ระบบส่งเสริมการเกษตร ปี 2551 จะเริ่มต้นกันอย่างไรดี


งานวิจัยนี้ก็ไม่ได้มุ่งหวังเพื่อนำผลมาให้ในการสะท้อนระบบส่งเสริมการเกษตรของกรมฯ อย่างเดียว สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นและจะชัดขึ้น คือ การพัฒนางานของอำเภอที่เป็นพื้นที่วิจัยเองการพัฒนาคนในกระบวนงาน ในเรื่องของกระบวนการคิดเชิงระบบ การคิดเชิงรุก และการใช้เครื่องมือในการจัดเวที ลปรร. (Mind Map เทคนิคในการจัดเวที เป็นต้น)

ระบบส่งเสริมการเกษตร ปี 2551 จะเริ่มต้นกันอย่างไรดี

       ที่จั่วหัวเรื่องไว้ตามข้างต้น เป็นเพราะว่าได้รับฟังเสียง  พร้อมทั้งได้สัมผัสจริงในการลงพื้นที่ไปดำเนินงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ในอำเภอที่เป็นพื้นที่เป้าหมาย 6 อำเภอ (เขตละ 1 อำเภอ) เพื่อศึกษาเชิงคุณภาพในการปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตรที่ได้ประกาศใช้และทุกพื้นที่จะต้องดำเนินงานตามระบบนี้ตั้งแต่พฤษภาคม 2551 บางพื้นที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มดำเนินงานตามระบบฯ กันอย่างไรดี ซึ่งอาจจะมาจากเหตุในการทำความเข้าใจร่วมที่ผ่านมาว่า ระบบนี้ไม่ได้มีอะไรที่ใหม่จากเดิมมากนัก แต่เป็นการพัฒนาระบบโดยการถอดบทเรียนจาก Best Practice  หรือสิ่งที่ดำเนินการได้ดี และนำมาพัฒนาเพื่อแก้ไขจุดอ่อนและพัฒนาสิ่งที่ดีอยู่แล้ว จากจุดแข็งที่เรามีให้ดียิ่งขึ้น

          เมื่อได้ศึกษาระบบจากเอกสารที่แจกไป อาจทำให้เข้าใจได้ว่าอันนั้นก็ทำอยู่แล้ว อันนี้ก็ทำอยู่แล้ว ก็จะเกิดคำถามแล้วจะให้ทำอะไรอีก

          ผมอยากแลกเปลี่ยนแบบนี้ครับ ถ้าเราทำความเข้าใจกันดี ๆ ในหน้าที่ 4 ของเอกสารที่แจกจะเขียนไว้

           "ระบบงานส่งเสริมการเกษตรในส่วนของระบบการปฏิบัติงานในพื้นที่

            เป็นระบบที่จัดทำขึ้นให้มีความยืดหยุ่นและอิสระกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริม

            การเกษตรสามารถประยุกต์และปรับใช้ในการปฏิบัติงานภายใต้

            สภาพแวดล้อมในแต่ละพื้นที่ ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีวิธีการขั้นตอนเหมือนกัน

            แต่มุ่งผลสำเร็จของงานตามหลักการของการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result Based

            Management : RBM)"

อันนี้ก็มีความหมายว่า การไปสู่เป้าหมายเดียวกันมันมีหลายวิธีการ แต่สุดท้ายที่ต้องการเห็นคือการบรรลุเป้าหมายเดียวกัน

          ตอนผมลงไปเรียนรู้กับอำเภอที่เป็นพื้นที่ดำเนินงาน PAR เวทีแรกก็ยังจับทิศทางไม่ถูกเหมือนกัน แต่หลังจากที่ได้มีเวทีเรียนรู้ร่วมกันทุกสัปดาห์จนเมื่อวันศุกร์ (4 ก.ค.51) เป็นเวทีครั้งที่ 5 ของ     อ.องครักษ์ จ.นครนายก เราได้แนวทางในการที่จะเริ่มและมองเห็นกระบวนการทั้งหมดร่วมกัน ซึ่งผมขออนุญาตนำมา ลปรร. กัน ถึงขั้นตอนในการดำเนินงาน ดังนี้

 

1. ขั้นแรก เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์การดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรในปัจจุบันตามองค์ประกอบของระบบ เพื่อทำให้เรารู้จักตัวเอง ว่าเราทำอะไรอยู่บ้าง มีวิธีการอย่างไร ผลที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร      มีปัญหาอะไรบ้าง/แก้ไขอย่างไร

2. ขั้นที่สอง นำผลที่ได้ตามขั้นแรก มาเทียบเคียงกับผลผลิตหรือเป้าหมายหรือธงที่ปักไว้ว่าเราจะเดินไปตรงไหนของแต่ละองค์ประกอบของระบบย่อยและเทียบกับสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นตามที่เขียนไว้ในส่วนที่ 3 ของเอกสารระบบฯ เพื่อให้เห็นว่าทั้งในภาพเล็กและภาพใหญ่ที่ต้องการให้เกิดตามระบบใหม่ เราไปถึงแล้วยัง (บริหารแบบ RBM ไงครับ)

3. ขั้นที่สาม เมื่อเราเทียบเคียงกัน ก็จะรู้ว่าในแต่ละเรื่องเราไปถึงธงแล้วยัง ถ้ายังไม่ถึง (ยังมีช่องว่างอยู่) เราก็จะรู้หรือจะได้ประเด็นพัฒนา ในแต่ละเรื่อง

4 ขั้นที่สี่ จากประเด็นพัฒนาจะนำไปสู่การกำหนดวิธีการพัฒนาในแต่ละเรื่องว่าจะทำกันอย่างไร       ยกตัวอย่าง เช่น ของ อ.องครักษ์ ยังมีประเด็นพัฒนาในการประสานกับ อปท. ของบางตำบล ก็นำไปสู่เวทีถอดบทเรียนว่าจากการดำเนินงานที่ผ่านมาตำบลที่เขาสามารถประสานกับ อปท. ได้ดี เขาทำกันอย่างไร มีเคล็ดวิชาอะไร อะไรเป็นปัจจัยหนุน อะไรคือข้อระวัง ถอดบทเรียนร่วมกันก็นำไปสู่ข้อตกลงร่วมว่าเราจะไปทำต่อกันอย่างไร หลังจากนั้นก็จะนำไปสู่ 5 ครับ

5. ขั้นที่ห้า ไปทำจริงครับ (Action)

6. ขั้นที่หก สรุปบทเรียนหลังทำและนำไปสู่กระบวนการพัฒนาไม่มีที่สิ้นสุด (เริ่มกระบวนการพัฒนาตามข้อ 1 ใหม่)

ซึ่งในความเห็นของผม มองว่าไม่ว่าจะเป็นอำเภอที่ทำงาน PAR หรือไม่ใช่งาน PAR ก็คงหนีไม่พ้นวงจร หรือกระบวนการแบบนี้แหละ แต่สำหรับ 6 อำเภอที่เป็นพื้นที่วิจัยจะมีการบันทึกทำงานในแต่ละขั้นตอนที่ละเอียดชัดเจน เพื่อการถอดสรุปบทเรียนและสะท้อนออกมาในเรื่องของงานวิจัย ซึ่งงานวิจัยนี้ก็ไม่ได้มุ่งหวังเพื่อนำผลมาให้ในการสะท้อนระบบส่งเสริมการเกษตรของกรมฯ อย่างเดียว สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นและจะชัดขึ้น คือ

  • การพัฒนางานของอำเภอที่เป็นพื้นที่วิจัยเอง

  • การพัฒนาคนในกระบวนงาน ในเรื่องของกระบวนการคิดเชิงระบบ การคิดเชิงรุก  การใช้เครื่องมือในการจัดเวที ลปรร. (Mind Map เทคนิคในการจัดเวที เป็นต้น)

  • ทั้งหมดที่เขียนมา เป็นการเรียนรู้ร่วมกันของทีมวิจัยส่วนกลางและอำเภอเป้าหมายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ผมเป็นสื่อกลางในการมาเล่าสู่กันฟังเท่านั้น  และถ้าได้เรียนรู้อะไรเพิ่มเติมจะเล่าให้ฟังต่อไป

    สุดท้ายขอบอกเกี่ยวกับงานวิจัยชุดนี้ว่า มีพื้นที่ดำเนินการใน 6 อำเภอ/6 จังหวัด/6 เขต คือ

    ภาคเหนือ                              อ.แม่ทา  จ.ลำพูน

    ภาคใต้                                  อ.วังวิเศษ จ.ตรัง

    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ           อ.เมือง จ.บุรีรัมย์

    ภาคกลาง                               อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา

    ภาคตะวันออก                         อ.องครักษ์ จ.นครนายก

    ภาคตะวันตก                           อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี

    ทีมวิจัยส่วนกลางมีหัวเรือใหญ่นำทีมโดย ผอ.สุทธิพันธ์  พรหมสุภา ผอ.กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร และคุณสุกัญญา อธิปอนันต์  ผอ.กลุ่มพัฒนางานวิจัยด้านส่งเสริมการเกษตร

     

    หมายเลขบันทึก: 192573เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2008 08:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2012 15:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (4)

    ขอแลกเปลี่ยนด้วยคนค่ะ

    1. การพัฒนาระบบส่งเสริมการเกษตร ถ้าไม่รู้จะเริ่มยังงัยก็ลองถามตาเองดูว่า "ตอนนี้เราทำงานส่งเสริมการเกษตรอะไรบ้าง" เพื่อวิเคราะห์/รู้จักตนเอง ตามขั้นที่ 1 นั่นเองค่ะ

    2. ทดลองตั้งประเด็นคำถาม เพื่อทำความรู้จักระบบงานส่งเสริมการเกษตร ฉบับปี 2551

    สวัสดีครับ

    • ที่ สฎ.จะลองลงพื้นที่ อ.กาญจนดิษฐ์ พรุ่งนี้ ครับ
    • ผลเป็นอย่างไร จะนำมา ลป.กันครับ

    ผมว่าดีน่ะ แต่ทั้งนี้ อยู่ที่จิตใจของผู้ปฏิบัติ ระยะหลัง จนท.ส่งเสริมระดับอำเภอ เขาเริ่มจะหมดใจกันนะ .....หรือว่ามีแต่ 50 ขึ้นไป..ล้า ..งินเดือนตัน..น้ำมันแพง..หรือว่าอะไร ต่อมิอะไร

    ที่เพชรบุรี ดำเนินการนำร่องที่ อำเภอ ชะอำ ครับ

    P

    P

    P

    • หวัดดีครับ  ทั้ง 3 ท่าน
    • ช่วยกันครับสร้างกำลังใจให้กันและกัน   สร้างกำลังใจให้ตัวเอง
    • ทุกอย่างอยู่ที่ใจจริงๆครับ   เริ่มจากใจ  เอาใจมาใส่(เอาใจใส่ เหมือนคำโบราณเขาว่าไว้)
    • ไปดำเนินงานแล้วมีประสบการณ์ดีๆมา ลปรร. กันต่อ
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท