ถึงเวลาเปิดตัวแล้ว


กล่องข้อความนี้ตั้งใจจะเอาไว้แลกเปลี่ยนแนวทางที่จะลดความผิดพลาดของการปฏิบัติงานให้น้อยที่สุด

หลังจากที่ได้ไปดูงานที่โตโยต้าแล้ว ได้เห็นหลายๆอย่างที่น่าสนใจ และเปรียบเทียบกับงานLab patho ดังนี้

โรงงานประกอบรถยนต์ toyota     การทำงานระบบแบบสายพาน เมื่อเกิดข้อบกพร่อง ที่จุด ใดจุดหนึ่ง จะทำให้งานทั้งระบบหยุดเดินสายได้       บุคลากรต้องมีทักษะ ความชำนาญในงานที่ทำเป็นอย่างดี การประกันคุณภาพนั้นมี visual control broad,   ผล competency, มีการเป้าหมายและประเมินผลปฏิบัตินงาน ทุกจุดที่ปฏิบัติงาน สอดคล้องกับเป้าหมายหลัก สภาพแวดล้อมสะอาด เป็นระเบียบดี ไม่มีคราบน้ำมัน ตามพื้นโรงงาน มีการกำหนดช่องทางเดินของบุคลากรชัดเจน แต่ร้อนไปหน่อย เสียงดัง

Lab  การตรวจวิเคราะห์ด้วยเครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติ เมื่อเกิดข้อบกพร่องเกี่ยวกับเครื่องตรวจฯจะทำให้การทำงานหยุดลง บุคลากรต้องมีทักษะ ความชำนาญในงานที่ทำเป็นอย่างดี มีการกำหนดเป้าหมายหลักเพื่อประกันคุณภาพ สถานที่น่าทำงานมากกว่า มีความยืดหย่นสูงกว่า แต่ความเป็นระเบียบ ยังเป็นรอง toyota

วันนี้ขอแค่นี้ก่อน หมดเวลาแล้ว ตอนหน้าจะมาเล่าให้ฟังต่อนะ

 
หมายเลขบันทึก: 19276เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2006 12:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

พี่รุ่งริ่ง   ทำอะไรกับ blog  ล่ะเนี่ย

น่าจะลดขนาดของตารางลง    อ่านแล้วงงงงง.

ขออภัยด้วยครับ มือใหม่ ยังใช้ไม่ค่อยจะคล่อง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท