูงที่สุดในสายวิทย์ฯ แล้ว แต่เพราะความที่มันเป็นวิชาที่มีเหตุผลสูง มันจึงใช้ภาษาทั่วๆ ไปอธิบายได้ยาก แต่ใช้ตัวเลข และสมการเป็นสื่อกลางทางความคิดแทน"

แต่การใช้ตัวเลข และสมการ เป็นสื่อกลางทางความคิดมากๆ ก็มักจะเกิดปัญหาว่า "คนทั่วไปเข้าไม่ถึง หรือไม่กล้าจะเข้าถึง" ครับ

และนั่นก็เป็นคำตอบกับเราด้วยว่า "ทำไมหนังสือวิทยาศาสตร์อ่านโคตรยากอย่าง A Brief History of Time หรือ Universe in a Nutshell ของ Hawking ถึงขายดีเป็นเทน้ำเทท่า?"

นั่นก็เพราะว่า "มันแทบไม่มีตัวเลข หรือชุดสมการใดๆ เลยครับ" คนทั่วๆ ไปรู้สึก "ปลอดภัย" มากกว่ากับหนังสือของ Hawking ที่ตัวหนังสือมาก เลข และสมการโหดๆ น้อยๆ (ทั้งๆ ที่เข้าใจยากมาก ลึกซึ้งมากๆ) ในขณะที่หนังสือฟิสิกส์อื่นๆ ที่ตัวเลขโหดๆ สมการยาวๆ โผล่มาเยอะ (แต่อาจจะเข้าใจง่ายกว่าของ Hawking ลึกซึ้งน้อยกว่า ฯลฯ) กลับขายไม่ออก เพราะคนกลัวที่จะเข้าถึงครับ

ฉะนั้น ผมคิดว่าเรื่องที่น่าจะลองนำไปพิจารณาก็คือ "ทำให้หนังสือฟิสิกส์มีตัวเลข และสมการน้อยที่สุด (อย่างฮอว์กิ้ง) แต่สามารถเข้าใจได้ง่ายที่สุด (เท่าที่จะทำได้)"...ผมว่าน่าจะเป็นหนทางหนึ่ง

3. ปกติเนื้อหาของวิชาฟิสิกส์นั้น ก็ยากมากอยู่แล้ว ฉะนั้น "อย่าเขียนให้อ่านยากขึ้นครับ" ยิ่งวิชาที่เนื้อหายากเท่าไหร่ ต้องเขียนด้วยภาษาที่ง่ายและใกล้ตัวขึ้นเท่านั้น เพื่อความเข้าใจง่าย

ไม่ใช่ "อ่านชื่อแล้วงง" --> "อ่านนิยาม...งงกว่าเดิม"

ภาษาสร้างขึ้นมาเพื่อสื่อสารครับ เพื่อให้ผู้รับสาร เข้าใจ "สาร" ของผู้ส่ง ฉะนั้น ภาาาหยาบบ้าง ทุเรศบ้าง ผมว่าใช้ๆ มันไปเถอะครับ หากทำให้เค้าเข้าใจได้ ดีกว่าภาษาผู้ดีสุดกู่ สมองทู่กว่ากว่า...อย่างนั้นคงไม่ได้อะไรขึ้นมา

ภาษาราชการ ลดๆ มันลงบ้างก็ได้ครับ ช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้นเยอะจริงๆ

4. ภาควิชาทางสายวิทย์ฯ ต้อง take action กับสังคมให้บ่อยกว่าที่เป็นอยู่

คือ จริงๆ ตะโทษฝ่ายวิทย์ฯ ว่า take action น้อยอย่างเดียวก็ไม่ได้ แต่สังคมไทย มีลักษณะ ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา" อยู่มาก (บางพวก เห็นโลงศพ มันก็ยังไม่หลั่งน้ำตา)ทำให้ เมื่อไม่เกิดปรากฏการณ์ที่ต้องใช้วิทยาศาสตร์อธิบาย ก็ไม่สน ไม่ยุ่ง ไม่เกี่ยว กันเสียมาก

แต่ในขณะเดียวกัน เราต้องถามด้วยว่า "ฝ่ายวิทย์ฯ take action กันอย่างมากพอแล้วหรือ???" หรือว่าโดยมากมักจะคุดคู้อยู่แต่ในอาณาจักรของตน วงการของตนเสียมากกว่า???

นี่คือคำถามที่ผมว่า ต้องลองคิดกันดู

...ผมขอแลกเปลี่ยนเท่านี้ก่อนนะครับ (จริงๆ ยังมีอีก 2-3 ประเด็น แต่ตอนนี้ก็ยาวมากๆ แล้ว)

ด้วยความเคารพ

กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช

ดร.บัญชา, คุณกฤดิกร

สำหรับงานทางสายวิทย์ที่สื่อกับ "สังคมภายนอก" ผมเห็นด้วยว่าการลดสมการและ สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์สามารถทำให้คนทั่วไปสบายใจได้มากขึ้น แม้ว่ามันจะทำให้ 'เห็นภาพพจน์'ได้ดี(ถ้าคุณอ่านมันได้เข้าใจ)ดูเหมือนว่าผมเคยอ่านบทนำของหนังสือแนว popular science บางเล่ม (อาจจะเป็น A Short History of Nearly Everything ของ Bill Bryson) ซึ่งผู้เขียนพยายามบอกว่าคนทั่วไปอย่างเขา หวาดกลัวตัวเลข(คณิตศาสตร์) ซึ่งแน่นอนว่ามันคงเป็นการยากที่จะทำให้คนทั่วไปที่กลัวอยู่เกิดชอบคณิตศาสตร์ขึ้นมา จริงๆ หนังสือวิทยาศาสตร์โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ต้องการให้ "นักวิทย์อ่านได้ คนทั่วไปอ่านดี" ที่เป็นแบบนี้ก็มีหลายเล่ม ทั้งของ ดร.บัญชา หรือ ดร.ชัยวัฒน์

สำหรับหนังสือ "ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น" ผมได้ทราบว่า ดร.บัญชา เขียนบทความขึ้นชี้แจงก็รู้สึกดีใจมาก เพราะก่อนหน้านี้รู้สึก "เซ็ง" กับการเขียน"ลากความ" ของผู้เขียนหนังสือมาก แต่ว่าด้วยที่ผมนั้นไม่ถนัดทาง Quantum หรือ Cosmology ก็เลยไม่กล้าทักท้วงไป ได้แต่บ่นว่าเมื่อไรใครที่ถนัดจะทำสักที

ปล. รู้สึกว่าวันอาทิตย์สัปดาห์นี้ผมจะได้เจอกับ ดร.บัญชา ในงาน workshop ของ BrandsGen ซึ่งผมไม่ชอบวิธีการในการคัดคนของเขาสักเท่าไร คือใช้วิธีการ Vote

และส่ง SMS มันพอๆกับ AF คือธุรกิจบนผลงานทางวิชาการของพวกผม -_-"

แต่ก็ประทับใจกับ ดร. บัญชา ที่ทำให้วิทยาศาสตร์มันถูกใช้จริงๆ ตั้งแต่เรื่องพิสูจน์ภาพถ่ายจตุคามแล้ว

ผมอ่าน เอนทรี้นี้นานแต่ว่า ผมไม่ได้คอมเม้นกลับไว้ครับ

ยังไงผมอยากจะขอบคุณอาจารย์ครับที่ได้ทำการทักท้วงครับ

ผมก็ไม่รู้ว่า ในหัวผมมีข้อมูลผิดๆจากหนังสือบ้างไหมเนี่ย

ขอบคุณอาจารย์อีกทีครับ

สวัสดีครับ คุณ fallingangels

         รู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่ได้รู้จักคนที่ "รักวิทยาศาสตร์" อย่างแท้จริงๆ นะครับ

         ที่กล้ากล่าวเช่นนี้เพราะเมื่ออ่านจากข้อคิดเห็นของคุณแล้ว ก็รู้สึกได้ทันทีว่า คุณเข้าใจและเข้าถึงกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง และมีมุมมองเกี่ยวกับการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ในบ้านเราที่น่าคิดมากทีเดียว

         เรื่อง การสื่อสารทางวิทยาศาสตร์สู่สาธารณชน (Public Understanding of Science) นั้น เป็นเรื่องใหญ่ และผมจะหาโอกาสเขียนถึงเรื่องนี้โดยละเอียดอีกทีครับ

         สำหรับกรณีที่เรากำลังประสบอยู่นี้ ทำให้คนที่สนใจวิทยาศาสตร์ต้องมาทบทวนว่า ในขณะที่เรากำลังทำ

         Public Understanding of Science

         อยู่นี้

         เราต้องทำเรื่อง

         Public Awareness of PseudoScience

         ควบคู่กันไปด้วย!!!

         PseudoScience นี่น่ากลัวกว่าไสยศาสตร์นะครับ เพราะไสยศาสตร์นั้นมาแบบตรงๆ ดูง่ายว่าไม่ใช่วิทยาศาสตร์แน่ๆ

         แต่ PseduScience หรือ วิทยาศาสตร์เทียม นั้นดูเหมือนวิทยาศาสตร์ เพราะใช้คำแบบวิทยาศาสตร์ การให้เหตุผลก็ฟังเผินๆ เหมือนวิทยาศาสตร์

         แต่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ที่แท้จริง เพราะพิสูจน์ไม่ได้ว่าถูกหรือผิด!

ปล. เอาไว้ผมจะหาโอกาสตอบข้อคิดเห็นของคุณในบันทึกอื่นๆ อีกทีนะครับ เพราะยังมีประเด็นอื่นที่น่าสนใจมากทีเดียว เช่น จริงไหมที่สมการทำให้หนังสือไม่น่าอ่าน (เรื่องนี้อย่าเพิ่งด่วนสรุปเชียวว่าจริง เพราะผมมีตัวอย่างคัดง้างเหมือนกันนะครับ ;-))

ขอบคุณครับ ^__^

    

สวัสดีครับ คุณอติเทพ ไชยสิทธิ์

         ขอบคุณสำหรับข้อคิดเห็นครับ เป็นกำลังใจมากทีเดียว ^__^

         บทความสั้นๆ นี้เพียงยกตัวอย่างจำนวนน้อยนิดในบรรดาข้อผิดพลาดทั้งแบบ "จังๆ" และแบบ "ลากความ" ที่มีอยู่ทั่วไปทั้งเล่ม แทบทุกหน้า หน้าละหลายๆ ที่!

         ทำเอาคนที่รู้ทัน "เซ็ง" เหมือนคุณไปไม่น้อยเลย (ผมฟังมาหลายคนมากแล้ว)

         ส่วนคนที่เขาอ่านแล้วบอกว่าสนุกหรือเพลิดเพลิน ก็เพราะมันเป็นจินตนาการออกแนวแฟนตาซีครับ แต่ไม่รู้ว่าคุณภาพของข้อมูลพื้นฐานนี่ต่ำมากๆ

ปล. ไว้เจอกันใน WorkShop BrandGen วันอาทิตย์นี้ครับ คงจะได้คุยกันสนุกแน่ๆ ^__^

สวัสดีครับ ibbz.net

         ด้วยความยินดีครับ เรื่องข้อมูลผิดนี่ไม่เป็นไร แต่ถ้าวิธีคิดผิด แต่ดันนึกว่าถูกนี่ แย่กว่าครับ

         ผมมองว่า กรณีนี้เกิดขึ้นก็ดีเหมือนกัน เป็นการทดสอบสังคมไทยแบบหนึ่งครับ

ครับผม...ด้วยความยินดีแลกเปลี่ยนครับ

ส่วนเรื่องหนังสือที่คุณบัญชาพูดถึงว่า "พอนึกเอามาคัดง้างได้" นั้น น่าจะจริงครับ เพราะผมเองก็อ่านหนังสือวิทยาศาสตร์เต็มๆ ไม่มากเสียด้วย (555+) เลยอาจจะไม่รู้จักเล่มที่คุณบัญชาพูดถึง

แต่ผมว่าน่าสนใจมากนะครับ หากมีหนังสือที่สามารถอธิบายด้วยสมการได้ และเรียกร้องให้คนอ่านอยู่อีก...ผมคงต้องหามาอ่านดูบ้างแล้ว

คือ ผมลองสังเกต กลุ่มอื่นๆ นอกเหนือจาก "สายวิทย์ฯ แท้ๆ" ด้วย อย่างในคณะของผม (รัฐศาสตร์) นั้น พวกผมจะได้เรียนวิชา "เศรษฐศาสตร์" กันด้วย (ซึ่งได้ชื่อว่า เป็นวิชาที่ "เป็นเหตุเป็นผล" ที่สุดในสายสังคมศาสตร์) โดยวิชา econ นี้ก็ (แน่นอน) ว่า สมการโผล่มาตรึม...เด็กรัฐศาสตร์ส่วนใหญ่ ที่ "ไม่คุ้นเคยกับคณิตศาสตร์" ก็จะผวาไว้ก่อน ทั้งๆ ที่หลักการทาง เศรษฐศาสตร์มันมีเหตุผลที่เป็นรูปธรรม (concrete) มากกว่าทางสายรัฐศาสตร์ที่อุดมไปด้วยนามธรรม (abstract) ตั้งมากมาย

...แต่บังเอิญผมเป็นพวก ชอบทั้งสาย concrete และ abstract ก็เลยอยู่ได้น่ะครับ

(จริงๆ ผมยังไม่ค่อยชินกับระบบของบล็อกนี้เท่าไหร่อ่ะนะครับ)

จริงๆแล้ว บริษัทอมรินทร์ควรรับผิดชอบด้วยการเก็บหนังสือที่ค้างอยู่ตามร้านหนังสือทั้งหมดด้วย โดยเฉพาะเล่มที่ให้เด็กนักเรียนอ่าน ตอนนี้ตามแผงหนังสือยังขึ้นหนังสือ 2 เล่มนี้เป็น bestseller อยู่เลย

สวัสดีครับ คุณ fallingangels

        หนังสือเล่มที่กล่าวถึงนั้น ผมเขียนเองครับ ชื่อ แฟนพันธุ์แท้ไอน์สไตน์ เต็มไปด้วยสมการยุ่บยั่บ แต่ติดอันดับ 12 ของ SE-ED ด้วย

        เกี่ยวกับเรื่องนี้ยาวหน่อย เพราะหนังสือว่าด้วยไอน์สไตน์ที่มีอยู่ทั้งหมดในท้องตลาด เป็นแบบอ่านเพลินๆ ไม่มีใครเอาจริงซะที ทำให้เด็กไทยไม่มีโอกาสได้เรียนรู้พื้นฐานจริงๆ จังๆ 

สวัสดีครับ คุณมันทนา

       สิ่งที่ปรากฏย่อมสะท้อนนโยบายของบริษัทฯ ว่าจะคงคุณภาพไว้ที่ระดับใดครับ

สวัสดีครับพี่ชิว

ผมอ่านหลายๆ comments แล้วพบว่าหัวข้อนี้ของพี่ชิวน่าจะไปอยู่ในหมวด จุดประกาย แทนครับ เพราะช่วยจุดประกายให้หลายๆคนได้ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่อาจเก็บไว้กับตัว ไม่ได้แลกเปลี่ยนกับใคร

ในที่สุดก็มีผู้กล้าออกมานำขบวนจนได้ อิอิ (จะใครซะอีกใช่มั้ยครับ) ทำให้หลายความคิด หลายๆความเห็นออกมาแสดงพลัง ให้เห็นว่าสังคมไทยไม่ใช่สังคมของการปล่อยผ่านอีกต่อไป ต่อไปจะเป็นสังคมของการตรวจสอบ ความถูกต้อง และให้ข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา (เอ้ จะเกี่ยวกับการเมืองมั้ยเนี้ย) น่าชื่นชมทุกคนเลยครับ ต่อไปเด็กๆที่โตขึ้นจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง และจำเอาไปใช้ได้อย่างเหมาะสม

ไม่เหมือนสมัยก่อนที่มีการใส่ความรู้ที่ผิดๆ หรือบิดเบือนอะไรบางอย่าง เพราะเหตุผลบางประการ ตัวอย่างเล็กๆน้อยๆ เช่น แถวบ้านผมผู้ใหญ่มักจะสอนเด็กเสมอๆว่า กินตับกินไตของสัตว์ต่างๆ (หมู ไก่ ) เป็นสิ่งไม่ดี ให้โทษต่อร่างกาย แต่ความจริงผมวิเคราะห์ได้ว่า ผู้ใหญ่หลอกเด็กๆเพราะจะเก็บไว้กินเอง เพราะมันมีน้อยและอร่อย อิอิ เด็กสมัยก่อนก็เลยขาดวิตามินตั้งหลายตัว เพราะเครื่องในสัตว์มีวิตามินตั้งหลายอย่าง อีกอย่างเด็กคงไม่เป็น เก๊าท์ กระมังครับ ข้ออ้างเรื่องเก๊าท์น่าจะตกไป

อืมมม ดู ดู๊ ดู ดูเค้าทำ เค้าทำกับเด็กๆอย่างเราได้ อิอิ ขอบคุณครับพี่ชิวที่ช่วยจุดประกายในสังคมไทย แม้เพียงจุดเล็กๆก็จะยิ่งใหญ่ขยายวงกว้างไปในทุกๆทางครับ

สวัสดีคร้บ เดอ

      พอดีประเด็นนี้มีเรื่องทางเทคนิคเข้ามาเกี่ยวข้องกับ เลยอยู่หมวดวิทยาศาสตร์

      คงต้องมาจับตาดูกันต่อไปครับเรื่องนี้ เพราะมีทั้งธุรกิจ (ระดับหลายสิบล้าน/ปี) เกี่ยวข้อง รวมทั้งความเชื่อที่อาจนำไปสู่ลัทธิใหม่ก็เป็นได้!

ผมอ่านหนังสือดูแล้ว ผมมีความเห็นว่า หนังสือดังกล่าว เป็ฯตัวจุดประกายให้ คนไทยหันมาสนใจการอ่าน มากขึ้น จริงอยู่ อาจจะมีส่วนที่บาง่านมีความเห็นแตกต่างกัน ก็ก่อให้เกิดการถกเถียงทางวิชาการ สร้างความแตกฉานของปัญญาให้เกิดขึ้น

ท่านที่มีความรู้สูงทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะฟิสิกส์ ลองเขียนหนังสือแนวนี้ ให้คนทั่วไปอ่านบ้างก็ดีนะครับ ผมอยากอ่านเหมือนกัน

สวัสดีครับ คุณมงคล

        ปัญหาของหนังสือเล่มนี้ไม่ได้อยู่แค่ฟิสิกส์ (หรือวิทยาศาสตร์) ที่ผิดเพี้ยนอย่างมาก (นับเป็นชั้นที่ 1) เท่านั้นครับ แต่ยังมีเรื่องที่ซ่อนอยู่อีก 2 ชั้น

        ชั้นที่ 2 คือ พุทธธรรมที่ถูกตีความตามอำเภอใจ และอาจเข้าข่ายสัทธรรมปฏิรูป (ลองไปคุยกับผู้รู้ด้านศาสนา-ปรัชญาดูสิครับ)

        ชั้นที่ 3 อันนี้มองยากนิดหนึ่ง คือ ลัทธิความเชื่อบางอย่างที่ถูกซ่อนไว้ และเด่นชัดขึ้นมาเรื่อยๆ ในช่วงท้าย รวมทั้งหนังสือเล่มอื่นที่ตามมาครับ

แล้วเขาเอาไงกันครับ

คิดว่า ถ้าแก้ไขจะเกิดอะไรขึ้นไหม

สวัสดีครับ

        ทราบจากทางผู้บริหารอมรินทร์ว่า ผู้เขียนพยายามแก้ไขอยู่ ทั้งเล่ม "ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น" และ "ฟิสิกส์นิวตัน"

         แต่พูดตรงๆ คือ ผมหวั่นใจครับ....

         ส่วนเล่มตอนนี้ที่ผิดเยอะแยะมากมาย....ก็ขายต่อครับ....ลองไปดูตามร้านหนังสือได้

ผมเพิ่งได้ข่าวมาว่า เมื่อไม่กี่สันนี้ที่ผ่านมานี้

ทพ.สม เพิ่งเปิดตัวหนังสือใหม่อีกเริ่มนะครับ...เข้าใจว่าจนถึงตอนนี้เจ้าตัวยังไม่ค่อยจะรับรู้อะไรกระมัง

เล่มล่าสุดนี้เข้าใจว่าเป็นหนังสือลักษณะ How to นะครับ (จุดนี้ผมไม่แน่ใจเดาเอาจากชื่อหนังสือ กับคำโปรย...ผมจำชื่อหนังสือไม่ได้แล้ว หากค้นเจอจะเอามาแปะไว้ให้ครับ)

ด้วยความเคารพ

สวัสดีครับ

         คิดว่าเห็นแล้วครับ ปกสีชมพูๆ คือ ดูเหมือนจะเป็นแนวจิตวิทยาที่ท่านถนัด

          ถ้าไม่มายุ่งกับฟิสิกส์ก็คงไม่เป็นไรครับ แต่ถ้ามี "พุทธศาสนา" อยู่ด้วยนี่ ก็ต้องระมัดระวังหน่อย ยึดหลักกาลามสูตรเอาไว้ก็ดีครับ เพราะเคยทำเพี้ยนมาเยอะขนาดนี้นี่...น่าห่วงเหมือนกัน

ชื่อหนังสือ ตอบปัญหาวิชาใจ ครับ กำลังจะมีตอบปัญหาวิชาโลกออกมาด้วย

ตามจริงแล้วผมไม่เห็นด้วยกับหนังสือเล่มนี้แต่แรก แต่ไม่รู้ทำไมทางสนพ.ถึงละเลยคุณภาพ เยินยอผู้เขียนมากมายเช่นนี้ เขาจัดกิจกรรม Training มากมาย เหมือนจะเปลี่ยนอาชีพจากหมอฟัน ปิดคลินิคมาเดินสายเป็นวิทยากรอย่างเดียว...

ตอนที่ผมทราบจากวงในว่าจะไม่มีอะไรเกิดขึ้นนอกจากระงับการพิมพ์ ผมก็เซ็งครับ...

ในฐานะคนอ่านหนังสือรู้สึกโดนเอาเปรียบ หนังสือไม่ถูกมาบอกว่าดี สร้างความเข้าใจผิดๆให้กับคนที่ไม่ได้มีความรู้...

น่าเป็นห่วงด้วยคนนะครับ

เหมือนว่าทางสนพ.ก็พยายามนิ่งๆปล่อยให้เรื่องเงียบไปเอง

เศร้าใจครับ

สวัสดีครับ

         ได้เห็นแล้วครับ คิดว่าถ้าอยู่ในสาขาที่ผู้เขียนถนัดก็แล้วไปครับ แต่ไม่รู้ว่าจะใส่ความคิด + จินตนาการเข้าไปมากมาย (แบบคิดเอง เออเอง) เหมือนเล่มอื่นๆ หรือเปล่าเท่านั้น ท่าทางจะขายดีเช่นเคยครับ -> สะท้อนสุขภาวะในการอ่านของคนไทยกลุ่มหนึ่งได้ดีทีเดียว

         เรื่องคุณภาพนี่ ผมก็ชักจะไม่ค่อยมั่นใจแล้วล่ะครับ แต่ทางฝั่ง National Geographic นี่ยังดีอยู่นะครับ ล่าสุดตอนนี้ผมยังไปช่วย edit หนังสือบางเล่มอยู่เลย (ส่วนอื่นไม่รู้ว่าเข้มข้นกับความถูกต้องทางวิชาการแค่ไหน...แต่หวังว่าจะไม่เหมือนกับหนังสือชุดขายดีของผู้เขียนท่านนี้...)

       

ขอลอกมาไว้ที่ Entry นี้ดีกว่าครับ

----------------------------

สวัสดีครับ

พอดีเมื่อวันก่อนมีมี ผู้ใหญ่นำหนังสือ ไอน์สไตน์พบฯ มาให้ผม โดยความเห็นของผมแล้วไม่ยินดีกับความพยายามเชื่อมโยงระหว่างวิทยาศาสตร์กับ พุทธศาสนา ด้วยเห็นว่ามีความเหลื่อมกันอยู่จนไม่น่านำมาเทียบกัน เลยไม่คิดว่าจะหามาอ่าน แต่เนื่องจากว่าผู้ใหญ่ท่านนั้นเห็นว่าผมทำงานด้านเทคโนโลยีและสนใจพุทธ ศาสนา ก็คงเห็นว่าผมคงจะสนใจ ผมเลยฉลองศรัทธา

เมื่อได้อ่านเนื้อหา แล้วพบความคลาดเคลื่อนทั้งด้านความเข้าใจวิทยาศาสตร์ทั้งด้านของพุทธศาสนา ก็รู้สึกไม่สบายใจเพราะผู้เขียนก็เขียนด้วยเจตนาดี ตั้งใจดี ประกอบกับหนังสือมีคำนิยมที่น่าเชื่อถือ จำนวนพิมพ์น่าจะมากเพราะอย่างน้อยเล่มที่ผมได้มาก็เป็นเล่มที่พิมพ์ครั้งที่ 25 เกรงว่าจะทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนกว้างขวางออกไป จากนั้นในวันเดียวกันก็ทราบจากเพื่อนๆใน Internet ว่าหนังสือเล่มนี้หยุดพิมพ์แล้ว ผมจึงค้นต่อไปถึงคำวิพากษ์วิจารณ์หนังสือเล่มนี้ จึงได้พบแหล่งสำคัญๆรวมทั้งของ อ.บัญชา ที่นี่ด้วย พอดีว่าผมก็เป็นสมาชิกของ G2K ก็เลยคิดว่าจะขอเขียนวิพากษ์วิจารณ์ในแง่ื่ๆอีกเล็กน้อยไว้ที่ G2K ครับ โดยการวิจารณ์นี้นอกจากจะอยู่บนพื้นฐานของการเปรียบเทียบกับข้อเท็จจริงแล้ว ก็ยังอยู่บนพื้นฐานของความเคารพในเจตนาดีของผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ด้วยครับ

สวัสดีครับ อาจารย์อังกุศ

           ได้เข้าไปแสดงความคิดเห็นในบล็อกของอาจารย์แล้วครับ

เรียนคุณบัญชา

จริงๆแล้วสังคมไทยต้องการผู้รู้ซึ่งสามารถออกมาเป็นสื่อแสดงความคิดเห็นอย่างคุณเป็นอย่างมากค่ะ

ดิฉันขอชื่นชมจากใจ อย่างไรก็ดีเมื่อครั้งที่หนังสือเล่มนี้ออกมา...หากมองในแง่มุมหนังสือธรรมะ

ดิฉันรู้สึกปิติยินดีที่ในที่สุดมีผู้เขียนที่สามารถความเป็นพุทธศาสน์ที่สามารถพิสูจน์ได้ โดยการใช้

ตัวของผู้ปฏิบัติเองเป็นผู้ทดลอง บุคคลจำนวนไม่น้อยระดับผู้นำประเทศ ด๊อกเตอร์ที่ครั้งหนึ่ง

ไม่เชื่อในหลักธรรมะแห่งพุทธศาสนาแต่เมื่อได้ลองเข้ามาค้นปฏิบัติจริงจังจนค้นพบสัจธรรมและเกิด

ปัญญาญาณกับตัวของเขาเอง(สัมมาทิฐิ) พวกเขาเหล่านั้นจึงมิอาจทิ้งวิถีทางการปฏิบัตินี้ได้ ดิฉันจึงเข้าใจ

ว่า ทพ.สม คงมีเจตนาดี แม้ยังไม่มีการแก้ไขต้นฉบับให้ถูกต้อง(ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรกระทำ) ดิฉันว่าเป็นเรื่องดี

ที่จะปลุกกระแสการตื่นตัวในการรับรู้ข่าวสาร เจตนาดีของคุณบัญชาเป็นไปเพื่อ “การติเพื่อก่อ” ดิฉันจึง

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคุณบัญชาจะยังคงทำหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลในเชิงวิชาการให้นักอ่านอย่างพวกเรา

และมิใช่เป็นการโต้แย้งดุเด็ดเผ็ดมันระหว่างวิทยาศาสตร์และพุทธศาสน์เลย มีคุณประโยชน์เชิงการพัฒนาจิต

และแนวทางการปฏิบัติที่น่าสนใจอยู่หลายประการในหนังสือไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น ดิฉันหวังเป็น

อย่างยิ่งว่าหากมีนักวิทยาศาสตร์ที่มีความรู้ความชำนาญและได้ปฏิบัติธรรมตามแนวทางสัมมาทิฐิอย่างแท้จริง

ท่านผู้นั้นคงจะได้นำความเป็นพุทธศาสน์มาอธิบายเชิงวิทย์ได้เป็นอย่างดี และอาจเป็นคุณบัญชานะคะ(ด้วยความเคารพ) ดิฉันรู้สึกเสียใจที่ผู้ post บางท่านใช้วาจาเสียดสีและอาจเป็นการดูหมิ่นศาสนาโดยไม่ได้ตั้งใจ ศาสนาพุทธที่แท้มิเคยสอน ให้คนเชื่อหรือลุ่มหลงนะคะ แต่สอนให้ปฏิบัติด้วยตนเองก่อนว่าเป็นเช่นนั้นหรือไม่ วิถีทางแห่งความหลุดพ้นคือการเรียนรู้เพื่อละ....เพื่อให้เกิดตาปัญญาขึ้นภายใน เป็นการเรียนรู้เข้าไปภายในตัวเองทั้งสิ้น

จตุคามรามเทพฯจึงมิใช่วิถีแห่งศาสนาพุทธ ประเด็นเดียวตรงนี้คือหากผู้ที่ไม่เคยศึกษาการปฏิบัติธรรมหรือหลักธรรมมาก่อนเขาผู้นั้นก็มิควรกล่าวอ้างใดๆ ที่อาจเป็นการลบหลู่หรือเป็นผลลบแก่ผู้พูดเอง อันนี้ด้วยความปรารถนาดีจากใจจริงค่ะ และหากจะมีการโต้แย้งในลักษณะข้อมูลที่เนื่องกันระหว่างพุทธศาสน์และวิทยาศาสตร์คงต้องเปิดใจกว้างและหาบุคคลที่ศึกษาศาสตร์ทั้งสองอย่างจริงจังมาให้คำแนะนำ

*ดิฉันก็อาจเหมือนคุณบัญชาคือไม่อยากให้ใครเข้าใจพุทธศาสนาผิดเหมือนที่คุณบัญชาเป็นกระบอกเสียงในเรื่องที่ข้อมูลในหนังสืออาจเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนทางวิทยาศาสตร์ จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคุณบัญชาจะมีโอกาสช่วยแก้ไขและผลักดันให้หนังสือดีๆออกสู่สายตาชาวโลกด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง ขอบคุณมากค่ะ

ด้วยความเคารพยิ่ง

พอดี

หมายเหตุ หากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาและทดลองปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นและลักษณะกายภาพ การวิจัยธรรมก็เป็นการศึกษาปรากฎการณ์ทางนามธรรมของจิตใจมนุษย์เช่นกัน

สวัสดีครับ คุณพอดี

        ขอบคุณมากครับที่ได้แสดงความคิดเห็นที่สร้างสรรค์ และตรงไปตรงมา

        เรียนให้ทราบตามตรงครับว่า ผมคิดว่าผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ คือ ทพ.สม นั้นมีเจตนาดี และมีความสามารถในการสื่อสาร

        อย่างไรก็ดี ปัญหาหลักก็คือ

            1) ผู้เขียนมีจินตนาการสูงเกินพอดี ทำให้เกิดอาการ "จับแพะชนแกะ"

             ผลก็คือ แทนที่ข้อมูลทั้งวิทย์และพุทธจะน่าเชื่อถือ กลับกลายไปเป็นไม่น่าเชื่อถือ เพราะแม้แต่ข้อมูลพื้นฐานยังผิดเป็นจำนวนมาก อย่างไม่น่าเชื่อ (กล่าวคือ ผิดแทบทุกหน้า และหน้าละหลายๆ จุด)

             2) ผู้เขียนดูเสมือนหนึ่งยกย่องวิทยาศาสตร์ในตอนต้น แต่เขียนไปเขียนมา กลับเหยียบย่ำวิทยาศาสตร์อย่างไม่มีเหตุผลที่ดี

               เพื่ออะไร? ก็เพื่อยกเอาความเชื่อของตนให้สูงกว่า อ่านดีๆ นะครับ "ความเชื่อของตน"

             3) ผู้เขียนดูประหนึ่งยกย่องพุทธศาสนา แต่เอาเข้าจริงแล้ว ได้ใช้พุทธศาสนาเป็นเครื่องมือครับ เพราะมีการตีความใหม่ที่ฟังเผินๆ เหมือนจะไม่มีอะไร แต่คิดดูดีๆ นี่อาจจะเข้าข่าย สัทธรรมปฏิรูป

                ลองไปดูตัวอย่างเช่น

                - แสงสว่างเสมอปัญญาไม่มี ก็ได้ ซึ่งผู้เขียนตีความว่า พระพุทธองค์ค้นพบความลับของแสงในทางกายภาพ!

                - เรื่องเวทนาย้อนกลับได้

                - เรื่องรอบพระพุทธบาท กับ graviton (อันนี้หลุดโลกไปเลย...ไว้จะหาโอกาสขยายความอีกที หากสนใจนะครับ)

         สำหรับบางท่านที่ใช้วาจาที่อาจจะไม่รื่นหูนั้น ผมคิดว่าท่านไม่ได้ต่อว่าพุทธศานาหรอกครับ แต่ท่นต่อว่า ผู้ที่นำพุทธศาสนาไปบิดเบือนเพื่อประโยชน์แห่งตน โดยจับจริตของคนไทยส่วนหนึ่ง (ที่มีจำนวนมาก) ซึ่งชอบอะไรก็ตามที่ออกแนวปาฏิหาริย์ & ส่งเสริมกิเลส (ที่มาภายใต้หน้ากากของธรรมะ)

         ผมมีความศรัทธาในพระพุทธองค์ โดยในกรณีนี้คงต้องยึดถือหลักกาลามสูตรเอาไว้ หากใครบิดเบือนสัจจะ ก็จำเป็นต้องชี้แจง และแจ้งให้ผู้อื่นทราบ เพื่อให้ไปพิจารณากันเองครับ

ขอบคุณมากครับ

บัญชา

มุ้งมิ้งค์ นักฟิสิกส์หนุ่ม

หวัดดีครับพี่ชิว (ผมเคยไปดักเจอพี่ตอนไปบรรยายที่ ม ศิลปากร ทับแก้ว) ผมเป็นคนนึงที่เรียนฟิสิกส์ตั้งเเต่ ตรี โท เอก แต่ส่วนใหญ่ก็เน้นไปด้าน experimental ทางด้าน Glass Materials ครับ แต่ก็ยังถือว่าขาดความมั่นใจในบางสาขา เช่นสาขาที่มันไม่มีในคอร์สเวิร์คปกติ  เช่น General Relativity เพราะเคยเรียนเเต่ Special relativity มา หรือเเม้กระทั้งพวก เคออส ทฤษฎีสตริง ก็ตาม ทำให้ไม่กล้าที่จะวิจารณ์ตัวเนื้อหาหนังสือมาก เพราะเราเป็นนักวิชาการ ต้องระวังเรื่องความเห็นให้มาก ไม่เช่นนั้นลูกศิษย์ลูกหามันจำไปใช้จะบาปเปล่าๆ (ถึงเป็นเเค่วจีกรรมที่เกิดด้วยความโง่ก็เถอะ)  สำหรับตัวผมมีสติปัญญาอันน้อยนิดแต่ก็ฝากความเห็นบางเรื่องไวให้นะครับ

(ผมมีหนังสือหมอแกครบทุกเล่มเลย 555 เเต่มีหนังสือพี่ไม่ครบทุกล่ม เพราะบางเล่มหาซื้อไม่ได้เเล้ว)

1. ผมเชื่อว่าคุณหมอ เจตนาดีจริง และตรงนี้ถือว่าเป็นกรรมดีอย่างที่เเกบอกในหนังสือของแก ขออนุโมทนาด้วย เเต่ฟิสิกส์ที่เเกผิดหลายๆที่ผม คงไม่ต้องบอกว่าที่ไหน นักฟิสิกส์ทุกท่านอย่างผมและเพื่อนๆ ปรายตาปร๊าดเดียวเห็นทันทีมองว่าผิด อันนี้ก็เป็นกรรมเหมือนกันเพราะเกิดจากความประมาท ไม่ใช่ความไม่รู้ อันนี้มาจากหนังสือทวารหก ของแกเลยนะครับ

อย่างไรก็ตาม ผมว่าคนส่วนใหญ่ของประเทศเรา ไม่ค่อยมีความถ่องเเท้ทั้งฟิสิกส์และพุทธศาสนา ทำให้สนุกกับจินตนาการของคุณหมอมาก (อันนี้ขอยอมรับผมด้วยในบางโอกาส) ทำให้มองข้ามข้อเท็จจริงไป

2. ข้อดีของหนังสือคือได้เรียนรู้ศาสนา หลักคำสอน ซึ่งผมเองก็ไม่รู้หรอกว่ามันถูกหรือไม่ เเต่พระไตรปิฏกยากเกินไปสำหรับผม(และเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ไม่ได้อ่านพระไตรปิฎก) แต่ผมถือว่าคุณหมอเขียนเเล้วอ่านง่ายกว่าหนังสือทำนองนี้ในตลาดเยอะ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือของ คาปร้า หรือ คุณหมอประสาน แต่ก็ ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้น จุดประกายที่ดีมาก เพื่อที่จะ เกรงกลัวต่อบาป และเเสวงหาความจริง ทางพุทธศาสนา มาเพิ่มเติมความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพิสูจน์ตามหลักกาลามสูตร แต่อย่างว่า หมอควรจะไปแก้ฟิสิกส์ให้ถูกซะก่อน ที่ตัวเองจะบาปมากกว่านี้นะครับ

3. การตีความเปรียบเทียบ สำหรับผมสิ่งเหล่านี้ ถือเป็นความเห็น ไม่ใฃ่ข้อเท็จจริง วัฒนธรรมการอ่านของคนบ้านเราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเเยกข้อเขียนเหล่านี้ให้ออก เปรียบเสมือน paper จาก journal ต่างประเทศ งานเขียนด้านการเปรียบเทียบของคุณหมอมันเป็นส่วน discussion มากกว่า (เพียงแต่ งานท่าน repeat ซ้ำเพื่อตรวจสอบยากเหลือเกินว่าจริงหรือไม่ เราจึงทำได้เเค่ตรวจสอบทฤษฎีทางฟิสิกส์ของท่านซึ่งง่ายกว่าส่วน discussion ซึ่งท่านคงได้มาจากการทดลอง-ในที่นี้คือนั่งวิปัสสนากรรมฐานครับ

แต่ท่านก็ต้องยอมรับว่ามีคนในวงการนี้จำนวนมากกำลังตรวจสอบท่านอยู่ และอาจจะตีพิมพ์เเนวคิดที่ขัดเเย้งกับท่านได้ ขอให้นักอ่านทุกคนใจกว้างกับส่วน discussion นี้นะครับ ผิดก็ถือว่าเราได้เรียนรู้ ให้วงการนักวิชาการ ผู้รู้ ช่วยกันแก้ไข เพื่อสร้างสรรค์ต่อไป (อย่างที่พวกเรากำลังทำอยู่ครับ) ซักพักมันจะเข้าที่เข้าทาง วอนผู้วิจารณ์อย่าไปใช้คำพูดดูเเคลนแก ผมว่าเสียเจตนาดีเเกหมด บอกแกไปตรงๆว่าแกผิดตรงไหน ผมว่าแกไม่โกรธ เพราะหนังสือแกเขียนไว้เองว่าความโกรธเกิดจากความกลัวนะครับ วิงวอนคุณหมออย่ากลัวที่จะแก้ข้อบกพร่องของตัวเอง อย่ากลัวที่จะเสียหน้า จับมือกันดีกว่า ผมเองเป็นนักฟิสิกส์ เรียนฟิสิกส์มาตั้งสามปริญญา ยังผิดฟิสิกส์อยู่เป็นประจำ ไม่ว่าตั้งใจหรือไม่ตั้งใจตาม เนหือฟ้ายังมีฟ้า ไม่มีอะไรที่เรารู้ไปหมดครับ

4. อันนีไม่เกี่ยวเเต่อยากจะเล่าให้ฟังครับ เพื่อนผมคนนึง สมัยเรียนเคยอยู่หอด้วยกัน เรียนฟิสิกส์ ตรี โท เอก เหมือนกัน เค้านั่งกรรมฐานเป็นประจำทุกวัน เข้าวัดประตำ จิตใจดีมาก นิสัยก็ดี ที่สำคัญเรียนเก่งสุดๆ นิสัยก็เข้ากับสังคมได้ ไปคาราโอเกะกับพวกคนบาปอย่างผมก็ได้ ชวนไปกินบียร์ก็ไป (แต่เค้าไม่กินนะ ไปนังด้วย) เรียนแทบจะ 4.00 ทุกปริญญา เรียกได้ว่าเกิดมาผม ไม่เคยเจอใครเก่งอย่างนี้มาก่อน หนังสือไม่เคยอ่าน เพราะผมอยู่หอด้วย รู้ดี น้อยครั้งมากที่จะเห็นมันหยิบหนังสือมาอ่าน

ที่พูดมาทั้งหมดนี่เพราะผมอยากจะบอกว่า มันน่าจะเกี่ยวกับกรรมฐาน วิปัสสนาครับ และการมีสติรู้ตลอดเวลาครับ  ทำให้เรียนรู้เร็ว ความจำดี วิเคราะห์เก่ง ผูกโยงปัญหาเป็นภาพได้ง่าย (ซึ่งสำคัญมาก สำหรับผู้เรียนฟิสิกส์คงรู้ดี ว่าการคิดเป็นภาพสำคัญอย่างไร) ผมจึงขอยกเจตนาดีชองหนังสือเล่มนี้ที่อยากให้พวกเราเน้นกรรมฐานให้เกิดสมาธิ ตัดกิเลส ออกจากจิตใจ เป็นที่ตั้งไว้ก่อน แต่ส่วนเนื้อหาที่ผิดต้องแก้นะ ไม่งั้นวงการฟิสิกส์เละเป็นโจ๊ก เพราะเด็กอ่านเยอะครับ

สุดท้ายนี้ ผมเห็นที่ท้ายหนังสือ ตอบปัญหาวิชา ... ..สามเล่มล่าสุดของคุณหมอ ซึ่งผมอ่านจบเเล้วเช่นเคย มีเปิดสอนกวดวิชาฟิสิกนิวตัน เเละหลายๆเรื่อง (แต่ไม่ยักกะมีฟิสิกส์แผนใหม่ของ ม 6 แฮะ)

ขอร้องคุณหมอ อย่าเปิดเลยครับ ดูจากวิธีคิดทางฟิสิกส์ของคุณหมอเเล้ว เป็นบาปแก่ตัวคุณหมออย่างเเรง ที่จะถ่านทอดวิธีคิด concept ผิดๆ ทางฟิสิกส์แก่เยาวชน ผมรู้ว่าการคิดด้วยภาพทางฟิสิกส์มันดีต่อการเรียนรู้แน่นอน เเต่จากหนังสือของคุณหมอ หลายๆภาพรวมไปถึงหลักการ เเละภาษา มันผิดมหันต์

คุณหมอควรจะเปิดอบรมเรื่อง

- การนั่งกรรมฐานขั้นต้น

- เทคนิคการทำสมาธิให้เรียนเก่ง

- การใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขตามหลักพุทธเเละหลักจิตวิทยา...

ส่วนคอร์สฟิสิกส์ ให้ผมไปสอนให้ฟรีเลยก็ได้ครับ แต่คุณหมอต้องสอนกรรมฐานผมคืนด้วยนะ ผมจะไปเรียนคนเเรกเลย (พูดจริงนะครับเนี่ย)

ชอบคุณมากครับ ว่างๆจะเข้ามาเสนอความเห็นใหม่ ชอบมาก blog นี้

จักรพงษ์ แก้วขาว

หน่วยวิจัยแก้วเเละวัสดุศาสตร์

โปรแกรมวิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

Email / MSN : [email protected]

สวัสดีครับ มุ้งมิ้งค์

        ขอบคุณมากเลยครับสำหรับความคิดเห็นที่ตรงไปตรงมา และสร้างสรรค์อย่างยิ่ง

        พูดตามตรงเลยนะครับ พี่มีข้อสงสัยว่า หากการปฏิธรรมตามแนวนักเขียนท่านนี้ดีจริง เหตุไฉนวิธีคิดของเขาจึงได้บิดเบือนแม้แต่ตรรกศาสตร์เบื้องต้นเช่นนี้

        ยังไม่ได้พูดถึงฟิสิกส์เลยนะครับ เอาแค่วิธีคิดแบบพื้นฐาน!

        ลองไปอ่านดีๆ นะครับ เป็นไปได้อย่างยิ่งว่า ผู้เขียนพยายามใช้วิทยาศาสตร์เป็นแค่เครื่องมือปูทางไปสู่ลัทธิความเชื่อของตนเอง โดยเอาพุทธศาสนามารองรับ คนจะได้ไม่กล้าเถียง

        ผู้เขียนไม่ได้ฟังอะไรจริงๆ หรอกครับ พี่เคยคุยกับเขาแล้ว อย่างกรณี quote ของไอน์สไตน์เกี่ยวกับพุทธศาสนา ซึ่งพี่บอกเขาไปว่า quote นี้หาที่มายังไม่ได้ เขาก็ว่าเพิ่งรู้

        แต่พอไปออกรายการ TV ก็พูดเป็นตุเป็นตะ ตอกย้ำความเชื่อที่ไม่ได้รับการยืนยัน ทำให้คนไทยฉลาดเท่าเดิม หรือน้อยลงไปอีก

        ที่ว่ามาดูเหมือนมีอคติ แต่บอกมิ้งค์ไว้ได้เลยว่า มีคนที่เกิดอาการทางจิตในแง่ลบ โดยมีส่วนเกี่ยวข้องกับหนังสือชุดนี้แล้ว

        เรื่องที่ผู้เขียนไม่เขียนฟิสิกส์ ม.6 ก็อย่าได้แปลกใจไปเลยครับ ขนาดฟิสิกส์ ม.4 ยังเละเทะ แบบไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้ถึงขนาดนั้น....ถ้ายังกล้าเขียนฟิสิกส์ ม.6 ออกมา ก็เป็นการแสดงความ.....(เติมเอง).....ของตนออกมา

        คนที่กำลัง "หลง" หรืออยู่ใน "โมหะ" นี่เขาไม่สนหรอกครับ ยิ่งหนังสือขายดีมาก เพราะสังคมไทยไม่สนใจวิชาการ ไม่สนใจความถูกต้อง กลัวทักแล้วเสียหน้า ฯลฯ เขาก็ยิ่งไปกันใหญ่ ส่วนรอบๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้เงินก็พอ เรื่องอื่น ไว้ไปแก้ไขเอาดาบหน้า

        โดยสรุปพี่ไม่เชื่อว่าคนๆ นี้ฝึกจิตใจมาดีครับ มิฉะนั้นจะปล่อยให้ข้อมูลอันเป็นเท็จยังขายอยู่ได้อย่างไร

มุ้งมิ้งค์ นักฟิสิกส์หนุ่ม

ขอบคุณที่ให้ความเห็นครับพี่

ส่วนไอ้ตัวกระผมเองไม่กล้าที่จะไปวิพากวิจารย์งานของคุณหมอเค้าเกี่ยวกับศาสนาเลย อันเนื่องมาจากความรู้ด้านศาสนาเเบบงูงู ปลาปลาของผม

ทำให้ผมมองไปที่เจตนาของแกที่อยากจะให้คนนั่งกรรมฐาน ฝึกจิตใจให้เข้มเเข็ง ต่อสู้กับสิ่งยั่วยุ หรือการมีสมาธิก็ยังดี (พยายามมองในเเง่ดีแก่เพื่อนมนุษย์ไว้ก่อน)

ส่วนเรื่องที่จะพบความลับจักรวาล แบบ ไอสไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น ในเเง่ต่างๆที่แกบอกในหนังสือนั้น ไม่น่าจะเป็นสาระแก่คนส่วนใหญ่เท่าใดนัก นอกเสียจากเพิ่มอรรถรสความสนุกในจินตนาการเเละความบันเทิงโดยการผูกเรื่องทางฟิสิกส์ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ เข้ากับ ศาสนา (ซึ่งก็คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจเช่นกัน-รวมทั้งผมด้วย) เลยไปกันใหญ่

สิ่งที่กล่าวมาทำให้คนทั่วไปชอบอ่านซีรี่ของคุณหมอแกนี้น่าดู ยกตัวอย่าง่ายๆ เช่น ญาติผู้ใหญ่ผมหลายท่าน ซึ่งมีความรู้สูง เป็นครูอาจารย์ที่เกษียณเเล้วบ้าง ผู้ที่ออกจากงานประจำมาพักผ่อนในช่วงสูงวัยบ้าง มาเเนะนำให้ผมอ่าน เพราะเห็นลูกหลานเรียนฟิสิกส์มา พอผมอ่านปั๊บนี่ โอวว คุณหมอชอบมั่วนิ่มหลายเรื่อง เเต่เราก็ยัง เอาวะ มองจุดดีของแกหน่อย (ตามประสาผม เวลาอ่านหนังสือครับ) ก็เลยสรุปจุดดีมาเป็นเจตนาของแกในการนั่งกรรมฐาน เพื่อฝึกตนน่ะครับ เเต่ไม่อยากให้ไป "พบ" หรือ "เห็น" แบบที่เเกเห็นหรอกนะ เเค่มองว่าจิตใจดี มีสมาธิ ก็น่าจะมีประโยชน์แก่ตัวเราเเละสังคมก็ยังพอรับได้

แต่หากปรากฏการณ์เดียวกันนี้ไปเกิดที่บ้านอื่น ที่มีเด็กๆ หรือผู้ที่ไม่มีวิจาณญาณในการอ่านดีพอ ซึ่งอันตรายนะครับ เพราะผู้ที่ถูกเเนะนำนั้นจะเชื่ออย่างเเรง ด้วยสไตล์การเขียนอย่างฟันธง บวกกับ สิ่งที่เราไม่ค่อยรู้เเละไม่ค่อยกล้าเถียงสองศาสตร์มารวมกัน

แต่อย่างว่าครับ สำนักพิมพ์ หรือ ตัวเเก เองไม่รู้ใครกันเเน่มีอำนาจที่จะหยุดการขายไว้ซักครู่ (แต่ค่าตอบแทนคงสูงน่าดูนะครับ ยอดขายขนาดนี้) เพื่อที่จะเเก้ให้ถูกต้องอย่างก่อน น่าจะเป็นทางออกที่ดีสำหรับตัวเเกเองด้วย ผมว่าคนจะยกย่องแกเยอะเลย

หากปล่อยไปเรื่อยๆ มันก็เหมือนกับว่าเเกไม่ได้ทำตามหนังสือที่แกเขียนสอนคนอื่นน่ะครับ

สร้างกรรมเพิ่มน๊ะ อิอิ

ปล. ผมมีหนังสือที่ชอบอยู่สองเล่ม คือ

1. "เหนือมิติที่สี่ของไอน์สไตน์ [Beyond Einstein]"

โดย มิชิโอะ คากุ - แต่ง, สว่าง พงศ์ศิริพัฒน์ ของสำนักพิมพ์คบไฟ

และ

2. มิชิโอะ คากุ - แต่ง, สว่าง พงศ์ศิริพัฒน์ - แปล. จักรวาลของไอน์สไตน์: วิสัยทัศน์ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์เปลี่ยนแปลงความเข้าใจเรื่องสเปซและเวลาอย่างไร. สำนักพิมพ์คบไฟ .

ผมว่าสองเล่มนี้อ่านเข้าใจง่ายกว่าของมติชน

และของอาจารย์ชัยวัฒน์เยอะเลย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งของคุณรอฮีม ปรามาส ผมอ่านไม่ค่อยรู้เรื่อง

พี่มีความเห็นเกี่ยวกับสองเล่มนี้อย่างไรครับ

สวัสดีครับ มุ้งมิ้งค์ นักฟิสิกส์หนุ่ม

      ช่วงนี้พี่ 'งานเข้า' ครับ เลยตอบยาวๆ ไม่ได้

      ขอตอบสั้นๆ ก่อนว่ายังไม่ได้อ่านหนังสือ 2 เล่มที่ว่ามาเลย แต่มีตัวต้นฉบับอยู่เล่มหนึ่งครับ

      วันอังคารที่ 7 ตุลาคม จะมีสัมมนาเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่ สวทช. เป็นการจัดภายในครับ ถ้าสนใจ เขียนมาถามพี่ได้ที่ [email protected] นะครับ

อมรินหการดาผาวือต้นไหมจะหำให้ไหมครับ

แหะ..แหะ...อ่านไม่ออกครับ

แต่เดาว่า อมรินทร์คงไม่ออกมาป่าวประกาศเรื่องนี้ครับ ส่วนการเก็บคือนั้น ความหวัง -> 0

^__^

สวัสดีค่ะอาจารย์

มีข้อคำถามเกี่ยวกับคำที่ใช้โดยอ้างอิงถึงทฤษฎีสัมพัทธภาพค่ะ

ข้อความในหนังสือเล่มหนึ่งเมื่ออ่านแล้วเกิดความไม่แน่ใจว่าควรต้องใช้คำว่า สัมพันธ์ หรือ สัมพัทธ์ค่ะ ตัวอย่างข้อความ (ก่อนหน้านี้ในหนังสือได้อ้างถึงทฤษฏีสัมพัทธภาพ)

เมื่อเอาลิ้นแตะไปที่น้ำตาลเรารู้สึกหวาน ความหวานเป็นเพียงปรากฏการณ์ที่เกิดจากค่า"สัมพัทธ์"ของช่วงเวลาหนึ่ง แต่สัจจะไม่ได้อยู่ที่ปรากฏการณ์ ชีวิตกายและจิตนี้เป็นปรากฏการณ์ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เราเข้าไป"สัมพัทธ์"กับมันนั้น เราสัมพัทธ์ด้วยอายตนะที่เป็นเช่นนั้น เราหาได้"สัมพัทธ์"กับสัจจะของมันไม่

สมมติว่าท่านทั้งหลายไปนั่งฟังเสียงของน้ำตกในป่าหรือที่ไหนก็ตาม ก่อนหน้าที่เสียงจะเกิดหรือก่อนหน้าที่เสียงจะเดินทางเข้าถึงหู เสียงนั้นไม่ใช่เสียง เป็นเพียงคลื่นชนิดหนึ่ง และก่อนที่หูจะปะทะกับเสียง หูนั้นไม่ได้ทำหน้าที่ของหู ครั้นเมื่อกระทบกับหู จึงเกิดค่า"สัมพัทธ์"ระหว่างหูกับเสียง เรียกว่า โสตวิญญาณ

อย่างกรณีที่ท่านทั้งหลายเอาไม้อันหนึ่งตีระฆัง เราจะพบความจริงว่าเสียงนั้นไม่ใช่เสียงระฆัง แต่เป็นเสียงค่า"สัมพัทธ์"ระหว่างไม้ตีกับระฆังต่างหาก

ขอความกรุณาอาจารย์ช่วยให้ความกระจ่างด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ คุณนฤชา โศภิษฐกลม

        ผมคิดว่าประโยคต่อไปนี้

        สิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เราเข้าไป"สัมพัทธ์"กับมันนั้น เราสัมพัทธ์ด้วยอายตนะที่เป็นเช่นนั้น เราหาได้"สัมพัทธ์"กับสัจจะของมันไม่

        ควรจะใช้คำว่า "มีปฏิสัมพันธ์" แทนคำว่า "สัมพัทธ์" ครับ

        จะเห็นว่าผู้เขียนพยายามจะลากคำว่า "สัมพัทธ์" เข้ากับเรื่องที่ต้องการอธิบาย โดยตีความคำว่า "สัมพัทธ์" เสียใหม่

        วิธีการนี้ปรากฏอยู่ทั่วไปในหนังสือเล่มนี้ครับ กล่าวคือ ผู้เขียน "ไม่แม่น" กับนิยามของคำที่ใช้ในวงการวิทยาศาสตร์ หรือไม่ก็เสนอความหมายของคำขึ้นมาใหม่ (อย่างหลังนี่ อาจจะยอมได้ หากระบุชัดเจนว่า กำลังเสนอความหมายใหม่นะ)

        คำว่า "สัมพัทธ์" (relative) และ "สัมพัทธภาพ" (relativity) ในทางฟิสิกส์มีความหมายเฉพาะครับ คือ กล่าวถึง การที่ผู้สังเกตสองคน ซึ่งอยู่ในเงื่อนไขทางกายภาพที่แตกต่างกัน (เช่น คนหนึ่งอยู่นิ่ง ส่วนอีกคนเคลื่อนที่ เมื่อเทียบกับอะไรสักอย่าง เช่น ถนน หรือ คนหนึ่งอยู่ในบริเวณที่มีสนามความโน้มถ่วงอ่อนๆ ส่วนอีกคนอยู่ในบริเวณที่มีสนามความโน้มถ่วงสูงๆ) แล้วสองคนนี้วัดค่าของปริมาณทางฟิสิกส์ได้แตกต่างกันครับ

        ถ้ามีประเด็นอะไรที่ต้องการให้ตอบละเอียดกว่านี้ ก็ส่ง e-mail มาได้ที่ buncht (at) mtec.or.th นะครับ [หมายเหตุ: ตัว (at) คือ @ โดยที่ต้องเขียนในรูปแบบนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้ robot มาอ่านเจอ แล้วส่ง spam mail มาครับ]

 

2-B) “พระพุทธองค์ตรัสว่า “อัตตา (ตัวตน) ของคนเรานั้นไม่เคยมีอยู่จริง สรรพสิ่งในโลกเป็นเพียงสิ่งสัมพัทธ์ (อิทัปปัจยตา)” ไอน์สไตน์ยืนยันซ้ำพร้อมสูตรทางวิทยาศาสตร์ว่า “ยิ่งเรียนรู้ความลับของธรรมชาติ ยิ่งทำให้มนุษย์เราต้องถ่อมตนและสันโดษ สรรพสิ่งสัมพัทธ์กันไปหมด”....” (หน้า 162) :

ข้อชี้แจงเบื้องต้น :

ประเด็นนี้น่าสนใจทีเดียว เพราะชื่อทฤษฎีสัมพัทธภาพ (theory of relativity) นั้นชวนให้เข้าใจผิดพลาดไปได้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นสัมพัทธ์ (คือแล้วแต่ว่าสังเกตเทียบกับใครหรืออะไร) แต่จริงๆ แล้วนั้น ในทฤษฎีนี้ มีแนวคิดหรือปริมาณที่ตรงกันข้ามกับสภาพสัมพัทธ์อยู่ด้วย นั่นคือ ความไม่แปรเปลี่ยน (invariance)

ที่น่าสนใจก็คือ สมมติฐาน 2 ข้อที่ใช้ในการพัฒนาทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ (special relativity) ก็คือ ความไม่แปรเปลี่ยนนี้ ผู้ที่สนใจโปรดดูแหล่งข้อมูลอ้างอิง [แฟนพันธุ์แท้ไอน์สไตน์]

หรือว่าตัวเรามีอยู่จิงคับ ตายไปเอาไรไปได้คับ

จะแย้งเรื่องอื่นไม่รู้เรื่องหรอกคับ อ่านไม่ออก แต่แย้งเรื่องนี้ เหมือนเอาสีข้างเขาถูคับ

สวัสดีครับ

       1. อ่านไม่ออก แสดงว่าความรู้พื้นฐานยังไม่ดีพอครับ เพราะผมเจอคนที่อ่านเข้าใจมากมาย เพราะพื้นฐานดี + ทัศนคติถูกต้องครับ

       2. การที่ทักว่า "แย้งเรื่องนี้เหมือนเอาสีข้างเข้าถู" แสดงว่า ผู้ทักไม่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้โดยตลอดครับ เพราะผู้เขียนพยายามบิดความหมายของคำว่า สัมพัทธ์ ให้เป็นไปตามที่ต้องการตลอดเวลา

       ผมจะทิ้งประเด็นที่ทักมาไว้สักพักนะครับ เพราะน่าจะมีคนได้ประโยชน์อยู่บ้างครับ

ปล. ความรู้น้อย ก็อย่าเสียดสีคนอื่นครับ คนดีๆ ที่อยากทำในสิ่งที่ถูกต้องเขารำคาญนิดๆ แต่ไม่ถึงกับเสียกำลังใจนะครับ (ยังดี)

ขอบคุณค่ะ อาจารย์บัญชา คะ

ที่ช่วย อธิบาย ข้อผิดพลาดของ ทพ. สม

ให้กระจ่างขึ้นค่ะ เพราะว่า หนูเองก็ชอบอ่านหนังสือทุกๆเล่มของ ทพ. สม ค่ะ

ถ้า หนังสือของ ทพ. สม มีข้อผิดพลาดเล่มไหนอีก ก็กรุณาเขียนบอกด้วยนะคะ

หนูจะได้เข้าใจในสิ่งที่ถูกค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ คุณ PasSaRa

      ชอบอ่านหนังสือของผู้เขียนท่านนี้เป็นเรื่องธรรมดาครับ เพราะเขาเขียนเอาเองตามความรู้สึก

      แต่ต้องระวังการชี้นำที่ผิดพลาดให้มาก เพราะปรากฏอยู่ทั่วไปแทบทุกหน้าครับ!

ขอบพระคุณมากครับที่ท่านอาจารย์บัญชาได้ออกมาทักท้วง หลังจากที่ผมได้อ่าน ไอน์สไตน์พบ ฯ

ความจริงผมได้ติดตามหนังสือของ ทพ.สม มาอ่านหลายเล่ม รู้สึกชอบแนวการเขียน

เช่น เกิดเพราะกรรมหรือความซวย , ทวาร 6 ฯ , เดอะท็อปซีเคร็ต , เจาะตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แม้กระทั่งฟิสิกส์นิวตัน และล่าสุด หนังสือชื่อตอบปัญหาชีวิต

เนื่องจากชอบอ่านหนังสือแนวธรรม แต่ยิ่งอ่านไปอ่านไป มีความรู้สึกว่า ทพ.สม ท่านยังมีความเข้าใจแก่นพุทธศาสนาคลาดเคลื่อนไป (ในความรู้สึกของผม ) แน่นอนมันไม่อาจอ้างทฤษฎีใด ๆ ขึ้นมาหักล้าง หรือพิสูจน์ เนื่องจากเป็นลักษณะนามธรรม แต่ผมก็มีบางอย่างที่อยากจะให้ตรวจสอบจากหลักฐานที่พออ้างอิงได้อยู่บ้างเช่นจากในพระไตรปิฎกเองหรือจากพระอาจารย์ที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง เช่นท่านพุทธทาส , พระพรหมคุณาภรณ์ (ปอ.ปยุตโต ) เป็นต้น

แต่ก่อนที่จะเข้าถึงหลักธรรมล้วน ๆ นั้นอยากจะย้อนกลับมาในส่วนที่ ว่า

2-B) “พระพุทธองค์ตรัสว่า “อัตตา (ตัวตน) ของคนเรานั้นไม่เคยมีอยู่จริง สรรพสิ่งในโลกเป็นเพียงสิ่งสัมพัทธ์ (อิทัปปัจยตา)” ไอน์สไตน์ยืนยันซ้ำพร้อมสูตรทางวิทยาศาสตร์ว่า “ยิ่งเรียนรู้ความลับของธรรมชาติ ยิ่งทำให้มนุษย์เราต้องถ่อมตนและสันโดษ สรรพสิ่งสัมพัทธ์กันไปหมด”....” (หน้า 162) :

คำว่าสัมพัทธ์ ที่ท่านอาจารย์ช่วยยกมา "สัมพัทธ์" = relative และ "สัมพัทธภาพ" =relativity สองคำนี้มีความหมายแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับคำว่า อิทัปปัจยตา ที่ ทพ.สม นำมาเปรียบเทียบกัน คำว่า อิทัปปัจยตา ท่านพระพรหมคุณาภรณ์ ได้ให้ความหมายภาษาอังกฤษว่า conditionality หมายถึงการที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกัน ๆ จึงเกิดมี หรือคำว่า ปฏิจจสมุปบาท = dependent origination ( อ้างอิง หนังสือพุทธธรรม ฉบับเดิม หน้าที่ 78)

ท่านอาจารย์พุทธทาส ได้เขียนไว้ในหนังสือ ชุด ธรรมโฆษณ์ : อิทัปปัจยตา (หน้าที่ 26) ว่า การที่จะเข้าใจความหมายของอิทัปปัจยตา อย่างลึกซึ้งทั่วถึง ต้องศึกษาความหมายของคำว่า ตถตา : ความเป็นอย่างนั้น อวิตถตา : ความไม่ผิดจากความเป็นอย่างนั้น อนัญถตา : ความไม่เป็นโดยประการอื่น ท่านยังย้ำว่าอิทัปปัจยตาคือหัวใจของพระพุทธศาสนาที่สุดแต่ก็ถูกมองข้ามเสีย

พระพรหมคุณาภรณ์ (ปอ.ปยุตโต ) ได้ให้ความหมายเป็นภาษาอังกฤษว่า ตถตา = objectivity , อวิตถตา = necessity และอีกคำหนึ่งครับที่น่าสนใจ อนัญญถตา = invariability คำนี้น่าจะตรงกับคำว่า ความไม่แปรเปลี่ยน invariance นะครับ

การที่การแปลความหมายของ สิ่งสัมพัทธ์ = อิทัปปัจยตา จึงเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องโดยประการทั้งปวง ดังนั้นการที่ท่าน ทพ.สม ท่านเข้าใจหลักอิทัปปัจยาที่คลาดเคลื่อนไปทำให้การอธิบายหลักธรรมในหนังสือหลายเล่มของท่านผิดเพี้ยนไปจากคำสอน รวมจนไปถึงการอธิบายกฎแห่งกรรม ในหนังสือหลาย ๆ เล่มที่ท่านเขียน

ผมจะยกตัวอย่างความเข้าใจผิดในหลักอิทัปปจยาแล้วนำมาสู่คำอธิบายหลักธรรมที่ผิดพลาด

จากหนังสือ ตอบปัญหาวิชาชีวิต (สิงหาคม 2551 ) หน้า 35 ท่านตอบคำถามว่า

“ ข้อสงสัยที่ว่า ถ้าไปทำร้ายพระอรหันต์จะมีเจ้ากรรมนายเวรหรือไม่ ” ทพ.สม ตอบว่า พระอรหันต์ท่านสกัดผัสสะได้ทันก่อนที่จะเกิดเป็นเวทนา กิเลส ตัณหา อุปาทาน ดังนั้นแน่นอนว่า พระอรหันต์ไม่มีความรู้สึกทางลบจากการถูกระทำ ”

ผมไม่แน่ใจว่าท่านผู้อ่านทั้งหลายเข้าใจนิยามของคำในหลักอิทัปปจยาตามากน้อยเพียงใด แต่ผู้ที่ศึกษาพุทธศาสนามาพอประมาณจะพึงเข้าใจได้ (หรือหากสนใจลองศึกษา พุทธธรรม ที่ผมยากมาเป็นอ้างอิงได้) แต่ก่อนที่ผมจะชี้ข้อผิดพลาดผมของยกพระสูตรจากพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค ใน มหาวรรคที่ ๗

๑. อัสสุตวตาสูตรที่ ๑ หน้าที่ ๑๐๔ - ๑๐๕

ซึ่งกล่าวถึงหลักอทัปปจยาตาปฏิจจสมุปบาทว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับ ย่อมใส่ใจโดยแยบคาย

ด้วยดีถึงปฏิจจสมุปบาทธรรม ในร่างกายและจิตที่ตถาคตกล่าวมานั้นว่า เพราะเหตุ

ดังนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี

สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร

เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป

เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะ

ตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพ

เป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข-

*โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

อนึ่ง เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ

วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

นี้คือกระบวนการเกิดขึ้นของทุกข์ หากมีอวิชชาเป็นปัจจัย เรื่อยไปจนถึงชาติ ..ชรามรณ..เป็นปัจจัย ในขณะเดียวกันกระบวนการดับไปแห่งทุกข์คือ อวิชชาดับ วิญญาณจึงดับ .... เรื่อยไปจน ชาติ ชรา มรณดับ

ทุกข์ย่อมไม่เกิด กระบวนการนี้เรียกว่าสังสารวัฎ

ที่นี้มาถึงความเข้าใจผิดของ ทพ.สม คือว่า พระอรหันต์ท่านมีสติไวมากท่านจึงสกัดผัสสะได้ทัน นี่เป็นความเห็นผิดอย่างชัดเจนในหลักปฏิจจสมุปบาท ตามหลักที่ยกมาแล้ว พระอรหันต์ท่านดับได้ตั้งแต่อวิชชา (อวิชชาสำรอกโดยไม่เหลือ ) เมื่อไม่มีอวิชชา สังขารจึงดับ วิญญาณดับ ..... สฬายตนะดับ เมื่อเหตุปัจจัยดับ จะมีผัสสะที่ไหนมาให้สกัดได้ทันเล่า พระอรหันต์ท่านพ้นจากสังสารวัฎได้แล้ว แต่ ทพ.สม ยังจะดึงท่านเข้ามาในสังสารวัฏ ให้มีผัสสะได้อีก ความเข้าใจผิดเช่นนี้ทำให้การอธิบายหลักธรรมเพื่อให้เข้าถึงนิพพานของ ทพ.สม จึงยกมาเน้นย้ำอยู่เพียงการฝึกสติปัฎฐาน 4 ในหนังสือทุก ๆ เล่มที่ท่านเขียน (แน่นอนหนทางนี้เป็นหนทางเอก) แต่ทั้งที่จริงหนทางสู่นิพพานนั้นคือ อริยมรรคมีองค์ 8 ที่ต้องมีสัมมาทิฏฐิ ต้องมีความเห็นที่ถูกต้องก่อนแล้วการปฏิบัติจึงจะถูกทาง เมื่อเข้าผิดคลาดเคลื่อนเช่นนี้ การอธิบายหลักกรรม การอธิบายเรื่อง บาป บุญ จึงคลาดเคลื่อนไปด้วย

แน่นอนข้อเขียนของท่าน ทพ.สม มีเจตนาชักชวนให้ผู้คนได้มาสนใจหลักธรรม ซึ่งก็นับเป็นอานิสงส์อย่างยิ่ง แต่การเข้าถึงหลักธรรมที่คลาดเคลื่อนก็จากความเป็นจริง ก็อาจหาประโยชน์อันใดไม่ได้กับการเอาไปใช้ประโยชน์ในชีวิต

ผมคิดว่านอกจากจะตรวจสอบความถูกต้องทางด้านฟิสิกส์และยังจำเป็นต้องช่วยกันตรวจสอบหลักพุทธธรรมกันด้วยนะครับและหากจะแก้ไขต้นฉบับผมคิดว่าน่าจะวงเล็บไว้ก็ได้ว่าเป็นความเห็นของผู้เขียน มิฉะนั้นผู้อ่านจะเข้าใจว่าเป็นคำสอนของพระพุทธองค์

และสุดท้ายอย่าไปเสียดายเลยครับที่ไอน์สไตน์ไม่ได้นับถือศาสนาพุทธหรือมาเรียนวิปัสสนากรรมฐาน (ไม่อย่างนั้นเราเหาะเหินเดินอากาศได้แล้ว) สิ่งที่น่าเสียดายกว่า ก็คือว่าพวกเราในฐานะชาวพุทธ แต่กลับไม่ค่อยสนใจศึกษา หรือ สิกขา จนได้ประโยชน์จากพุทธธรรม ต้องรอให้มีฝรั่งมังค่ามายืนยันเสียก่อนเราถึงจะเชื่อ ทั้งที่สัจจธรรมนั้นอยู่กับเรานี่แล้ว ไม่ต้องไปรอให้ใครมายืนยัน อีก และหากไอน์สไตน์ จะนับถือศาสนาพุทธจนบรรลุอรหันต์ได้จิรง ผมเชื่อว่าสมการที่ไอน์สไตน์จะนำเสนอต่อชาวโลก จะต้องเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ว่า

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร

เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป

เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะ

ตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพ

เป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข-

*โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท